แนวปฏิบัติในกรณีเกิดอุบัติเหตุด้านนิวเคลียร์
จาก ChulaPedia
(หน้าที่ถูกสร้างด้วย '== ติดตามการแจ้งเตือนจากทางการ == เมื่อรัฐบาลกลางห…') |
|||
แถว 1: | แถว 1: | ||
== ติดตามการแจ้งเตือนจากทางการ == | == ติดตามการแจ้งเตือนจากทางการ == | ||
- | เมื่อรัฐบาลกลางหรือท้องถิ่นได้รับข้อมูลจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้านนิวเคลียร์ และพิจารณาว่าจะมีผลกระทบกับประชาชน | + | เมื่อรัฐบาลกลางหรือท้องถิ่นได้รับข้อมูลจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้านนิวเคลียร์ และพิจารณาว่าจะมีผลกระทบกับประชาชน ก็จะมีการประกาศเตือนและให้แนวทางปฏิบัติผ่านสื่อต่างๆ ทั้งทางวิทยุ โทรทัศน์ อินเตอร์เน็ต เครื่องขยายเสียง ฯลฯ ซึ่งสิ่งสำคัญคือการรับข้อมูลที่เป็นทางการ |
- | ก็จะมีการประกาศเตือนและให้แนวทางปฏิบัติผ่านสื่อต่างๆ ทั้งทางวิทยุ โทรทัศน์ อินเตอร์เน็ต | + | |
การปรับปรุง เมื่อ 04:07, 16 มีนาคม 2554
เนื้อหา |
ติดตามการแจ้งเตือนจากทางการ
เมื่อรัฐบาลกลางหรือท้องถิ่นได้รับข้อมูลจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้านนิวเคลียร์ และพิจารณาว่าจะมีผลกระทบกับประชาชน ก็จะมีการประกาศเตือนและให้แนวทางปฏิบัติผ่านสื่อต่างๆ ทั้งทางวิทยุ โทรทัศน์ อินเตอร์เน็ต เครื่องขยายเสียง ฯลฯ ซึ่งสิ่งสำคัญคือการรับข้อมูลที่เป็นทางการ
การปฏิบัติตนเมื่อได้รับประกาศทางการ ควรทำดังนี้
1. ยืนยันข้อมูลกับเพื่อนบ้านใกล้เคียงว่าได้รับทราบตรงกันหรือไม่
2. ให้ความช่วยเหลือแก่คนชราและผู้พิการ
3. ให้มีสติ ไม่ตื่นตระหนก และไม่เชื่อข่าวลือต่างๆ
4. พยายามอย่าใช้โทรศัพท์ เพื่อสำรองคู่สายสำหรับเหตุฉุกเฉิน
การอพยพ/หลบภัย
การปฏิบัติตนจะขึ้นกับปริมาณกัมมันตภาพรังสีในแต่ละกรณี กล่าวคือ
ปริมาณกัมมันตภาพรังสีต่ำ ให้หลบภัยอยู่ในอาคาร – ขอให้รีบเข้าที่พักและปฏิบัติดังนี้
- ปิดหน้าต่างและพัดลมระบายอากาศเพื่อไม่ให้อากาศภายนอกเข้ามาในที่พัก
- สามารถรับประทานอาหารและน้ำดื่มที่มีในที่พักได้ แต่เพื่อความปลอดภัยควรนำอาหารใส่ภาชนะห่อด้วยแผ่นพลาสติกใสแล้วใส่ตู้เย็น
- เก็บตุนน้ำดื่มไว้ในภาชนะที่มีฝาปิดมิดชิด
- คนที่ออกไปนอกที่พักมาให้ล้างมือล้างหน้าให้สะอาด หรืออาบน้ำ แล้วแต่คำประกาศเตือน
- เสื้อผ้าที่ใส่ออกไปข้างนอกมา ให้นำใส่ถุงพลาสติกผูกปากถุงให้แน่น แล้วแยกไว้ต่างหากจากเสื้อผ้าอื่นๆ
ปริมาณกัมมันตภาพรังสีพอควร ให้หลบภัยอยู่ในอาคารที่มีผนังคอนกรีต – ขอให้รีบเข้าหลบภัยในอาคารผนังคอนกรีตซึ่งจะมีผลป้องกันกัมมันตภาพรังสีได้สูง ซึ่งในแต่ละพื้นที่จะมีกำหนดไว้ว่าสามารถเข้าหลบภัยได้ในอาคารใดบ้าง จึงขอให้รับฟังข่าวสารจากโทรทัศน์ วิทยุ และเครื่องขยายเสียงให้ดี และเมื่อเข้าในอาคารแล้วให้ปฏิบัติตนดังต่อไปนี้
