การสร้างข้อสอบ
จาก ChulaPedia
(หน้าที่ถูกสร้างด้วย 'การศึกษาสภาพในการสร้างข้อสอบของครูประถมศึกษาภู…')
รุ่นปัจจุบันของ 04:07, 23 สิงหาคม 2555
การศึกษาสภาพในการสร้างข้อสอบของครูประถมศึกษาภูมิภาคกลางในประเทศไทย : A study of the state in test construction of elementary teachers in the central region of Thailand พินดา วราสุนันท์, ศิริเดช สุชีวะ (อาจารย์ที่ปรึกษา) และ สุวิมล ว่องวาณิช (อาจารย์ที่ปรึกษาร่วม)
กิตติกรรมประกาศ บทความนี้ได้รับการสนับสนุนทุนวิจัยจาก “ทุน 90 ปี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย” กองทุนรัชดาภิเษกสมโภช และขอขอบคุณโครงการเครือข่ายเชิงกลยุทธ์เพื่อการผลิตและพัฒนาอาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาในการมอบทุนศึกษาต่อระดับปริญญาเอก คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้วิจัยขอขอบพระคุณอย่างสูงมา ณ โอกาสนี้
บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ๑) การปฏิบัติในการสร้างข้อสอบของครูตามการรับรู้ ๒) ความสามารถในการสร้างข้อสอบของครูตามการรับรู้และตามสภาพจริง ๓) ทัศนคติต่อการสร้างข้อสอบของครู และ ๔) ความสัมพันธ์ระหว่างการปฏิบัติในการสร้างข้อสอบของครูตามการรับรู้ ความสามารถในการสร้างข้อสอบของครูตามการรับรู้และทัศนคติต่อการสร้างข้อสอบของครู วิธีการวิจัยใช้การวิจัยเชิงสำรวจและ Nominal Group Technique เพื่อให้ผู้เชี่ยวชาญทำการประเมินระดับการเรียนรู้ด้านพุทธิพิสัยที่มุ่งวัดของข้อสอบ กลุ่มตัวอย่างคือ ครูจำนวน ๑๖๙ คน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์เนื้อหาและสถิติเชิงบรรยาย ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ ๑) ครูรับรู้ว่าตนเองมีการศึกษามาตรฐานและตัวชี้วัดก่อนสร้างข้อสอบอยู่ในระดับมาก แต่การสร้างผังข้อสอบก่อนออกข้อสอบ การวิเคราะห์คุณภาพข้อสอบ/แบบสอบ และนำผลการวิเคราะห์มาพัฒนาแบบสอบและการเรียนการสอนอยู่ในระดับปานกลาง นอกจากนี้ครูรับรู้ว่าตนเองได้เข้าร่วมอบรม/ศึกษาค้นคว้าเทคนิควิธีการสร้างข้อสอบอยู่ในระดับน้อย ๒) ครูรับรู้ว่าข้อสอบที่ตนเองสร้างขึ้นวัดความรู้และการคิดวิเคราะห์อยู่ในระดับปานกลางตรงกันข้ามกับลักษณะข้อสอบของครูที่สร้างขึ้นพบว่า ข้อสอบวัดความรู้มากที่สุด (ร้อยละ๕๘.๖๔) และมีส่วนน้อยที่วัดการคิดวิเคราะห์ (ร้อยละ ๖.๐๘) ๓) ครูมีทัศนคติที่ดีต่อการสร้างข้อสอบอยู่ในระดับมาก โดยครูคิดว่าการสร้างข้อสอบวัดการคิดวิเคราะห์นั้นเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการเรียนการสอน เป็นสิ่งที่ท้าทายและน่าสนใจ รวมถึงครูสนใจที่จะเรียนรู้เทคนิคในการสร้างข้อสอบอยู่ในระดับมาก ๔) การปฏิบัติในการสร้างข้อสอบของครูตามการรับรู้มีความสัมพันธ์ทางบวกกับความสามารถในการสร้างข้อสอบของครูตามการรับรู้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และการปฏิบัติในการสร้างข้อสอบของครูตามการรับรู้มีความสัมพันธ์ทางบวกกับทัศนคติต่อการสร้างข้อสอบของครู อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
Abstract The purposes of the research were to study 1) The teachers’ practice of test construction base on perception 2) The teachers’ performance of test construction based on perception and authenticity 3) The teachers’ attitude toward test construction and 4) The relationship between practice, performance and attitude toward test construction of teachers. Survey research and Nominal Group Technique by the specialists were applied to evaluate learning level of cognitive domain in the tests. The samples of research were 169 teachers. Data were analysized using content analysis and descriptive statistics. The research results were as follows: 1) The teachers perceived that they studied the standards and indicators before creating the test at the high level. However, the test blueprint construction, the test quality analysis, the utilization of the results for the development of the test and pedagogical practice were at the moderate level. In addition the teachers perceived that their participation in training and researching about test construction technique were at the low level. 2) The teachers perceived that their self constructed tests could measure the knowledge and the analytical thinking at the moderate level, on the contrary, the test constructed by the teacher revealed that they mostly measured knowledge (58.64 percent) and they rarely measured analytical thinking (6.08 percent). 3) The teachers’ attitudes toward test construction were high and they thought that the construction of tests measuring analytical thinking should be prioritized for the pedagogical practice, interesting and challenging. Moreover, the teachers are also interested in acquiring the test construction technique; at the high level. 4) The teachers’ perceived practice of test construction positively related to the teachers’ perceived ability in test construction at the .05 significant level, and was positively related to the teachers’ attitude toward test construction at .01 significant level.
