นวัตกรรมคณิตศาสตร์
จาก ChulaPedia
(หน้าที่ถูกสร้างด้วย 'การสังเคราะห์งานวิจัยนวัตกรรมการเรียนการสอนคณิ…')
รุ่นปัจจุบันของ 03:38, 7 กันยายน 2555
การสังเคราะห์งานวิจัยนวัตกรรมการเรียนการสอนคณิตศาสตร์: การวิเคราะห์อภิมาน และการวิเคราะห์กลุ่มแฝง (A SYNTHESIS OF MATHEMATICS TEACHING INNOVATION RESEARCH: META-ANALYSIS AND LATENT CLASS ANALYSIS)
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสังเคราะห์งานวิจัยเชิงทดลองเกี่ยวกับนวัตกรรมการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ด้วยการวิเคราะห์อภิมาน เพื่อวิเคราะห์กลุ่มแฝงของขนาดอิทธิพลจากคุณลักษณะงานวิจัยและคุณภาพของงานวิจัย และเพื่อสรุปองค์ความรู้ที่ได้รับ กลุ่มตัวอย่างคือ วิทยานิพนธ์ระดับบัณฑิตศึกษา และงานวิจัยจากสสวท. รวม 72 เล่ม ตัวแปรต้นคือ คุณลักษณะงานวิจัยจำนวน 47 ตัวแปร ตัวแปรตามมี 2 ตัวแปรคือ 1) ค่าขนาดอิทธิพลที่หาโดยสูตรของ Glass และปรับแก้โดยสูตรของ Hunter และ 2) กลุ่มแฝงของค่าขนาดอิทธิพล เก็บรวบรวมข้อมูลในช่วงพ.ศ. 2542 – 2551 โดยใช้แบบบันทึกคุณลักษณะงานวิจัย และแบบประเมินคุณภาพงานวิจัย วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติบรรยาย การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณด้วยโปรแกรม SPSS และการวิเคราะห์กลุ่มแฝงด้วยโปรแกรม Mplus ผลการวิจัยสรุปได้ 3 ประการดังนี้ 1) ผลการวิเคราะห์อภิมานพบว่ามหาวิทยาลัยที่ผลิตงานวิจัยมากที่สุดคือ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (36.1%) ซึ่งเป็นสาขาวิชาการศึกษาคณิตศาสตร์มากที่สุด (31.9%) ค่าขนาดอิทธิพลของงานวิจัยในการทดสอบสมมติฐานมี 141 ค่า (d ̅=2.05) ผลการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวพบว่ามีคุณลักษณะงานวิจัย 16 ตัวแปรที่ส่งผลต่อขนาดอิทธิพล ผลการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณพบว่ามีคุณลักษณะงานวิจัย 4 ตัวแปรที่ส่งผลต่อค่าขนาดอิทธิพลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยอธิบายความแปรปรวนของขนาดอิทธิพลได้ 70.6% 2) ผลการวิเคราะห์กลุ่มแฝงพบว่าสามารถแบ่งกลุ่มแฝงของค่าขนาดอิทธิพลได้ 2 กลุ่ม และ 3) ผลการสรุปองค์ความรู้พบว่า นวัตกรรมการเรียนการสอนคณิตศาสตร์เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนส่วนใหญ่เป็นวิธีสอนโดยคัดสรรการสอน สื่อและเทคโนโลยีแบบชุดการเรียน GSP และแผนการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