โรคฉี่หนู
จาก ChulaPedia
(หน้าที่ถูกสร้างด้วย ''''โรคฉี่หนู หรือเลพโตสไปโรซิส''' เรียกสั้น ๆ ว่าเลป…') |
|||
แถว 1: | แถว 1: | ||
'''โรคฉี่หนู หรือเลพโตสไปโรซิส''' เรียกสั้น ๆ ว่าเลปโต หนูเป็นตัวการหลักในการแพร่เชื้อจึงทำให้เราเรียกโรคนี้ว่า “โรคฉี่หนู” แต่เชื้อโรคสาเหตุนั้นพบปนอยู่ในปัสสาวะของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมหลายชนิด เช่นหนู สุนัข แมว โค แพะ แกะ กระบือ ผู้ติดเชื้อโรคนี้ส่วนใหญ่มีอาการไม่รุนแรง น้อยรายที่จะมีอาการรุนแรง แก้ไม่ทันอาจเสียชีวิต อาการแยกยากจากอาการไข้อื่น ๆ แต่ในรายที่รุนแรงมักมีไข้สูง เลือดออกง่าย(คล้ายไข้เลือดออก) ตัวเหลือง ตาเหลือง อาจมีไตอักเสบและเสียชีวิตเพราะไตวายหรือเลือดออกในปอด | '''โรคฉี่หนู หรือเลพโตสไปโรซิส''' เรียกสั้น ๆ ว่าเลปโต หนูเป็นตัวการหลักในการแพร่เชื้อจึงทำให้เราเรียกโรคนี้ว่า “โรคฉี่หนู” แต่เชื้อโรคสาเหตุนั้นพบปนอยู่ในปัสสาวะของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมหลายชนิด เช่นหนู สุนัข แมว โค แพะ แกะ กระบือ ผู้ติดเชื้อโรคนี้ส่วนใหญ่มีอาการไม่รุนแรง น้อยรายที่จะมีอาการรุนแรง แก้ไม่ทันอาจเสียชีวิต อาการแยกยากจากอาการไข้อื่น ๆ แต่ในรายที่รุนแรงมักมีไข้สูง เลือดออกง่าย(คล้ายไข้เลือดออก) ตัวเหลือง ตาเหลือง อาจมีไตอักเสบและเสียชีวิตเพราะไตวายหรือเลือดออกในปอด | ||
+ | |||
+ | |||
+ | โรคฉี่หนูเป็นโรคติดต่อจากสัตว์สู่คนที่พบได้ทั่วโลกโดยเฉพาะในเขตร้อนชื้นรวมทั้งประเทศไทยซึ่งถือเป็นโรคประจำถิ่น โดยพบได้ทั่วทุกภาคของประเทศไทย โดยเฉพาะในแถบภาคตะวันออกเฉียงเหนือ | ||
แถว 5: | แถว 8: | ||
เชื้อที่เป็นสาเหตุของโรคฉี่หนูเป็นเชื้อแบคทีเรีย จะแสดงอาการในช่วง 4-19 วันหลังรับเชื้อ การติดต่อสู่คนของโรคฉี่หนูเกิดจากการสัมผัสโดยตรงกับปัสสาวะของสัตว์ที่มีเชื้อ หรือสัมผัสโดยอ้อมผ่านทางสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะแหล่งน้ำขัง ที่ชื้นแฉะ เช่นดินโคลนใกล้แหล่งน้ำ น้ำตก แม่น้ำลำคลอง หรือน้ำที่ท่วมขังอยู่หลังอุทกภัย | เชื้อที่เป็นสาเหตุของโรคฉี่หนูเป็นเชื้อแบคทีเรีย จะแสดงอาการในช่วง 4-19 วันหลังรับเชื้อ การติดต่อสู่คนของโรคฉี่หนูเกิดจากการสัมผัสโดยตรงกับปัสสาวะของสัตว์ที่มีเชื้อ หรือสัมผัสโดยอ้อมผ่านทางสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะแหล่งน้ำขัง ที่ชื้นแฉะ เช่นดินโคลนใกล้แหล่งน้ำ น้ำตก แม่น้ำลำคลอง หรือน้ำที่ท่วมขังอยู่หลังอุทกภัย | ||
+ | |||
+ | |||
+ | '''เชื้อก่อโรคและการติดต่อ''' สาเหตุของโรคเกิดจากเชื้อเลปโตสไปราสายพันธุ์ก่อโรค ซึ่งเป็นเชื้อแบคทีเรียเรียชนิดหนึ่งที่มีลักษณะเป็นเกลียวบาง โรคเลปโตสไปโรซิสเป็นโรคติดต่อจากสัตว์สู่คน โดยพาหะที่พบบ่อยที่สุดคือหนู จึงได้ชื่อว่าโรคฉี่หนู แต่ความเป็นจริงแล้วหนูไม่ใช่สัตว์ชนิดเดียวที่เป็นพาหะ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมเกือบทุกชนิดมีรายงานว่าเป็นพาหะของโรคได้ เช่น สุนัข แมว โค กระบือ และสุกร สัตว์มักไม่แสดงอาการแต่จะมีเชื้ออาศัยอยู่ในท่อไตและถูกขับออกมาทางปัสสาวะ เมื่อคนสัมผัสกับปัสสาวะของสัตว์ที่ปนเปื้อนอยู่ในสิ่งแวดล้อม เช่น พื้นที่น้ำท่วมขัง ที่ชื้นแฉะ ดินโคลน หรือพืชผัก เชื้อสามารถไชเข้าทางผิวหนังที่เป็นแผลหรือเปื่อยยุ่ยจากการแช่น้ำอยู่นานๆ หรือเข้าทางเยื่อบุ เช่น ปาก ตา จมูก จากการดื่ม กิน น้ำหรืออาหารที่ปนเปื้อน หรือว่ายน้ำในบริเวณที่มีการปนเปื้อน เป็นต้น ดังนั้น การระบาดของโรคส่วนใหญ่จะพบในช่วงปลายฤดูฝนต่อฤดูหนาว ซึ่งมักมีน้ำท่วมขัง หรือเมื่อเกิดอุทกภัย เกิดภาวะน้ำท่วม ทำให้มีโอกาสสัมผัสเชื้อที่ปนเปื้อนอยู่ในสิ่งแวดล้อมสูงขึ้น | ||
== อาการของโรคฉี่หนู == | == อาการของโรคฉี่หนู == | ||
- | + | '''ระยะฟักตัว''' หลังเชื้อเข้าสู่ร่างกาย จะมีระยะเวลาตั้งแต่ 3 ถึง 30 วัน เฉลี่ยประมาณ 5 ถึง 14 วัน จึงจะแสดงอาการ ผู้ที่ได้รับเชื้ออาจมีอาการและการดำเนินโรคที่แตกต่างกันไปตั้งแต่ไม่มีอาการ มีอาการน้อย อาการรุนแรงมาก จนถึงขั้นเสียชีวิต เมื่อเชื้อเข้าสู่ร่างกายแล้วจะไปตามกระแสเลือดแล้วกระจายเข้าสู่อวัยวะต่างๆ ที่สำคัญคือ ไต ตับ ปอด น้ำไขสันหลัง หัวใจ เป็นต้น ในระยะแรกอาการส่วนใหญ่มักไม่จำเพาะ อาจคล้ายคลึงกับโรคติดเชื้ออื่น เช่น ไข้เลือดออก มาลาเรีย ไข้หวัดใหญ่ ไข้รากสาดใหญ่ | |
+ | |||
+ | |||
+ | ในช่วงแรกจะมีอาการไข้สูง ปวดศีรษะคล้ายกับไข้หวัดธรรมดา แต่ถ้าไม่มีน้ำมูก ไม่ไอ ไม่เจ็บคอ ก็ควรสงสัยไว้ก่อนว่าจะมีโอกาสติดโรคที่ระบาดในช่วงน้ำท่วม นอกจากนี้ในผู้ที่มีประวัติการเดินย่ำหรือแช่น้ำท่วมขัง ร่วมกับมีอาการดังต่อไปนี้ มีแนวโน้มสูงที่จะเป็นโรคฉี่หนู ควรเร่งพบแพทย์โดยด่วน ได้แก่ | ||