ความเป็นมา สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ : สทศ. (องค์การมหาชน) ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐ จัดตั้งขึ้นตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน) พ.ศ. ๒๕๔๘ มีอำนาจหน้าที่ในการดำเนินการเกี่ยวกับการประเมินผลการจัดการศึกษา และการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ ตลอดจนให้ความร่วมมือและสนับสนุนการทดสอบทั้งระดับเขตพื้นที่การศึกษา และสถานศึกษา เป็นองค์กรกลางในการศึกษา วิจัย พัฒนา และให้บริการประเมินผลทางการศึกษาและทดสอบทางการศึกษา โดยในปี พ.ศ.๒๕๔๙ ได้เริ่มดำเนินการจัดทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน (Ordinary National Education Testing) หรือที่เรียกว่า O-NET โดยข้อสอบ O-NET ของ สทศ. นั้นมุ่งเน้นการคิดวิเคราะห์เนื่องจาก ๑) สังคมต้องการเด็กไทยที่คิดวิเคราะห์ได้ ๒) หลักสูตรการเรียนการสอนเน้นการคิดวิเคราะห์ และ ๓) ในการรายงานผลการเรียนของนักเรียน โรงเรียนจะต้องประเมินผลการอ่าน คิดวิเคราะห์ เขียน (สำนักทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ, ๒๕๕๓) สอดคล้องกับ และ Anderson และ Krathwohl (2001) ที่ได้กล่าวว่า วัตถุประสงค์สำคัญของการจัดการศึกษาในหลายสาขาวิชาทั้งสาขาวิทยาศาสตร์ มนุษย์ศาสตร์ สังคมศาสตร์และศิลปะต่างมีความต้องการ “การเรียนรู้สู่การวิเคราะห์” แต่การวัดและประเมินผลผู้เรียนในระดับชาติยังไม่เป็นที่น่าพอใจ กล่าวคือ ผลสอบในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ พ.ศ.๒๕๕๒ นักเรียนมีระดับคะแนนอยู่ในเกณฑ์ที่ต่ำ โดยวิชาภาษาไทยนักเรียนมีค่าคะแนนโดยเฉลี่ย ๔๒.๐๒ คะแนน วิชาคณิตศาสตร์ เท่ากับ ๔๓.๗๖ คะแนน และวิชาวิทยาศาสตร์ เท่ากับ ๕๑.๖๙ คะแนน จากคะแนนเต็ม ๑๐๐ คะแนนในทุกวิชา สอดคล้องกับผลสอบในปี พ.ศ. ๒๕๕๓ ที่พบว่าคะแนนเฉลี่ยในวิชาภาษาไทย เท่ากับ ๓๘.๕๘ คะแนน สังคมศึกษา เท่ากับ ๓๓.๙๐ คะแนน ภาษาอังกฤษ เท่ากับ ๓๑.๗๕ คะแนน คณิตศาสตร์ เท่ากับ ๓๕.๘๘ คะแนน วิทยาศาสตร์ เท่ากับ ๓๘.๖๗ คะแนน สุขศึกษา เท่ากับ ๖๔.๗๖ คะแนน ศิลปะ เท่ากับ ๔๒.๔๙ คะแนน และการงานอาชีพและเทคโนโลยี เท่ากับ ๕๑.๖๙ คะแนน จึงจะเห็นได้ว่าอยู่ในเกณฑ์ที่ต่ำทุกวิชา สาเหตุที่ทำให้มีคะแนนต่ำอ้างอิงจากผลการวิจัยของ เอื้อมพร หลินเจริญ และคณะ (๒๕๕๒) สรุปได้ว่ามีปัญหาความไม่สอดคล้องระหว่างข้อสอบในโรงเรียนกับข้อสอบ O-NET และจากงานวิจัยในอดีตพบว่า ครูขาดการวางแผนในการสร้างเครื่องมือวัดและประเมินผลการศึกษา (วิรัช วรรณรัตน์, ๒๕๓๕; เยาวภา รัตนาธรรม, ๒๕๔๑ และ กาญจนา สุภารี, ๒๕๔๓) ข้อสอบของครูส่วนมากมุ่งวัดพฤติกรรมด้านความรู้ ความจำ ( ตุ๊ จงรักษ์, ๒๕๔๓) ครูขาดความรู้ในการสร้างคำถามให้มีความชัดเจน (สมพงษ์ เพชรหมื่นไวย, ๒๕๔๐) และปัญหาในด้านทัศนคติต่อกระบวนการวัดและประเมินผล (ทิพย์วัลย์ ใจทหาร, ๒๕๓๘) ผู้วิจัยตระหนักถึงปัญหาในการสร้างข้อสอบของครูและต้องการศึกษาสภาพและความสามารถในการสร้างข้อสอบ เพื่อให้ได้ข้อค้นพบที่เป็นประโยชน์ในการสริมสร้างความสามารถของครูในการสร้างข้อสอบ การศึกษาสภาพการสร้างข้อสอบสามารถทำได้ไม่ยากนักแต่การศึกษาความสามารถหรือทักษะในการสร้างข้อสอบของครูทำได้ยาก จากการศึกษาเอกสารและงานวิจัยต่างประเทศพบว่า เทคนิคที่นำมาใช้ในการประเมินทักษะของบุคคล หน่วยการศึกษา หลักสูตร การเรียนการสอนทางการแพทย์และความก้าวหน้า คือ Nominal Group Technique (Jones และ Bligh, 1999; Lancaster และ Hart, 2002; Dobbie และคณะ, 2004; Potter และคณะ, 2004 และ Perry และ Linsley, 2005) นักวิจัยผู้พัฒนาเทคนิคนี้คือ re P. Delbecq และ rew H. Van de Ven ซึ่งได้พัฒนาวิธีการประเมินหรือตัดสินของกลุ่มสมาชิกอย่างมีโครงสร้างเพื่อนำไปสู่การตัดสินในประเด็นที่กำหนดให้อย่างรวดเร็ว (1968 อ้างถึงใน Sink, 1983)จุดแข็งของวิธีนี้คือ การให้สมาชิกในกลุ่มมีส่วนร่วมในการตัดสินด้วยน้ำหนักที่เท่าเทียมกัน (Sink, 1983; Jones และคณะ, 1999; Ohio State University Extension, 2009 และ Wikipedia, 2010) กล่าวได้ว่าหลักการในการประเมินเป็นทั้งการประเมินเชิงคุณภาพและกึ่งปริมาณ (Perry และ Linsley, 2005) และนับเป็นวิธีที่เหมาะสมมากสำหรับการสร้างความคิดและการหาข้อสรุปร่วมกันของกลุ่ม (Sink, 1983) กล่าวโดยสรุปได้ว่า เพื่อแสวงหาแนวทางแก้ปัญหาครูขาดความรู้ในการสร้างคำถามและขาดการวางแผนในการสร้างเครื่องมือ รวมถึงทัศนคติต่อการวัดและประเมินผล ผู้วิจัยจึงต้องการศึกษาสภาพและความสามารถในการสร้างข้อสอบของครู เพื่อให้ทราบถึงการปฏิบัติในการสร้างข้อสอบ คุณภาพของข้อสอบที่ครูใช้ในการเรียนการสอนและการวัดและประเมินผล รวมถึงทัศนคติที่มีต่อการสร้างข้อสอบด้วยการวิจัยเชิงสำรวจและใช้ Nominal Group Technique ในการตัดสินคุณภาพของข้อสอบโดยผู้เชี่ยวชาญ ทั้งนี้เพื่อให้ได้สารสนเทศในการวางแผนสู่กระบวนการสร้างความสามารถในการสร้างข้อสอบของครูได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมในการวิจัยระยะต่อไป วัตถุประสงค์การวิจัย ๑. เพื่อศึกษาการปฏิบัติในการสร้างข้อสอบของครูตามการรับรู้ ๒. เพื่อศึกษาความสามารถในการสร้างข้อสอบของครูตามการรับรู้และตามสภาพจริง ๓. เพื่อศึกษาทัศนคติต่อการสร้างข้อสอบของครู ๔. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการปฏิบัติในการสร้างข้อสอบของครูตามการรับรู้ ความสามารถในการสร้างข้อสอบของครูตามการรับรู้และทัศนคติต่อการสร้างข้อสอบของครู ขอบเขตการวิจัย เนื้อหาสาระสำหรับศึกษาความสามารถในการสร้างข้อสอบตามสภาพจริงมุ่งเน้นเฉพาะกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เท่านั้น เนื่องจากผลการสอบ O-NET ในปีพ.ศ.๒๕๕๒-๒๕๕๓ ที่ผ่านมาพบว่าผลการสอบในวิชาภาษาไทย คณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์อยู่ในระดับต่ำกว่าเกณฑ์มาก และจากผลการประเมินสมรรถนะครูผู้สอนทั่วประเทศตามโครงการยกระดับคุณภาพครูทั้งระบบของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) พบว่า ครูในกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์มีผู้ที่ทำคะแนนอยู่ในกลุ่มสูง (๘๐%ขึ้นไป) คิดเป็นร้อยละ ๕๔.๒๔ ซึ่งน้อยกว่าครูในกลุ่มสาระคณิตศาสตร์ที่มีผู้ทำคะแนนได้อยู่ในกลุ่มสูง ถึงร้อยละ ๕๘.๐๒ (หนังสือพิมพ์ผู้จัดการรายวัน, ๒๕๕๓) ประกอบกับการเรียนการสอนหลักสูตรวิทยาศาสตร์ของเด็กไทยทุกระดับตกต่ำอย่างต่อเนื่อง (ทนงศักดิ์ หมื่นหนู, ๒๕๕๒) ทั้งนี้ผลการวิเคราะห์ความสามารถในการสร้างข้อสอบของครูกลุ่มนี้จะเป็นกลุ่มที่จะได้รับการพัฒนาความสามารถด้านการสร้างข้อสอบจากผู้วิจัยในการวิจัยระยะต่อไป กลุ่มครูที่ศึกษาครั้งนี้แบ่งออกเป็น ๒ กลุ่ม คือ ๑) ครูระดับชั้นประถมศึกษา กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์ ภาคเรียนที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๕๓ ที่สมัครใจและสนใจเข้าร่วมโครงการสร้างความสามารถในการสร้างข้อสอบจากผู้วิจัยในการวิจัยระยะต่อไป และ ๒) ครูระดับชั้นประถมศึกษาทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ ในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา นครสวรรค์ เขต ๒ ที่เข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องการสร้างข้อสอบ การกำหนดขอบเขตการวิจัยครั้งนี้มีผลทำให้การสรุปอ้างอิงผลการวิจัยไปยังกลุ่มประชากรทำได้ในวงจำกัด วิธีการวิจัย การวิจัยในครั้งนี้เป็นการศึกษาสภาพการสร้างข้อสอบและความสามารถในการสร้างข้อสอบของครูด้วยวิธีการวิจัยเชิงสำรวจและ Nominal Group Technique โดยผู้เชี่ยวชาญทำการประเมินระดับการเรียนรู้ด้านพุทธิพิสัยของข้อสอบ มีรายละเอียดวิธีดำเนินการวิจัยดังต่อไปนี้ ๑. กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา ครูที่ศึกษาครั้งนี้แบ่งออกเป็น ๒ กลุ่ม คือ ๑) ครูระดับชั้นประถมศึกษา กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์ ภาคเรียนที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๕๓ ที่สมัครใจและสนใจเข้าร่วมโครงการสร้างความสามารถในการสร้างข้อสอบจากผู้วิจัยในการวิจัยระยะต่อไป ทั้งในเขตกรุงเทพมหานคร/ปริมณฑล จำนวน ๒๑ ท่าน และ ๒) ครูระดับชั้นประถมศึกษาทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ ในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา นครสวรรค์ เขต ๒ ที่เข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องการสร้างข้อสอบ จำนวน ๑๔๘ ท่าน รวมทั้งสิ้น ๑๖๙ คน ๒. เครี่องมือที่ใช้ในการวิจัย ๒.๑ ตัวแปรในการวิจัย มี ๓ ตัวแปร คือ การปฏิบัติในการสร้างข้อสอบตามการรับรู้, ความสามารถในการสร้างข้อสอบตามการรับรู้ และทัศนคติต่อการสร้างข้อสอบของครู เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ คือ แบบสอบถามที่ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญ จำนวน ๖ ท่าน ซึ่งมีความเชี่ยวชาญด้านการวิจัย/การวัดประเมินผล การศึกษา/หลักสูตรการสอนและพัฒนศึกษา ประกอบด้วยข้อคำถามคัดสรรเฉพาะข้อที่มีค่าดัชนี IOC มากกว่า .๗ และผ่านการนำไปทดลองเก็บรวบรวมข้อมูลกับครูผู้สอนวิชาวิทยาศาสตร์ระดับชั้นประถมศึกษา ในจังหวัดนครสวรรค์ จำนวน ๓๐ คน คุณภาพด้านความเที่ยงของแบบสอบถามแยกรายด้านรวม ๓ ด้าน ได้ค่าความเที่ยงครอนบาคแอลฟาด้าน การปฏิบัติในการสร้างข้อสอบของครูตามการรับรู้ เท่ากับ .๗๒ ด้านความสามารถในการสร้างข้อสอบของครูตามการรับรู้ เท่ากับ .๗๐ และด้านทัศนคติในการสร้างข้อสอบของครู เท่ากับ .๗๒ ๒.๒ ตัวแปรที่วัดความสามารถมี ๑ ตัวแปร คือ การศึกษาความสามารถในการสร้างข้อสอบตามสภาพจริง วัดโดยใช้แนวคิดการประเมินด้วย Nominal Group Technique เครื่องมือที่ใช้คือ ข้อสอบของครูและสมุดบันทึกการประชุม ๓. การเก็บรวบรวมข้อมูล ๓.