ความขัดแย้งในทางอุตสาหกรรม
จาก ChulaPedia
(หน้าที่ถูกสร้างด้วย 'ความขัดแย้งในทางอุตสาหกรรม คอลัมน์ เศรษฐกิจระบบ…')
รุ่นปัจจุบันของ 07:37, 12 พฤษภาคม 2554
ความขัดแย้งในทางอุตสาหกรรม คอลัมน์ เศรษฐกิจระบบสารสนเทศ โดย ฉวีวรรณ สายบัว
ในช่วงปีของการปิดตัวลงของศตวรรษที่ 20 ราคาโลกของผลิตภัณฑ์เดี่ยวที่ใหญ่ที่สุดของอุตสาหกรรมเหล็ก-แผ่นเหล็กรีดร้อน เหล็กสำหรับทำตัวถังรถยนต์พรวดพราดลดลงจาก 460 ดอลลาร์เป็น 260 ดอลลาร์ต่อตัน เป็นช่วงปีแห่งความรุ่งเรืองในอเมริกา และความรุ่งเรืองใน ประเทศยุโรปส่วนใหญ่ ประสบการณ์ของอุตสาหกรรมเหล็กเป็นแบบอย่างของอุตสาหกรรมโดยรวม ในระหว่างปี 1960 และ 1999 ทั้งส่วนแบ่งของอุตสาหกรรมในจีดีพีของอเมริกาและของการจ้างงานทั้งหมดโดยหยาบๆ ลดลงไปครึ่งหนึ่ง เหลือเป็นประมาณ 15% ในช่วง 40 ปีเหมือนกัน ผลผลิตทางกายภาพของอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้น 2 เท่าตัวหรือ 3 เท่าตัว ในปี 1960 อุตสาหกรรมเป็นศูนย์กลางของระบบเศรษฐกิจของอเมริกา และของเศรษฐกิจของประเทศพัฒนาแล้วอื่นทั้งหมด พอมาถึงปี 2000 ในฐานะผู้เกื้อกูลต่อจีดีพีอุตสาห กรรมเหล็กถูกเอาออกไปอย่างง่ายดาย จากการถูกจัดอันดับโดยภาคการเงิน
กำลังซื้อสัมพัทธ์ของสินค้าอุตสาหกรรม (อะไรที่นักเศรษฐศาสตร์เรียกว่าอัตราการค้า) ได้ลดลงไป 3 ใน 4 ใน 40 ปีที่ผ่านมา ส่วนราคาสินค้าอุตสาหกรรมปรับเงินเฟ้อแล้วลดลงไป 40% ราคาของผลิตภัณฑ์ความรู้หลัก 2 ผลิตภัณฑ์ คือ การรักษาพยาบาลและการศึกษาได้สูงขึ้นประมาณ 3 เท่าตัวเท่ากับภาวะเงินเฟ้อ ดังนั้น ในปี 2000 ต้องใช้ถึง 5 เท่าของจำนวนสินค้าอุตสาหกรรมในการที่จะซื้อผลิตภัณฑ์ความรู้หลักนี้ ดังที่มันเคยทำมาแล้ว 40 ปีก่อนหน้านี้
อำนาจซื้อของคนงานในโรงงานอุตสาหกรรมก็ได้ลดลงไปด้วย แม้ว่าจะน้อยกว่าผลิตภัณฑ์ของพวกเขามาก ผลิตภาพของแรงงานได้สูงขึ้นอย่างมากที่ทำให้รายได้ส่วนใหญ่ของพวกเขาได้รับการรักษาไว้ 40 ปีที่แล้ว ต้นทุนแรงงานในอุตสาหกรรมโดยธรรมเนียมแล้วมากเป็นประมาณ 30% ของต้นทุนการผลิตทั้งหมด ในตอนนี้โดยทั่วไปแล้วมันลดลงเหลือเป็น 12-15% แม้แต่ในอุตสาหกรรมรถยนต์ยังคงเป็นส่วนที่ใช้แรงงานมากสุดของสาขาวิศวกรรม ต้นทุนแรงงานในโรงงานที่ก้าว หน้ามากที่สุดก็ไม่สูงกว่า 20% คนทำงานในโรงงานอุตสาหกรรมโดยเฉพาะอย่างยิ่งในอเมริกาได้หยุดเป็นกระดูกสันหลังของตลาดผู้บริโภค ที่ระดับความสูงของวิกฤตที่ทำให้อเมริกาต้องรัดเข็มขัด เมื่อการจ้างงานในศูนย์กลางอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ถูกตัดลงอย่างปราศจากความเมตตา ยอดขายสินค้าของผู้บริโภคของประเทศแทบจะไม่กระดิก
อะไรได้เปลี่ยนแปลงการผลิตในทางอุตสาหกรรม และผลักดันผลิตภาพให้สูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ก็คือ แนวคิดใหม่ (new concept) สารสนเทศและระบบอัตโนมัติมีความสำคัญน้อยกว่าทฤษฎีใหม่ของการผลิต ซึ่งมีความก้าวหน้า เมื่อเปรียบเทียบกับการมาถึง ของการผลิตแบบจำนวนมากเมื่อ 80 ปีมาแล้ว บางทฤษฎีของทฤษฎีเหล่านี้ ดังเช่น "lean manufacturing" ของโตโยต้าที่กำจัด สมองกลคอมพิวเตอร์ และระบบอัตโนมัติออกไป ตัวอย่างหนึ่งที่ได้รับการเผยแพร่อย่างสูง เกี่ยวข้องกับการทดแทนสายการผลิต ขั้นการทำให้สีแห้งที่เป็นระบบอัตโนมัติ และคอมพิวเตอร์ โดยเครื่องเป่าผมครึ่งโหลที่ซื้อจากซูเปอร์มาร์เก็ต
อุตสาหกรรมกำลังตามมาในเส้นทางเดียวกันเลยกับที่การเกษตรเหยียบย่างมาในตอนต้นๆ เริ่มต้นในปี 1920 และเร่งขึ้นภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 การผลิตทางด้านเกษตรเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วในประเทศพัฒนาแล้วทั้งหมด ก่อนสงครามโลกครั้งที่ 1 ประเทศยุโรปตะวันตกหลายประเทศต้องนำเข้าผลิตภัณฑ์เกษตร ตอนนี้มีผู้นำเข้าสินค้าเกษตรสุทธิเพียงรายเดียวที่เหลืออยู่คือญี่ปุ่น ประเทศยุโรปแต่ละประเทศตอนนี้ มีส่วนเกินของผลผลิตในภาคเกษตร ที่ขายไม่ได้มากและสูงขึ้น ในเชิงปริมาณการผลิตในภาคเกษตรในประเทศพัฒนาแล้ว ส่วนใหญ่ในวันนี้ บางทีอย่างน้อยที่สุดก็เป็นประมาณ 4 เท่ากับที่มันเป็นในปี 1920 และเป็น 3 เท่ากับที่มันเป็นในปี 1950 (ยกเว้นในญี่ปุ่น) แต่ตรงกันข้ามในตอนต้นของศตวรรษที่ 20 เกษตรกรเป็นคนกลุ่มเดียวที่ใหญ่ที่สุดในประชากรทำงาน ในประเทศพัฒนาแล้วส่วนใหญ่ แต่ตอนนี้นับเป็นเพียงไม่เกิน 3% ไม่ว่าจะเป็นในประเทศพัฒนาแล้วประเทศไหน และตรงกันข้ามในตอนต้นของศตวรรษที่ 20 เป็นส่วนเกื้อกูลอันเดียวที่ใหญ่ที่สุดต่อรายได้ประชาชาติในประเทศพัฒนาแล้วส่วนใหญ่ ในปี 2000 ในอเมริกาเกษตรกรรมมีส่วนเกื้อกูลน้อยกว่า 2% ต่อ GDP
ในอเมริกาการโยกย้ายได้ประสบความสำเร็จแล้วเป็นส่วนใหญ่ และโดยมีความคลาดเคลื่อนน้อยที่สุด กลุ่มคนที่ได้รับผลกระทบอย่างหนักเป็นอเมริกัน อัฟริกัน กลุ่มคนที่การเติบโตในโรงงานอุตสาหกรรม ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ให้ข้อเสนอความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว และงานของคนเหล่านี้ตอนนี้หายไปหมด แต่โดยทั่วไปแม้แต่ในสถานที่ที่ขึ้นอยู่อย่างหนักกับโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่เพียงไม่กี่แห่ง การว่างงานก็ยังคงสูงเพียงในระยะสั้น แม้ว่าผลกระทบทางการเมืองในอเมริกามีต่ำสุด
