การจัดการเรียนรู้สุขศึกษาแบบบูรณาการ

จาก ChulaPedia

(ความแตกต่างระหว่างรุ่นปรับปรุง)
ข้ามไปที่: นำทาง, สืบค้น
(หน้าที่ถูกสร้างด้วย '[การจัดการเรียนรู้สุขศึกษาแบบบูรณาการ (Integrated Education)] …')
แถว 1: แถว 1:
-
[การจัดการเรียนรู้สุขศึกษาแบบบูรณาการ (Integrated Education)]
+
 
-
+
== การจัดการเรียนรู้สุขศึกษาแบบบูรณาการ (Integrated Education) ==
 +
 
การบูรณาการเป็นการจัดการเรียนรู้ที่ผสมผสานวิธีการสอน เนื้อหา กิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลาย มุ่งให้ผู้เรียนสามารถเชื่อมโยงความรู้ ความคิด ทักษะ ประสบการณ์ที่มีความหมาย  มีความหลากหลาย และมีความสัมพันธ์กันในลักษณะเป็นองค์รวม สำหรับในส่วนของเนื้อหาสามารถบูรณาการในกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา หรือบูรณาการเนื้อหาข้ามกลุ่มสาระการเรียนรู้ก็ได้ โดยจัดเป็นหน่วยการเรียนรู้ภายใต้ประเด็น หัวเรื่อง แนวคิด หรือปัญหาเดียวกัน ซึ่งเชื่อมโยงกับชีวิตหรือประสบการณ์ในชีวิตประจำวัน  
การบูรณาการเป็นการจัดการเรียนรู้ที่ผสมผสานวิธีการสอน เนื้อหา กิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลาย มุ่งให้ผู้เรียนสามารถเชื่อมโยงความรู้ ความคิด ทักษะ ประสบการณ์ที่มีความหมาย  มีความหลากหลาย และมีความสัมพันธ์กันในลักษณะเป็นองค์รวม สำหรับในส่วนของเนื้อหาสามารถบูรณาการในกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา หรือบูรณาการเนื้อหาข้ามกลุ่มสาระการเรียนรู้ก็ได้ โดยจัดเป็นหน่วยการเรียนรู้ภายใต้ประเด็น หัวเรื่อง แนวคิด หรือปัญหาเดียวกัน ซึ่งเชื่อมโยงกับชีวิตหรือประสบการณ์ในชีวิตประจำวัน  

การปรับปรุง เมื่อ 04:28, 27 เมษายน 2554

การจัดการเรียนรู้สุขศึกษาแบบบูรณาการ (Integrated Education)

การบูรณาการเป็นการจัดการเรียนรู้ที่ผสมผสานวิธีการสอน เนื้อหา กิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลาย มุ่งให้ผู้เรียนสามารถเชื่อมโยงความรู้ ความคิด ทักษะ ประสบการณ์ที่มีความหมาย มีความหลากหลาย และมีความสัมพันธ์กันในลักษณะเป็นองค์รวม สำหรับในส่วนของเนื้อหาสามารถบูรณาการในกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา หรือบูรณาการเนื้อหาข้ามกลุ่มสาระการเรียนรู้ก็ได้ โดยจัดเป็นหน่วยการเรียนรู้ภายใต้ประเด็น หัวเรื่อง แนวคิด หรือปัญหาเดียวกัน ซึ่งเชื่อมโยงกับชีวิตหรือประสบการณ์ในชีวิตประจำวัน

ในการบูรณาการการจัดการเรียนรู้สุขศึกษานั้น สามารถกระทำได้โดยการบูรณาการแบบผู้สอนคนเดียว การบูรณาการแบบคู่ขนาน การบูรณาการแบบสหวิทยาการ และการบูรณาการแบบโครงการ

การบูรณาการแบบผู้สอนคนเดียว จะใช้เชื่อมโยงสาระการเรียนรู้ต่างๆกับหัวข้อเรื่องที่สอดคล้องกับชีวิตจริงหรือสาระที่กำหนดขึ้นมา ส่วนการบูรณาการแบบคู่ขนาน จะมีผู้สอนตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป ร่วมกันจัดการเรียนการสอน โดยอาจจะยึดหัวข้อใดหัวข้อหนึ่ง แล้วบูรณาการเชื่อมโยงแบบคู่ขนาน ในเรื่องการบูรณาการแบบสหวิทยาการนี้จะนำเนื้อหาจากหลายกลุ่มสาระมาเชื่อมโยงเพื่อจัดการเรียนรู้ สำหรับการบูรณาการแบบโครงการนั้น ผู้เรียนและผู้สอนจะร่วมกันสร้างสรรค์โครงการขึ้น อาจสอนเป็นทีมหรือแยกกันสอนได้ เช่น กิจกรรมเข้าค่ายสุขภาพ กิจกรรมเข้าค่ายสิ่งแวดล้อม ฯลฯ


อาจารย์ผู้ดูแลบทความ รองศาสตราจารย์ ดร.เอมอัชฌา วัฒนบุรานนท์ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


ผู้รับผิดชอบบทความ ศูนย์การสื่อสารนานาชาติแห่งจุฬาฯ

เครื่องมือส่วนตัว