ล |
|
แถว 1: |
แถว 1: |
- | จากมุขตลกที่ลอยมาตามบรรยากาศในเทศกาลภาพยนตร์แห่งหนึ่งไม่กี่ปีก่อน ชายคนหนึ่งพูดกับชายอีกคนหนึ่งว่า หากหนังของแองเจโลปูลอสเริ่มฉายตอนหกโมงตามเวลาบนนาฬิกาข้อมือคุณ สามชั่วโมงผ่านไปคุณยกนาฬิกาขึ้นดูอีกครั้งจะเห็นเข็มชี้ไปที่เวลาหกโมงห้านาที ปากดีไม่เข้าเรื่องแต่ก็เป็นความจริง นึกๆไปถ้อยคำกระเซ้าดังกล่าวก็เข้าท่าพิลึกในการสะท้อนให้เห็นความพิถีพิถันและทุ่มเทยิ่งของแองเจโลปูลอส(Theo Angelopoulos)ในการเนรมิตกาลเวลาและประวัติศาสตร์ที่เคยโลดแล่นให้ยังคงแจ่มกระจ่างเกริกไกรอยู่ในหนังของเขา
| |
| | | |
- | ลำหักลำโค่นของแองเจโลปูลอสนั้นลื่นไหลไร้ที่ติในการบรรเลงเรียงร้อยฝีภาพจากเพลงกล้องยามย่างสามขุมดูลาดเลาภูมิทัศน์ ห้องหับ ที่รโหฐาน สวน หรือลอยผ่านและเวียนวนรอบกรีกมุงเจ้าของพฤติกรรมการจราจรภายในฝีภาพอันนัับเป็นการวาดระบายแบบแผนทางศิลปะอยู่แล้ว 4 ชั่วโมงของ The Travelling Players (O thaissos) ผลงานวาดระบายภูมิศาสตร์การเมืองชิ้นเอกอุจาก ค.ศ.1975 มีการตัดต่อเพียง 79 ครั้ง ประวัติศาสตร์ ความล่มสลาย ความสุขสม ปริศนาทางการเมือง ความเปลี่ยนแปลงทางสังคมเวียนว่ายตายเกิดโดยไม่นำพาขนบการเล่าเชิงเส้น และพากันละเลงโถมทับระนาบการเล่าสดหมาดละเมียดสุดลูกหูลูกตานั้น
| |
- |
| |
- | แล้วแง่คิดที่กล่าวมาช่วยให้เรามองภาพการทำหนังของแองเจโลปูลอสชัดเจนพอหรือไม่ หรืออาจเป็นการบอกใบ้ว่าแองเจโลปูลอสมือตกและไม่เหลือสภาพสุดยอดฝีมือด้านภาพของยุโรปอีกต่อไปแล้ว หรือก็อาจเป็นไปอีกเหมือนกันว่านั่นคือการส่งสัญญาณถึงคนดูว่าในการเสพงานปริศนาคริสตชาดกแสนจับใจของแองเจโลปูลอสนั้น คนดูจำต้องสละแล้วซึ่งพฤติกรรมการรับชมสื่อบันเทิงเดิมๆ และหันมาทุ่มเทสรรพสมาธิ ความมุ่งมั่น และด้วยใจอันเปิดกว้าง
| |
- |
| |
- | ในบทวิจารณ์ Eternity and a Day(Mai eoniotita ke mia mera) ที่ตีพิมพ์ใน The Village Voice เมื่อค.ศ.2006 ไมเคิล แอ็ทคินสัน(Michael Atkinson)สดุดีความปราดเปรื่องในการสร้างมิติใหม่แก่วากยสัมพันธ์ทางภาพยนตร์ของแองเจโลปูลอสว่าสูงส่งเทียบเท่าคุณูปการที่โทมัส พินชอน(Thomas Pynchon)มีต่อโลกวรรณกรรม เป็นการผลิตงานเพื่อสำแดงอัจฉริยภาพหาใช่เพื่อเล่นสนุก
