ดัชนีกิจกรรมการออกกำลังกาย

จาก ChulaPedia

(ความแตกต่างระหว่างรุ่นปรับปรุง)
ข้ามไปที่: นำทาง, สืบค้น
แถว 80: แถว 80:
-
ประชาชนไทยเพศชายและหญิงมีการออกกำลังกายในระดับที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 โดยประชาชนเพศชายมีการออกกำลังกายปานกลางทุกภาค รวมทั้วกรุงเทพมหานคร ยกเว้นภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีการออกกำลังกายน้อย ส่วนประชาชนเพศหญิงมีการออกกำลังกายน้อยถึงน้อยมาก
+
ประชาชนไทยเพศชายและหญิงมีการออกกำลังกายในระดับที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 โดยประชาชนเพศชายมีการออกกำลังกายปานกลางทุกภาค รวมทั้งกรุงเทพมหานคร ยกเว้นภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีการออกกำลังกายน้อย ส่วนประชาชนเพศหญิงมีการออกกำลังกายน้อยถึงน้อยมาก
ประชาชนกลุ่มวัยเด็ก วัยเยาวชน และวัยทำงานเพศชายมีการออกกำลังกายปานกลาง แตกต่างจากเพศหญิงอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 ส่วนประชาชนกลุ่มวัยสูงอายุชายและหญิงมีการออกกำลังกายน้อยเหมือนกัน (ดูตารางที่ 2)
ประชาชนกลุ่มวัยเด็ก วัยเยาวชน และวัยทำงานเพศชายมีการออกกำลังกายปานกลาง แตกต่างจากเพศหญิงอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 ส่วนประชาชนกลุ่มวัยสูงอายุชายและหญิงมีการออกกำลังกายน้อยเหมือนกัน (ดูตารางที่ 2)
[[ไฟล์:23.JPG]]
[[ไฟล์:23.JPG]]

การปรับปรุง เมื่อ 03:40, 26 เมษายน 2554

ดัชนีกิจกรรมการออกกำลังกาย

                                                       ถนอมวงศ์ กฤษณ์เพ็ชร์


ดัชนีกิจกรรมการออกกำลังกาย หมายถึง การประเมินกิจกรรมการออกกำลังกายชนิดใดๆ อย่างมีแบบแผน โดยมีการกำหนดความหนักหรือความเหนื่อย ช่วงเวลาหรือความนานและความถี่ของการกระทำกิจกรรมนั้นๆ โดยกำหนดค่าดัชนีกิจกรรมออกกำลังกาย = ความถี่ x ความนาน x ความหนัก (Kusinitz and Fine, 1995)


