การใช้กระดาษสำหรับงานพิมพ์

จาก ChulaPedia

(ความแตกต่างระหว่างรุ่นปรับปรุง)
ข้ามไปที่: นำทาง, สืบค้น
Pphruet (พูดคุย | เรื่องที่เขียน)
(หน้าที่ถูกสร้างด้วย ' == ขนาดมาตรฐานของกระดาษแบบแผ่น == ผู้ผลิตและจำหน่…')

รุ่นปัจจุบันของ 09:04, 28 กันยายน 2554

ขนาดมาตรฐานของกระดาษแบบแผ่น

ผู้ผลิตและจำหน่ายกระดาษขนาดใหญ่สำหรับใช้ในโรงพิมพ์จะมีการบรรจุกระดาษเป็นห่อ ห่อละ 500 แผ่นซึ่งเรียกว่า 1 รีม และมีการจัดขนาดของกระดาษเป็นมาตรฐานดังนี้


                  ขนาด         31 x 43    นิ้ว
                  ขนาด         35 x 43    นิ้ว
                  ขนาด         28 x 40    นิ้ว
                  ขนาด         25 x 36    นิ้ว
                  ขนาด         24 x 35    นิ้ว


นอกจากนี้ยังมีกระดาษบางประเภทซึ่งมีขนาดบรรจุสำหรับจำหน่ายต่างไปจากที่กล่าวมาแล้วนี้


ในการพิมพ์สิ่งพิมพ์บรรจุภัณฑ์มักใช้ขนาด 31 x 43 นิ้ว, 35 x 43 นิ้วและ 28 x 40 นิ้ว

ส่วนการพิมพ์สิ่งพิมพ์ทั่วไปรวมถึงหนังสือต่างๆ มักใช้ขนาด 31 x 43 นิ้ว, 25 x 36 นิ้ว และ 24 x 35 นิ้ว (ขนาด 31 x 43 นิ้ว เป็นขนาดที่จัดสำหรับมาตรฐานรหัสชุด B ซึ่งใหญ่กว่าขนาด B1 เล็กน้อยเพื่อเผื่อไว้สำหรับขบวนการพิมพ์

ส่วนขนาด 25 x 36 นิ้ว และ 24 x 35 นิ้ว เป็นขนาดที่จัดสำหรับมาตรฐานรหัสชุด A ซึ่งมีขนาดใหญ่กว่า A1 เล็กน้อย)

อนึ่งกระดาษแต่ละชนิดแต่ละน้ำหนักอาจไม่มีขนาดจำหน่ายครบตามขนาดมาตรฐานที่ระบุไว้ขึ้นอยู่กับผู้ผลิตและผู้จำหน่ายแต่ละราย


ขนาดพิมพ์

เครื่องพิมพ์ในระบบออฟเซ็ทแบบป้อนแผ่นมีขนาดต่าง ๆ กัน ซึ่งยังผลให้ต้องตัดเจียนกระดาษที่สั่งซื้อมาให้เหมาะเครื่องพิมพ์แต่ละเครื่องก่อนที่จะนำมาพิมพ์งาน ขนาดของเครื่องพิมพ์จะเรียกตามขนาดกระดาษที่ใหญ่ที่สุดที่สามารถเข้าเครื่องได้ ซึ่งแบ่งได้ดังนี้


              ขนาดตัดหนึ่ง            พิมพ์กระดาษได้ใหญ่สุด  35 x 49 นิ้ว
              ขนาดตัดสอง            พิมพ์กระดาษได้ใหญ่สุด  25 x 36 นิ้ว
              ขนาดตัดสองพิเศษ     พิมพ์กระดาษได้ใหญ่สุด  28 x 41 นิ้ว
              ขนาดตัดสาม            พิมพ์กระดาษได้ใหญ่สุด  21 x 31 นิ้ว
              ขนาดตัดสี่               พิมพ์กระดาษได้ใหญ่สุด  18 x 25.5 นิ้ว
              ขนาดตัดสี่พิเศษ        พิมพ์กระดาษได้ใหญ่สุด  21 x 28 นิ้ว


นอกจากนี้ยังมีเครื่องพิมพ์ขนาดเล็ก คือ ขนาดตัดห้า ขนาดตัดแปด ขนาดตัดสิบเอ็ด หรือเล็กกว่านั้น

เครื่องพิมพ์ในระบบออฟเซ็ทแบบป้อนม้วนจะวัดขนาดด้วยข้อจำกัดของเส้นรอบวงของโมลพิมพ์ โดยมีขนาดด้านเข้าเครื่องตายตัว ส่วนด้านขวางเครื่องสามารถปรับความกว้างได้ ส่วนใหญ่เครื่องพิมพ์ที่มีอยู่จะมีขนาดด้านเข้าเครื่องจะมี 21 นิ้ว กับ 24 นิ้ว

ในการออกแบบสิ่งพิมพ์ ให้คำนึงถึงชิ้นงานเทียบกับแผ่นพิมพ์เพื่อเป็นการประหยัดและไม่ให้เกิดการเสียเศษกระดาษ สำหรับการพิมพ์บนเครื่องพิมพ์แบบป้อนแผ่น ให้นำชิ้นงานมาวางลงในกระดาษขนาดพิมพ์ซึ่งถูกตัดแบ่งมาจากขนาดมาตรฐานต่าง ๆ (เช่น กระดาษขนาด 31 x 43 นิ้ว เข้าเครื่องตัดสี่ ต้องแบ่งสี่ส่วนได้แผ่นพิมพ์ขนาด 15.5 x 21.5 นิ้ว) ว่ามีการเสียเศษมากน้อยเพียงใด แต่ทั้งนี้ต้องไม่วางชิดจนเกินไป ให้มีการเว้นช่องว่างระหว่างชิ้นงานไม่ต่ำกว่า 5 มิลลิเมตร และเว้นระยะห่างของชิ้นงานจากขอบกระดาษด้านยาวด้านหนึ่งไม่ต่ำกว่า 20 มิลลิเมตร ส่วนด้านที่เหลือไม่ต่ำกว่า 5 มิลลิเมตร


รวบรวมและเรียบเรียงบทความ งานสื่อสารนานาชาติแห่งจุฬาฯ

เครื่องมือส่วนตัว