๑ การเก็บรวบรวมข้อมูลตัวแปร ๓ ตัวแปร คือ การปฏิบัติในการสร้างข้อสอบตามการรับรู้, ความสามารถในการสร้างข้อสอบตามการรับรู้ และทัศนคติต่อการสร้างข้อสอบของครู ใช้การเก็บรวบรวมข้อมูลจากครูที่เข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องการสร้างข้อสอบ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน นครสวรรค์ เขต ๒ และจากครูที่สมัครใจและสนใจเข้าร่วมโครงการสร้างความสามารถในการสร้างข้อสอบ จำนวน ๒๑ คน รวมทั้งสิ้น ๑๖๙ คน โดยผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยตนเอง ๓.๒ ศึกษาความสามารถในการสร้างข้อสอบของครูตามสภาพจริงด้วย Nominal Group Technique และใช้เกณฑ์การประเมินระดับการเรียนรู้ด้านพุทธิพิสัยใช้แนวคิดของบลูมและคณะในปี ค.ศ.1956 มีขั้นตอนการเก็บรวบรวมข้อมูล ๓ ขั้นตอน ประกอบด้วย ๑) รับสมัครครูที่สนใจเข้าร่วมโครงการผ่านช่องทางเครือข่ายที่รู้จัก ส่งจดหมาย/โพสต์หน้าเว็บไซต์ประชาสัมพันธ์ การประชุมสัมมนา และทางอีเมล์/facebook จากนั้นขอข้อสอบเก่าจากครูที่ตอบรับเข้าร่วมโครงการเพื่อศึกษาลักษณะเบื้องต้นของข้อสอบ ๒) เชิญกลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านการวิจัย/การวัดประเมินผลและการสอนวิทยาศาสตร์เพื่อประเมิน/ตัดสินระดับการเรียนรู้ด้านพุทธิพิสัยของข้อสอบ จำนวน ๖ ท่าน ๓) ดำเนินกระบวนการ Nominal Group Technique โดยแนะนำ อธิบายวัตถุประสงค์การประชุม และแจกเอกสารคือ ข้อสอบของครูให้แก่กลุ่มผู้เชี่ยวชาญก่อนดำเนินการประชุม ๓ สัปดาห์ จากนั้นกลุ่มผู้เชี่ยวชาญศึกษา/สร้างความคิดเห็นของแต่ละบุคคลก่อนมีการประชุมรวม และเมื่อถึงวันประชุมรวมผู้เชี่ยวชาญร่วมกันแบ่งปันความคิดเห็นของแต่ละท่านและร่วมลงความคิดเห็น ตัดสินระดับการเรียนรู้ด้านพุทธิพิสัยของข้อสอบ การวิเคราะห์ข้อมูล - ศึกษาการแจกแจงของตัวแปรทั้ง ๓ ตัวแปร คือ การปฏิบัติในการสร้างข้อสอบของครูตามการรับรู้, ความสามารถในการสร้างข้อสอบของครูตามการรับรู้และทัศนคติต่อการสร้างข้อสอบของครู โดยใช้การวิเคราะห์ค่าเฉลี่ย เกณฑ์ที่ใช้ในการแปลความหมายผู้วิจัยใช้เกณฑ์ของ John W. Best (อ้างถึงใน บุญชม ศรีสะอาด, ๒๕๔๕) - ศึกษาความสามารถในการสร้างข้อสอบของครูตามสภาพจริง ใช้การประเมินผลระดับการเรียนรู้ด้านพุทธิพิสัยข้อสอบด้วยเทคนิค Nominal Group Technique จากกลุ่มผู้เชี่ยวชาญและใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ความถี่ ร้อยละ ผลการวิจัย ผู้วิจัยนำเสนอผลการวิจัยโดยแบ่งออกเป็น ๔ ตอน ดังนี้ ตอนที่ ๑ ผลการศึกษาการปฏิบัติในการสร้างข้อสอบของครูตามการรับรู้ ผลการศึกษาการปฏิบัติในการสร้างข้อสอบของครูตามการรับรู้ (รายละเอียดดังแสดงในตารางที่ ๑) สรุปว่า ในภาพรวมการปฏิบัติในการสร้างข้อสอบของครูตามการรับรู้อยู่ในระดับปานกลาง (๒.๘๔) ประเด็นที่มีการปฏิบัติมาก คือ ครูได้มีการศึกษามาตรฐานและตัวชี้วัดก่อนสร้างข้อสอบ (๓.๖๑) ส่วนในประเด็นอื่นๆ ประกอบด้วย การสร้างผังข้อสอบ (test blueprint) ก่อนออกข้อสอบ การวิเคราะห์คุณภาพข้อสอบ/แบบสอบ และนำผลการวิเคราะห์มาพัฒนาแบบสอบและการเรียนการสอนอยู่ในระดับปานกลาง (๒.๕๙, ๒.๖๒ และ ๒.๗๖ ตามลำดับ) ข้อคำถามเชิงลบประกอบด้วย การนำข้อสอบที่ปรากฏในคู่มือ/เว็บไซต์ต่างๆมาสอบนักเรียนและนำข้อสอบเก่าๆที่เคยใช้แล้วมาสอบ อยู่ในระดับปานกลาง (๓.๑๙ และ ๓.๑๕) โดยประเด็นที่มีระดับการปฏิบัติน้อยคือ การเข้าร่วมอบรม/ ศึกษาค้นคว้าเทคนิควิธีการสร้างข้อสอบ (๒.๓๔) และเมื่อพิจารณาตามตัวแปรเพศพบว่า เพศหญิงมีค่าเฉลี่ยการปฏิบัติในการสร้างข้อสอบของครูตามการรับรู้สูงกว่าเพศชาย (๒.๘๗ และ ๒.๗๕) ตัวแปรประสบการณ์การสอนที่มากกว่า ๓๐ ปีมีค่าเฉลี่ยการปฏิบัติในการสร้างข้อสอบของครูสูงที่สุด รองลงมา คือ น้อยกว่า ๑๐ ปี ๑๑-๒๐ ปี และ ๒๑-๓๐ ปี ตามลำดับ (๒.๘๙, ๒.๘๘, ๒.๘๐ และ ๒.๗๙) และครูวุฒิการศึกษาปริญญาตรีมีค่าเฉลี่ยการปฏิบัติในการสร้างข้อสอบของครูตามการรับรู้สูงกว่าปริญญาโท (๒.๘๔ และ ๒.๘๓) ตารางที่ ๑ ค่าเฉลี่ยการปฏิบัติในการสร้างข้อสอบของครูตามการรับรู้ รายการ ค่าเฉลี่ยการปฏิบัติในการสร้างข้อสอบของครูตามการรับรู้ ภาพ รวม เพศ ประสบการณ์ (ปี) วุฒิการศึกษา ชาย หญิง <๑๐ ๑๑-๒๐ ๒๑-๓๐ >๓๐ ป.ตรี ป.โท - ท่านสร้างผังข้อสอบ (Test Blueprint) ก่อนออกข้อสอบ ๒.๕๐ ๒.๖๑ ๒.๕๙ ๒.๕๙ ๒.๔๙ ๒.๘๘ ๒.๕๖ ๒.๗๑ ๒.๕๙ - ท่านได้ศึกษามาตรฐานและตัวชี้วัดก่อนสร้างข้อสอบ ๓.๕๒ ๓.๖๔ ๓.๕๕ ๓.๗๓ ๓.๔๗ ๓.๙๔ ๓.๖๑ ๓.๕๘ ๓.๖๑ - ท่านได้วิเคราะห์คุณภาพข้อสอบ/แบบสอบ ๒.๖๑ ๒.๖๒ ๒.๗๔ ๒.๕๑ ๒.๕๖ ๒.๖๓ ๒.๖๓ ๒.๕๘ ๒.๖๒ - ท่านนำผลการวิเคราะห์คุณภาพข้อสอบ/แบบสอบมาพัฒนาแบบสอบและการเรียนการสอน ๒.๘๔ ๒.๘๔ ๒.๗๗ ๒.๕๑ ๒.๘๙ ๓.๐๐ ๒.๗๗ ๒.๗๑ ๒.๗๖ - ท่านเข้าร่วมอบรม/ ศึกษาค้นคว้าเทคนิควิธีการสร้างข้อสอบ ๒.๒๓ ๒.๒๓ ๒.๓๘ ๒.๒๗ ๒.๓๖ ๒.๔๔ ๒.๒๙ ๒.๖๗ ๒.๓๔ - ท่านนำข้อสอบเก่าๆที่เคยใช้แล้วมาสอบนักเรียน ๓.๓๒ ๓.๓๒ ๓.๐๙ ๓.๒๔ ๓.๑๑ ๓.๓๑ ๓.๑๔ ๓.๒๕ ๓.๑๕ - ท่านนำข้อสอบที่ปรากฏในคู่มือหรือเว็บไซต์ต่างๆมาใช้สอบ ๓.๑๔ ๓.๒๑ ๓.๑๔ ๓.๓๒ ๓.๑๑ ๓.๓๑ ๓.๑๙ ๓.๑๗ ๓.๑๙ คะแนนรวม ๒.๗๕ ๒.๘๗ ๒.๘๘ ๒.๘๐ ๒.๗๙ ๒.๘๙ ๒.๘๔ ๒.๘๓ ๒.๘๔
