5 ทศวรรษแรกของกาเยส์ดูซีนีมาบนสังเวียนวิจารณ์

จาก ChulaPedia

(ความแตกต่างระหว่างรุ่นปรับปรุง)
ข้ามไปที่: นำทาง, สืบค้น
แถว 5: แถว 5:
กิตติศัพท์ผลงานของผู้กำกับคลื่นลูกใหม่นับเนื่องถึงปัจจุบันเป็นที่เลื่องลือในระดับโลกอย่างปราศจากข้อกังขา การที่เหล่าขุนพลนักวิจารณ์ร้อนวิชาวางปากกาออกไปแจ้งเกิดเป็นผู้กำกับช่วงปลายทศวรรษที่ 1950 หนุนส่งกาเยส์ในฐานะแหล่งบ่มเพาะญาณภาพยนตร์ของผู้กำกับเหล่านี้มาแต่เก่าก่อนจนปีกกล้าขาแข็ง กระทั่งแทบกลายเป็นตักศิลาของวงการภาพยนตร์ไป เป็นที่รู้กันว่าผู้กำกับรายใดผ่านการเป่ากระหม่อมจากกาเยส์ล้วนย่อมต้องพกพาอัจฉริยะภาพติดตัวออกมาด้วยเมื่อกลายมาเป็นผู้กำกับ เพียงแต่รอว่าจะงัดออกมาใช้เมื่อไหร่ก็เท่านั้น สายพันธุ์ผู้กำกับกาเยส์ไม่ได้สิ้นสุดลงเพียงผู้กำกับคลื่นลูกใหม่กลุ่มที่กล่าวถึงไป ผู้กำกับมือฉมังในรุ่นปัจจุบันของฝรั่งเศส โดยมีโอลิวิเยร์ อัสสายาส(Olivier Assayas), เลอโอส การัคซ์(Leos Carax) และอองเดร เตชิเน(André Téchiné)เป็นอาทิ ต่างก็ผ่านการลับคมเขี้ยวเล็บหนังในฐานะนักวิจารณ์ค่ายกาเยส์มาก่อน อย่างไรก็ดี การถูกแขวนป้ายเป็นอุทรฟูมฟักอัจฉริยะหนังหลายต่อหลายรายก่อนถ่ายเลือดสู่วงการผู้กำกับ ไม่ได้มีส่วนค้ำจุนความศักดิ์สิทธิคงกระพันของกาเยส์ มากเท่ากับการเป็นสถาบันปลูกฝังวัฒนธรรมการวิจารณ์ภาพยนตร์ เพราะนับแต่สงครามโลกครั้งที่สองเป็นต้นมา ไม่มีถ้อยอักษรจากสื่อใดมีอานุภาพแผ่สาดกัมมันตรังสีทะลุทะลวงวงการหนังได้ดุดันดุจดังที่มาจากหน้ากระดาษกาเยส์ ถึงจะมีนิตยสารและวารสารวิจารณ์ที่เอาจริงเอาจังทั้งยังเผ็ดร้อนออกมาประชันกับกาเยส์ ทว่า ก็ไม่อาจทาบรัศมีกาเยส์ได้ในแง่ความหนักแน่นหลักแหลมและการยอมรับนับถือเสมือนผู้วางรากฐานวัฒนธรรมการวิจารณ์ ยังไม่นับการสร้างเครื่องมือวิจารณ์ใหม่ ๆ แก่วงวิจารณ์ภาพยนตร์
กิตติศัพท์ผลงานของผู้กำกับคลื่นลูกใหม่นับเนื่องถึงปัจจุบันเป็นที่เลื่องลือในระดับโลกอย่างปราศจากข้อกังขา การที่เหล่าขุนพลนักวิจารณ์ร้อนวิชาวางปากกาออกไปแจ้งเกิดเป็นผู้กำกับช่วงปลายทศวรรษที่ 1950 หนุนส่งกาเยส์ในฐานะแหล่งบ่มเพาะญาณภาพยนตร์ของผู้กำกับเหล่านี้มาแต่เก่าก่อนจนปีกกล้าขาแข็ง กระทั่งแทบกลายเป็นตักศิลาของวงการภาพยนตร์ไป เป็นที่รู้กันว่าผู้กำกับรายใดผ่านการเป่ากระหม่อมจากกาเยส์ล้วนย่อมต้องพกพาอัจฉริยะภาพติดตัวออกมาด้วยเมื่อกลายมาเป็นผู้กำกับ เพียงแต่รอว่าจะงัดออกมาใช้เมื่อไหร่ก็เท่านั้น