| |
- |
| |
- | ผู้กำกับกรีกท่านนี้ถือเป็นเสาหลักของขบวนการภาพยนตร์เอ้อระเหย อันประกอบด้วยต้นตำรับยาขมเจ้าของนามชวนครั่นคร้ามอย่างอังเดร ทาร์คอฟสกี(Andrei Tarkovsky) มิโคลส แยนสโช(Miklos Jansco) เบลา ทาร์(Bela Tarr) ฌองทาล อเคอร์มาน(Chantal Akerman) และ โหวเชี่ยวเฉียน(Hou Hsiao-Hsien) ในแผงหัวหอกของขบวนการอันมุ่งมั่นและทรนง ในบรรดาผลงานมังสวิรัติทางวัฒนธรรม(cultural vegetable)ด้วยกันนั้น งานของแองเจโลปูลอสกินขาดในแง่ความแพร่หลาย
| |
- |
| |
- | พลานุภาพทางภาพยนตร์ของแองเจโลปูลอสกล้าแกร่งสุดขีดในศตวรรษ 1990 Ulysses' Gaze(To vlemma tou Odyssea) ได้รับรางวัลขวัญใจกรรมการงานประกวดเทศกาลภาพยนตร์คานส์ประจำค.ศ.1995 โดยที่สาธารณชนต่างพากันเสียดายที่เจ้าของรางวัลปาล์มทองคำในปีนั้นตกเป็นของ Underground งานบอกเล่าความเสื่อมโทรมทางภูมิศาสตร์และศิลธรรมในคาบสมุทรบอลข่านโดยผู้กำกับอีเมียร์ คัสตูริกา(Emir Kusturica)
| |
- |
| |
- | แต่สามปีให้หลังแองเจโลปูลอสก็คว้าปาล์มทองคำจาก Eternity and a Day จนได้ จากเรื่องราวหลากรสชาติอันเป็นเหมือนหนังสือไว้อาลัยผ่านเหตุการณ์ช่วงท้ายแห่งชีวิตที่เจียนแตกดับเพราะโรคภัยของกวี(รับบทโดย Bruno Ganz)ผู้ออกเดินทางไปทั่วดินแดนกรีซและบรรลุสัจธรรมหลังจากได้พบกับลูกกำพร้าชาวอัลเบเนียน
| |
- |
| |
- | แองเจโลปูลอสได้รับการขนานนามว่าเป็นผู้กำกับประพันธกรแห่งประพันธกร ความข้อนี้เป็นที่ประจักษ์อยู่ในผลงาน 13 เรื่องของเขาไม่ว่าจะเพ่งเล็งตรงไหน ตลอดจนลีลาอันเจนจบผ่าเผยแต่เปี่ยมความรู้สึก แปรปรวนคลุ้มคลั่งแต่ยังมีส่วนละเมียด โผงผางแต่คุ้นเคย ไร้เดียงสาแต่ลึกล้ำ จริงแต่เหลื่อมจริง ล้วนตราตรึง แม้เจ้าตัวจะยืนยันหนักแน่นว่าไม่เคยดูหนังของตนเองซ้ำอีกภายหลังเสร็จขั้นตอนการผลิต แต่เขากลับจำทุกอย่างเกี่ยวกับหนังของตัวเองได้แม่นราวกับสลักอยู่ในห้วงความทรงจำ ต่อคำถามถึงความเป็นมาของฝีภาพแรกในผลงานชิ้นแรก คือ Reconstruction งานไว้อาลัยให้ความเสื่อมถอยของวัฒนธรรมกรีกผ่านบทบาทเจ้าหน้าที่ท้องถิ่น(หนังเรื่องนี้อาจนับเป็นแฝดคนละฝากับมหากาพย์ชีวิตผู้อพยพ America, America งานแนวหักหาญความรู้สึกคนดูโดยอีเลีย คาซาน(Elia Kazan)ในค.