ตอนที่ ๒ ผลการศึกษาความสามารถในการสร้างข้อสอบของครูตามการรับรู้และตามสภาพจริง ผลการศึกษาความสามารถในการสร้างข้อสอบของครูตามการรับรู้ (รายละเอียดดังแสดงในตารางที่ ๒) สรุปได้ว่า ในภาพรวมความสามารถในการสร้างข้อสอบของครูตามการรับรู้อยู่ในระดับมาก (๓.๕๔) โดยข้อสอบที่สร้างขึ้นส่วนใหญ่วัดความรู้ความจำ ความสามารถในการเข้าใจเนื้อหาวิชาที่สอนได้ถูกต้อง รวมถึงความสามารถในการสร้างข้อสอบที่ตรงตามมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดในเนื้อหาวิชา/ระดับชั้นที่สอนนั้นอยู่ในระดับมาก (๓.๗๒, ๓.๖๙ และ ๓.๖๗ ตามลำดับ) ส่วนประเด็นความสามารถในการสร้างข้อสอบที่ถูกต้องตามเนื้อหาวิชา การทราบมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดในเนื้อหาวิชา/ระดับชั้นที่สอน และข้อสอบที่ครูสร้างขึ้นส่วนใหญ่วัดการคิดวิเคราะห์อยู่ในระดับปานกลาง (๓.๔๐, ๓.๓๒ และ ๒.๖๐) และเมื่อพิจารณาตามตัวแปรเพศพบว่า เพศชายมีค่าเฉลี่ยความสามารถในการสร้างข้อสอบของครูตามการรับรู้สูงกว่าเพศหญิง (๓.๕๖ และ ๓.๕๓) ตัวแปรประสบการณ์การสอนที่น้อยกว่า ๑๐ ปีมีค่าเฉลี่ย ความสามารถในการสร้างข้อสอบของครูตามการรับรู้สูงที่สุด รองลงมาคือ ๑๑-๒๐ ปี มากกว่า ๓๐ ปี และ ๒๑-๓๐ ปี ตามลำดับ (๓.๕๙, ๓.๕๒, ๓.๕๑ และ ๓.๔๙) และครูวุฒิการศึกษาปริญญาโทมีค่าเฉลี่ยความสามารถในการสร้างข้อสอบของครูตามการรับรู้สูงกว่าปริญญาตรี (๓.๖๔ และ ๓.๕๒) ตารางที่ ๒ ค่าเฉลี่ยความสามารถในการสร้างข้อสอบของครูตามการรับรู้ รายการ ค่าเฉลี่ยความสามารถในการสร้างข้อสอบของครูตามการรับรู้ ภาพ รวม เพศ ประสบการณ์ (ปี) วุฒิการศึกษา ชาย หญิง <๑๐ ๑๑-๒๐ ๒๑-๓๐ >๓๐ ป.ตรี ป.โท - ท่านเข้าใจเนื้อหาวิชาที่สอนได้ถูกต้อง ๓.๗๕ ๓.๖๖ ๓.๘๒ ๓.๖๑ ๓.๕๘ ๓.๖๙ ๓.๖๖ ๓.๘๓ ๓.๖๙ - ท่านทราบมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดในเนื้อหาวิชา/ระดับชั้นที่สอน ๓.๓๙ ๓.๒๙ ๓.๔๔ ๓.๓๗ ๓.๐๙ ๓.๓๘ ๓.๒๖ ๓.๖๓ ๓.๓๒ - ท่านสามารถสร้างข้อสอบที่ตรงตามมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดในเนื้อหาวิชา/ระดับชั้นที่สอน ๓.๖๔ ๓.๖๘ ๓.๕๙ ๓.๗๑ ๓.๗๑ ๓.๖๙ ๓.๖๕ ๓.๗๙ ๓.๖๗ - ท่านสามารถสร้างข้อสอบที่ถูกต้องตามเนื้อหาวิชา ๓.๓๔ ๓.๔๒ ๓.๔๕ ๓.๔๑ ๓.๓๓ ๓.๓๘ ๓.๓๔ ๓.๗๕ ๓.๔๐ - ข้อสอบที่ท่านสร้างขึ้นส่วนใหญ่วัดการคิดวิเคราะห์ ๒.๖๖ ๒.๖๒ ๒.๕๒ ๒.๖๖ ๒.๗๓ ๒.๘๘ ๒.๖๐ ๒.๘๓ ๒.๖๐ - ข้อสอบที่ท่านสร้างขึ้นส่วนใหญ่วัดความรู้ความจำ ๓.๖๖ ๓.๗๓ ๓.๗๓ ๓.๖๘ ๓.๖๙ ๓.๘๑ ๓.๗๒ ๓.๖๗ ๓.๗๒ คะแนนรวม ๓.๕๖ ๓.๕๓ ๓.๕๙ ๓.๕๒ ๓.๔๙ ๓.๕๑ ๓.๕๒ ๓.๖๔ ๓.๕๔
ในส่วนของผลการศึกษาการปฏิบัติในการสร้างข้อสอบของครูตามสภาพจริง (รายละเอียดดังแสดงในตารางที่ ๓) จากข้อสอบโรงเรียนในสังกัดต่างๆ จำนวน ๘๓๙ ข้อ สรุปได้ดังนี้ ข้อสอบในภาพรวมส่วนใหญ่วัดความรู้ถึงร้อยละ ๕๘.๖๔ รองลงมาคือ ความเข้าใจ ร้อยละ ๓๔.๐๙ การวิเคราะห์ ร้อยละ ๖.๐๘ การสังเคราะห์ ร้อยละ ๐.๙๕ และการประยุกต์ ร้อยละ ๐.๒๔ ตามลำดับ แต่ไม่พบข้อสอบวัดระดับการประเมิน ทั้งนี้เมื่อพิจารณาจำนวนข้อสอบในแต่ละสังกัดมีต่างกัน ผู้วิจัยจึงเทียบจำนวนของข้อสอบในแต่ละสังกัดเป็นร้อยละ ๑๐๐ สรุประดับการเรียนรู้ด้านพุทธิพิสัยของในแต่ละสังกัดเป็นดังนี้ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน ข้อสอบจำนวนทั้งสิ้น ๔๑๔ ข้อ ส่วนใหญ่วัดความรู้ ร้อยละ ๕๐ รองลงมาคือ ความเข้าใจ ร้อยละ ๔๒.๒๗ การวิเคราะห์ ร้อยละ ๗.๒๕ และการประยุกต์ ร้อยละ ๐.๔๘ ไม่พบข้อสอบระดับการสังเคราะห์และการประเมิน สังกัดโรงเรียนสาธิต ข้อสอบจำนวนทั้งสิ้น ๘๖ ข้อ ส่วนใหญ่วัดความเข้าใจ ร้อยละ ๔๖.๕๑ รองลงมาคือ ความรู้ ร้อยละ ๓๐.๒๓ การวิเคราะห์ ร้อยละ ๑๓.๙๕ และสังเคราะห์ ร้อยละ ๙.๓๐ ไม่พบข้อสอบระดับการประยุกต์และการประเมิน สังกัดเทศบาล ข้อสอบจำนวนทั้งสิ้น ๑๓๘ ข้อ ส่วนใหญ่วัดความรู้ ร้อยละ ๗๖.๐๙ รองลงมาคือความเข้าใจ ร้อยละ ๒๑.๐๑ และการวิเคราะห์ ร้อยละ ๒.๙๐ ไม่พบข้อสอบระดับการประยุกต์ การสังเคราะห์และการประเมิน สังกัดการศึกษากรุงเทพมหานคร ข้อสอบจำนวนทั้งสิ้น ๑๐๐ ข้อ ส่วนใหญ่วัดความรู้ ร้อยละ๗๐.๐๐ รองลงมาคือ ความเข้าใจ ร้อยละ ๒๘.๐๐ และการวิเคราะห์ ร้อยละ ๒.๐๐ ไม่พบข้อสอบระดับการประยุกต์ การสังเคราะห์และการประเมิน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ข้อสอบจำนวนทั้งสิ้น ๘๕ ข้อ ส่วนใหญ่วัดความรู้ถึงร้อยละ ๘๒.๓๕ รองลงมาคือ ความเข้าใจ ร้อยละ ๑๔.๑๒ และการวิเคราะห์ ร้อยละ ๓.๕๓ ไม่พบข้อสอบระดับการประยุกต์ การสังเคราะห์และการประเมิน สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด ข้อสอบจำนวนทั้งสิ้น ๑๖ ข้อ ส่วนใหญ่วัดความรู้ถึงร้อยละ ๘๗.๕๐ รองลงมาคือ ความเข้าใจ ร้อยละ ๑๒.๕๐ ไม่พบข้อสอบระดับการประยุกต์ การวิเคราะห์ การสังเคราะห์และการประเมิน นอกจากนี้ยังพบว่า มีข้อสอบจากครูที่นำมาศึกษาครั้งนี้ออกเกินหลักสูตร ผิดหลักการในวิชาวิทยาศาสตร์ ข้อสอบต่างโรงเรียนแต่มีคำถามและคำตอบที่เหมือนกัน นำข้อสอบกลางภาคมาออกซ้ำในปลายภาค รวมถึงข้อสอบเหมือนในคู่มือสื่ออินเตอร์เน็ต โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้ ข้อสอบออกเกินหลักสูตรที่กำหนด ร้อยละ ๒.