จาก ChulaPedia
(ความแตกต่างระหว่างรุ่นปรับปรุง)
ล |
|
แถว 1: |
แถว 1: |
| | | |
- |
| |
- | โหวเชี่ยวเฉียน(Hou Hsiao-Hsien) ไฉ่มิ่งเหลียง(Tsai Ming-liang) และ ฮองซางซู(Hong Sang-soo) รั้งตำแหน่งสามขุนพลแก้วจากเอเชียในโลกภาพยนตร์ ในรอบหลายปีหลังมานี้ไว้ได้ด้วยฝีไม้ลายมือด้านภาพอันมีเอกลักษณ์ตื่นตาตื่นใจเอกอุ
| |
- |
| |
- | ยิ่งฝีภาพยาวมากเท่าไหร่ กล้องยิ่งต้องเคลื่อนตัวมากเป็นเงาตามตัว อาจนับเป็นคาถาอมตะเพียงข้อเดียวของการถ่ายหนัง ในความเป็นจริงในหนังทั่วไปมักจะมีฝีภาพยาวจากการเคลื่อนกล้องตามไล่เก็บอยู่สองในสามหรือมากกว่านั้นของจำนวนฝีภาพทั้งหมด กระนั้นปรมาจารย์ด้านฝีภาพยาวอย่างแยนโช(Miklós Jancsó) หรือ แองเจโลปูลอส(Theo Angelopoulos)ก็อาจจี้สกัดจุดกล้องให้ตั้งอยู่นิ่ง ๆ คอยเก็บภาพมาใส่หนังรวดเดียวทั้งเรื่องเลยก็ได้
| |
- |
| |
- | แต่ในชั่วสองทศวรรษหลังมานี้ หนังจากเอเชียกลับแหกขนบข้างต้นกันเป็นล่ำเป็นสัน ไล่ตั้งแต่ผลงานของโหวเชี่ยวเฉียน จากไต้หวันในช่วง ค.ศ. 1984 - 1993 ฝีภาพในงานของโหว ตลอดห้วงเวลานั้นกินเวลามากขึ้นเรื่อย ๆ โดยเฉลี่ย เช่นเดียวกับความเสถียรของกล้อง ใน Boys from Fengkui หนังยาวตามมาตรฐานเรื่องแรกของโหวใน ค.ศ.1984 อันถือเป็นหนึ่งในกลุ่มหนังรุ่นใหม่ของไต้หวัน(Taiwanese New Cinema)ด้วยนั้น ความยาวฝีภาพเฉลี่ยตกประมาณ 19 วินาที และครึ่งหนึ่งของฝีภาพทั้งหมดในหนังเป็นภาพจากการเคลื่อนกล้องตามเก็บ
| |
- |
| |
- | แต่พอมาถึง The Puppet Master งานใน ค.ศ.1993 ความยาวฝีภาพเฉลี่ยขยับขึ้นไปเป็น 83 วินาที และมีฝีภาพจากการเคลื่อนกล้องตามเก็บในลักษณะใดลักษณะหนึ่งในสัดส่วนเหลือเพียงร้อยละ 30 ในจำนวนนี้เป็นการเบนหน้ากล้องเพียงเล็กน้อยเพื่อย้อนรอยกรอบภาพเสียเกือบครึ่ง หรือไม่ก็เป็นการจงใจตวัดหน้ากล้องเพื่อโยกหนังเข้าสู่ฝีภาพยาวจากกล้องนิ่งถัดไป
| |
- |
| |
- | แต่หลัง ค.ศ.1995 เป็นต้นมา กล่าวคือเริ่มตั้งแต่ในงานเรื่อง Good Men Good Woman โหวกลับหันหลังให้กระบวนภาพดังกล่าวเอาดื้อ ๆ กระนั้นก็ยังมีสานุศิษย์ผู้กำกับเอเชียบูรพาจำพวกครูพักลักจำ ซึ่งเฝ้าติดตามงานของโหวเรื่อยมาจน ค.ศ. 1993 น้อมนำไปสานต่อ รายแรกคือ ฮิโรคาสุ โคเร-เอดะ(Hirokazu Kore-eda) ผู้กำกับญี่ปุ่นใน Maborosi ผลงานเมื่อ ค.ศ. 1995 กับความยาวฝีภาพเฉลี่ย 25 วินาที โดยมีภาพจากการเคลื่อนกล้องอยู่ในหนังเพียงร้อยละ 6 รายถัดมาเป็น ลีกวางมู(Lee Kwang-mo)ผู้กำกับเกาหลีใต้ในงานชื่อ Springtime in My Hometown เมื่อค.ศ.1999 ด้วยความยาวเฉลี่ยร่วม ๆ 50 วินาทีต่อหนึ่งฝีภาพ พร้อมกับมีภาพจากการเคลื่อนกล้องในลักษณะใดลักษณะหนึ่งอยู่ในหนังเพียงร้อยละ 2 แต่ที่มาเหนือเมฆในการร่ายฝีภาพยาวผิดมนุษย์มนาก็ต้องยกให้ผู้กำกับชาวไต้หวันพื้นเพมาเลเซีย คือ ไฉ่มิ่งเหลียง และผู้กำกับเกาหลีใต้อีกคน คือ ฮองซางซู สองรายนี้เคยไว้ลายด้วยการผูกหนังทั้งเรื่องจากฝีภาพยาว ๆ ที่ได้จากการไม่เคลื่อนกล้องแม้สักกระเบียดมาแล้ว [http://wp.me/p4vTm-ba อ่านทั้งหมด]
| |
- |
| |
- | จักริน วิภาสวัชรโยธิน
| |
การปรับปรุง เมื่อ 00:50, 25 เมษายน 2556