การโฆษณาผลิตภัณฑ์ยาสูบ
จาก ChulaPedia
(หน้าที่ถูกสร้างด้วย '== '''การโฆษณา ผลิตภัณฑ์ยาสูบ''' == '''การโฆษณาผลิตภัณฑ์…') |
|||
แถว 61: | แถว 61: | ||
4. องค์การอนามัยโลก. ร่างแนวทางการดำเนินการตามข้อ 13 ของอนุสัญญากรอบว่าด้วยการควบคุมยาสูบขององค์การอนามัยโลก (การโฆษณา การส่งเสริมการขาย และการเป็นผู้สนับสนุนของธุรกิจยาสูบ). แปลโดย กรมควบคุมโรคกระทรวงสาธารณสุข. กรุงเทพมหานคร: ม.ป.ท., ม.ป.ป. | 4. องค์การอนามัยโลก. ร่างแนวทางการดำเนินการตามข้อ 13 ของอนุสัญญากรอบว่าด้วยการควบคุมยาสูบขององค์การอนามัยโลก (การโฆษณา การส่งเสริมการขาย และการเป็นผู้สนับสนุนของธุรกิจยาสูบ). แปลโดย กรมควบคุมโรคกระทรวงสาธารณสุข. กรุงเทพมหานคร: ม.ป.ท., ม.ป.ป. | ||
+ | |||
+ | '''อาจารย์ผู้ดูแลบทความ''' ผู้ช่วย ศาสตราจารย์ ดร.สุนิดา ปรีชาวงษ์ คณะพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | ||
'''''ผู้รับผิดชอบบทความ''''' ศูนย์การสื่อสารนานาชาติแห่งจุฬาฯ | '''''ผู้รับผิดชอบบทความ''''' ศูนย์การสื่อสารนานาชาติแห่งจุฬาฯ |
รุ่นปัจจุบันของ 03:24, 18 มีนาคม 2554
เนื้อหา |
การโฆษณา ผลิตภัณฑ์ยาสูบ
การโฆษณาผลิตภัณฑ์ยาสูบ การส่งเสริมการขายและการให้การสนับสนุนโดยธุรกิจยาสูบ
ข้อ 13 แห่งอนุสัญญาว่าด้วยการควบคุมยาสูบ ค.ศ. 2003 เรื่องการโฆษณาผลิตภัณฑ์ยาสูบ การส่งเสริมการขายและการให้การสนับสนุนโดยธุรกิจยาสูบ ซึ่งได้รับความเห็นชอบจากภาคีสมาชิกในสมัยประชุมสมัชชาภาคีอนุสัญญาฯ ครั้งที่ 3 (The Conference of the Parties III) ณ กรุงเดอรบัน (Durban) ประเทศสาธารณรัฐแอฟริกาใต้ ระหว่างวันที่ 17 พฤศจิกายน ถึงวันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 ได้วางแนวทางในการดำเนินงาน เพื่อให้ภาคี หรือประเทศสมาชิกได้มีแนวทางสำหรับการริเริ่มและการบังคับใช้กฎหมายห้ามการโฆษณา การส่งเสริมการขาย และการให้การสนับสนุนของธุรกิจยาสูบที่ครอบคลุมทุกด้าน โดยกฎหมายต้องใช้บังคับกับทุกรูปแบบ ของ การสื่อสาร การแนะนำ หรือการกระทำเชิงพาณิชย์ รวมทั้งทุกรูปแบบของ การเป็นผู้สนับสนุน นอกจากนี้ กฎหมายควรจะครอบคลุม การโฆษณา การส่งเสริมการขายและการให้การสนับสนุนของธุรกิจยาสูบข้ามเขตแดนด้วยขอบเขตของกฎหมายที่ห้ามอย่างเต็มรูปแบบ (Scope of a comprehensive ban)
การโฆษณาและการส่งเสริมการขายยาสูบ (Tobacco advertising and promotion)
หมายถึง “รูปแบบใดก็ตามของการสื่อสารการแนะนำ หรือการกระทำเชิงพาณิชย์ โดยมีจุดหมาย ผล หรือผลที่น่าจะเกิดขึ้นเป็นการส่งเสริมการขายผลิตภัณฑ์ยาสูบ หรือการใช้ยาสูบไม่ว่าโดยตรงหรือโดยอ้อมก็ตาม”
การเป็นผู้สนับสนุนของธุรกิจยาสูบ(Tobacco sponsorship)