แต่ประเทศอุตสาหกรรมอื่นๆ จะมีเส้นทางที่ง่ายอย่างเท่าเทียมกันหรือไม่ ในอังกฤษการว่าจ้างแรงงานในอุตสาหกรรม ได้ตกต่ำลงแล้วอย่างรวดเร็ว โดยไม่มีสาเหตุให้เกิดความไม่สงบ แม้มันดูเหมือนว่า ได้สร้างให้เกิดปัญหาทางสังคมและจิตวิทยา แต่อะไรจะเกิดขึ้นในประเทศ ดังเช่น เยอรมนีหรือฝรั่งเศสที่ซึ่งตลาดแรงงานยังคงไม่ยืดหยุ่น และ (จนกระทั่งเมื่อไม่นานมานี้) มีการเคลื่อนย้ายแรงงานระดับบนเพียงเล็กน้อยผ่านทางการศึกษา ประเทศเหล่านี้มีการว่างงานอย่างสำคัญและแก้ปัญหาได้ยาก ตัวอย่างใน Ruhr ของเยอรมนีและในพื้นที่อุตสาหกรรมเก่าของฝรั่งเศส จึงอาจเผชิญช่วงเวลาแห่งการโยกย้ายที่เจ็บปวดกับการเกิดกลียุคทางสังคมอย่างหนัก
เครื่องหมายคำถามใหญ่สุดอยู่เหนือญี่ปุ่น เพื่อความแน่ใจญี่ปุ่นไม่มีวัฒนธรรมทางชนชั้นของการทำงาน และให้ความนิยมชมชื่นมายาวนาน ในคุณค่าของการศึกษาในฐานะเครื่องมือของการโยกย้ายแรงงานระดับบน แต่เสถียรภาพทางสังคมของญี่ปุ่นอยู่บนพื้นฐานของความมั่นคงทางการจ้างงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับแรงงานกรรมกรทั่วไป (blue-collar workers) ในอุตสาหกรรมการผลิตขนาดใหญ่ และสิ่งนั้นกำลังกัดเซาะอย่างรวดเร็ว แต่ก่อนที่ความมั่นคงทางการจ้างงานถูกนำเข้ามาสำหรับกรรมกรในยุคทศวรรษ 1950 ญี่ปุ่นเคยเป็นประเทศที่มีความโกลาหลเรื่องแรงงานอย่างสุดขั้ว ส่วนแบ่งการจ้างงานรวมของอุตสาหกรรมยังคงสูงกว่าในประเทศพัฒนาแล้วส่วนใหญ่ประมาณ 1 ใน 4 ของการจ้างงานทั้งหมด และในทางปฏิบัติญี่ปุ่นไม่มีตลาดแรงงานและมีการเคลื่อนย้ายของแรงงานเพียงเล็กน้อย
ในทางจิตวิทยาด้วย ญี่ปุ่นมีการเตรียมการน้อยที่สุดสำหรับการลดลงทางด้านอุตสาหกรรม เพราะทั้งหมดแล้ว ญี่ปุ่นเป็นหนี้อุตสาหกรรมการผลิต ที่ทำให้ญี่ปุ่นมีสถานะเป็นประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจที่ยิ่งใหญ่ ในครึ่งหลังของศตวรรษที่ 20 ที่กลายมาเป็นผู้ที่มีความรู้ด้านการผลิตทางอุตสาหกรรมของโลก ใครก็ไม่ควรเลยที่จะตีราคาญี่ปุ่นต่ำ ตลอดประวัติศาสตร์ของชาวญี่ปุ่น เขาได้แสดงให้เห็นถึงความสามารถ ในการเผชิญกับความเป็นจริง และการเปลี่ยนแปลงในทางปฏิบัติได้ชั่วข้ามคืน แต่การลดลงในการผลิตทางอุตสาหกรรม ในฐานะกุญแจสู่ความสำเร็จทางเศรษฐกิจเ ผชิญหน้าญี่ปุ่นด้วยความท้าทายที่ใหญ่สุดอย่างหนึ่งที่เคยมีมา
การลดลงของการผลิตทางด้านอุตสาหกรรมในฐานะผู้ผลิตความมั่งคั่งและสร้างงานเปลี่ยน ภูมิทัศน์ทางเศรษฐกิจ สังคมและการเมืองโลก มันทำให้ "มหัศจรรย์ทางเศรษฐกิจ" (economic miracle) ยากลำบากมากขึ้นสำหรับประเทศกำลังพัฒนา มหัศจรรย์ทางเศรษฐกิจของครึ่งหลังของศตวรรษที่ 20-ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ไต้หวัน ฮ่องกง สิงคโปร์ บนพื้นฐานของการส่งออกไปยังประเทศร่ำรวยของโลก