ศ.1963 ) ในฝีภาพยาวนั้นจะเห็นรถโดยสารประจำทางไต่ระดับไปตามถนนโคลนติดแนวชายเขาของหมู่บ้าน ผู้โดยสารพอลงจากรถไปก็ต้องยักแย่ยักยันขึ้นเขาต่อไปอีก ไม่เป็นที่แน่ชัดว่าเจ้าตัวผู้กำกับจะตระหนักหรือไม่ว่าฝีภาพแรกดังกล่าวคือการปฏิวัติวงการทั้งในแง่วิธีคิดและวิธีถ่ายทอด เขาเพียงปรารภว่า "จากครั้งเริ่มจับกล้องที่เธอระแวงไปหมดว่าจะผิดผี นอกครู ดังนั้น โดยส่วนตัวแล้วมองว่า เธอไม่ได้เป็นคนเลือกวิธี แต่เธอเป็นฝ่ายถูกเลือก"
| |
- |
| |
- | ในส่วนของฝีภาพแรกใน Reconstruction นั้น ผมจำได้ว่าตากล้องก็ถามผมว่าจะให้เปิดหน้ากล้องเก็บภาพนานแค่ไหน" และเล่าต่อไปว่า "พอกล้องเดิน ผมก็หลับตา ฟังเสียงจากอากัปกิริยาของนักแสดง เสียงลมหายใจ เสียงฝีเท้าพวกเขาลอยเข้าหูผม พอทุกอย่างได้ที่ ผมก็สั่ง 'หยุด' เป็นอันเสร็จ ผมไม่เคยกะเกณฑ์ว่าฝีภาพพวกนั้นควรกินเวลานานเพียงใด จึงไม่มีฝีภาพใดเยิ่นเย้อ เป็นเรื่องของสัญชาตญาณมากกว่าการเลือกเฟ้น แต่ละฝีภาพมีอายุขัยของตัวเอง ยาวได้เท่าที่ความจำเป็นจะนำพา ผมผูกฝีภาพโดยคำนึงว่าจะได้ดังตาเห็นหรือไม่ จากนั้นค่อยมาชั่งใจว่าจะเข้าไปปรับแต่งภูมิทัศน์ให้ลงรอยกับภาพที่วาดฝันไว้แต่แรกหรือไม่"
| |
- |
| |
- | ดูไปแล้วแองเจโลปูลอสคล้ายจะเป็นนายวงมโหรีมากกว่าผู้กำกับตามความเข้าใจทั่วไป เขาปฏิเสธข้อสังเกตนี้และว่า "ผมว่าผมคล้ายนักแปลมากกว่า" เขาเปรยก็แปลเสียง แปลความรู้สึกและกาลเวลาซึ่งเดินทางจากห้วงไกลลิบมาถึงผม และผมก็ได้แต่ซึมซับไว้
| |
- |
| |
- | ชีวิตตัวละครที่ไม่เคยลงหลักปักฐาน การเดินทางและการต่อกรกับภูมิทัศน์ รวมถึงการรอนแรมตามทางสัญจรไม่ว่าจะเพราะถูกทิ้งขว้างกลางคันหรือพเนจรโดยไร้จุดหมายถือเป็นหัวใจสำคัญในหนังของแองเจโลปูลอส ดังมีให้เห็นในรูปความทุกข์ตรมของมาร์แซลโล มาสโตรยานนี(Marcello Mastroianni)ในห้วงคำนึงถึงการพลัดพรากจากเด็ก ๆ ระหว่างตระเวณขนส่งผึ้งไปทั่วประเทศให้ทันฤดูเพาะพันธุ์จากหนังในค.ศ.1986 เรื่อง The Beekeeper(O melissokomos) หรือปฏิบัติการใจดีสู้เสือของพี่ชายน้องสาววัยประถมกับการแกะรอยตามหาพ่อผู้ลึกลับในงานจากค.ศ.1988 เรื่อง Landscape in the Mist(Topoi stin omichi)
| |
- |
| |
