พูดคุย:หน้าหลัก
จาก ChulaPedia
แถว 8: | แถว 8: | ||
- วัตถุประสงค์ของการจัดทำ จุฬาวิทยานุกรม ขึ้น ก็เพื่อเพิ่มช่องทางในการเผยแพร่องค์ความรู้ทั่วไป ที่คณาจารย์จุฬาฯ สามารถแบ่งปันเกร็ดความรู้ที่มีประโยชน์ออกสู่สาธารณชนได้โดยง่าย | - วัตถุประสงค์ของการจัดทำ จุฬาวิทยานุกรม ขึ้น ก็เพื่อเพิ่มช่องทางในการเผยแพร่องค์ความรู้ทั่วไป ที่คณาจารย์จุฬาฯ สามารถแบ่งปันเกร็ดความรู้ที่มีประโยชน์ออกสู่สาธารณชนได้โดยง่าย | ||
ทั้งนี้ เป้าหมายของการจัดทำ คือ แหล่งข้อมูลความรู้ภาษาไทยที่สามารถอ้างอิงได้ เพื่อตอบสนองความต้องการศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม ของคนไทยทุกระดับชั้น | ทั้งนี้ เป้าหมายของการจัดทำ คือ แหล่งข้อมูลความรู้ภาษาไทยที่สามารถอ้างอิงได้ เพื่อตอบสนองความต้องการศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม ของคนไทยทุกระดับชั้น | ||
- | - สาเหตุ ที่แยก จุฬาวิทยานุกรม ออกมาจาก วิกิพีเดีย ก็เพื่อเพิ่มความน่าเชื่อถือของเนื้อหาให้สามารถอ้างอิงได้ เนื่องจาก จุฬาวิทยานุกรม | + | - สาเหตุ ที่แยก จุฬาวิทยานุกรม ออกมาจาก วิกิพีเดีย ก็เพื่อเพิ่มความน่าเชื่อถือของเนื้อหาให้สามารถอ้างอิงได้ เนื่องจาก จุฬาวิทยานุกรม จัดทำและปรับปรุงโดยคณาจารย์จากจุฬาฯ |
แต่เนื้อหาใน วิกิพีเดีย สามารถแก้ไขโดยบุคคลใดก็ได้ ทำให้ไม่สามารถใช้เป็นแหล่งอ้างอิงข้อมูลที่น่าเชื่อถือได้ | แต่เนื้อหาใน วิกิพีเดีย สามารถแก้ไขโดยบุคคลใดก็ได้ ทำให้ไม่สามารถใช้เป็นแหล่งอ้างอิงข้อมูลที่น่าเชื่อถือได้ | ||
''[[คุยกับผู้ใช้:Pphruet|Pphruet]] 15:05, 26 ธันวาคม 2553'' | ''[[คุยกับผู้ใช้:Pphruet|Pphruet]] 15:05, 26 ธันวาคม 2553'' | ||
แถว 18: | แถว 18: | ||
แต่ wikipedia ไม่ได้จำกัดผู้มีสิทธิในการแก้ไขเพิ่มเติมบทความ ซึ่งสำหรับ Chulapedia จะมีเพียงคณาจารย์จุฬาฯ เท่านั้นที่สามารถแก้ไขได้ | แต่ wikipedia ไม่ได้จำกัดผู้มีสิทธิในการแก้ไขเพิ่มเติมบทความ ซึ่งสำหรับ Chulapedia จะมีเพียงคณาจารย์จุฬาฯ เท่านั้นที่สามารถแก้ไขได้ | ||
คณะผู้บริหารและ คณะกรรมการจัดทำ Chulapedia จึงเห็นว่าสิ่งนี้สามารถยืนยันความน่าเชื่อถือของเนื้อหาของ Chulapedia ได้มากกว่า | คณะผู้บริหารและ คณะกรรมการจัดทำ Chulapedia จึงเห็นว่าสิ่งนี้สามารถยืนยันความน่าเชื่อถือของเนื้อหาของ Chulapedia ได้มากกว่า | ||
- | - ส่วนประเด็นเรื่องจำนวนบทความใน Chulapedia | + | - ส่วนประเด็นเรื่องจำนวนบทความใน Chulapedia นั้น ขึ้นอยู่กับการให้ความร่วมมือของคณาจารย์จุฬาฯ ซึ่งผู้บริหารเชื่อมั่นว่า หากคณาจารย์จุฬาฯ ทุกท่าน สละเวลามามีส่วนร่วมในการสร้าง Chulapedia |
จะสามารถทำให้ปริมาณข้อมูลใน Chulapedia เพียงพอต่อความต้องการในการเผยแพร่ความรู้ออกสู่สังคม | จะสามารถทำให้ปริมาณข้อมูลใน Chulapedia เพียงพอต่อความต้องการในการเผยแพร่ความรู้ออกสู่สังคม | ||
''[[คุยกับผู้ใช้:Pphruet|Pphruet]] 14:28, 11 กุมภาพันธ์ 2554'' | ''[[คุยกับผู้ใช้:Pphruet|Pphruet]] 14:28, 11 กุมภาพันธ์ 2554'' |
