กฎหมายวิทยุโทรทัศน์

จาก ChulaPedia

(ความแตกต่างระหว่างรุ่นปรับปรุง)
ข้ามไปที่: นำทาง, สืบค้น
Pphruet (พูดคุย | เรื่องที่เขียน)
(หน้าที่ถูกสร้างด้วย 'คณะกรรมการบริหารวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศ…')

รุ่นปัจจุบันของ 07:43, 12 พฤษภาคม 2554

คณะกรรมการบริหารวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ ( กบว.) ซึ่งประกอบด้วยตัวแทนจากส่วนราชการต่าง ๆ จำนวน ๑๖ คน เป็นกรรมการ คณะกรรมการ กบว. ยังได้แต่งตั้งอนุกรรมการตรวจพิจารณาเนื้อหารายการต่าง ๆ เช่น รายการละครโทรทัศน์ ภาพยนตร์ และโฆษณา ทำให้อำนาจหน้าที่ในด้านการควบคุมเซนเซอร์รายการเป็นที่รู้จักของประชาชนมากกว่าอำนาจหน้าที่ด้านอื่น ๆ คณะกรรมการ กบว. ยังได้แต่งตั้อนกรรมการตรวจพิจารณาเนื้อหารายการต่าง ๆ เช่น รายการละครโทรทัศน์ ภาพยนตร์ และโฆษณา ทำให้อำนาจหน้าที่ในด้านการควบคุมเซนเซอร์รายการเป็นที่รู้จักของประชาชนมากกว่าอำนาจหน้าที่ด้านอื่น ๆ ในปี ๒๕๓๕ ภายหลังวิกฤตการณ์การเมืองเดือนพฤษภาคม รัฐบาลได้ออกระเบียบว่าด้วยวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ พ.ศ. ๒๕๓๕

ให้มีคณะกรรมการกิจการวิทยุกระจายเสียง�และวิทยุโทรทัศน์แห่งชาติ ( กกช.) หรือ National Broadcasting Commission (NBC) ประกอบด้วย

  -   นายกรัฐมนตรีเป็นประธาน 
  -  รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีเป็นรองประธาน
  -  กรรมการซึ่งเป็นผู้แทนจากหน่วยงาน (ที่เป็เจ้าของคลื่นความถี่) ๘ คน
  -  กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านนิเทศศาสตร์  วารสาร
  -  ศาสตร์หรือสื่อสารมวลชน ๓ คน
  -  ผู้แทนองค์การเอกชนเพื่อสาธารณประโยชน์ ๕ คน
  -  อธิบดีกรมประชาสัมพันธ์เป็นกรรมการ  และเลขานุการ

ระเบียบว่าด้วยวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ พ.ศ. ๒๕๓๕ ก็ยังไม่สามารถกำกับดูแลให้สื่อวิทยุและโทรทัศน์ดำเนินการอย่างมีประสิทธิภาพและเสนอข่าวสารที่เป็นจริงและรายการที่มีคุณภาพได้ ในช่วงที่มีการดำเนินการปฏิรูปการเมืองและแก้ไขรัฐธรรมนูญ ได้มีการเรียกร้องให้มีการปฏิรูปสื่อวิทยุและโทรทัศน์ด้วย เนื่องจากเมื่อเกิดวิกฤตการณ์ทางการเมือง สื่อวิทยุและโทรทัศน์ปิดบัง และบิดเบือนความจริง

ดังนั้น จึงได้มีการตราพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับกิจการวิทยุกระจายเสียงวิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. ๒๕๔๓ เพื่อเป็นแนวทางในการกำกับดูแลและส่งเสริมกิจการด้านวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม

สาระสำคัญของพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับกิจการวิทยุกระจายเสียงวิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. ๒๕๔๓ หรือเรียกชื่อย่อว่า พระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่น�ความถี่ฯ มีสาระสำคัญดังนี้

1. กำหนดให้มีคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์แห่งชาติ หรือ กสช. ประกอบด้วยกรรมการ จำนวน ๗ คน ซึ่งได้รับการสรรหาจากคณะกรรมการสรรหาที่เป็นตัวแทนของส่วนราชการ, สถาบันการศึกษาด้านนิเทศศาสตร์ วารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน, องค์กรหรือสมาคมวิชาชีพด้านวิทยุและโทรทัศน์ และองค์กรเอกชนด้านการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสื่อสารมวลชน หรือใช้สื่อสารมวลชนเพื่อสาธารณประโยชน์ �และแต่งตั้งตามคำแนะนำของวุฒิสภา

2. กำหนดให้มีการจัดทำแผนแม่บทกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ โดยให้มีวิทยุและโทรทัศน์เพื่อประโยชน์สาธารณะระดับ ท้องถิ่น เป็นสถานีประจำจังหวัด ให้จัดสรรคลื่นความถี่โดยคำนึงถึงสัดส่วนที่เหมาะสมระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน ให้จัดสรรคลื่นความถี่ให้ภาคประชาชนไม่น้อยกว่าร้อยละยี่สิบ โดยได้รับการสนับสนุนจาก กสช.



โดย Introduction to Mass Media Team Teaching รศ. ดร. อุบลรัตน์ ศิริยุวศักดิ์ รศ. ปัทวดี จารุวร ผศ. ดร. พิรงรอง รามสูต ผศ. เมธา เสรีธนาวงศ์ อ. ไศสทิพย์ จารภูมิ รศ. ถิรนันท์ อนวัชศิริวงศ์

เครื่องมือส่วนตัว