- | "ที่ๆผมรู้สึกถึงความเป็นบ้านคือที่นั่งข้างคนขับ"ผู้กำกับยอมรับ "ผมไม่ได้ขับรถเอง แต่ผมได้ชื่อว่าสัมผัสภูมิทัศน์ทุกเช้า หนังของผมเป็นผลการแปรธาตุมุมมองต่อโลกจากการเดินทางครั้งแล้วครั้งเล่า หมู่บ้านใน Reconstruction น่ะรึ เป็นไปดังคำทำนายถึงความพินาศบ้าบอรึเปล่าล่ะ ผมเพิ่งเจอกับผู้กำกับหญิงคนหนึ่งและเราไปสำรวจหมู่บ้านทางตะวันตกเฉียงเหนือของกรีซอันเป็นฉากหลังของ Reconstruction ด้วยกัน ครั้งกระโน้นผู้คนพากันละทิ้งถิ่นฐานไปทำงานในเยอรมันนี กลับไปเยี่ยมครั้งนี้ แทบไม่เหลือเค้าเดิม ธุรกิจรุกเข้ายึดพื้นที่ สภาพดั้งเดิมของแถบถิ่นและผู้คนเหมือนถ้อยรจนาในกวีนิพนธ์ ไม่มีให้เห็นอีกต่อไป"
| |
- |
| |
- | ค่ายกลสัญลักษณ์(Systems of symbols)
| |
- |
| |
- | แองเจโลปูลอสคือหนึ่งในผู้รับช่วงภารกิจถ่ายทอดพงศาวดารศตวรรษที่ 20 ของกรีก เขาไม่เคยใช้การบอกเล่าโทนโท่ๆ หากจับเล็กผสมน้อยภาพและเสียง แปลงเก็บอย่างแยบคายไว้ในค่่ายกลสัญลักษณ์ การสร้าง The Travelling Players ในยุคกลุ่มทหารขวาจัดเถลิงอำนาจการปกครองนั้น แองเจโลปูลอสจำต้องงัดกลเม็ดสารพัดมาใช้ "คงเพราะหวาดกลัวการแทรกแซง กลัวว่าการแสดงออกทางศิลปะจะถูกบิดเบือน" เขาแจกแจง "บรรดาผู้กำกับจำต้องพลิกแพลงรูปแบบการทำงานขนานใหญ่เพื่อรับมือการคุกคามจากมาตรการระงับการฉาย(censorship) นึกย้อนจากตอนนี้ผมยังจำได้แม่นว่า The Travelling Players นั้นเป็นสมยานามที่เหมาะเจาะอย่างยิ่งกับคนกอง ช่างประจำกองและนักแสดงในเรื่องเขม่นกับตำรวจก็เลยต้องไปนอนคุกสงบสติอารมณ์ และที่สำคัญกว่านั้นคือบทบาทของผู้กำกับกับการคอยดูลาดเลาว่ามีสารวัตรทหารป้วนเปี้ยนอยู่ใกล้สถานที่ถ่ายทำหรือไม่"
| |
- |
| |
- | ผลพวงอีกประการจากความกลัวอำนาจมืดคือ การถ่ายทอดผ่านสัญลักษณ์ แต่ยังไม่เป็นล่ำเป็นสันใน The Travelling Players เนื่องจากถ่ายทำอีกครึ่งที่เหลือหลังระบอบเผด็จการ พอเผด็จการลงจากอำนาจเราก็ถ่ายส่วนที่เคยเข้าข่ายจะถูกหั่นทิ้งหรือมีลักษณะต้องห้าม หนังตัวแสบของจริงตามแนวทางการเล่าเข้าสัญลักษณ์ต้องยกให้งานชิ้นก่อนหน้าจากค.ศ.1972 อย่าง Days of 36(I mere tou 36) กับเหตุน้ำผึ้งหยดเดียวจากการที่สายลับของทางการและมือสังหารหนึ่งในนักโทษใช้ปืนจี้จับนักการเมืองอนุรักษ์นิยมเป็นตัวประกันนำไปสู่การปิดล้อมเรือนจำ