การปรับปรุง เมื่อ 08:29, 11 กุมภาพันธ์ 2554
อยากทราบเหตุผลของการทำสารานุกรมนี้ครับ อยากทราบว่าเหตุใดมหาวิทยาลัยไม่ชักชวนคณาจารย์ให้ร่วมกันเขียนบทความลงใน Wikipedia.org ฉบับภาษาไทย (หรือภาษาอังกฤษ) ซึ่งมีอยู่แล้ว การแยกออกมาเช่นนี้ทำให้ content กระจัดกระจายครับ
โสรัจจ์ หงศ์ลดารมภ์ ภาควิชาปรัชญา
- เห็นด้วยกับอาจารย์โสรัจจ์ค่ะ หรือใช้พื้นที่นี้เป็นที่ฝึกหัด แต่หลังจากคล่องแล้ว ค่อยไปช่วยกันเขียนที่วิกิไทยดีไหมคะ? --- ~ Look-Narm ~ คุย 17:06, 26 ตุลาคม 2553 (BST)
ขออนุญาตชี้แจงประเด็นซักถามนะครับ - วัตถุประสงค์ของการจัดทำ จุฬาวิทยานุกรม ขึ้น ก็เพื่อเพิ่มช่องทางในการเผยแพร่องค์ความรู้ทั่วไป ที่คณาจารย์จุฬาฯ สามารถแบ่งปันเกร็ดความรู้ที่มีประโยชน์ออกสู่สาธารณชนได้โดยง่าย ทั้งนี้ เป้าหมายของการจัดทำ คือ แหล่งข้อมูลความรู้ภาษาไทยที่สามารถอ้างอิงได้ เพื่อตอบสนองความต้องการศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม ของคนไทยทุกระดับชั้น - สาเหตุ ที่แยก จุฬาวิทยานุกรม ออกมาจาก วิกิพีเดีย ก็เพื่อเพิ่มความน่าเชื่อถือของเนื้อหาให้สามารถอ้างอิงได้ เนื่องจาก จุฬาวิทยานุกรม จัดทำและปรับปรุงโดยคณาจารย์จากจุฬาฯ แต่เนื้อหาใน วิกิพีเดีย สามารถแก้ไขโดยบุคคลใดก็ได้ ทำให้ไม่สามารถใช้เป็นแหล่งอ้างอิงข้อมูลที่น่าเชื่อถือได้ Pphruet 15:05, 26 ธันวาคม 2553
--> แต่เท่าที่ปรากฏตอนนี้ th.wikipedia.org ดูน่าเชื่อถือมากกว่านะครับ บทความก็มีมากกว่า หลักการของ Wikipedia ก็คือเมื่อมีความผิดพลาดอะไร ความผิดพลาดนั้นก็จะถูก edit ออกไปโดยชุมชน บทความดีๆใน wikipedia มีมากมายครับ ผมคิดว่าอาจจะมีอาจารย์จุฬาเองหลายคน เอาเรื่องใน wikipedia ไปสอนนิสิตด้วยนะครับ
ชี้แจงเพิ่มเติม - ประเด็นเรื่องความน่าเชื่อถือของ wikipedia ถือได้ว่ามีความน่าเชื่อถือในระดับหนึ่ง ด้วยการตรวจสอบกันเองระหว่างผู้เขียนบทความ ซึ่ง Chulapedia สามารถทำได้ด้วยหลักการเดียวกัน แต่ wikipedia ไม่ได้จำกัดผู้มีสิทธิในการแก้ไขเพิ่มเติมบทความ ซึ่งสำหรับ Chulapedia จะมีเพียงคณาจารย์จุฬาฯ เท่านั้นที่สามารถแก้ไขได้ คณะผู้บริหารและ คณะกรรมการจัดทำ Chulapedia จึงเห็นว่าสิ่งนี้สามารถยืนยันความน่าเชื่อถือของเนื้อหาของ Chulapedia ได้มากกว่า - ส่วนประเด็นเรื่องจำนวนบทความใน Chulapedia นั้น ขึ้นอยู่กับการให้ความร่วมมือของคณาจารย์จุฬาฯ ซึ่งผู้บริหารเชื่อมั่นว่า หากคณาจารย์จุฬาฯ ทุกท่าน สละเวลามามีส่วนร่วมในการสร้าง Chulapedia จะสามารถทำให้ปริมาณข้อมูลใน Chulapedia เพียงพอต่อความต้องการในการเผยแพร่ความรู้ออกสู่สังคม Pphruet 14:28, 11 กุมภาพันธ์ 2554
Chulapedia Admin
อยากทราบว่า Chulapedia มี admin หรือไม่ และมีกฎกติกาอย่างไรคะ มีนโยบายเกี่ยวกับ plagiarism หรือไม่อย่างไร? มีสมาชิก active กี่ท่าน และมีเวลามาช่วยดูแลตรวจหรือไม่ หากไม่พร้อมแล้วไม่ควรทำนะคะ อาจทำให้เสียชื่อมากกว่า ด้วยความเคารพค่ะ --- ~ Look-Narm ~ คุย 17:17, 26 ตุลาคม 2553 (BST)