โดยกำหนดเกณฑ์ให้คะแนน องค์ประกอบตามหลักการออกกำลังกาย ได้แก่


1. ความถี่ของการออกกำลังกายต่อสัปดาห์ ให้คะแนน 0-5 คะแนน ดังนี้

ออกกำลังกายน้อยกว่า 1 ครั้ง ให้ 0 คะแนน

ออกกำลังกาย 1 ครั้ง ให้ 1 คะแนน

ออกกำลังกาย 2 ครั้ง ให้ 2 คะแนน

ออกกำลังกาย 3 ครั้ง ใ้ห้ 3 คะแนน

ออกกำลังกาย 4 ครั้ง ให้ 4 คะแนน

ออกกำลังกายมากกว่าหรือเท่ากับ 5 ครั้ง ให้ 5 คะแนน


2. ความนานของการออกกำลังกายต่อครั้ง ให้คะแนน 0-5 คะแนน ดังนี้

ออกกำลังกายน้อยกว่า 5 นาที ให้ 0 คะแนน

ออกกำลังกาย 5-14 นาที ให้ 1 คะแนน

ออกกำลังกาย 15-29 นาที ให้ 2 คะแนน

ออกกำลังกาย 30-44 นาที ให้ 3 คะแนน

ออกกำลังกาย 45-49 นาที ให้ 4 คะแนน

ออกกำลังกายมากกว่าหรือเท่ากับ 60 นาที ให้ 5 คะแนน


3. ความหนักของการออกกำลังกาย ให้คะแนน 0-5 คะแนน ดังนี้

ไม่เหนื่อยเลย หัวใจเต้นปกติ ให้ 0 คะแนน

ไม่เหนื่อย หัวใจเต้นเร็วขึ้นเล็กน้อย ให้ 1 คะแนน

เหนื่อยเล็กน้อย หัวใจเต้นเร็วขึ้น ให้ 2 คะแนน

ค่อนข้างเหนื่อย หัวใจเต้นเร็วขึ้น ใ้ห้ 3 คะแนน

เหนื่อยมากแต่ไม่หอบ เหงื่อออก ให้ 4 คะแนน

เหนื่อยมาก หายใจหอบ เหงื่อออก ให้ 5 คะแนน


4. ดัชนีกิจกรรมออกกำลังกายคำนวณจากสูตร

ดัชนีกิจกรรมออกกำลังกาย = ความถี่ x ความนาน x ความหนัก

มีเกณฑ์การแปลความหายคะแนนเป็น 5 ระดับดังนี้

< 15 คะแนน หมายถึง มีการออกกำลัีงกายน้อยมาก

15-24 คะแนน หมายถึง มีการออกกำลังกายน้อย

25-40 คะแนน หมายถึง มีการออกกำลังกายปานกลาง

41-60 คะแนน หมายถึง มีการออกกำลังกายมาก

> 60 คะแนน หมายถึง มีัการออกกำลังกายมากที่สุด

    ถ้าพบว่าระดับกิจกรรมออกกำลังกายอยู่ในเกณฑ์ต่ำ ให้ทบทวนว่าควรปรับปรุง แก้ไขในองค์ประกอบความถี่หรือความนานหรือความหนัก เพื่อให้การออกกำลังกายมีความเหมาะสมและได้ประโยชน์

จากการสำรวจการใช้เวลาว่างในการประกอบกิจกรรมการออกกำลังกายของประชาชนไทย ปี พ.ศ. 2552 จำนวนตัวอย่าง 3,067 คน เป็นชาย 1,575 คน หญิง 1,492 คน พบว่าประชาชนมีการออกกำลังกายอยู่ในระดับน้อย โดยประชาชนในกรุงเทพมหานครและภาคเหนือมีการออกกำลังกายปานกลาง นอกนั้นมีการออกกำลังกายน้อย เมื่อพิจารณาในกลุ่มวัยเด็กทุกภาคมีการออกกำลัีงกายปานกลางยกเว้นภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีการออกกำลังกายน้อยมาก ส่วนวัยสูงอายุในกรุงเทพมหานครมีการออกกำลังกายปานกลาง ภาคอื่นมีการออกกำลังกายน้อย และภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีการออกกำลังกายน้อยที่สุด (ดูตารางที่ 1)


ไฟล์:22.JPG


ประชาชนไทยเพศชายและหญิงมีการออกกำลังกายในระดับที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 โดยประชาชนเพศชายมีการออกกำลังกายปานกลางทุกภาค รวมทั้งกรุงเทพมหานคร ยกเว้นภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีการออกกำลังกายน้อย ส่วนประชาชนเพศหญิงมีการออกกำลังกายน้อยถึงน้อยมาก

ประชาชนกลุ่มวัยเด็ก วัยเยาวชน และวัยทำงานเพศชายมีการออกกำลังกายปานกลาง แตกต่างจากเพศหญิงอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 ส่วนประชาชนกลุ่มวัยสูงอายุชายและหญิงมีการออกกำลังกายน้อยเหมือนกัน (ดูตารางที่ 2)

ไฟล์:23.JPG

เครื่องมือส่วนตัว