* ภาวะเยื่อบุตาบวมแดงเกิดขึ้นในตาทั้งสองข้างใน 3 วันแรกและนานตั้งแต่ 1-7 วัน อาจมีเลือดออกที่ตาขาวข้างเดียวหรือสองข้างก็ได้ | * ภาวะเยื่อบุตาบวมแดงเกิดขึ้นในตาทั้งสองข้างใน 3 วันแรกและนานตั้งแต่ 1-7 วัน อาจมีเลือดออกที่ตาขาวข้างเดียวหรือสองข้างก็ได้ | ||
* ปวดกล้ามเนื้ออย่างรุนแรงมากโดยเฉพาะบริเวณน่อง โคนขา หน้าท้อง กล้ามเนื้อหลังและมีอาการกดเจ็บกล้ามเนื้ออย่างรุนแรง โดยเฉพาะที่น่อง | * ปวดกล้ามเนื้ออย่างรุนแรงมากโดยเฉพาะบริเวณน่อง โคนขา หน้าท้อง กล้ามเนื้อหลังและมีอาการกดเจ็บกล้ามเนื้ออย่างรุนแรง โดยเฉพาะที่น่อง | ||
แถว 15: | แถว 24: | ||
* ผื่น อาจจะพบได้หลายแบบ ผื่นแดงราบ ผื่นแดง ผื่นลมพิษ | * ผื่น อาจจะพบได้หลายแบบ ผื่นแดงราบ ผื่นแดง ผื่นลมพิษ | ||
* '''อาการเหลือง''' อาการเหลืองมักเกิดวันที่4-6 ของโรค | * '''อาการเหลือง''' อาการเหลืองมักเกิดวันที่4-6 ของโรค | ||
- | + | กลุ่มที่มีอาการเหลือง ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีอันตรายรุนแรง ต้องไปโรงพยาบาลทันทีเพื่อรับการรักษาที่เหมาะสม | |
- | + | '''ระยะเฉียบพลัน''' อยู่ในช่วงประมาณสัปดาห์แรกของโรค เป็นระยะที่มีเชื้อในกระแสเลือด ระยะนี้ผู้ป่วยมักมีอาการไข้สูง หนาวสั่น ปวดเมื่อยกล้ามเนื้ออย่างรุนแรงซึ่งมักเป็นที่บริเวณน่องและหลัง ตาแดง มีเลือดออกใต้เยื่อบุตา เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน ระยะต่อมาเป็นช่วงตั้งแต่ประมาณสัปดาห์ที่ 2 ของโรค มีระยะเวลาประมาณ 4 ถึง 30 วัน เป็นระยะที่มีการสร้างภูมิคุ้มกันโรค ทำให้เชื้อที่อยู่ในกระแสเลือดถูกกำจัด และมีเชื้อออกมาทางปัสสาวะ ระยะนี้อาจมีอาการปวดศีรษะ ปวดต้นคอและคอแข็ง อาเจียน ซึ่งเป็นอาการของเยื่อหุ้มสมองอักเสบ อาจมีผื่น ตาอักเสบ ไตอักเสบ ตาเหลืองตัวเหลือง มีจุดเลือดออกที่ผิวหนัง ถ้าอาการรุนแรงจะมีการทำงานของไตและตับล้มเหลว มีเลือดที่ออกที่อวัยวะต่างๆ เช่น ในปอด ทำให้การหายใจล้มเหลว เกร็ดเลือดต่ำ หัวใจเต้นผิดจังหวะ การไหลเวียนเลือดล้มเหลวและอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้ | |
- | + | == การวินิจฉัยและแนวทางการรักษา == | |
+ | |||