| |
- |
| |
- | "หนังเรื่องนี้พาดพิงถึงเผด็จการเมตาซัสในค.ศ.1936 และถ่ายทำในยุคเผด็จการทศวรรษ 1970" เขาอธิบาย "หนังเรื่องนี้คือจุดเปลี่ยนวิธีเล่าของผม ผมแปลงทุกอย่างอยู่ในรูปการบอกใบ้และการเปรียบเปรย คนดูบางส่วนจับไต๋ได้และเริ่มสืบสาวราวเรื่องตั้งแต่หนังออกฉายรอบปฐมทัศน์ในเอเธนส์ ปกติจะมีแต่ตำรวจที่จ้องจับผิด แต่หนนี้ไม่ใช่ ผมยังจำได้ว่ามีผู้หญิงมามอบช่อดอกไม้แก่ผมและปุจฉาว่า "ทุกอย่างที่เห็นบนจอนั้น เป็นอย่างที่ฉันเข้าใจใช่ไหม ผมวิสัชนาว่า ใช่ หนังจบแต่เรายังไม่อาจสลัดหนังออกจากจิตใจถึงขนาดจะสนทนาก็ต้องขานรหัสและอนุมานกันทีเดียว"
| |
- |
| |
- | ภาพอันตื่นตาจากงานของแองเจโลปูลอสที่สร้างความตะลึงแก่คนดูนั้นที่จริงแล้วล้วนแล้วแต่มาจากการจัดฉาก การได้เห็นอนุสาวรีย์ขนาดยักษ์ของเลนินล่องไปตามลำน้ำใน Ulysses' Gaze นั้นนับเป็นบุญตาไม่แพ้อรรถรสจากการรับชมงานจากจอมขมังเวทย์ทางภาพยนตร์อย่างสปีลเบิร์กหรือลูคัส ไม่แต่เท่านั้น งานอลังการประณีตเช่นว่ายังเปรียบดังเครื่องสักการะปรมาจารย์หนังเงียบอย่างลังก์(Fritz Lang) กริฟฟิธ(D. W. Griffith) กระทั่ง ฟอน ชโตรฮาม(Erich von Stroheim)(ให้บังเอิญ ว่าแองเจโลปูลอสก็สารภาพว่าถูกใจเป็นนักหนากับ The Artist ผลงานแสดงกตเวทิตาธรรมเป็นต่อหนังเงียบ ฝีมือ ไมเคิล ฮาซานาวิเซียส(Michel Hazanavicious) "เหมือนความทรงจำของผมโดนตีขนดหาง" เขากล่าว "ผมรู้แน่แก่ใจว่า ต้องมีผลงานหนังเป็นของตนเอง หลังจากได้ชมหนังเงียบจากบรมครูเป็นครั้งแรก"
| |
- |
| |
- | ทุกวันนี้แค่นึกก็แทบจะเป็นไปไม่ได้ว่าจะต้องขวนขวายหาเงินมหาศาลเพียงใดมาส่งกำลังบำรุงมหึมาแห่งงานสร้างอัศจรรย์บรรเลงเพลงกล้อง ยิ่งเมื่อสภาพเศรษฐกิจกรีซอยู่ในขั้นเจียนล้มละลายด้วยแล้ว แต่แองเจโลปูลอสยืนกรานว่าเขาไม่มีทางใจอ่อนยอมให้เทคโนโลยีสร้างภาพมาข้องแวะกับงานทั้งไม่ว่าก่อน หลัง หรือระหว่างผลิตงาน "หากผมมีภาระต้องเล่าภาพทำนองเดียวกับที่เคยถ่ายไว้ใน Ulysses' Gaze อีกในงานชิ้นใหม่ หัวเด็ดตีนขาดผมก็จะยังทำงานด้วยวิธีเดิม" เขาประกาศ "หนังผมไม่ได้มีไว้ลองผิดลองถูกส่งเดช แต่ละขั้นแต่ละตอนของของกระบวนงานเป็นประสบการณ์อันทรงค่า พันธกิจของผมคือการมอบชีวิตแก่ภาพ"
