พระสังกัจจายน์

จาก ChulaPedia

(ความแตกต่างระหว่างรุ่นปรับปรุง)
ข้ามไปที่: นำทาง, สืบค้น
Pphruet (พูดคุย | เรื่องที่เขียน)
(หน้าที่ถูกสร้างด้วย ' “พระสังกัจจายน์” หรือพระยิ้ม หรือที่เรียกทั่วไ…')
แตกต่างถัดไป →

การปรับปรุง เมื่อ 03:45, 24 พฤษภาคม 2554


“พระสังกัจจายน์” หรือพระยิ้ม หรือที่เรียกทั่วไปว่า พระถุงย่าม เป็นพระทางศาสนาพุทธที่ทั้งชาวจีนในไทยและชาวไทยรู้จักกันเป็นอย่างดี เมื่อเข้าไปในวัดจีน เช่น วัดบำเพ็ญจีนพรต ที่เยาวราช วัดมังกรกมลาวาส ที่เจริญกรุง หรือวัดโพธิแมนคุณาราม ที่สาธุประดิษฐ์ ในตำหนักหน้าสุดที่เรียกกันว่า ตำหนักท้าวจตุโลกบาล ก็จะเห็นพระสังกัจจายน์มองออกไปทางหน้าประตูใหญ่ของวัด


พระสังกัจจายน์ หรือหมีเล่อโฝว หรือหมีเหล็กฮุก เป็นพระที่ทุกคนกราบไหว้เพราะเชื่อว่าเป็นพระที่นำโชค ความอ้วนพุงยุ้ยหมายถึงความอุดมสมบูรณ์มั่งคั่ง ใบหน้ายิ้มแย้มเป็นการนำโชค


เรื่องเล่าของพระสังกัจจายน์

มีเรื่องเล่าเกี่ยวกับพระรูปนี้ ว่าท่านชื่อฉีฉื่อ เป็นชาวเฝิ่งหว้า แห่งมณฑลเจ้อเจียงในปลายสมัยราชวงศ์ถัง ท่านมีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่าจั่งทิงจื่อ เป็นพระที่รูปร่างอ้วนเตี้ย พุงยุ้ย มักใช้ไม้เท้าที่ทำจากไม้ไผ่เกี่ยวถุงผ้าแล้วแบกไว้บนบ่า มักปรากฏกายไปบิณฑบาตในตลาดที่มีผู้คนพลุกพล่านด้วยใบหน้ายิ้มแย้มตลอดเวลา พูดจาผิดจากคนทั่วไป ค่ำที่ไหน นอนที่นั่น มักจะบอกเล่าและทำนายเรื่องในอนาคตที่จะเป็นอันตรายต่อผู้คน ราวกับเป็นผู้หยั่งรู้ฟ้าดิน ความจริงแล้วสิ่งที่ติดตัวของท่านก็มีเพียงถุงย่ามใบเดียว ท่านมักจะนำของที่บิณฑบาตมาได้เทรวมลงไปในถุงย่าม ผู้คนเข้ามามุงดู ท่านจะพูดกับคนเหล่านั้นด้วยคำพูดที่เปรียบเทียบให้คนรู้เห็นธรรมอันแท้จริง บางคนบอกว่าท่านเป็นเทพเจ้า บางคนก็ว่าท่านเป็นบ้า ในวันที่ท่านมรณภาพก็มีเรื่องแปลกเกิดขึ้น ในวันที่ท่านมาถึงวัดเอี้ยนหลินซื่อ ของเมืองเฟิงหว้าที่เป็นบ้านเกิด นั่งอยู่บนหินแบนๆ ก้อนหนึ่ง แล้วสวดคำสวดที่แปลว่า “พระหมีเล่อนี้เป็นพระหมีเล่อองค์จริง แปลงกายได้หลากหลายกาย ปรากฏกายให้คนในยุคนั้นเห็นบ่อยครั้ง แต่ผู้คนกลับไม่รู้จัก” หลังจากท่านสวดจบก็มรณภาพ ต่อมาผู้คนเข้าไปพิจารณาดูแล้วรู้ว่าที่แท้พระรูปนี้คือกายแปลงของพระหมีเล่อ จึงได้นำร่างของท่านไปยังทางตะวันตกของเอี้ยงหลินซื่อ แล้วก็สร้างเป็นวัดขึ้น ณ ที่นั้น เรียกว่าวัดหมีเล่ออัน หลังจากนั้นก็มีการสร้างรูปเคารพ ตามรูปรางลักษณะของพระยิ้มหรือพระถุงย่ามเมื่อครั้งมีชีวิตอยู่ แล้วประดิษฐานไว้ที่กลางตำหนักท้าวจตุโลกบาล เพื่อให้ผู้คนกราบไหว้


รวบรวมและเรียบเรียงบทความ ศูนย์การสื่อสารนานาชาติแห่งจุฬาฯ

เครื่องมือส่วนตัว