สายพันธุ์ผู้กำกับกาเยส์ไม่ได้สิ้นสุดลงเพียงผู้กำกับคลื่นลูกใหม่กลุ่มที่กล่าวถึงไป ผู้กำกับมือฉมังในรุ่นปัจจุบันของฝรั่งเศส โดยมีโอลิวิเยร์ อัสสายาส(Olivier Assayas), เลอโอส การัคซ์(Leos Carax) และอองเดร เตชิเน(André Téchiné)เป็นอาทิ ต่างก็ผ่านการลับคมเขี้ยวเล็บหนังในฐานะนักวิจารณ์ค่ายกาเยส์มาก่อน อย่างไรก็ดี การถูกแขวนป้ายเป็นอุทรฟูมฟักอัจฉริยะหนังหลายต่อหลายรายก่อนถ่ายเลือดสู่วงการผู้กำกับ ไม่ได้มีส่วนค้ำจุนความศักดิ์สิทธิคงกระพันของกาเยส์ มากเท่ากับการเป็นสถาบันปลูกฝังวัฒนธรรมการวิจารณ์ภาพยนตร์ เพราะนับแต่สงครามโลกครั้งที่สองเป็นต้นมา ไม่มีถ้อยอักษรจากสื่อใดมีอานุภาพแผ่สาดกัมมันตรังสีทะลุทะลวงวงการหนังได้ดุดันดุจดังที่มาจากหน้ากระดาษกาเยส์ ถึงจะมีนิตยสารและวารสารวิจารณ์ที่เอาจริงเอาจังทั้งยังเผ็ดร้อนออกมาประชันกับกาเยส์ ทว่า ก็ไม่อาจทาบรัศมีกาเยส์ได้ในแง่ความหนักแน่นหลักแหลมและการยอมรับนับถือเสมือนผู้วางรากฐานวัฒนธรรมการวิจารณ์ ยังไม่นับการสร้างเครื่องมือวิจารณ์ใหม่ ๆ แก่วงวิจารณ์ภาพยนตร์
-
ในวาระที่กาเยส์มีอายุครบ 40 ปี เมื่อค.ศ. 1991 อองตวน เดอ บาเอค(Antoine de Baecque)ใช้ความอุตสาหะพากเพียรรวบรวมความเป็นมาและเส้นทางพัฒนาการของกาเยส์ และจัดพิมพ์เป็นหนังสือปูมบันทึกในชื่อ Le Cahiers du Cinema งานเขียนชิ้นนี้ระบุว่า กาเยส์ เกิดจากความมุ่งมั่นของอังเดร บาแซง และ โดนิโอ วาลโครซ (รวมถึงโล ดูกาแม้ในการต่อมาเขาจะแยกตัวไปเขียนงานให้แก่ Positif) ที่จะทำหนังสือวิจารณ์เชิงวิชาการแทนที่จะมุ่งเน้นในเชิงวูบวาบจับใจซึ่ง ฌอง จอร์จ โอริออล(Jean Georges Auriol)เพื่อนเก่าเพื่อนแก่และอาจารย์ใหญ่ของคนทั้งสามเอง บุกเบิกแนวทางไว้ โดนิโอ วาลโครซนั่งแท่นบรรณาธิการนับแต่การตีพิมพ์ปกแรกในปี 1951 จนถึงปี 1957 ในการทำงานเขาจะแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและทัศนะกับบาแซงอย่างใกล้ชิด กาเยส์ในยุคแรกเริ่มทุ่มแรงวิจารณ์ไปกับหนังแนวสัจนิยมของ ออร์สัน เวลส์(Orson Welles) และวิลเลียม ไวเลอร์(William Wyler)เป็นหลัก (อย่างน้อยที่สุด นวัตกรรมการถ่ายภาพ"ชัดลึก" จากการคิดค้นของเกร็ก โทแลนด์(Gregg Toland)ปรมาจารย์ผู้กำกับภาพที่ผลงานของเขาได้รับยกย่องให้เป็นมาตรฐานใหม่ของงานแนวสมจริง ก็ต้องใจบรรพบุรุษกาเยส์คู่นี้ไม่น้อย) สภาพการณ์ที่หนังฝรั่งเศสยุคเก่าถูกครอบงำด้วยแนวทางการผลิตแบบมุ่งย้อนรอยความเฟื่องฟูของหนังเงียบ ไม่ก็เอียงซ้าย สร้างความรำคาญแกมสังเวชแก่คู่หูผู้สถาปนากาเยส์อยู่เสมอมา บาแซงและโดนิโอ วาลโครซ มองว่าเส้นทางวิวัฒนาการของหนังในภายภาคหน้ายังทอดยาวอีกไกลนัก คนทำหนังจะมามัวกินบุญเก่าอันเป็นอานิสงส์ผลจากการอาบเหงื่อต่างน้ำทางความคิดของเซรเก ไอเส็นสไตน์(Sergei Eisenstein) และจ็อง เอ็ปชไตน์(Jean Epstein)เห็นทีจะไม่ได้ [http://wp.me/p4vTm-d8 อ่านทั้งหมด]
+
ในวาระที่กาเยส์มีอายุครบ 40 ปี เมื่อค.ศ. 1991 อองตวน เดอ บาเอค(Antoine de Baecque)ใช้ความอุตสาหะพากเพียรรวบรวมความเป็นมาและเส้นทางพัฒนาการของกาเยส์ และจัดพิมพ์เป็นหนังสือปูมบันทึกในชื่อ Le Cahiers du Cinema งานเขียนชิ้นนี้ระบุว่า กาเยส์ เกิดจากความมุ่งมั่นของอังเดร บาแซง และ โดนิโอ วาลโครซ (รวมถึงโล ดูกาแม้ในการต่อมาเขาจะแยกตัวไปเขียนงานให้แก่ Positif) ที่จะทำหนังสือวิจารณ์เชิงวิชาการแทนที่จะมุ่งเน้นในเชิงวูบวาบจับใจซึ่ง ฌอง จอร์จ โอริออล(Jean Georges Auriol)เพื่อนเก่าเพื่อนแก่และอาจารย์ใหญ่ของคนทั้งสามเอง บุกเบิกแนวทางไว้ โดนิโอ วาลโครซนั่งแท่นบรรณาธิการนับแต่การตีพิมพ์ปกแรกในค.ศ.1951 จนถึงค.ศ.1957 ในการทำงานเขาจะแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและทัศนะกับบาแซงอย่างใกล้ชิด กาเยส์ในยุคแรกเริ่มทุ่มแรงวิจารณ์ไปกับหนังแนวสัจนิยมของ ออร์สัน เวลส์(Orson Welles) และวิลเลียม ไวเลอร์(William Wyler)เป็นหลัก (อย่างน้อยที่สุด นวัตกรรมการถ่ายภาพ"ชัดลึก" จากการคิดค้นของเกร็ก โทแลนด์(Gregg Toland)ปรมาจารย์ผู้กำกับภาพที่ผลงานของเขาได้รับยกย่องให้เป็นมาตรฐานใหม่ของงานแนวสมจริง ก็ต้องใจบรรพบุรุษกาเยส์คู่นี้ไม่น้อย) สภาพการณ์ที่หนังฝรั่งเศสยุคเก่าถูกครอบงำด้วยแนวทางการผลิตแบบมุ่งย้อนรอยความเฟื่องฟูของหนังเงียบ ไม่ก็เอียงซ้าย สร้างความรำคาญแกมสังเวชแก่คู่หูผู้สถาปนากาเยส์อยู่เสมอมา บาแซงและโดนิโอ วาลโครซ มองว่าเส้นทางวิวัฒนาการของหนังในภายภาคหน้ายังทอดยาวอีกไกลนัก คนทำหนังจะมามัวกินบุญเก่าอันเป็นอานิสงส์ผลจากการอาบเหงื่อต่างน้ำทางความคิดของเซรเก ไอเส็นสไตน์(Sergei Eisenstein) และจ็อง เอ็ปชไตน์(Jean Epstein)เห็นทีจะไม่ได้ [http://wp.me/p4vTm-d8 อ่านทั้งหมด]

การปรับปรุง เมื่อ 10:50, 17 พฤษภาคม 2555

