ประเภทของการสื่อสาร

จาก ChulaPedia

(ความแตกต่างระหว่างรุ่นปรับปรุง)
ข้ามไปที่: นำทาง, สืบค้น
Pphruet (พูดคุย | เรื่องที่เขียน)
(หน้าที่ถูกสร้างด้วย ' == 1. Intrapersonal Communication การสื่อสารภายในบุคคล == เป็นการสื่อส…')
แตกต่างถัดไป →

การปรับปรุง เมื่อ 08:07, 8 กันยายน 2554

เนื้อหา

1. Intrapersonal Communication การสื่อสารภายในบุคคล

เป็นการสื่อสารแบบสองทางที่เป็นนามธรรม และเป็นพื้นฐานของการสื่อสาร ซึ่งจะต้องเข้าใจว่า คุณคือใคร และคิดอะไร โดยผ่านการคิดและพูดกับตัวเอง ไม่ว่าจะเป็น การคิดถึงสิ่งที่ผ่านเข้ามา การแปลความหมายของข้อความหรือเหตุการณ์ต่างๆ การตอบรับประสบการณ์และ มีการมีปฏิกิริยากับสิ่งอื่น


2. Interpersonal Communication การสื่อสารระหว่างบุคคล

เป็นการถ่ายทอดความรู้ ความคิด ความรู้สึก และความต้องการของผู้ส่งสารไปยังผู้รับสาร และเกิดปฏิกิริยาตอบสนอง โดยจะต้องสื่อสารกันระหว่าง 2-3 คน ในระยะใกล้กัน (Dyad) เห็นหน้ากัน (Face to Face) หรือไม่เห็นหน้ากันก็ได้ และมีการเข้าใจความหมายร่วมกัน (Sharing of Meaning) ทั้งในแบบของวัจนภาษา และอวัจนภาษา เพื่อให้คนได้รู้จักตัวเอง เข้าใจผู้อื่นหรือโลกภายนอก สร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างกัน และเพื่อการเปลี่ยนแปลงทัศนคติและพฤติกรรมของตนเองและผู้อื่น

บางครั้งอาจเกิดปัญหาขึ้นในการสื่อสารระหว่างบุคคล ซึ่งการแก้ไขมีหลายวิธี คือ

- การหลีกเลี่ยงความขัดแย้ง

- การลดความขัดแย้งให้น้อยลง

- การทำให้อีกฝ่ายนิ่งเฉย

- การตำหนิ

- การใช้กำลัง

โดยมีขั้นตอนการแก้ไขปัญหา ดังนี้

- ระบุปัญหา

- เลือกทางเลือกในการแก้ปัญหา

- ทดสอบทางเลือก

- ประเมินผลการตัดสินใจ


3. Group Communication การสื่อสารกลุ่ม

เป็นการสื่อสารของกลุ่มบุคคลจำนวนหนึ่ง ซึ่งสามารถสื่อสารเฉพาะหน้าระหว่างกันได้ และมีความสนใจหรือการแสดงออกร่วมกันในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง โดยอาจเป็นการสื่อสารแบบ 1:1 หรือแบบหนึ่งคนต่อหลายๆ คน เพื่อเป็นการส่งสารสู่สมาชิกในกลุ่มก็ได้ การสื่อสารกลุ่มได้แก่

การสื่อสารแบบกลุ่มเล็ก (Small-group communication) เป็นกลุ่มที่มีสมาชิกจำนวน 3 คนขึ้นไป (แต่ไม่มากจนเกินไปสมาชิกรู้จักซึ่งกันและกันอย่างทั่วถึง และมีเป้าหมายเดียวกัน ซึ่งการสื่อสารแบบกลุ่มเล็กนี้ จะเป็นไปอย่างไม่เป็นทางการ

การสื่อสารแบบกลุ่มใหญ่ (Large-group communication) หรือการพูดในที่สาธารณะชน เป็นกลุ่มที่มีสมาชิกจำนวนมากจนไม่สามารถรู้จักซึ่งกันและกันได้อย่างทั่วถึง ลักษณะการสื่อสารจะเป็นไปในทางการอภิปราย การบรรยาย หรือการปาฐกถา ซึ่งการสื่อสารแบบกลุ่มใหญ่นี้จะต้องมีหัวหน้าควบคุมการปฏิบัติงานอย่างเป็นอย่างเป็นทางการ


