|
|
แถว 1: |
แถว 1: |
- | การมียาบางชนิดไว้ใช้เป็นสิ่งจำเป็น เพราะเมื่อมีการเจ็บป่วยเล็กๆน้อยๆเช่นไข้หวัด ลมพิษ ท้องเสีย หรือน้ำกัดเท้า เราสามารถรักษาอาการได้ด้วยตนเองก่อน เมื่อไปพบแพทย์ได้ยาก
| |
| | | |
- | ในช่วงที่มีอุบัติภัย เช่น อุทกภัย เป็นต้น มักแจกถุงยังชีพนอกจากอาหาร สิ่งจำเป็นอื่น ก็มียาอันเป็นปัจจัยสี่อยู่ด้วย เป็นยาสามัญประจำบ้าน หรือยาบรรเทาอาการเบื้องต้น จึงควรมีความรู้เรื่องการใช้ยาเหล่านี้ให้เป็นประโยชน์ได้ผลดีและปลอดภัย
| |
- |
| |
- |
| |
- | == ยาหมดอายุ/ยาเสื่อมคุณภาพ ==
| |
- |
| |
- | เมื่อได้รับยา ต้องดูวันหมดอายุหรือวันผลิต ซึ่งยาแต่ละชนิดมีอายุการเก็บไม่เท่ากัน โดยทั่วไปควรดูดังนี้
| |
- | * วันหมดอายุ อาจเขียนว่า ”วันสิ้นอายุ” หรือเขียนเป็นภาษาอังกฤษว่า “Expire Date:..” หรือ “Exp. Date:…” หรือ “Used before….”
| |
- | * วันผลิต อาจเขียนเป็นภาษาอังกฤษว่า “Manu.Date:…” หรือ “Mfg. Date:…”
| |
- |
| |
- | ยาบางชนิดแม้ว่าดูจากฉลากจะยังไม่หมดอายุ แต่ถ้าเก็บรักษาไม่ถูกต้องก็ทำให้ยาเสื่อมคุณภาพได้ก่อน ดังนั้นนอกจากดูฉลากยาให้ครบถ้วนแล้ว เราควรสังเกตคุณลักษณะภายนอกของยาด้วย หากพบว่ามีสิ่งผิดปกติก็ให้สันนิษฐานเบื้องต้นว่า ยานั้นเสื่อมคุณภาพ ไม่ควรกิน
| |
- |
| |
- |
| |
- | '''สิ่งผิดปกติที่ควรสังเกต'''
| |
- |
| |
- | {| border="1"
| |
- |
| |
- | ! ประเภทของยา !! ลักษณะผิดปกติ
| |
- | |-
| |
- | | ยาน้ำใส
| |
- | | ขุ่น มีตะกอน ขึ้นรา
| |
- | |-
| |
- | | ยาน้ำเชื่อม
| |
- | | สี กลิ่น รส เปลี่ยนจากเดิม
| |
- | |-
| |
- | | ยาน้ำแขวนตะกอน
| |
- | | ตกตะกอนนอนก้นขวด เมื่อเขย่าแล้วผงยาไม่กระจายตัว
| |
- | |-
| |
- | | ยาเม็ด
| |
- | | เม็ดแตก บิ่น ไม่เรียบ สีซีด เป็นจุด กลิ่นไม่ดี
| |
- | |-
| |
- | | ยาเม็ดเคลือบ
| |
- | | เม็ดแตก เยิ้ม เหลว ผิวเป็นฝ้าไม่มัน
| |
- | |-
| |
- | | ยาแคปซูล
| |
- | | แคปซูลแตก ปริ ชื้น ขึ้นรา
| |
- | |-
| |
- | | ยาขี้ผึ้ง ยาครีม
| |
- | | เนื้อยาเยิ้มเหลว แยกชั้น กลิ่นสีเปลี่ยนจากเดิม
| |
- |
| |
- | |}
| |
- |
| |
- |
| |
- | การกินยาหมดอายุ นอกจากจะไม่ได้ผลในการรักษา อาจทำให้โรคลุกลามเป็นอันตรายได้ บางครั้งตัวยาที่เสื่อม อาจก่อให้เกิดโทษต่อร่างกายได้
| |
- |
| |
- |
| |
- | == การจัดเก็บยา ==
| |
- |
| |