+ | '''การวินิจฉัยโรค''' เนื่องจากอาการของโรคไม่จำเพาะ จำเป็นต้องอาศัยการตรวจทางห้องปฏิบัติการ ในปัจจุบันวิธีการตรวจมาตรฐานเพื่อยืนยันโรคคือการตรวจหาแอนติบอดีในเลือด สามารถทำได้เฉพาะในห้องปฏิบัติการที่มีความชำนาญเท่านั้น | ||
+ | |||
+ | |||
+ | '''การรักษา''' เมื่อมีไข้สูง ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อมาก โดยเฉพาะในภาวะน้ำท่วมต้องแช่น้ำอยู่เป็นเวลานาน ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อให้ได้รับการรักษาที่ถูกต้องและรวดเร็ว ไม่ควรซื้อยารับประทานเอง การรักษาอย่างถูกต้องทันท่วงทีโดยเฉพาะตั้งแต่ในระยะเริ่มแรก จะทำให้หายป่วยจากโรคเกือบทั้งหมด ถ้าปล่อยให้มีอาการรุนแรงจนถึงขั้นมีไตวาย ตับวาย เลือดออกในปอด อาจทำให้เกิดทุพพลภาพตามมาหรือถึงขั้นเสียชีวิตได้ | ||
+ | |||
+ | |||
+ | การรักษาโรคนี้ จะใช้ยาต้านเชื้อแบคทีเรีย ระยะเวลาในการรักษาประมาณ 5-7 วัน หากหยุดยาก่อนกำหนดอาจทำให้การรักษาล้มเหลวและเกิดภาวะแทรกซ้อนร้ายแรงขึ้นได้ ต้องใช้ยาตามแพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด ไม่หยุดยาก่อนกำหนด | ||
== การป้องกันโรคฉี่หนู == | == การป้องกันโรคฉี่หนู == | ||
- | สำหรับกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรคฉี่หนู เช่น ผู้ประสบอุทกภัยต้องหมั่นสังเกตุอาการผิดปกติของตนเอง หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับน้ำสกปรกโดยไม่จำเป็น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีบาดแผล หากต้องเดินย่ำน้ำที่ท่วมขังควรสวมรองเท้ายาง หลังจากการสัมผัสน้ำสกปรกควรรีบชำระล้างด้วยน้ำสบู่และเช็ดให้ผิวหนังแห้งอยู่เสมอ | + | สำหรับกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรคฉี่หนู เช่น ผู้ประสบอุทกภัยต้องหมั่นสังเกตุอาการผิดปกติของตนเอง หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับน้ำสกปรกโดยไม่จำเป็น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีบาดแผล หากต้องเดินย่ำน้ำที่ท่วมขังควรสวมรองเท้ายาง หลังจากการสัมผัสน้ำสกปรกควรรีบชำระล้างด้วยน้ำสบู่และเช็ดให้ผิวหนังแห้งอยู่เสมอ และปฏิบัติตามแนวทางดังนี้ |
+ | # หลีกเลี่ยงการสัมผัสสิ่งแวดล้อมที่มีโอกาสมีเชื้อปนเปื้อน เช่น บริเวณที่มีน้ำท่วมขัง ไม่เดินเท้าเปล่าย่ำน้ำหรือพื้นที่ชึ้นแฉะ ไม่แช่น้ำหรือว่ายน้ำอยู่นานๆ ถ้าหลีกเลี่ยงไม่ได้ควรป้องกันโดยแต่งกายให้รัดกุม เช่น สวมรองเท้าบู๊ทกันน้ำ | ||