| |
- |
| |
- | ไม่ต้องพูดถึงงานสามมิติ เอาไงต่อดี เขาหัวเราะ "ผมไม่ยุ่งกับเรื่องพรรค์นี้ให้เสียมืออยู่แล้ว แนวทางการทำงานอย่างว่าไปกันไม่ได้กับแนวคิดหลักของผมต่อภาพยนตร์"
| |
- |
| |
- | วงจรอันรื่นรมย์(Cycle of reprocessing)
| |
- |
| |
- | ผู้กำกับสายเลือดใหม่หลายคนยึดกระบวนการขึ้นรูปงานภาพของแองเจโลปูลอสเป็นร่มโพธิ์ร่มไทรทางความคิด ดังที่ผู้กำกับนูรี บิเย ซีลัน(Nuri Bilge Ceylan) และมิเกลันเจโล ฟรามมาร์ติโน(Michelangelo Frammartino)ต่างอัญเชิญคาถาทางภาพของแองเจโลปูลอสไปเสริมสิริมงคล ผ่านงานอย่าง Once upon a Time in Anatolia และ Le quattro volte ของตนตามลำดับ เจ้าตัวเองรู้สึกเช่นไรที่เห็นงานหนังที่มีลวดลายตนเองไปปรากฏอยู่ "ก็ต้องมีการรับอิทธิพลจากรุ่นก่อนสู่รุ่นหลังเป็นธรรมดา"เขาแบะท่า "วัฏจักรของการจรรโลงซ้ำ คือการส่งต่อความคิดผ่านการกาลเวลา หากมีเห็นฝีภาพยาวหรือลูกเล่นตามตำรับของผมในหนังเรื่องอื่น ผมก็คงนึกย้อนไปว่าครั้งหนึ่งผมก็เคยซึมซับอิทธิพลจากบุรพผู้กำกับมาโดยไม่รู้ตัว และบรมครูเหล่านั้นก็คงมีปฏิิิกิริยาดุจเดียวกันเมื่อได้ยลงานของผม
| |
- |
| |
- | วงการภาพยนตร์กรีกในปัจจุบันอยู่ในช่วงขาขึ้นสวนทางกับความง่อนแง่นของเศรษฐฏิจชาติ มีผู้กำกับรุ่นใหม่ฉายแววเด่นมากหน้าหลายตา เป็นต้นว่า ยอร์กอส ลานธิมอส(Yorgos Lanthimos) เจ้าของผลงาน Dogtooth และ อธินา ราเชล ซางการี(Athina Rachel Tsangari) ผู้กำกับ Attenberg งานของเขาเหล่านี้สร้างความประหลาดใจ(และว้าวุ่นใจเป็นบางครั้ง)แก่ผู้ชมทั่วโลกมาแล้ว "น่าสนใจยิ่ง"แองเจโลปูลอสชื่นชม "วงการหนังกรีกไม่สิ้นคนดี เด็กพวกนี้มีของจะปล่อย พวกเขาคิดค้นภาษาขึ้นมาใหม่ ซึ่งต่างจากกรีกคลื่นลูกใหม่แห่งคริสตทศวรรษ 70 น่ายินดีที่ไม่ว่าจะผ่านไปกี่ปีกรีกยังคงรุ่มรวยด้วยนฤมิตกรรม"
| |
- |
| |
- | ขณะที่วีรกรรมของผู้กำกับเด็กกรีกรุ่นหลังสร้างความฮึกเหิมแก่เขา แต่พอต้องพูดถึงสถานการณ์การเมืองในภายภาคหน้าของกรีกเขากลับไม่ค่อยมีแก่ใจ จากบทสัมภาษณ์ต่างกรรมต่าง วาระแองเจโลปูลอสยกให้งานจากค.