การป้องกันโรคที่มากับน้ำท่วม

จาก ChulaPedia

(ความแตกต่างระหว่างรุ่นปรับปรุง)
ข้ามไปที่: นำทาง, สืบค้น
(หน้าที่ถูกสร้างด้วย '== โรคทางเดินหายใจ (เช่น หวัด หวัดใหญ่ ปอดบวม) == '''อาก…')
 
แถว 78: แถว 78:
- ระมัดระวังดูแลเด็กอย่างใกล้ชิด
- ระมัดระวังดูแลเด็กอย่างใกล้ชิด
 +
 +
 +
== อ้างอิง ==
 +
 +
'''''ที่มาข้อมูล''''' กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
 +
 +
'''''ผู้รับผิดชอบบทความ''''' ศูนย์การสื่อสารนานาชาติแห่งจุฬาฯ

รุ่นปัจจุบันของ 09:11, 3 พฤศจิกายน 2553

เนื้อหา

โรคทางเดินหายใจ (เช่น หวัด หวัดใหญ่ ปอดบวม)

อาการ

ครั่นเนื้อครั่นตัว มีไข้ ปวดศีรษะ คัดจมูก มีน้ำมูก ไอ จาม เจ็บคอ ปวดเมื่อยตามร่างกาย อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร

วิธีป้องกัน

- ดูแลร่างกายให้อบอุ่นอยู่เสมอ โดยหลีกเลี่ยงการเล่นน้ำหรือแช่น้ำเป็นเวลานาน ไม่สวมเสื้อผ้าที่เปียกชื้น เช็ดตัวให้แห้งอยู่เสมอ และสวมเสื้อผ้าให้หนาพอหากอากาศเย็น

- หลีกเลี่ยงการใกล้ชิดกับผู้ป่วยที่เป็นหวัด

- ปิดปากและจมูกด้วยผ้าหรือกระดาษทิชชูเวลาไอ หรือจาม

- ล้างมือบ่อย ๆ ด้วยน้ำและสบู่


โรคทางเดินอาหาร (เช่น อุจจาระร่วง อหิวาตกโรค อาหารเป็นพิษ บิด ไทฟอยด์)

อาการ

ถ่ายอุจจาระเหลว หรือถ่ายเป็นน้ำ หรือถ่ายมีมูกเลือด ปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน ปวดศีรษะ มีไข้ ปวดเมื่อยตามตัว เบื่ออาหาร

วิธีป้องกัน

- รับประทานอาหารที่ปรุงสุกและสะอาด ไม่บูดเสีย อาหารกระป๋องยังไม่หมดอายุ กระป๋องไม่บวมหรือเป็นสนิม

- ดื่มน้ำสะอาด เช่น น้ำต้มสุก น้ำขวด

- ล้างมือให้สะอาดด้วยสบู่ก่อนปรุงและเตรียมอาหาร ก่อนรับประทานอาหารและหลังการขับถ่าย

- ห้ามถ่ายอุจจาระลงน้ำโดยตรง ให้ถ่ายลงในถุงพลาสติก แล้วใส่ปูนขาวจำนวนพอสมควร ปิดปากถุงให้แน่น แล้วนำไปใส่ในถุงดำ (ถุงขยะ)


โรคฉี่หนู (หรือโรคเลปโตสไปโรซิส) และโรคน้ำกัดเท้า

อาการ

โรคฉี่หนู มีไข้สูงทันทีทันใด ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อมาก โดยเฉพาะบริเวณน่องและโคนขา หรือปวดหลัง บางรายมีอาการตาแดง มีจุดเลือดออกตามผิวหนัง ไอมีเลือดปน ตัวเหลือง ตาเหลือง ปัสสาวะน้อย ซึม สับสน

โรคน้ำกัดเท้า เท้าเปื่อยและเป็นหนอง คันตามซอกนิ้วเท้า ผิวหนังลอกเป็นขุย มีผื่นพุพอง ผิวหนังอักเสบบวมแดง

วิธีป้องกัน

- หลีกเลี่ยงการลุยน้ำย่ำโคลนโดยไม่จำเป็น

- ถ้ามีบาดแผลต้องป้องกันไม่ให้สัมผัสถูกน้ำโดยสวมรองเท้าบู๊ทยาง

- หากต้องลุยน้ำย่ำโคลนต้องรีบล้างเท้าให้สะอาดด้วยสบู่แล้วเช็ดให้แห้งอยู่เสมอโดยเร็วที่สุด


โรคตาแดง

อาการ

ระคายเคืองตา ปวดตา น้ำตาไหล กลัวแสง มีขี้ตามาก หนังตาบวม เยื่อบุตาขาวอักเสบแดง อาจเริ่มที่ตาข้างหนึ่งก่อน แล้วจึงลามไปตาอีกข้างหนึ่ง

วิธีป้องกัน

- ถ้ามีฝุ่นละอองหรือน้ำสกปรกเข้าตาต้องรีบล้างด้วยน้ำสะอาดทันที

- ไม่ควรขยี้ตา อย่าให้แมลงตอมตา และไม่ควรใช้สายตามากนัก

- ผู้ป่วยโรคตาแดงควรแยกจากคนอื่นๆ และไม่ใช้สิ่งของส่วนตัวร่วมกับคนอื่นเพื่อป้องกันไม่ให้โรคแพร่ระบาด


อุบัติเหตุและการถูกสัตว์ร้ายมีพิษกัดต่อย

อุบัติเหตุที่มักเกิดขึ้นช่วงน้ำท่วม ได้แก่

ไฟดูด จมน้ำ การบาดเจ็บจากการเหยียบของแหลมหรือของมีคม อันตรายจากสัตว์มีพิษ เช่น งู ตะขาบ แมงป่อง ซึ่งหนีน้ำมาหลบอาศัยในบริเวณบ้านเรือน

วิธีป้องกัน

- ถอดปลั๊กอุปกรณ์ไฟฟ้า สับคัทเอาท์ตัดไฟฟ้าในบ้าน ก่อนที่น้ำจะท่วมถึง

- เก็บกวาดขยะ วัตถุแหลมคม ในบริเวณอาคารบ้านเรือน และตามทางเดินอย่างสม่ำเสมอ

- ระมัดระวังดูแลเด็กอย่างใกล้ชิด


อ้างอิง

ที่มาข้อมูล กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข

ผู้รับผิดชอบบทความ ศูนย์การสื่อสารนานาชาติแห่งจุฬาฯ

เครื่องมือส่วนตัว