หมายถึง “รูปแบบใดก็ตามของการอุดหนุนแก่เหตุการณ์สำคัญ กิจกรรม หรือบุคคลใดๆ โดยมีจุดหมายผล หรือผลที่น่าจะเกิดขึ้นเป็นการส่งเสริมการขายผลิตภัณฑ์ยาสูบหรือการใช้ยาสูบ ไม่ว่าโดยตรงหรือโดยอ้อมก็ตาม”
กฎหมายห้ามการโฆษณาการส่งเสริมการขาย หรือการเป็นผู้สนับสนุนของธุรกิจยาสูบ
ประเทศสมาชิกควรดำเนินการให้มีกฎหมายและบังคับใช้กฎหมายห้ามการโฆษณาการส่งเสริมการขาย หรือการเป็นผู้สนับสนุนของธุรกิจยาสูบ ซึ่งกฎหมายควรครอบคลุมประเด็นต่อไปนี้
- การโฆษณา และการส่งเสริมการขาย ตลอดจนการเป็นผู้สนับสนุนทั้งปวงโดยไม่มีข้อยกเว้นทั้งโดยตรงและโดยอ้อม
- การกระทำที่มุ่งให้มีการส่งเสริมการขาย และการกระทำที่มีผลหรือน่าจะมีผลเป็นการส่งเสริมการขายและการใช้ยาสูบ
- การสื่อสารเชิงพาณิชย์รวมทั้งการแนะนำและการกระทำเชิงพาณิชย์
- การโฆษณาและการส่งเสริมตราสินค้ายาสูบ รวมทั้งการส่งเสริมประชาสัมพันธ์บริษัททุกรูปแบบ และการอุดหนุนในรูปแบบใดก็ตามแก่เหตุการณ์พิเศษ (เช่น การแข่งขันกีฬา การแสดง งานเลี้ยง ฯลฯ) กิจกรรม หรือบุคคลใดๆ
- สื่อโฆษณาตามปรกติ (สิ่งพิมพ์ โทรทัศน์ และวิทยุ) รวมทั้งพื้นที่ของสื่อทั้งปวง ซึ่งรวมถึงอินเทอร์เน็ต โทรศัพท์มือถือ และเทคโนโลยีใหม่ประเภทอื่น รวมทั้งภาพยนตร์
- การค้าปลีกและการจัดแสดงสินค้า การจัดแสดงและการกระทำให้เห็นผลิตภัณฑ์ยาสูบ ณ จุดหมายถือเป็นการโฆษณาและการส่งเสริมการขาย จึงควรมีกฎหมายห้ามโดยสิ้นเชิงมิให้มีการจัดแสดงใดๆ อีกทั้งห้ามการกระทำที่ทำให้สามารถมองเห็นผลิตภัณฑ์ยาสูบที่จุดขาย ซึ่งรวมถึงร้านค้าปลีกที่ตั้งเป็นหลักแหล่งและผู้ขายข้างถนนด้วย นอกจากนี้ ควรห้ามมิให้มีเครื่องจำหน่ายผลิตภัณฑ์ยาสูบอัตโนมัติ เพราะเครื่องขายอัตโนมัติที่ปรากฏให้เห็นถือเป็นวิธีการหนึ่งของการโฆษณาและการส่งเสริมการขาย
- บรรจุภัณฑ์และลักษณะเด่นของผลิตภัณฑ์บรรจุภัณฑ์และการออกแบบผลิตภัณฑ์เป็นองค์ประกอบสำคัญของการโฆษณาและการส่งเสริมการขาย ดังนั้น ควรพิจารณาออกกฎหมายกำหนดให้บรรจุภัณฑ์มีความเรียบง่าย คือ มีสีดำและขาว หรือสีอื่นๆที่ตัดกันสองสี เพื่อขจัดผลของการโฆษณาหรือการส่งเสริมการขายที่ปรากฏบนบรรจุภัณฑ์ ไม่ควรอนุญาตให้หีบห่อซองบุหรี่ บุหรี่แต่ละมวน หรือผลิตภัณฑ์ยาสูบอื่นๆ มีลักษณะเด่นที่ อันทำให้ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวเป็นที่ดึงดูดใจ
- การขายทางอินเทอร์เน็ต ควรมีการห้ามขายยาสูบทางอินเทอร์เน็ต เพราะโดยสาระแล้ว การขายดังกล่าวเกี่ยวข้องกับการโฆษณาและการส่งเสริมการขายยาสูบการใช้ตราสินค้าบุหรี่กับสินค้าชนิดอื่นและการใช้ตราสินค้าร่วมกัน