ศ.1991 ของเขา คือ The Suspended Step of the Stork(To meteoro vima tou pelargou) ในเรื่องความจัดจ้านด้วยเนื้อหาการเมือง ครั้งหนึ่งเขาเคยเชื่อมั่นว่าการเมืองเป็นเรื่องของศรัทธา แต่เท่าที่เห็นอยู่็เป็นแค่การทำมาหากิน "ข้อสังเกตุดังกล่าวของผมยังใช้การได้" การยกประชาชนมาอ้างกลายเป็นความเชี่ยวชาญมากกว่าเป็นเพราะอุดมการณ์" ไหนๆก็มีแต่ข่าวเศรษฐกิจชาติตกต่ำสะพัดไปทั่ว แล้วเจ้าตัวคิดเห็นอย่างไร หนังของเขามีบทบาทในการพลิกฟื้นศรัทธาทางการเมืองในทางใด
| |
- |
| |
- | "มี แต่ไม่เหมือนชาวบ้านเขา" เขายอมรับ "ตอนผมทำ ไม่มีใครเห็นดีเห็นงาม ลางแห่งมรสุมเบื้องหน้าแต่หนหลัง เป็นจริงแล้วในบัดนี้ ผมมาจากยุคคิดอ่านจะเปลี่ยนโลก แต่พอถึงค.ศ.2000 ความฝันนั้นก็เป็นอันจบสิ้น"
| |
- |
| |
- | งานชิ้นถัดมา The Other Sea อันเป็นบทสรุปของงานไตรภาค อาศัยสภาพการณ์ทางการเมืองปัจจุบันของกรีซและยุโรปเป็นท้องเรื่อง หนังเรื่องแรกของไตรภาคอันได้แก่ Weeping Meadow(To livadi pou dakryzei)จากค.ศ. 2004 นั้นกล่าวถึงการก่อสร้างและบูรณะหมู่บ้านริมน้ำในค.ศ.1919 งานลำดับที่สอง คือ The Dust of Time ใช้กลยุทธการเล่าเลียนแบบตั้งเต โดยมีตัวเดินเรื่องเป็นผู้กำกับภาพยนตร์(รับบทโดยวิลเล็ม ดาโฟ - - Willem Dafoe) ผู้ต้องปลุกปล้ำกับประวัติศาสตร์ของครอบครัวระหว่างพลิกแผ่นดินยุโรปค้นหาลูกสาว หนังทั้งสองเรื่องมีอดีตเป็นฉากหลัง ส่วน The Other Sea จะผูกอยู่กับปัจจุบันและอนาคต
| |
- |
| |
- | "ความฝันจบไปแล้วพร้อมกับอวสานของ The Dust of Time" แอลเจโลปูลอสอธิบาย "หนังเรื่องใหม่เป็นกล่าวถึงสภาพทุพภิกขภัยความฝัน ผมมองว่าปัญหาของปัจจุบันไม่ได้แค่วิกฤติการเงินแต่เป็นการขาดที่ยึดเหนี่ยวทางใจ หนังเรื่องใหม่จะว่าด้วยสภาพอับจนหนทาง ยามนี้บ้านเมืองเราเปรียบไปเหมือนถูกกักอยู่ในห้องที่ไม่อาจคาดเดาได้ว่าจะเจอเข้ากับสิ่งใดเมื่อถึงคราวที่ประตูห้องเปิดออก"
| |
- |
| |
- |
| |
- | เก็บความจาก
| |
- |
| |
- | David Jenkins.February 2012. 'Theo Angelopoulos: the sweep of history'.www.bfi.org.uk/sightandsound/feature/49816
| |
- |
| |
- | ตีพิมพ์ครั้งแรกที่ [http://enyxynematryx.wordpress.com/2012/04/08/angelopoulos-th/ http://enyxynematryx.wordpress.com/2012/04/08/angelopoulos-th/]
| |