4. Organization Communication การสื่อสารองค์กร

องค์การ คือ การรวมตัวกันตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป มีการแบ่งงานกันทำให้กับสมาชิกอย่างชัดเจนเพื่อทำงานออกมาเป็นประเภทต่างๆ ให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่มีร่วมกัน องค์กรมี 2 ประเภท คือ องค์กรปฐมภูมิ (เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ) และองค์กรทุติยภูมิ (เกิดขึ้นด้วยบทบาท หน้าที่) หรือจะแบ่งเป็น องค์กรแบบเป็นทางการ (มีรูปแบบ) และองค์กรแบบไม่เป็นทางการ (ไร้รูปแบบ) การสื่อสารองค์กรเป็นเครื่องมือที่ช่วยสร้างความสัมพันธ์เพื่อพัฒนาการทำงานให้มีประสิทธิภาพ

การสื่อสารองค์กรแบ่งเป็น 2 แบบ คือ

- การสื่อสารภายในองค์กร เพื่อสร้างความเข้าใจ, ความมั่นคง, เป็นศูนย์รวม โดยผ่านทางสายงาน ช่องทางและกิจกรรมต่างๆ

- การสื่อสารภายนอกองค์กร เพื่อเผยแพร่ข่าวสาร, สร้างความเข้าใจเกี่ยวกับกิจการ โดยผ่านทางจดหมาย และสื่อต่างๆ


5. การสื่อสารมวลชน (Mass Communication)

การสื่อสารมวลชน เป็นสถานการณ์ของการสื่อสารอีกอย่างหนึ่ง ซึ่งมีลักษณะสำคัญดังนี้

1. เป็นการสื่อสารที่มุ่งไปยังผู้รับจำนวนค่อนข้างมาก ไม่รู้จักมักคุ้นกัน และมีความแตกต่างกันในหมู่ผู้รับ

2. มีการถ่ายทอดสารอย่างเปิดเผยส่วนใหญ่จะกำหนดเวลาให้ถึงกลุ่มผู้รับพร้อมๆ กัน

3. การสื่อสารมวลชนมักจะเป็นการสื่อสารในองค์การที่ซับซ้อนมีค่าใช้จ่ายที่สูงมาก

สถานการณ์ของการสื่อสารมวลชนกับองค์ประกอบของกระบวนการสื่อสารไว้ว่า ผู้ส่งสารในการสื่อสารมวลชนมักจะเป็นองค์กรที่มีโครงสร้างองค์การและมีการจัดระบบทำงานที่ชัดเจน ข่าวสารจากสื่อมวลชนที่ปรากฏ ได้แก่ ข่าวสารในหน้าหนังสือพิมพ์ รายการวิทยุกระจายเสียง หรือวิทยุโทรทัศน์ เป็นผลจากการระดมสมองเพื่อการผลิตจากทีมงานมากกว่า 2 คน ซึ่งจะต้องผ่านกระบวนการการเลือกสรรข่าวสาร การตัดสินใจในเรื่องรูปแบบ และวิธีการในการนำเสนอเป็นลำดับขั้นตอนก่อนที่ข่าวสารจะถึงมือผู้รับสารและข่าวสารนั้นจะถูกส่งผ่านอย่างเปิดเผยเพื่อให้สาธารณชนได้รับรู้เกือบจะพร้อมๆ กัน เช่น การกระจายเสียงทางวิทยุกระจายเสียง หรือวิทยุโทรทัศน์ การตีพิมพ์ข่าวสารในหน้าหนังสือพิมพ์ เป็นต้น ข่าวสารในการสื่อสารมวลชนมักจะเป็นข่าวสารเพื่อสาธารณชน และมักจะได้รับปฏิกิริยาสะท้อนกลับค่อนข้างช้า นอกจากนี้ยังอาจมีอุปสรรคที่เกิดจากสื่อ อุปสรรคที่เกิดจากการเลือกใช้ภาษาในการสื่อสาร และอุปสรรคจากสภาพแวดล้อม อันจะทำให้ประสิทธิภาพในการสื่อสารลดลงอีกด้วย


รวบรวมและเรียบเรียงบทความ ศูนย์สื่อสารนานาชาติแห่งจุฬาฯ

เครื่องมือส่วนตัว