- ปิดไฟ ปิดท่อก๊าซ ปิดล็อคประตูหน้าต่างให้สนิท
- ช่วยเหลือคนชราและผู้พิการ
- เนื่องจากมีเวลาเพียงพอหลังมีประกาศเตือน จึงไม่ควรตื่นตระหนก ขอให้มีสติตลอดเวลา
ปริมาณกัมมันตภาพรังสีสูง ให้อพยพไปยังศูนย์ที่จัดเตรียมไว้ – ศูนย์อพยพในแต่ละเขตจะมีการกำหนดไว้อยู่แล้ว จึงขอให้รับฟังข่าวสารจากโทรทัศน์ วิทยุ และเครื่องขยายเสียงให้ดี โดยสิ่งสำคัญที่ต้องเตรียมตัวมีดังต่อไปนี้
- ก่อนออกจากบ้านให้ปิดไฟ ปิดก๊าซ ปิดน้ำให้เรียบร้อย ปิดล็อคประตูบ้านให้สนิท
- เนื่องจากมีเวลาเพียงพอ จึงไม่จำเป็นต้องตื่นตระหนกและรีบร้อนจนเกินไป
- การเดินทางไปศูนย์อพยพไม่ควรใช้รถส่วนตัว ให้ใช้รถโดยสารที่ทางการจัดไว้ให้
- โปรดปฏิบัติตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่ที่ศูนย์อพยพอย่างเคร่งครัด
การใช้ยาต้านสารกัมมันตรังสี
อันตรายจากการโดนกัมมันตรังสีผ่านทางการหายใจหรือรับประทานอาหาร จะสามารถป้องกันได้ด้วยาต้านสารกัมมันตรังสี ซึ่งจะช่วยไม่ให้สารพิษตกค้างอยู่ในร่างกาย โดยหน่วยงานของทางการท้องถิ่นจะมียาดังกล่าวแจกให้ในกรณีมีอุบัติเหตุทาง นิวเคลียร์เกิดขึ้น อย่างไรก็ตาม การรับประทานยาจะต้องอยู่ภายใต้การควบคุมของผู้เชี่ยวชาญอย่างใกล้ชิด เนื่องจากปริมาณที่ต้องใช้จะแตกต่างไปในแต่ละคน
ข้อควรระวังด้านอาหาร
การบริโภคอาหารที่มีสารกัมมันตรังสีปนเปื้อนเกินระดับที่กำหนดจะก่อให้เกิด อันตราย จึงอาจมีการควบคุมหรือห้ามการขายอาหารจากบางท้องที่ในตลาด จึงควรติดตามข่าวสารและคำประกาศเตือนของทางการจากสื่อต่างๆ และปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด
การเตรียมเสื้อผ้าและสัมภาระ
ควรใช้เสื้อผ้าที่ปกปิดส่วนต่างๆ ของร่างกายได้มากที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งควรจะเลือกเสื้อหนาวแบบที่มีหมวกคลุมศรีษะในตัว ใส่หน้ากาก และหากมีอากาศหนาวหรือฝนตกควรจะใส่รองเท้าบูทยาวและถุงมือด้วย โดยสัมภาระติดตัวยามฉุกเฉินควรประกอบด้วยไฟฉาย วิทยุแบบพกพา เสื้อผ้าสำหรับเปลี่ยน และเครื่องดื่มและอาหารแห้ง อย่าลืมหนังสือเดินทางและเอกสารสำคัญอื่นๆ ที่ควรเตรียมให้พร้อมไว้ตลอดเวลา
สิ่งที่ต้องคำนึงเสมอเวลาเกิดเหตุฉุกเฉินด้านนิวเคลียร์
1. ตั้งสติให้ดีในการดำเนินการต่างๆ
2. รับฟังข้อมูลทางการและปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด
3. ร่วมแรงร่วมใจกันกับคนบ้านใกล้เรือนเคียง
อ้างอิง
ที่มาข้อมูล Nuclear and Industrial Safety Agency, Japan
ผู้รับผิดชอบบทความ ศูนย์การสื่อสารนานาชาติแห่งจุฬาฯ