แหล่งการเรียนรู้ในวัด
จาก ChulaPedia
(นางสาวสุภามาศ อ่ำดวง สาขาการศึกษานอกระบบโรงเรียน ภาควิชาการศึกษาตลอดชีวิต คณะครุศาสตร์)
แตกต่างถัดไป →
การปรับปรุง เมื่อ 06:33, 25 กันยายน 2555
งานวิจัย
แนวทางการจัดแหล่งการเรียนรู้ในวัดเพื่อเสริมสร้างการเรียนรู้ตลอดชีวิต
GUIDELINES FOR MANAGING LEARNING RESOURCES IN TEMPLES IN ORDER TO ENHANCE LIFELONG LEARNING
ผู้วิจัย
นางสาวสุภามาศ อ่ำดวง
ระดับปริญญาโท สาขาการศึกษานอกระบบโรงเรียน ภาควิชาการศึกษาตลอดชีวิต คณะครุศาสตร์
อาจารย์ที่ปรึกษา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วรรัตน์ ปทุมเจริญวัฒนา
วิทยานิพนธ์นี้ได้รับการสนับสนุนทุนวิจัยจาก "ทุนอุดหนุนวิทยานิพนธ์สำหรับนิสิต" จากบัณฑิตวิทยาลัย
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัญหา ความต้องการ การจัดแหล่งการเรียนรู้ในวัดเพื่อเสริมสร้างการเรียนรู้ตลอดชีวิต และเพื่อน่าเสนอแนวทางการจัดแหล่งการเรียนรู้ในวัดเพื่อเสริมสร้างการเรียนรู้ตลอดชีวิต กลุ่มตัวอย่างคือ แหล่งการเรียนรู้ในวัดจำนวน 13 แห่ง โดยใช้สุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ แบบสำรวจปัญหาและความต้องการในการจัดแหล่งการเรียนรู้ในวัดเพื่อเสริมสร้างการเรียนรู้ตลอดชีวิต สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสัมภาษณ์แนวทางการจัดแหล่งการเรียนรู้ในวัดเพื่อเสริมสร้างการเรียนรู้ตลอดชีวิตจากผู้เชี่ยวชาญ
ผลการวิจัยพบว่า
1) การจัดแหล่งการเรียนรู้ในวัดเพื่อเสริมสร้างการเรียนรู้ตลอดชีวิตอยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยด้านจุดมุ่งหมายและนโยบายมีค่าเฉลี่ยปัญหามากที่สุด (X= 3.96, S.D.= 0.61) ความต้องการ ( X = 4.24, S.D.= 0.57)
2) แนวทางการจัดแหล่งการเรียนรู้ในวัดเพื่อเสริมสร้างการเรียนรู้ตลอดชีวิต ได้แก่ เน้นให้ผู้ใช้บริการทุกคนได้เข้ามาศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่นและศิลปวัฒนธรรม เป็นการจัดการท่างานอย่างมีระบบโดยกำหนดระเบียบแบบแผนการท่างานให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการจัดแหล่งการเรียนรู้ เน้นให้บุคลากรเป็นผู้มีความรู้ความสามารถ เน้นกิจกรรมการทัศนศึกษาในวัด กิจกรรมการอบรมระยะสั้น รวมไปถึงกิจกรรมการจัดการเรียนการสอนแบบระยะยาว ประชาชนควรเป็นผู้ใช้บริการที่ดีให้การสนับสนุนกิจกรรมการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ทุกภาคส่วนควรเข้ามามีบทบาทในการจัดแหล่งการเรียนรู้ ควรให้การสนับสนุนเกี่ยวกับด้านงบประมาณในการพัฒนาระบบการจัดการให้กับแหล่งการเรียนรู้ในวัด
คำสำคัญ : แนวทาง / แหล่งการเรียนรู้ / การเรียนรู้ตลอดชีวิต
Abstract
The purposes of this research were 1) to study the problems with and the need to improve the learning resources in Buddhist temples in order to enhance lifelong learning, and 2) to propose guidelines for the management of learning resources in Buddhist temples in order to enhance lifelong learning. The sample groups consisted of 4 groups of stakeholders in the management of learning resources in 13 Buddhist temples. These included directors of the Office of the Non-Formal and Informal Education, teachers in charge of the learning resources, abbots, and users. The research tools used were questionnaires and semi-structured interviews designed to survey the problems and needs of all of the 4 groups in regards to the management of learning resources in the Buddhist temples. The data was then analyzed by using frequencies, percentage, mean and standard deviation. The content from the interviews was analyzed by following guidelines on learning resources management for lifelong learning.
The research results were as follows :
1) a need to improve the management of learning resources in Buddhist temples in order to enhance lifelong learning was found in all seven aspects: goals and policies, management, personnel, the provision of activities, networking organizations, and governmental support. The goals and policies aspect had the highest average score in regards to problems and needs (X= 3.96, S.D. = 0.61) (X = 4.24, S.D. = 0.57).
2) Guidelines to manage learning resources in Buddhist temples to enhance lifelong learning should first allow the learning resources to operate with a systematic plan that corresponds to learning resource objectives, with an emphasis on allowing public access to local wisdom and cultural knowledge. This includes providing various activities like field trips, as well as short- and long-term training courses. Second, the public should be both active users and participants and support the Buddhist temples’ learning activities. Last, the government sector should subsidize or provide budgetary support to develop learning resource systems in the Buddhist temples. To conclude, all sectors should participate in the learning resources management of Buddhist temples.
Keywords : GUIDELINES / LEARNING RESOURCES / LIFELONG LEARNING/ BUDDHIST TEMPLES
ฉบับเต็ม (Fulltext)
ท่านสามารถดาวน์โหลดบทความงานวิจัยที่ได้ตีพิมพ์ผ่านเว็บไซต์ของวารสารอิเล็กทรอนิกส์ทางการศึกษา (OJED) ได้ที่ วารสารฉบับเต็ม