- | แนะนำให้เก็บยาไว้ในตู้ยา หรือลิ้นชักตู้ที่มิดชิด ถ้าไม่มีใส่กล่องพลาสติกหรือถุงพลาสติก เพื่อไม่ให้ถูกแสงสว่างและความร้อน ความชื้น ซึ่งจะทำให้ยาเสื่อมง่าย อีกทั้งป้องกันไม่ให้เด็กๆ หยิบฉวยไปกินเล่น ด้วยเข้าใจผิดว่าเป็นของกินเล่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งยาน้ำเชื่อมที่มีรสหวาน
| |
- |
| |
- |
| |
- | == การแพ้ยา ==
| |
- |
| |
- | '''การแพ้ยา''' คือการที่ร่างกายมีปฏิกิริยาต่อยาที่ได้รับผิดไปจากธรรมดา การแพ้ยาไม่เกิดขึ้นบ่อยและไม่เกิดกับทุกคนที่ใช้ แต่เกิดขึ้นได้ในบางคนที่มีความไวต่อยาแตกต่างไปจากคนทั่วไป ผิดจากอาการข้างเคียงของยาที่มักเกิดกับคนส่วนใหญ่ที่กินยา และมักไม่เกิดอันตรายถ้ากินซ้ำ
| |
- |
| |
- | การแพ้ยา อาจเกิดขึ้นทันทีทันใดหลังจากการใช้ยา ส่วนมากไม่รุนแรง ยาที่บริจาคส่วนใหญ่เป็นยาที่ปลอดภัยโอกาสแพ้น้อย การแพ้ชนิดไม่รุนแรงอาจมีผื่นขึ้นตามผิวหนัง คัน บวมที่หน้าและคอ เป็นไข้ อาเจียน ท้องเดิน เป็นต้น ซึ่งอาการเหล่านี้จะหายเองเมื่อหยุดยา
| |
- |
| |
- | อาการแพ้ยาที่เกิดหลังจากได้รับยา 24-28 ชั่วโมง มักจะอาการที่พบได้แก่ ผิวหนังมีผื่นแดง อักเสบ เม็ดเลือดขาวหรือเม็ดเลือดแดงลดลง เป็นต้น
| |
- |
| |
- |
| |
- | '''ข้อควรปฏิบัติเมื่อแพ้ยา'''
| |
- | เมื่อได้รับยาชนิดใดเป็นครั้งแรก ผู้ป่วยควรสังเกตความผิดปกติที่อาจเกิดขึ้น เมื่อพบและสงสัยว่าจะเกิดจากยาควรหยุดยา และกลับไปพบแพทย์หรือเภสัชกรเพื่อเปลี่ยนยา
| |
- |
| |
- |
| |
- | == การใช้ยาบรรเทาอาการ ==
| |
- |
| |
- | ยาที่ท่านมักจะได้รับในช่วงที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ ระหว่างการเกิดภัยพิบัติต่าง ๆ มักเป็นยาสามัญประจำบ้านที่สามารถใช้ดูแลตนเองเบื้องต้น ก่อนที่จะมีความจำเป็นที่ต้องได้รับการตรวจรักษา เป็นยาที่จัดว่ามีอันตรายน้อย ใช้บรรเทาอาการ อย่างไรก็ตามการใช้อย่างถูกต้อง นอกจากทำให้อาการดีขึ้นเร็ว ยังทำให้ปลอดภัยมากขึ้น จึงควรทราบขนาดและวิธีใช้ รวมทั้งข้อควรระวังต่าง ๆ ของยาที่มักได้รับจากการบริจาค
| |
- |
| |
- |
| |
- |
| |
- | '''ผู้รับผิดชอบบทความ''' : ศูนย์สื่อสารองค์กร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
| |
- |
| |
- | '''เรียบเรียงและดูแลโดย''' : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิงอภิฤดี เหมะจุฑา
| |