ค.ศ. 2001 เป็นปีที่ กาเยส์ ดู ซีนีมา(Cahiers Du Cinema) มีอายุครบ 50 ปี ก่อนจะกลายมาเป็นนิตยสารวิจารณ์หนังที่ทรงอิทธิพลสูงสุดในประวัติศาสตร์ภาพยนตร์ ย้อนไปใน ค.ศ. 1951 แผงหนังสือฝรั่งเศสในเดือนเมษายนได้ต้อนรับสมาชิกรายล่าสุด คือ นิตยสาร กาเยส์ ดู ซินีมา ฉบับหน้าปกกลอเรีย สเวนสัน(Gloria Swanson)อาบร่างด้วยแถบแสงสีจากเครื่องฉายหนัง อันเป็นฉากหนึ่งจาก Sunset Boulevard หนังของผู้กำกับบิลลี ไวล์เดอร์(Billy Wilder)

การเลือกภาพจาก Sunset ขึ้นปกตกเป็นขี้ปากและแซวกันไม่จบไม่สิ้นในเวลาต่อมา แม้ไวล์เดอร์จะเป็นผู้กำกับในดวงใจเหล่าสมาชิกผู้ก่อตั้งกาเยส์หลายราย ไม่ว่าจะเป็น ฌาคส์ โดนิโอ วาลโครซ(Jacques Doniol-Valcroze), โล ดูกา(Lo Duca) และ อังเดร บาแซง(André Bazin) ทว่าในสายตาของพวก "ขบถกาเยส์"(Jeunes Turcs) หรือคลื่นลูกใหม่ซึ่งดาหน้าเข้ายึดกุมโต๊ะบรรณาธิการของกาเยส์ในภายหลังแล้ว งานของไวล์เดอร์จัดเป็นงานประเภทฟูมฟายและเหมือนนิยายประกอบภาพเคลื่อนไหว นักวิจารณ์คลื่นลูกใหม่เหล่านี้มีโมริส เชเร(Maurice Schérer) หรือที่รู้จักกันมากกว่ามากในนาม เอริก โรแมร์(Eric Rohmer) เป็นหัวหอก นอกจากโรแมร์แล้วก็มีฟรังซัวส์ ทรุฟโฟต์(François Truffaut), ฌาคส์ รีเวต์(Jacques Rivette), คล็อด ชาโบรล(Claude Chabrol) และฌอง ลุก โกดาร์(Jean-Luc Godard) ในกาลต่อมาเมื่อนักวิจารณ์กลุ่มนี้กระโดดไปกำกับหนังเสียเอง จึงถูกขนานนามเป็น "กลุ่มผู้กำกับคลื่นลูกใหม่"(Nouvelle Vague)

กิตติศัพท์ผลงานของผู้กำกับคลื่นลูกใหม่นับเนื่องถึงปัจจุบันเป็นที่เลื่องลือในระดับโลกอย่างปราศจากข้อกังขา การที่เหล่าขุนพลนักวิจารณ์ร้อนวิชาวางปากกาออกไปแจ้งเกิดเป็นผู้กำกับช่วงปลายทศวรรษที่ 1950 หนุนส่งกาเยส์ในฐานะแหล่งบ่มเพาะญาณภาพยนตร์ของผู้กำกับเหล่านี้มาแต่เก่าก่อนจนปีกกล้าขาแข็ง กระทั่งแทบกลายเป็นตักศิลาของวงการภาพยนตร์ไป เป็นที่รู้กันว่าผู้กำกับรายใดผ่านการเป่ากระหม่อมจากกาเยส์ล้วนย่อมต้องพกพาอัจฉริยะภาพติดตัวออกมาด้วยเมื่อกลายมาเป็นผู้กำกับ เพียงแต่รอว่าจะงัดออกมาใช้เมื่อไหร่ก็เท่านั้น สายพันธุ์ผู้กำกับกาเยส์ไม่ได้สิ้นสุดลงเพียงผู้กำกับคลื่นลูกใหม่กลุ่มที่กล่าวถึงไป ผู้กำกับมือฉมังในรุ่นปัจจุบันของฝรั่งเศส โดยมีโอลิวิเยร์ อัสสายาส(Olivier Assayas), เลอโอส การัคซ์(Leos Carax) และอองเดร เตชิเน(André Téchiné)เป็นอาทิ ต่างก็ผ่านการลับคมเขี้ยวเล็บหนังในฐานะนักวิจารณ์ค่ายกาเยส์มาก่อน อย่างไรก็ดี การถูกแขวนป้ายเป็นอุทรฟูมฟักอัจฉริยะหนังหลายต่อหลายรายก่อนถ่ายเลือดสู่วงการผู้กำกับ ไม่ได้มีส่วนค้ำจุนความศักดิ์สิทธิคงกระพันของกาเยส์ มากเท่ากับการเป็นสถาบันปลูกฝังวัฒนธรรมการวิจารณ์ภาพยนตร์ เพราะนับแต่สงครามโลกครั้งที่สองเป็นต้นมา ไม่มีถ้อยอักษรจากสื่อใดมีอานุภาพแผ่สาดกัมมันตรังสีทะลุทะลวงวงการหนังได้ดุดันดุจดังที่มาจากหน้ากระดาษกาเยส์ ถึงจะมีนิตยสารและวารสารวิจารณ์ที่เอาจริงเอาจังทั้งยังเผ็ดร้อนออกมาประชันกับกาเยส์ ทว่า ก็ไม่อาจทาบรัศมีกาเยส์ได้ในแง่ความหนักแน่นหลักแหลมและการยอมรับนับถือเสมือนผู้วางรากฐานวัฒนธรรมการวิจารณ์ ยังไม่นับการสร้างเครื่องมือวิจารณ์ใหม่ ๆ แก่วงวิจารณ์ภาพยนตร์

ในวาระที่กาเยส์มีอายุครบ 40 ปี เมื่อค.ศ. 1991 อองตวน เดอ บาเอค(Antoine de Baecque)ใช้ความอุตสาหะพากเพียรรวบรวมความเป็นมาและเส้นทางพัฒนาการของกาเยส์ และจัดพิมพ์เป็นหนังสือปูมบันทึกในชื่อ Le Cahiers du Cinema งานเขียนชิ้นนี้ระบุว่า กาเยส์ เกิดจากความมุ่งมั่นของอังเดร บาแซง และ โดนิโอ วาลโครซ (รวมถึงโล ดูกาแม้ในการต่อมาเขาจะแยกตัวไปเขียนงานให้แก่ Positif) ที่จะทำหนังสือวิจารณ์เชิงวิชาการแทนที่จะมุ่งเน้นในเชิงวูบวาบจับใจซึ่ง ฌอง จอร์จ โอริออล(Jean Georges Auriol)เพื่อนเก่าเพื่อนแก่และอาจารย์ใหญ่ของคนทั้งสามเอง บุกเบิกแนวทางไว้ โดนิโอ วาลโครซนั่งแท่นบรรณาธิการนับแต่การตีพิมพ์ปกแรกในค.ศ.1951 จนถึงค.ศ.1957 ในการทำงานเขาจะแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและทัศนะกับบาแซงอย่างใกล้ชิด กาเยส์ในยุคแรกเริ่มทุ่มแรงวิจารณ์ไปกับหนังแนวสัจนิยมของ ออร์สัน เวลส์(Orson Welles) และวิลเลียม ไวเลอร์(William Wyler)เป็นหลัก (อย่างน้อยที่สุด นวัตกรรมการถ่ายภาพ"ชัดลึก" จากการคิดค้นของเกร็ก โทแลนด์(Gregg Toland)ปรมาจารย์ผู้กำกับภาพที่ผลงานของเขาได้รับยกย่องให้เป็นมาตรฐานใหม่ของงานแนวสมจริง ก็ต้องใจบรรพบุรุษกาเยส์คู่นี้ไม่น้อย) สภาพการณ์ที่หนังฝรั่งเศสยุคเก่าถูกครอบงำด้วยแนวทางการผลิตแบบมุ่งย้อนรอยความเฟื่องฟูของหนังเงียบ ไม่ก็เอียงซ้าย สร้างความรำคาญแกมสังเวชแก่คู่หูผู้สถาปนากาเยส์อยู่เสมอมา บาแซงและโดนิโอ วาลโครซ มองว่าเส้นทางวิวัฒนาการของหนังในภายภาคหน้ายังทอดยาวอีกไกลนัก คนทำหนังจะมามัวกินบุญเก่าอันเป็นอานิสงส์ผลจากการอาบเหงื่อต่างน้ำทางความคิดของเซรเก ไอเส็นสไตน์(Sergei Eisenstein) และจ็อง เอ็ปชไตน์(Jean Epstein)เห็นทีจะไม่ได้ อ่านทั้งหมด

เครื่องมือส่วนตัว