+ | # รีบล้างทำความสะอาดผิวหนัง ขาและเท้าที่ย่ำน้ำมาให้สะอาด เช็ดให้แห้งทุกครั้ง | ||
+ | # หลีกเลี่ยงไม่ให้ผิวหนังที่มีแผลหรือรอยถลอกต้องสัมผัสกับน้ำท่วมขังหรือพื้นที่ชื้นแฉะ ควรใช้ปลาสเตอร์กันน้ำปิดแผล ใส่รองเท้ากันน้ำ ไม่ใช้น้ำที่ท่วมขังมาล้างแผล ภายหลังการสัมผัสน้ำท่วมขังต้องรีบทำความสะอาดแผลให้สะอาด | ||
+ | # ทำความสะอาดสิ่งแวดล้อมที่อยู่อาศัยให้สะอาด ควบคุมกำจัดหนู และหลีกเลี่ยงอาศัยอยู่ใกล้บริเวณที่มีสัตว์เลี้ยงที่อาจเป็นพาหะของโรค | ||
+ | # บริโภคอาหารที่ปรุงสุกใหม่ๆ ดื่มน้ำสะอาด ล้างผักผลไม้ให้สะอาด ล้างมือก่อนบริโภคอาหาร | ||
== รายการอ้างอิง == | == รายการอ้างอิง == | ||
- | เอกสารความรู้ "การใช้ยาในโรคที่มากับน้ำท่วม" โดย | + | '''เอกสารความรู้ "การใช้ยาในโรคที่มากับน้ำท่วม"''' โดย |
:ผู้ช่วยศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิงอภิฤดี เหมะจุฑา | :ผู้ช่วยศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิงอภิฤดี เหมะจุฑา | ||
แถว 38: | แถว 60: | ||
:เภสัชกรกิติยศ ยศสมบัติ | :เภสัชกรกิติยศ ยศสมบัติ | ||
+ | |||
+ | |||
+ | '''บทความ "โรคฉี่หนูหรือโรคเลปโตสไปโรซิส…โรคที่ต้องระวังในภาวะน้ำท่วม"''' โดย | ||
+ | |||
+ | :ผศ.พญ.ดร.กนิษฐา ภัทรกุล |
รุ่นปัจจุบันของ 06:12, 25 ตุลาคม 2554
โรคฉี่หนู หรือเลพโตสไปโรซิส เรียกสั้น ๆ ว่าเลปโต หนูเป็นตัวการหลักในการแพร่เชื้อจึงทำให้เราเรียกโรคนี้ว่า “โรคฉี่หนู” แต่เชื้อโรคสาเหตุนั้นพบปนอยู่ในปัสสาวะของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมหลายชนิด เช่นหนู สุนัข แมว โค แพะ แกะ กระบือ ผู้ติดเชื้อโรคนี้ส่วนใหญ่มีอาการไม่รุนแรง น้อยรายที่จะมีอาการรุนแรง แก้ไม่ทันอาจเสียชีวิต อาการแยกยากจากอาการไข้อื่น ๆ แต่ในรายที่รุนแรงมักมีไข้สูง เลือดออกง่าย(คล้ายไข้เลือดออก) ตัวเหลือง ตาเหลือง อาจมีไตอักเสบและเสียชีวิตเพราะไตวายหรือเลือดออกในปอด
โรคฉี่หนูเป็นโรคติดต่อจากสัตว์สู่คนที่พบได้ทั่วโลกโดยเฉพาะในเขตร้อนชื้นรวมทั้งประเทศไทยซึ่งถือเป็นโรคประจำถิ่น โดยพบได้ทั่วทุกภาคของประเทศไทย โดยเฉพาะในแถบภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
เนื้อหา |
สาเหตุของโรคฉี่หนู และการติดต่อ
