เจ้าแม่กวนอิม (กวนซื่ออิน)

จาก ChulaPedia

(ความแตกต่างระหว่างรุ่นปรับปรุง)
ข้ามไปที่: นำทาง, สืบค้น
(หน้าที่ถูกสร้างด้วย 'เจ้าแม่กวนอิมเป็นที่นับถือมากที่สุดของชาวจีนใน…')
 
แถว 26: แถว 26:
“ปางซ่งจื่อกวนอิน” เป็นปางที่ประทานบุตรให้กับผู้ที่มากราบไหว้
“ปางซ่งจื่อกวนอิน” เป็นปางที่ประทานบุตรให้กับผู้ที่มากราบไหว้
 +
 +
 +
'''''ที่มาข้อมูล''''' นิตยสารศิลปวัฒนธรรม
'''''รวบรวมและเรียบเรียงบทความ''''' ศูนย์การสื่อสารนานาชาติแห่งจุฬาฯ
'''''รวบรวมและเรียบเรียงบทความ''''' ศูนย์การสื่อสารนานาชาติแห่งจุฬาฯ

รุ่นปัจจุบันของ 08:24, 14 กันยายน 2554

เจ้าแม่กวนอิมเป็นที่นับถือมากที่สุดของชาวจีนในไทย หรือแม่แต่ชาวไทย ชาวแต้จิ๋วเรียกขนานนามของพระนางว่า กวนชีอินผ่อสัก หรือพระโพธิสัตว์กวนอิม ในบทสวด “กวนซื่ออินผู่ซ่าผู่เหมินผิ่น” กล่าวไว้ว่า มวลมนุษยชาติแม้จะมีจำนวนมากเพียงใด หากมีความทุกข์ขอเพียงสวดขานพระนามของพระโพธิสัตว์องค์นี้ ก็จะสามารถพ้นจากภัยทั้งปวงได้ จากคำกล่าวย่อมแสดงให้เห็นอย่างเด่นชัดถึงความเมตตากรุณา และพระบารมีของพระโพธิสัตว์องค์นี้


ประวัติความเป็นมาของเจ้าแม่กวนอิม

ประวัติความเป็นมาของพระโพธิสัตว์องค์นี้มีผู้กล่าวไว้แตกต่างกันออกไป บ้างก็กล่าวว่าพระโพธิสัตว์องค์นี้ถูกสร้างขึ้นมา ไม่ได้มีตัวตนอยู่จริง แต่เมื่อมีผู้มากราบไหว้บูชามากมาย จึงพยายามผูกเป็นเรื่องให้เข้ากับประวัติศาสตร์จีน แต่มีเรื่องเล่าถึงความเป็นมาที่เป็นที่นิยมอย่างแพร่หลาย และได้รับการอ้างอิงในหนังสือ “รวมเทพเจ้าของจีน” ว่า เป็นพระธิดาของพระราชาองค์หนึ่ง อยู่ในยุคสมัยหนึ่งในประวัติศาสตร์จีน พระนางนั้น เดิมเป็นพระธิดาของพระเจ้าเมี่ยวจวงหวาง ทรงพระนามว่าเมี่ยวซ่าน ทรงฝักใฝ่ในพระพุทธศาสนาตั้งแต่ทรงพระเยาว์ ไม่ยอมเข้าสู่พิธีอภิเษกสมรสตามพระราชประสงค์ของพระบิดา ต่อมาได้เทพทางศาสนาเต๋า คือ เทพไท้ไป๋ซิงจวินชี้แนะ จึงได้บำเพ็ญบารมีจนตรัสรู้เป็นพระโพธิสัตว์ ทางศาสนาเต๋าเรียกขนานพระนามว่า “พี่ลั่วต้งเทียนตี้หวาง” หรือ “หยวนทงมู่จ้ายเทียนจุน”

พระโพธิสัตว์กวนอิมเป็นที่นับถือของชาวจีนมากเพียงใด และด้วยศาสนาพุทธและศาสนาเต๋าล้วนเข้าไปสู่วิถีชีวิตของชาวจีนอย่างแยกกันไม่ออก พระโพธิสัตว์กวนอิมของศาสนาพุทธจึงกลายเป็นเทพของศาสนาเต๋าไปด้วย


ความเชื่อเรื่องเจ้าแม่กวนอิม

เจ้าแม่กวนอิมแท้จริงแล้ว คือ พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร ที่มีรูปร่างเป็นชายสง่างาม สามารถพบเห็นรูปจำลองได้หลายองค์ที่อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นศิลปะสมัยศรีวิชัย นอกจากนี้ในศิลปะเขมร และศิลปะจีนในช่วงแรก พระโพธิสัตว์องค์นี้ก็มีรูปกายเป็นชาย หรือในประเทศจีนช่วงแรกก็เช่นกัน

ความเชื่อเรื่องพระโพธิสัตว์เข้าสู่จีนตั้งแต่สมัยสามก๊ก ซึ่งนับมาได้ 1,700 กว่าปีมาแล้วในสมัยนั้น “บทสวดอู่เลี่ยงโซ่วจิง” เป็นที่นิยมกันมาก จนมาถึงสมัยราชวงศ์จิ้นตะวันออกชาวจีนก็รู้จักการเกิดในพุทธภูมิใหม่ ในแดนสุขาวดีพุทธเกษตรที่อยู่ทางตะวันตก อันเป็นยุคของพระศรีอริยเมตไตรย การที่พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรกลายเป็นหญิงนั้น อาจเป็นเพราะให้เป็นที่พอใจแก่พุทธศาสนิกชนที่เป็นหญิง ซึ่งมีทั้งหญิงจากตระกูลสูงศักดิ์ราชนิกูล หรือแม้แต่พระมเหสีก็ล้วนนับถือเจ้าแม่กวนอิมอย่างมาก ผู้รู้บางตำราอ้างว่า พระโพธิสัตว์กวนอิม เริ่มปรากฎเป็นร่างหญิง ในสมัยราชวงศ์หยวน ซึ่งไม่น่าจะถูกต้องนัก ความจริงแล้วพระโพธิสัตว์กวนอิมเป็นหญิงนั้น ปรากฏตั้งแต่สมัยราชวงศ์สุยและถังแล้ว


ลักษณะปางของเจ้าแม่กวนอิม

เจ้าแม่กวนอิมมีกายแปลงได้ 33 กาย ซึ่งหมายรวมถึงปางที่มีกายเป็นหญิงด้วย โดยปางที่นิยมสร้างเป็นรูปเคารพกันในปัจจุบัน ได้แก่

“ปางหยางหลิ่วกวนอิน” ปางนี้พระโพธิสัตว์กวนอิมพระหัตถ์หนึ่งถือกิ่งต้นหลิว อีกพระหัตถ์ถือน้ำอมฤต เชื่อกันว่าสามารถรักษาโรคภัยไข้เจ็บได้

“ปางไป๋อีกวนอิน” ปางนี้พระโพธิสัตว์กวนอิมฉลองพระองค์ด้วยชุดสีขาว เป็นปางที่คอยช่วยเหลือผู้ตกทุกข์ได้ยาก

“ปางซ่งจื่อกวนอิน” เป็นปางที่ประทานบุตรให้กับผู้ที่มากราบไหว้


ที่มาข้อมูล นิตยสารศิลปวัฒนธรรม

รวบรวมและเรียบเรียงบทความ ศูนย์การสื่อสารนานาชาติแห่งจุฬาฯ

เครื่องมือส่วนตัว