- การดำเนินการในลักษณะที่เป็นองค์กรเพื่อสังคม การสร้างภาพให้บริษัทบุหรี่ดูเป็นองค์กรที่มีความรับผิดชอบต่อสังคมเริ่มมีให้เห็นมากขึ้นโดยการที่บริษัทเหล่านี้ออกมาให้ความช่วยเหลือหน่วยงานหรือชุมชนในรูปแบบต่างๆ ทั้งทางด้านการศึกษา การสาธารณสุข หรือแม้แต่การรักษาสิ่งแวดล้อม
- การแสดงออกที่ชอบด้วยกฎหมายการดำเนินการห้ามอย่างเต็มรูปแบบ มิให้มีการโฆษณา การส่งเสริมการขาย และการเป็นผู้สนับสนุนของธุรกิจยาสูบ จะต้องไม่ไปขัดขวางการแสดงออกประเภทต่างๆ โดยชอบด้วยกฎหมาย เช่น การแสดงออกในด้านการรายงานข่าว ด้านศิลปะ หรือวิชาการ หรือการแสดงความคิดเห็นทางสังคม หรือการเมือง อย่างไรก็ตาม ภาคีควรกำหนดมาตรการป้องกันมิให้มีการใช้การแสดงออกประเภทต่างๆ ข้างต้นเพื่อส่งเสริมการใช้ยาสูบหรือการขายผลิตภัณฑ์ยาสูบ
- การแสดงข้อความหรือภาพของยาสูบในสื่อบันเทิงการแสดงข้อความหรือภาพของยาสูบในผลิตภัณฑ์สื่อบันเทิงต่างๆ เช่นภาพยนตร์ ละคร และเกม สามารถมีอิทธิพลอย่างมากต่อการใช้ยาสูบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในหมู่เยาวชน นอกจากนี้ ควรกำหนดให้ธุรกิจยาสูบต้องเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการโฆษณาการส่งเสริมการขาย และการให้การสนับสนุนโดยธุรกิจยาสูบ เช่น เนื้อหา รูปแบบประเภทของสื่อที่ใช้ ชื่อบริษัทที่รับทำการโฆษณาและบริษัทผู้สร้างชิ้นงานโฆษณารวมทั้งตัวเลขค่าใช้จ่ายในการโฆษณา ฯลฯ โดยต้องเปิดเผยแก่หน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องตามที่กฎหมายกำหนด
อ้างอิง
ที่มาข้อมูล
1. World Health Organization. WHO Framework Convention on Tobacco Control. WHO Document Production Services, Geneva, Switzerland; 2005.
2. องค์การอนามัยโลก. Framework Convention on Tobacco Control. กรอบอนุสัญญาว่าด้วยการควบคุมยาสูบ. แปลโดย กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. กรุงเทพมหานคร: ม.ป.ท.(อัดสำเนา)
3. World Health Organization. WHO Framework Convention on Tobacco Control: Guidelines for implementation Article 5.3; Article 8; Article 11; Article 13. WHO Document Production Services, Geneva, Switzerland; 2009.
4. องค์การอนามัยโลก. ร่างแนวทางการดำเนินการตามข้อ 13 ของอนุสัญญากรอบว่าด้วยการควบคุมยาสูบขององค์การอนามัยโลก (การโฆษณา การส่งเสริมการขาย และการเป็นผู้สนับสนุนของธุรกิจยาสูบ). แปลโดย กรมควบคุมโรคกระทรวงสาธารณสุข. กรุงเทพมหานคร: ม.ป.ท., ม.ป.ป.
อาจารย์ผู้ดูแลบทความ ผู้ช่วย ศาสตราจารย์ ดร.สุนิดา ปรีชาวงษ์ คณะพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ผู้รับผิดชอบบทความ ศูนย์การสื่อสารนานาชาติแห่งจุฬาฯ