ของสินค้าอุตสาหกรรมที่ถูกผลิตด้วยเทคโนโลยี และผลิตภาพของประเทศพัฒนาแล้ว แต่ด้วยต้นทุนแรงงานของประเทศตลาดเกิดใหม่ นี่จะไม่ได้ผลอยู่ต่อไป ทางหนึ่งที่จะสร้างการพัฒนาเศรษฐกิจ อาจเป็นการรวมเศรษฐกิจของประเทศเกิดใหม่เข้าไปสู่ภูมิภาคที่พัฒนาแล้ว ซึ่งก็เหมือน เช่นที่ Vincent Fox ประธานาธิบดีเม็กซิกันคนใหม่ยื่นขอเสนอให้เกิดความร่วมมือกันทั้งหมดของอเมริกาเหนือ ตัวอย่างสหรัฐอเมริกา แคนาดาและเม็กซิโก ในทางเศรษฐกิจสิ่งนี้มีเหตุผลอย่างมาก แต่ในทางการเมืองมันเป็นสิ่งที่เกือบจะคิดไม่ได้ ทางเลือกอื่นที่กำลังถูกเสนอโดยจีน นั่นคือ ความพยายามที่จะบรรลุการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ โดยการสร้างตลาดภายในประเทศกำลังพัฒนาขึ้น อินเดีย บราซิล และเม็กซิโกมีประชากรใหญ่เพียงพอด้วยที่จะทำให้การพัฒนาเศรษฐกิจโดยอาศัยตลาดภายในประเทศเป็นจริงได้ อย่างน้อยก็ในทางทฤษฎี แต่ประเทศเล็กๆ อย่างเช่น ปารากวัย หรือประเทศไทย จะได้รับอนุญาตให้ส่งออกไปยังตลาดใหญ่ ของประเทศเกิดใหม่ ดังเช่นบราซิลหรือไม่ ?
การลดลงในอุตสาหกรรมการผลิตในฐานะผู้สร้างความมั่งคั่งและสร้างงานจะหลีกเลี่ยงที่จะนำไปสู่ลัทธิการคุ้มกันใหม่ไม่ได้ อีกครั้งที่มันดังกึกก้องว่าอะไรที่เกิดขึ้นในตอนแรกๆ ในภาคเกษตร ทุก 1% ที่ราคา และการจ้างงานทางด้านเกษตร ได้ลดต่ำลงในศตวรรษที่ 20 การอุดหนุน และการคุ้มครองทางการเกษตรในทุกๆ ประเทศพัฒนาแล้ว รวมทั้งอเมริกาได้สูงขึ้นอย่างน้อย 1% บ่อยครั้งที่มากกว่านั้น และยิ่งเกษตรกรที่เป็นผู้ออกเสียงมีจำนวนน้อยลง ก็ยิ่งทำให้คะแนนเสียงมีความสำคัญมากขึ้น เพราะจำนวนที่ลดน้อยลงทำให้เกษตรกร กลายเป็นกลุ่มผลประโยชน์พิเศษที่รวมกัน ถือเสียงดังอย่างไม่ได้สัดส่วนในประเทศรวยทั้งหมด
ลัทธิการคุ้มกันในอุตสาหกรรมมีพยานหลักฐานให้เห็นแล้ว แม้ว่ามันโน้มเอียงที่จะอยู่ในรูปของการอุดหนุน แทนที่จะเป็นภาษีศุลกากรตามแบบดั้งเดิม กำแพงเศรษฐกิจทางภูมิภาคใหม่ ดังเช่น สหภาพยุโรป หรือนาฟต้า สร้างตลาดภูมิภาคขนาดใหญ่ที่มีสิ่งกีดขวางภายในน้อยลง แต่สร้างสิ่งกีดขวางที่มากขึ้นจากผู้ผลิตนอกภูมิภาค และสิ่งกีดขวางทางด้านที่ไม่ใช่ภาษีศุลกากร กำลังเติบโตขึ้นอย่างสม่ำเสมอ ในสัปดาห์เดียวกันที่ซึ่งการลดลง 40% ในราคาเหล็กแผ่น ได้ถูกประกาศในหนังสือพิมพ์อเมริกัน รัฐบาลอเมริกันห้ามนำเข้าเหล็กแผ่นในฐานะที่มีการ "ทุ่มตลาด" และไม่ว่าจะเป็นจุดมุ่งหมายที่น่ายกย่องอย่างไรก็ตาม การยืนกรานของประเทศพัฒนาแล้วในเรื่องกฎหมายแรงงานที่เป็นธรรม และกฎข้อบังคับทางด้านสิ่งแวดล้อมที่เพียงพอสำหรับผู้ผลิตอุตสาหกรรมในประเทศกำลังพัฒนา มันทำบทบาทในฐานะสิ่งกีดขวางอันใหญ่โตในการที่จะนำเข้าจากประเทศเหล่านี้