๐๒ (๑๗ ข้อ) เป็นข้อสอบที่วัดระดับความรู้ ร้อยละ ๐.๖๐ (๕ ข้อ) และวัดระดับความเข้าใจ ร้อยละ ๑.๔๓ (๑๒ ข้อ) ข้อสอบที่ผิดหลักเนื้อหาวิชาวิทยาศาสตร์ ร้อยละ ๑.๗๙ (๑๕ ข้อ) เป็นข้อสอบที่วัดระดับความรู้ร้อยละ ๑.๑๙ (๑๐ ข้อ) และวัดระดับความเข้าใจ ร้อยละ ๐.๖๐ (๕ ข้อ) ข้อสอบที่อยู่ต่างโรงเรียนกันแต่คำถามและคำตอบมีความเหมือนกัน ร้อยละ ๕.๔๘ (๔๖ ข้อ) เป็นข้อสอบที่วัดระดับความรู้ ร้อยละ ๓.๓๔ (๒๘ ข้อ) และวัดระดับความเข้าใจ ร้อยละ ๒.๑๔ (๑๘ ข้อ) นำข้อสอบกลางภาคมาออกซ้ำในปลายภาค ร้อยละ ๑.๕๕ (๑๓ ข้อ) เป็นข้อสอบที่วัดระดับความรู้ ร้อยละ ๐.๙๕ (๘ ข้อ) และวัดระดับความเข้าใจ ร้อยละ ๐.๖๐ (๕ ข้อ) ข้อสอบที่คำถามและคำตอบเหมือนคู่มือในสื่ออินเตอร์เน็ต ร้อยละ ๔.๘๙ (๔๑ ข้อ) เป็นข้อสอบที่วัดระดับความรู้ ร้อยละ ๓.๔๖ (๒๙ ข้อ) และวัดระดับความเข้าใจ ร้อยละ ๑.๔๓ (๑๒ ข้อ)
ตารางที่ ๓ ร้อยละของข้อสอบโรงเรียนจำแนกตามระดับการเรียนรู้ด้านพุทธิพิสัยของบลูมและสังกัดต่างๆ
ระดับการเรียนรู้ด้าน
พุทธิพิสัย
ของบลูม ร้อยละของข้อสอบโรงเรียนในสังกัดต่างๆ
เอกชน
(๔๑๔ ข้อ) สาธิต
(๘๖ ข้อ) เทศบาล
(๑๓๘ ข้อ) กทม.
(๑๐๐ ข้อ) สพฐ.
(๘๕ ข้อ) อบจ.
(๑๖ ข้อ) ภาพรวม
(๘๓๙ ข้อ)
ความรู้ ๕๐.๐๐ ๓๐.๒๓ ๗๖.๐๙ ๗๐.๐๐ ๘๒.๓๕ ๘๗.๕๐ ๕๘.๖๔
(เกินหลักสูตร) (๑.๒๑) - - - - - (๐.๖๐)
ความเข้าใจ ๔๒.๒๗ ๔๖.๕๑ ๒๑.๐๑ ๒๘.๐๐ ๑๔.๑๒ ๑๒.๕๐ ๓๔.๐๙
(เกินหลักสูตร) (๑.๙๓) (๓.๔๙) (.๗๒) - - - (๑.๔๓)
การประยุกต์ ๐.๔๘ ๐.๐๐ ๐.๐๐ ๐.๐๐ ๐.๐๐ ๐.๐๐ ๐.๒๔
(เกินหลักสูตร) - - - - - - -
การวิเคราะห์ ๗.๒๕ ๑๓.๙๕ ๒.๙๐ ๒.๐๐ ๓.๕๓ ๐.๐๐ ๖.๐๘
(เกินหลักสูตร) - - - - - - -
การสังเคราะห์ ๐.๐๐ ๙.๓๐ ๐.๐๐ ๐.๐๐ ๐.๐๐ ๐.๐๐ ๐.๙๕
(เกินหลักสูตร) - - - - - - -
การประเมิน ๐.๐๐ ๐.๐๐ ๐.๐๐ ๐.๐๐ ๐.๐๐ ๐.๐๐ ๐.๐๐
(เกินหลักสูตร) - - - - - - -
รวม ๑๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐
สรุปความสามารถในการสร้างข้อสอบของครูตามการรับรู้แตกต่างจากความสามารถตามสภาพจริง กล่าวคือ ครูรับรู้ว่ามีความสามารถในการสร้างข้อสอบที่ตรงตามมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดในเนื้อหาวิชา/ระดับชั้นที่สอนอยู่ในระดับมาก แต่พบว่าข้อสอบตามสภาพจริงจากครูที่สนใจเข้าร่วมโครงการบางส่วนออกเกินหลักสูตรที่กำหนด และครูรับรู้ว่าข้อสอบที่สร้างขึ้นส่วนใหญ่วัดความรู้ความจำอยู่ในระดับปานกลางไม่สอดคล้องกับข้อสอบตามสภาพจริงที่พบว่าข้อสอบส่วนใหญ่วัดความรู้ถึงร้อยละ ๕๘.๖๔
ตอนที่ ๓ ผลการศึกษาทัศนคติต่อการสร้างข้อสอบของครู ผลการศึกษาทัศนคติต่อการสร้างข้อสอบของครู (รายละเอียดดังแสดงในตารางที่ ๔) สรุปได้ว่า ในภาพรวมทัศนคติต่อการสร้างข้อสอบของครู อยู่ในระดับมาก (๓.๙๕) โดยความคิดเห็นเกี่ยวกับการสร้างข้อสอบวัดการคิดวิเคราะห์นั้นเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการเรียนการสอน ครูสนใจที่จะเรียนรู้เทคนิคในการสร้างข้อสอบ คิดว่าการสร้างข้อสอบวัดการคิดวิเคราะห์เป็นสิ่งที่ท้าทายและน่าสนใจ รวมถึงการสร้างข้อสอบวัดการคิดวิเคราะห์นั้นไม่ยากจนเกินไป อยู่ในระดับมาก (๔.๔๘, ๔.๔๖, ๔.๑๘ และ ๓.๗๘ ตามลำดับ) ข้อคำถามเชิงลบ ประกอบด้วย ครูคิดว่าการสร้างข้อสอบเป็นเรื่องที่น่าเบื่อ (๒.๗๖) และเมื่อต้องสร้างข้อสอบเองแล้วรู้สึกท้อแท้ (๒.๘๖) อยู่ในระดับปานกลาง ตารางที่ ๔ ค่าเฉลี่ยทัศนคติต่อการสร้างข้อสอบของครู รายการ ค่าเฉลี่ยทัศนคติต่อการสร้างข้อสอบของครู ภาพ รวม เพศ ประสบการณ์ (ปี) วุฒิการศึกษา ชาย หญิง <๑๐ ๑๑-๒๐ ๒๑-๓๐ >๓๐ ป.ตรี ป.โท - ท่านสนใจที่จะเรียนรู้เทคนิคในการสร้างข้อสอบ ๔.๕๒ ๔.๔๔ ๔.๔๒ ๔.๕๖ ๔.๔๙ ๔.๓๑ ๔.๔๗ ๔.๔๖ ๔.๔๖ -ท่านคิดว่าการสร้างข้อสอบวัดการคิดวิเคราะห์นั้นไม่ยากจนเกินไป ๓.๙๕ ๓.๗๒ ๓.๘๘ ๓.๘๕ ๓.๕๘ ๓.๗๕ ๓.๘๑ ๓.๕๘ ๓.๗๘ - ท่านคิดว่าการสร้างข้อสอบวัดการคิดวิเคราะห์เป็นสิ่งที่ท้าทายและน่าสนใจ ๔.๑๘ ๔.๑๘ ๔.๐๙ ๔.๓๒ ๔.๒๒ ๔.๐๖ ๔.๒๐ ๔.๐๔ ๔.๑๘ - ท่านคิดว่าการสร้างข้อสอบวัดการคิดวิเคราะห์นั้นเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการเรียนการสอน ๔.๕๗ ๔.๔๕ ๔.๔๒ ๔.๖๘ ๔.๔๒ ๔.๓๘ ๔.๔๙ ๔.๔๖ ๔.๔๘ - ท่านคิดว่าการสร้างข้อสอบเป็นเรื่องที่น่าเบื่อ ๒.๖๑ ๒.๘๑ ๒.๖๘ ๓.๑๐ ๒.๖๗ ๒.๔๔ ๒.๗๔ ๒.๘๘ ๒.๗๖ - เมื่อต้องสร้างข้อสอบเองแล้วรู้สึกท้อแท้ ๒.๘๐ ๒.๘๙ ๒.๘๒ ๓.๒๐ ๒.๗๖ ๒.๕๐ ๒.๘๔ ๓.๐๐ ๒.๘๖ คะแนนรวม ๔.๐๖ ๓.๙๑ ๓.๙๕ ๔.๐๕ ๓.๘๘ ๓.๙๓ ๓.๙๘ ๓.๗๘ ๓.๙๕
ตอนที่ ๔ ผลการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการปฏิบัติในการสร้างข้อสอบของครูตามการรับรู้ ความสามารถในการสร้างข้อสอบของครูตามการรับรู้และทัศนคติต่อการสร้างข้อสอบของครู ผลการศึกษาความสัมพันธ์ สรุปได้ว่า การปฏิบัติในการสร้างข้อสอบของครูตามการรับรู้มีความสัมพันธ์ทางบวกกับความสามารถในการสร้างข้อสอบของครูตามการรับรู้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๕ ค่าความสัมพันธ์ เท่ากับ .๑๗๕ และการปฏิบัติในการสร้างข้อสอบของครูตามการรับรู้มีความสัมพันธ์ทางบวกกับทัศนคติต่อการสร้างข้อสอบของครู อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๑ ค่าความสัมพันธ์ เท่ากับ .๕๔๘ กล่าวได้ว่า หากการปฏิบัติในการสร้างข้อสอบของครูตามการรับรู้ เพิ่มขึ้นแล้ว ความสามารถในการสร้างข้อสอบของครูตามการรับรู้และทัศนคติต่อการสร้างข้อสอบของครู จะเพิ่มขึ้นด้วย (รายละเอียดดังแสดงในตารางที่ ๕)
