การจัดเรตติ้งรายการโทรทัศน์ในประเทศไทย

จาก ChulaPedia

(ความแตกต่างระหว่างรุ่นปรับปรุง)
ข้ามไปที่: นำทาง, สืบค้น
Pphruet (พูดคุย | เรื่องที่เขียน)
(หน้าที่ถูกสร้างด้วย ' == ระบบของเรตติ้ง == 1. ระบบการจำแนกเนื้อหาตามช่วงอา…')

รุ่นปัจจุบันของ 06:29, 26 กันยายน 2554

ระบบของเรตติ้ง

1. ระบบการจำแนกเนื้อหาตามช่วงอายุของผู้ชม

2. ระบบการประเมินคุณภาพเนื้อหารายการโทรทัศน์ เพื่อพิจารณาว่า รายการนั้นให้การเรียนรู้เรื่องใด


ประเภทของเรตติ้งรายการโทรทัศน์

1. รายการทั่วไปเหมาะสำหรับผู้ชมทุกวัย

ไฟล์:1_general.png

ใช้รูปบ้านสีเขียวเป็นสัญลักษณ์ แทนการสื่อความหมายของรายการครอบครัว คือ รายการที่ทุกคนในบ้านสามารถรับชมได้

2. รายการสำหรับเด็กก่อนวัยเรียน อายุ 2-6 ปี

ไฟล์:2_pre-school.png

ใช้รูปเด็กยิ้มสีชมพู เป็นสัญลักษณ์แทนรายการสาระสนุกที่เด็กควรจะได้รับตามวัยที่เหมาะสม

3. รายการสำหรับเด็ก อายุ 2-12 ปี

ไฟล์:3_children2-12.png

ใช้รูปจิ๊กซอว์ เป็นสัญลักษณ์แทนรายการส่งเสริมการพัฒนาการของเด็กซึ่งเด็กจะได้รับการเสริมพัฒนาการพร้อมกับสาระความรู้

4. รายการที่ผู้ใหญ่ควรให้คำแนะนำ

ไฟล์:4_Adult advice.png

ใช้รูปเครื่องหมาย ถูก-ผิด สีส้ม เป็นสัญลักษณ์แทนการสื่อความหมายว่า รายการประเภทนี้มีทั้งสองด้าน ดี-ไม่ดี ถูก-ผิด ผู้ปกครองควรให้คำแนะนำแก่เด็กขณะรับชม

5. รายการที่ผู้ใหญ่ควรให้คำแนะนำแก่ผู้ชม อายุน้อยกว่า 13 ปี

ไฟล์:5_adult advice 13.png

ใช้รูปเครื่องหมาย ถูก-ผิด สีส้ม เป็นสัญลักษณ์ แทนการสื่อความหมายว่า รายการประเภทนี้มีทั้งสองด้าน ดี-ไม่ดี ถูก-ผิด ผู้ปกครองควรให้คำแนะนำแก่เด็กอายุน้อยกว่า 13 ปี ขณะรับชม เมื่อตัวละครแสดงพฤติกรรมที่เลวร้าย หรือ ไม่เหมาะสม อาทิ ฉากด่าทอตบตี

6. รายการที่ผู้ใหญ่ควรให้คำแนะนำแก่ผู้ชม อายุน้อยกว่า 18 ปี

ไฟล์:6_adult advice 18.png

ใช้รูปเครื่องหมาย ถูก-ผิด สีส้ม เป็นสัญลักษณ์แทนการสื่อความหมายว่า รายการประเภทนี้มีทั้งสองด้าน ดี-ไม่ดี ถูก-ผิด ผู้ปกครองควรให้คำแนะนำแก่เด็กอายุน้อยกว่า 18 ปี ขณะรับชม โดยไม่มีเนื้อหาที่แสดงให้เห็นถึงการมีเพศสัมพันธ์ที่เปิดเผยอวัยวะเพศ สาธิตวิธีการก่ออาชญากรรม และวิธีการใช้สิ่งเสพติด

7. รายการเฉพาะไม่เหมาะแก่เด็กและเยาวชน

ไฟล์:7_not suitable.png

ใช้รูปเครื่องหมายฟ้าผ่าสีแดงเป็นสัญลักษณ์ แทนการสื่อความหมายว่า รายการประเภทนี้ มีเนื้อหาที่ไม่เหมาะสมและค่อนข้างเป็นอันตราย


รวบรวมและเรียบเรียงบทความ งานสื่อสารนานาชาติแห่งจุฬาฯ

เครื่องมือส่วนตัว