เชื้อที่เป็นสาเหตุของโรคฉี่หนูเป็นเชื้อแบคทีเรีย จะแสดงอาการในช่วง 4-19 วันหลังรับเชื้อ การติดต่อสู่คนของโรคฉี่หนูเกิดจากการสัมผัสโดยตรงกับปัสสาวะของสัตว์ที่มีเชื้อ หรือสัมผัสโดยอ้อมผ่านทางสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะแหล่งน้ำขัง ที่ชื้นแฉะ เช่นดินโคลนใกล้แหล่งน้ำ น้ำตก แม่น้ำลำคลอง หรือน้ำที่ท่วมขังอยู่หลังอุทกภัย
เชื้อก่อโรคและการติดต่อ สาเหตุของโรคเกิดจากเชื้อเลปโตสไปราสายพันธุ์ก่อโรค ซึ่งเป็นเชื้อแบคทีเรียเรียชนิดหนึ่งที่มีลักษณะเป็นเกลียวบาง โรคเลปโตสไปโรซิสเป็นโรคติดต่อจากสัตว์สู่คน โดยพาหะที่พบบ่อยที่สุดคือหนู จึงได้ชื่อว่าโรคฉี่หนู แต่ความเป็นจริงแล้วหนูไม่ใช่สัตว์ชนิดเดียวที่เป็นพาหะ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมเกือบทุกชนิดมีรายงานว่าเป็นพาหะของโรคได้ เช่น สุนัข แมว โค กระบือ และสุกร สัตว์มักไม่แสดงอาการแต่จะมีเชื้ออาศัยอยู่ในท่อไตและถูกขับออกมาทางปัสสาวะ เมื่อคนสัมผัสกับปัสสาวะของสัตว์ที่ปนเปื้อนอยู่ในสิ่งแวดล้อม เช่น พื้นที่น้ำท่วมขัง ที่ชื้นแฉะ ดินโคลน หรือพืชผัก เชื้อสามารถไชเข้าทางผิวหนังที่เป็นแผลหรือเปื่อยยุ่ยจากการแช่น้ำอยู่นานๆ หรือเข้าทางเยื่อบุ เช่น ปาก ตา จมูก จากการดื่ม กิน น้ำหรืออาหารที่ปนเปื้อน หรือว่ายน้ำในบริเวณที่มีการปนเปื้อน เป็นต้น ดังนั้น การระบาดของโรคส่วนใหญ่จะพบในช่วงปลายฤดูฝนต่อฤดูหนาว ซึ่งมักมีน้ำท่วมขัง หรือเมื่อเกิดอุทกภัย เกิดภาวะน้ำท่วม ทำให้มีโอกาสสัมผัสเชื้อที่ปนเปื้อนอยู่ในสิ่งแวดล้อมสูงขึ้น
อาการของโรคฉี่หนู
ระยะฟักตัว หลังเชื้อเข้าสู่ร่างกาย จะมีระยะเวลาตั้งแต่ 3 ถึง 30 วัน เฉลี่ยประมาณ 5 ถึง 14 วัน จึงจะแสดงอาการ ผู้ที่ได้รับเชื้ออาจมีอาการและการดำเนินโรคที่แตกต่างกันไปตั้งแต่ไม่มีอาการ มีอาการน้อย อาการรุนแรงมาก จนถึงขั้นเสียชีวิต เมื่อเชื้อเข้าสู่ร่างกายแล้วจะไปตามกระแสเลือดแล้วกระจายเข้าสู่อวัยวะต่างๆ ที่สำคัญคือ ไต ตับ ปอด น้ำไขสันหลัง หัวใจ เป็นต้น ในระยะแรกอาการส่วนใหญ่มักไม่จำเพาะ อาจคล้ายคลึงกับโรคติดเชื้ออื่น เช่น ไข้เลือดออก มาลาเรีย ไข้หวัดใหญ่ ไข้รากสาดใหญ่
ในช่วงแรกจะมีอาการไข้สูง ปวดศีรษะคล้ายกับไข้หวัดธรรมดา แต่ถ้าไม่มีน้ำมูก ไม่ไอ ไม่เจ็บคอ ก็ควรสงสัยไว้ก่อนว่าจะมีโอกาสติดโรคที่ระบาดในช่วงน้ำท่วม นอกจากนี้ในผู้ที่มีประวัติการเดินย่ำหรือแช่น้ำท่วมขัง ร่วมกับมีอาการดังต่อไปนี้ มีแนวโน้มสูงที่จะเป็นโรคฉี่หนู ควรเร่งพบแพทย์โดยด่วน ได้แก่