ชี้แจงเรื่องผู้ใช้งาน และผู้ดูแลระบบ - สำหรับในส่วนของ สมาชิกผู้ใช้งาน นั้น ขณะนี้ จุฬาวิทยานุกรม ไ้ด้เชื่อมโยงฐานข้อมูลผู้ใช้งานที่เป็นคณาจารย์ของระบบ CU-Net กล่าวคือ คณาจารย์จุฬาฯ ทุกท่านที่มี บัญชีผู้ใช้งาน ของระบบ CU-Net สามารถใช้ชื่อล็อกอินและรหัสผ่าน ของระบบ CU-Net เข้าใช้งานใน จุฬาวิทยานุกรม ได้ทันที - ส่วน ผู้ดูแลระบบ ของ Chulapedia จะเป็นเจ้าหน้าที่ทางเทคนิค ซึ่งจะช่วยดูแล และรับแจ้งปัญหาตลอดจนข้อขัดข้องต่างๆทางด้านระบบของ จุฬาวิทยานุกรม ด้านการตรวจสอบเนื้อหาบทความ มีนโยบายในเบื้องต้น ที่ต้องการให้คณาจารย์ทุกท่าน ร่วมกันสอดส่องและอภิปรายถึงความถูกต้องของเนื้อหานั้นๆ ในรูปแบบเดียวกับ วิกิพีเดีย อย่างไรก็ดี ในด้านการตรวจสอบเนื้อหาทั่วไป ที่อาจมีการใช้ภาษาที่ไม่เหมาะสม หรือมีความรุนแรง หรือขัดต่อความสงบเรียบร้อย ผู้ดูแลระบบ จะมีสิทธิในการแก้ไขเนื้อหานั้นๆ โดยไม่ต้องแจ้งให้เจ้าของบทความทราบล่วงหน้า และในกรณีที่มีผู้พบเจอเนื้อหาหรือข้อความที่ไม่เหมาะสมก็สามารถแจ้ง ผู้ดูแลระบบ ให้แก้ไขได้ อย่างไรก็ดี ทีมงานขอรับข้อแนะนำเรื่อง ทีมดูแลเนื้อหาในระบบ ที่สามารถตรวจสอบเนื้อหาได้ 24 ชั่วโมง เพื่อเสนอพิจารณาต่อไป Pphruet 15:06, 26 ธันวาคม 2553
ไม่ควรบังคับให้เขียน
ผมได้ข่าวมาว่า มหาวิทยาลัยจะบังคับให้อาจารย์เขียน entry ลงในนี้ ไม่ทราบว่าจริงเท็จแค่ไหนประการใดครับ
โสรัจจ์
ชี้แจง เรื่อง การบังคับให้เขียนบทความลง Chulapedia - เท่าที่ทราบในตอนนี้ ยังไม่มีการกำหนดนโยบายในการบังคับให้คณาจารย์เขียนบทความลง Chulapedia ตามที่ท่านตั้งข้อซักถาม มีเพียงแต่ขอความร่วมมือจากคณาจารย์จุฬาฯ ในการลงบทความใน Chulapedia เท่านั้น Pphruet 14:00, 11 กุมภาพันธ์ 2554
ไม่ควรบังคับให้เขียนแต่ภาษาไทยเท่านั้น
บทความของผมเรื่อง timekeeping ที่อุตส่าห์เขียน ถูกลบทิ้งเฉยเลย ขอทราบ *เหตุผล* ในการบังคับให้เขียนแต่ภาษาไทยเท่านั้นครับ
โสรัจจ์ หงศ์ลดารมภ์
ชี้แจง เรื่อง การขอความร่วมมือให้เขียนบทความลง Chulapedia เป็นภาษาไทย และ บทความ timekeeping - สืบเนื่องจากวัตถุประสงค์หลักในการจัดทำ Chulapedia คือต้องการสร้างแหล่งความรู้อ้างอิงที่เป็นภาษาไทย เพื่อง่ายต่อการรับสาร ของผู้สนใจทุกระดับชั้น เพราะ แหล่งความรู้ที่เป็นภาษาไทยค่อนข้างมีจำกัด และเป็นการเพิ่มโอกาสให้ผู้สนใจที่มีความสามารถทางภาษาจำกัด สามารถศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมได้สะดวกขึ้น - ส่วนบทความ timekeeping ทีมผู้ดูแลได้ทำการเช็คในระบบแล้ว ปรากฏว่า ยังไม่มีการลบบทความดังกล่าวออกจากระบบแต่อย่างใด สามารถค้นหาหน้าแสดงบทความได้ตามปกติ เพียงแต่ได้มีการ ฝากข้อความจากผู้ดูแลในหน้าอภิปราย ขอความร่วมมือให้ลงบทความเป็นภาษาไทย เพื่อให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์การจัดทำเท่านั้น - อย่างไรก็ดี ทีมงานผู้ดูแลระบบขอขอบพระคุณ สำหรับข้อติชมและข้อเสนอแนะของท่าน และจะนำเสนอให้ผู้บริหาร เพื่อพิจารณาต่อไป Pphruet 14:17, 11 กุมภาพันธ์ 2554