องค์ประกอบทางเคมีและฤทธิ์ทางชีวภาพของยางไม้บางชนิด

จาก ChulaPedia

(ความแตกต่างระหว่างรุ่นปรับปรุง)
ข้ามไปที่: นำทาง, สืบค้น
Pchanida (พูดคุย | เรื่องที่เขียน)
(หน้าที่ถูกสร้างด้วย ''''องค์ประกอบทางเคมีและฤทธิ์ทางชีวภาพของยางไม้บา…')

รุ่นปัจจุบันของ 04:30, 13 ตุลาคม 2555

องค์ประกอบทางเคมีและฤทธิ์ทางชีวภาพของยางไม้บางชนิด (CHEMICAL COMPOSITION AND BIOLOGICAL ACTIVITIES FROM SELECTED EXUDATE GUMS) ปริชาติ หงษ์สิงห์, ชนิดา พลานุเวช และ นิจศิริ เรืองรังษี วิทยาลัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

กัมคอนดาโกกุ กัมคารายา และกัมอคาเชียเป็นยางที่ได้จากต้นสุพรรณิการ์ (Cochlospermum gossypium De Candole tree (family COCHLOSPERMACEAE)) ต้น Sterculia urens Roxb. (family STERCULIACEAE) และต้น Acacia senegal (Linn.) Willd. (family FABACEAE) ตามลำดับ มีคุณสมบัติเป็นกากใยโพลีแซกคาไรด์ชนิดละลายน้ำ ทดสอบฤทธิ์ทางชีวภาพในการกักเก็บน้ำตาลในถุงไดอะไลซิส ฤทธิ์ยับยั้งการทำงานของเอนไซม์แอลฟากลูโคซิเดส ไลเปส และไทโรซิเนส โดยมีสารควบคุมผลบวกคือ 1-ดีออกซีโนจิริมัยซิน ออริสแตส และกรดแอสคอร์บิคตามลำดับ ทดสอบฤทธิ์รบกวนการละลายของไขมันในไมเซลล์จากเกลือน้ำดีสังเคราะห์และน้ำดีจากตับหมู ทดสอบฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระเปรียบเทียบกับบิวทิเลเตดไฮดรอกซีโทลูอีน ศึกษาคุณสมบัติทางกายภาพได้แก่ การหาค่าความหนืดและน้ำหนักโมเลกุลโดยเฉลี่ย ศึกษาคุณสมบัติทางเคมีโดยวิเคราะห์ชนิดและปริมาณของน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยวที่เป็นองค์ประกอบในกัมแต่ละชนิดด้วยวิธีแกสโครมาโทกราฟี วิเคราะห์ปริมาณโปรตีนรวมโดยวิธีลาวรี ผลการศึกษาพบว่ากัมคอนดาโกกุมีฤทธิ์ในการกักเก็บน้ำตาลในถุงไดอะไลซิสได้ร้อยละ 39 กัมทั้งสามชนิดไม่มีฤทธิ์ในการยับยั้งเอนไซม์แอลฟากลูโคซิเดสและเอนไซม์ไลเปส กัมคอนดาโกกุมีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนสได้ร้อยละ 31 กัมคอนดาโกกุและกัมอคาเชียลดการละลายของคอเลสเทอรอลในไมเซลล์จากเกลือน้ำดีสังเคราะห์ได้ร้อยละ 16 และ 23 กัมคอนดาโกกุและกัมคารายาแสดงฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระได้ร้อยละ 10 และ 20 ตามลำดับ ศึกษาคุณสมบัติทางกายภาพพบว่ากัมคอนดาโกกุมีความหนืดมากที่สุด ค่าความหนืดของกัมทั้งสามโดยวิธีวัดการตกของลูกบอลเท่ากับ 574.1, 25.2 และ 1.0 เซนติพอยส์ ตามลำดับ น้ำหนักโมเลกุลโดยเฉลี่ยโดยวิธีไฮเพอร์ฟอแมนซ์ลิควิดโครมาโตกราฟี พบว่ากัมที่ศึกษาทุกชนิดมีน้ำหนักมากกว่า 2,350 กิโลดาลตัน บ่งชี้ว่ากัมเหล่านี้มีโครงสร้างขนาดใหญ่ กัมคอนดาโกกุประกอบด้วยน้ำตาลกาแล็กโทส แรมโนส และกรดกาแลกตูโรนิก ร้อยละ 14.6, 17.1 และ 17.2 โดยน้ำหนัก ตามลำดับ กัมคารายาประกอบด้วยน้ำตาลกาแลกโตส แรมโนส กรดกาแลกตูโรนิก และกรดกลูคูโรนิก ร้อยละ 14.7, 8.9, 9.1 และ 36.0 โดยน้ำหนัก ตามลำดับ กัมอคาเชียประกอบด้วยน้ำตาลอะราบิโนส กาแลกโตส แรมโนส และกรดกลูคูโรนิก และ ร้อยละ 21.4, 42.6, 10.6 และ 22.5 โดยน้ำหนัก ตามลำดับ ปริมาณโปรตีนรวมในกัมทั้งสามเท่ากับร้อยละ 2.4, 9.5 และ 4.7 โดยน้ำหนัก ตามลำดับ

กิตติกรรมประกาศ: ทุน 90 ปี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ ทุนสนับสนุนและส่งเสริมโครงการขับเคลื่อนการวิจัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ไฟล์:kondagugu gum PH.jpg

เครื่องมือส่วนตัว