- ภาวะเยื่อบุตาบวมแดงเกิดขึ้นในตาทั้งสองข้างใน 3 วันแรกและนานตั้งแต่ 1-7 วัน อาจมีเลือดออกที่ตาขาวข้างเดียวหรือสองข้างก็ได้
- ปวดกล้ามเนื้ออย่างรุนแรงมากโดยเฉพาะบริเวณน่อง โคนขา หน้าท้อง กล้ามเนื้อหลังและมีอาการกดเจ็บกล้ามเนื้ออย่างรุนแรง โดยเฉพาะที่น่อง
- ในรายที่มีอาการรุนแรง อาจพบ จุดเลือดออกตามผิวหนัง หรือผื่นเลือดออก หรือเลือดออกใต้เยื่อบุตา หรือมีเสมหะเป็นเลือด
- ผื่น อาจจะพบได้หลายแบบ ผื่นแดงราบ ผื่นแดง ผื่นลมพิษ
- อาการเหลือง อาการเหลืองมักเกิดวันที่4-6 ของโรค
กลุ่มที่มีอาการเหลือง ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีอันตรายรุนแรง ต้องไปโรงพยาบาลทันทีเพื่อรับการรักษาที่เหมาะสม
ระยะเฉียบพลัน อยู่ในช่วงประมาณสัปดาห์แรกของโรค เป็นระยะที่มีเชื้อในกระแสเลือด ระยะนี้ผู้ป่วยมักมีอาการไข้สูง หนาวสั่น ปวดเมื่อยกล้ามเนื้ออย่างรุนแรงซึ่งมักเป็นที่บริเวณน่องและหลัง ตาแดง มีเลือดออกใต้เยื่อบุตา เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน ระยะต่อมาเป็นช่วงตั้งแต่ประมาณสัปดาห์ที่ 2 ของโรค มีระยะเวลาประมาณ 4 ถึง 30 วัน เป็นระยะที่มีการสร้างภูมิคุ้มกันโรค ทำให้เชื้อที่อยู่ในกระแสเลือดถูกกำจัด และมีเชื้อออกมาทางปัสสาวะ ระยะนี้อาจมีอาการปวดศีรษะ ปวดต้นคอและคอแข็ง อาเจียน ซึ่งเป็นอาการของเยื่อหุ้มสมองอักเสบ อาจมีผื่น ตาอักเสบ ไตอักเสบ ตาเหลืองตัวเหลือง มีจุดเลือดออกที่ผิวหนัง ถ้าอาการรุนแรงจะมีการทำงานของไตและตับล้มเหลว มีเลือดที่ออกที่อวัยวะต่างๆ เช่น ในปอด ทำให้การหายใจล้มเหลว เกร็ดเลือดต่ำ หัวใจเต้นผิดจังหวะ การไหลเวียนเลือดล้มเหลวและอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้
การวินิจฉัยและแนวทางการรักษา
การวินิจฉัยโรค เนื่องจากอาการของโรคไม่จำเพาะ จำเป็นต้องอาศัยการตรวจทางห้องปฏิบัติการ ในปัจจุบันวิธีการตรวจมาตรฐานเพื่อยืนยันโรคคือการตรวจหาแอนติบอดีในเลือด สามารถทำได้เฉพาะในห้องปฏิบัติการที่มีความชำนาญเท่านั้น