ตารางที่ ๕ ความสัมพันธ์ระหว่างการปฏิบัติในการสร้างข้อสอบของครูตามการรับรู้ ความสามารถในการสร้างข้อสอบของครูตามการรับรู้และทัศนคติต่อการสร้างข้อสอบของครู การปฏิบัติในการสร้างข้อสอบ ความสามารถในการสร้างข้อสอบ ทัศนคติต่อการสร้างข้อสอบ - การปฏิบัติในการสร้างข้อสอบ - - ความสามารถในการสร้างข้อสอบ ๐.๑๗๕* - - ทัศนคติต่อการสร้างข้อสอบ ๐.๕๔๘** ๐.๐๙๘ -
- P < .01, * P < .05
สรุปและอภิปรายผลการวิจัย ๑. การปฏิบัติในการสร้างข้อสอบของครูตามการรับรู้จากผลการวิจัย พบว่า การสร้างผังข้อสอบ (test blueprint) ก่อนออกข้อสอบ การวิเคราะห์คุณภาพข้อสอบ/แบบสอบ และนำผลการวิเคราะห์มาพัฒนาแบบสอบและการเรียนการสอนของครูโดยวัดตามการรับรู้ อยู่ในระดับปานกลาง สอดคล้องกับการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องสรุปว่า ครูขาดการวางแผนในการสร้างเครื่องมือวัดและประเมินผลการศึกษา (วิรัช วรรณรัตน์, ๒๕๓๕; เยาวภา รัตนาธรรม, ๒๕๔๑ และ กาญจนา สุภารี, ๒๕๔๓) โดยข้อมูลที่ผู้วิจัยศึกษาเป็นเพียงการวัดตามการรับรู้เท่านั้น การปฏิบัติตามสภาพจริงอาจต่ำกว่าการตอบตามการรับรู้ของครู และผลการศึกษาการปฏิบัติในการสร้างข้อสอบของครูตามการรับรู้ประเด็นของการนำข้อสอบเก่าๆที่เคยใช้แล้วหรือข้อสอบที่ปรากฏในคู่มือ/เว็บไซต์ต่างๆมาสอบนักเรียนอยู่ในระดับปานกลาง สอดคล้องกับผลการวิจัยพบว่า ข้อสอบตามสภาพจริงเหมือนในคู่มือสื่ออินเตอร์เน็ต แต่ยังนับว่าเป็นส่วนน้อยเมื่อเทียบกับจำนวนข้อสอบทั้งหมด (ร้อยละ ๔.๘๙) ๒. ความสามารถในการสร้างข้อสอบของครูตามการรับรู้และสภาพจริง ผลการศึกษาสรุปว่าครูรับรู้ว่ามีความสามารถในการสร้างข้อสอบที่ตรงตามมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดในเนื้อหาวิชา/ระดับชั้นที่สอน อยู่ในระดับมาก แต่พบว่า ข้อสอบตามสภาพจริงจากครูที่สนใจเข้าร่วมโครงการบางส่วนออกเกินหลักสูตรที่กำหนด (ร้อยละ ๒.๐๒) ในประเด็นของความสามารถในการสร้างข้อสอบที่ถูกต้องตามเนื้อหาวิชาตามการรับรู้อยู่ในระดับปานกลาง สอดคล้องกับผลการศึกษาตามสภาพจริงที่พบข้อสอบผิดหลักการตามเนื้อหาวิชาวิทยาศาสตร์ (ร้อยละ ๑.๗๙) ทั้งนี้ยังนับว่าเป็นส่วนน้อยเมื่อเทียบกับจำนวนข้อสอบทั้งหมด นอกจากนี้ผลการศึกษาความสามารถในการสร้างข้อสอบของครูตามการรับรู้ประเด็นของข้อสอบที่ครูสร้างขึ้นส่วนใหญ่วัดความรู้ความจำอยู่ในระดับปานกลางไม่สอดคล้องกับข้อสอบตามสภาพจริงจากครูที่สนใจเข้าร่วมโครงการที่พบว่าข้อสอบในภาพรวมวัดความรู้ถึงร้อยละ ๕๘.๖๔ แต่มีความสอดคล้องกับการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องพบว่า ข้อสอบของครูส่วนมากมุ่งวัดพฤติกรรมด้านความรู้ ความจำ (ตุ๊ จงรักษ์, ๒๕๔๓) และครูเห็นว่าตนเองสร้างข้อสอบวัดการคิดวิเคราะห์ในระดับ ปานกลางแต่ความสามารถในการสร้างข้อสอบของครูตามสภาพจริงจากครูที่สนใจเข้าร่วมโครงการ พบว่า มีข้อสอบที่วัดการคิดวิเคราะห์น้อยมาก (ร้อยละ ๖.๐๘) ๓. ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างการปฏิบัติในการสร้างข้อสอบของครูตามการรับรู้มีความสัมพันธ์ทางบวกกับทัศนคติต่อการสร้างข้อสอบ สอดคล้องกับบทความจาก Earn A College (2009) ที่กล่าวว่ากุญแจสำคัญสำหรับความสำเร็จในการสร้างแบบสอบคือ การมีทัศนคติที่ดี ข้อเสนอแนะในการนำผลการวิจัยไปใช้ เนื่องจากผลการวิจัยสรุปได้ว่าหากครูมีทัศนคติที่ดีต่อการสร้างข้อสอบเพิ่มขึ้นแล้ว การปฏิบัติในการสร้างข้อสอบของครูก็จะสูงขึ้นด้วย ดังนั้นจุดเริ่มต้นในการพัฒนาครูด้านการสร้างข้อสอบนี้ ควรปลูกฝังให้ครูมีความรู้สึกว่าการสร้างข้อสอบคิดวิเคราะห์เป็นเรื่องที่สามารถทำได้ง่ายเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติในการสร้างข้อสอบที่ดี และความสามารถในการสร้างข้อสอบสูงขึ้นด้วย ข้อเสนอแนะสำหรับการวิจัยในครั้งต่อไป ๑. ผลการวิจัยพบว่าครูเข้าร่วมอบรม/ ศึกษาค้นคว้าเทคนิควิธีการสร้างข้อสอบน้อย ดังนั้นจึงเป็นสิ่งจำเป็นและเร่งด่วนที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรส่งเสริมสนับสนุนให้ครูได้เข้าร่วมอบรมเกี่ยวกับการสร้างข้อสอบ อาจมีการนำเทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตเข้ามาใช้ในการอบรมเพื่อให้ครูสามารถใช้เวลานอกการเรียนการสอนมาพัฒนาตนเองต่อไป ๒. กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาในการวิจัยครั้งนี้มิได้เกิดจากการสุ่มตัวอย่าง และข้อสอบที่ได้จากโรงเรียนในสังกัดต่างๆ ยังมีจำนวนที่แตกต่างกันมาก ดังนั้นในการวิจัยครั้งต่อไปควรมีการกำหนดกลุ่มตัวอย่างที่มีความชัดเจนและสุ่มตัวอย่างที่ศึกษาทั้งครูและข้อสอบที่มีความเป็นตัวแทนประชากรและขยายบริบทในการศึกษากลุ่มสาระอื่นๆด้วย จะทำให้ได้สารสนเทศในการพัฒนาครูบริบทต่างๆและครูกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่นๆ ยิ่งขึ้น