การรักษา เมื่อมีไข้สูง ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อมาก โดยเฉพาะในภาวะน้ำท่วมต้องแช่น้ำอยู่เป็นเวลานาน ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อให้ได้รับการรักษาที่ถูกต้องและรวดเร็ว ไม่ควรซื้อยารับประทานเอง การรักษาอย่างถูกต้องทันท่วงทีโดยเฉพาะตั้งแต่ในระยะเริ่มแรก จะทำให้หายป่วยจากโรคเกือบทั้งหมด ถ้าปล่อยให้มีอาการรุนแรงจนถึงขั้นมีไตวาย ตับวาย เลือดออกในปอด อาจทำให้เกิดทุพพลภาพตามมาหรือถึงขั้นเสียชีวิตได้
การรักษาโรคนี้ จะใช้ยาต้านเชื้อแบคทีเรีย ระยะเวลาในการรักษาประมาณ 5-7 วัน หากหยุดยาก่อนกำหนดอาจทำให้การรักษาล้มเหลวและเกิดภาวะแทรกซ้อนร้ายแรงขึ้นได้ ต้องใช้ยาตามแพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด ไม่หยุดยาก่อนกำหนด
การป้องกันโรคฉี่หนู
สำหรับกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรคฉี่หนู เช่น ผู้ประสบอุทกภัยต้องหมั่นสังเกตุอาการผิดปกติของตนเอง หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับน้ำสกปรกโดยไม่จำเป็น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีบาดแผล หากต้องเดินย่ำน้ำที่ท่วมขังควรสวมรองเท้ายาง หลังจากการสัมผัสน้ำสกปรกควรรีบชำระล้างด้วยน้ำสบู่และเช็ดให้ผิวหนังแห้งอยู่เสมอ และปฏิบัติตามแนวทางดังนี้
- หลีกเลี่ยงการสัมผัสสิ่งแวดล้อมที่มีโอกาสมีเชื้อปนเปื้อน เช่น บริเวณที่มีน้ำท่วมขัง ไม่เดินเท้าเปล่าย่ำน้ำหรือพื้นที่ชึ้นแฉะ ไม่แช่น้ำหรือว่ายน้ำอยู่นานๆ ถ้าหลีกเลี่ยงไม่ได้ควรป้องกันโดยแต่งกายให้รัดกุม เช่น สวมรองเท้าบู๊ทกันน้ำ
- รีบล้างทำความสะอาดผิวหนัง ขาและเท้าที่ย่ำน้ำมาให้สะอาด เช็ดให้แห้งทุกครั้ง
- หลีกเลี่ยงไม่ให้ผิวหนังที่มีแผลหรือรอยถลอกต้องสัมผัสกับน้ำท่วมขังหรือพื้นที่ชื้นแฉะ ควรใช้ปลาสเตอร์กันน้ำปิดแผล ใส่รองเท้ากันน้ำ ไม่ใช้น้ำที่ท่วมขังมาล้างแผล ภายหลังการสัมผัสน้ำท่วมขังต้องรีบทำความสะอาดแผลให้สะอาด
- ทำความสะอาดสิ่งแวดล้อมที่อยู่อาศัยให้สะอาด ควบคุมกำจัดหนู และหลีกเลี่ยงอาศัยอยู่ใกล้บริเวณที่มีสัตว์เลี้ยงที่อาจเป็นพาหะของโรค
- บริโภคอาหารที่ปรุงสุกใหม่ๆ ดื่มน้ำสะอาด ล้างผักผลไม้ให้สะอาด ล้างมือก่อนบริโภคอาหาร
รายการอ้างอิง
เอกสารความรู้ "การใช้ยาในโรคที่มากับน้ำท่วม" โดย
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิงอภิฤดี เหมะจุฑา
- เภสัชกรหญิงสิรินุช พละภิญโญ
- เภสัชกรกิติยศ ยศสมบัติ
บทความ "โรคฉี่หนูหรือโรคเลปโตสไปโรซิส…โรคที่ต้องระวังในภาวะน้ำท่วม" โดย
- ผศ.พญ.ดร.กนิษฐา ภัทรกุล