บรรณานุกรม ประเมินครูสายวิทย์ฯตกทุกรายวิชา. (๒๕๕๓). ผู้จัดการรายวัน. (๘ มิถุนายน ๒๕๕๓): ๑๐. กาญจนา สุภารี. (๒๕๔๓). ปัญหาการสร้างข้อสอบวัดความสามารถทางพุทธิพิสัยของอาจารย์ผู้สอนวิชาศิลปะกับชีวิต (ดนตรี) ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต สาขาศิลปศาสตร์ (ดนตรี) มหาวิทยาลัยมหิดล. ตุ๊ จงรักษ์. (๒๕๔๓). กระบวนการวัดและประเมินผลการเรียนในโรงเรียนประถมศึกษา : ศึกษากรณีโรงเรียน ปฏิรูปการศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษา จังหวัดหนองคาย. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาการวัดและประเมินผลการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. ทนงศักดิ์ หมื่นหนู. (๒๕๕๒). เปิดโมเดลหมื่นล้านพัฒนาครูวิทยาศาสตร์. กรุงเทพธุรกิจ. (๒๘ กันยายน ๒๕๕๒): ๑๔. ทิพย์วัลย์ ใจทหาร. (๒๕๓๘). ปัญหาการวัดและประเมินผลวิชาสุขศึกษาในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา เขตการศึกษา ๖. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ภาควิชาพลศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บุญชม ศรีสะอาด. (๒๕๔๕). วิธีการสร้างสถิติสำหรับการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ ๖. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น. เยาวภา รัตนาธรรม. (๒๕๔๑). พฤติกรรมการประเมินผลการเรียนของครูผู้สอนวิชาคณิตศาสตร์ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดจันทบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาวิจัยและประเมินผลการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. วิรัช วรรณรัตน์. (๒๕๓๕). ปัญหาการวัดและการประเมินผล : ครูผู้สอน. วารสารการวัดผลการศึกษา. ๑๔(๓๙) : ๕-๑๑. สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน). (๒๕๕๓). สทศ.จัดทำ VCD คำชี้แจงการสอบ โอเน็ตแจกจ่ายให้แก่โรงเรียนทั่วประเทศ. NETS News, (๒๑), ๒. สมพงษ์ เพชรหมื่นไวย. (๒๕๔๐). ปัญหาการสร้างข้อสอบของครูพลศึกษา โรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา เขตการศึกษา ๖. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต สาขาการศึกษา (พลศึกษา) มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร. เอื้อมพร หลินเจริญ, สิริศักดิ์ อาจวิชัย และ ภีรภา จันทร์อินทร์. (๒๕๕๒). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่ทำให้คะแนนการทดสอบ O-NET ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ ต่ำ. เอกสารอัดสำเนา.
ภาษาต่างประเทศ Anderson, L.W., et al. (2001). A Taxonomy for Learning, Teaching, and Assessing : A Revision of Bloom’s Taxonomy of Educational Objectives. Boston: Addison Wesley Longman. Bloom, B.S., et al. (1956). Taxonomy of Educational Objective: The Classification of Educational Goals. New York: DAVID MckAY Company. Dobbie, et al. (2004). Using a modified nominal group technique as a curriculum evaluation tool. Core Concepts in Family Medicine Education, 36(6): 402-406. Earn A College Degree. (2009). Developing a Positive Attitude. [online]. Available from: http://www.earnacollegedegree.com/resources/YCDI/content/developing-a-positive-attitude-toward-testing.htm[2010, October 20]. Jones, G.L., Fowell, S. and Bligh, J.G. (1999). The use of the nominal group technique as an evaluative tool in medical undergraduate education. Medical Education, 33: 8-13. Lancaster, T., Hart, R. and Gardner, S. (2002). Literature and medicine: evaluating a special study module Using the nominal group technique. Medical Education, 36: 101–107. Ohio State University Extension. (2009). Building Dynamic Group : Nominal Group Technique. [online]. Available from: http://hostedweb.cfaes.ohio-state.edu/bdg/pdf_docs/d/F06.pdf [2010, October 20]. Perry, J. and Linsley, S. (2005). The use of the nominal group technique as an evaluative tool in the teaching and summative assessment of the inter-personal skills of student mental health nurses. Nurse Education Today, 26: 346-353. Potter, M., Gordon, S. and Hamer, P. (2004). The nominal group technique: a useful consensus methodology in physiotherapy research. Journal of Physiotherapy, 32(3): 126-130. Sink, D.S. (1983). Using the nominal group technique effectively. National Productvary review. Spring: 173-184. Wikipedia. (2010). Nominal group technique. [online]. Available from: http://en.wikipedia.org/wiki/Nominal_group_technique[2010, October 20].