ความแข็งแกร่งทางจิตใจของนักศึกษาที่ยากจนจากชนบทและได้รับทุนการศึกษา
จาก ChulaPedia
(หน้าที่ถูกสร้างด้วย ' == ความแข็งแกร่งทางจิตใจของนักศึกษาที่ยากจนจากช…') |
(→ความแข็งแกร่งทางจิตใจของนักศึกษาที่ยากจนจากชนบทและได้รับทุนการศึกษา) |
||
แถว 1: | แถว 1: | ||
- | == ความแข็งแกร่งทางจิตใจของนักศึกษาที่ยากจนจากชนบทและได้รับทุนการศึกษา | + | == ความแข็งแกร่งทางจิตใจของนักศึกษาที่ยากจนจากชนบทและได้รับทุนการศึกษา |
- | + | ||
- | + | การศึกษาของ จริยา ศรีวิจารย์ ได้ศึกษาประสบการณ์ด้านจิตใจของนักศึกษาที่ยากจนจากชนบทและได้รับทุนการศึกษา ผู้ให้ข้อมูลเป็นนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาตรีที่มีฐานะทางครอบครัวยากจนที่มาจากชนบทและได้รับทุนการศึกษา จำนวน 10 ราย (ชาย 5 ราย, หญิง 5 ราย) เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์รายบุคคล วิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพแบบทีมผู้วิจัยเห็นชอบร่วมกัน ผลการศึกษาพบ 5 ประเด็นหลัก คือ 1)เผชิญความยากลำบากในชีวิต ได้แก่ ความเป็นอยู่ที่ขาดแคลน การไม่ยอมจำนนต่อความยากจน การมีความกดดันรู้สึกด้อยค่าจากความยากจน 2)การมีความรู้สึกสุขระคนทุกข์เมื่อได้ทุนการศึกษา ได้แก่ ความรู้สึกดีใจ ความรู้สึกภาคภูมิใจ ความรู้สึกซาบซึ้งใจและเห็นคุณค่าทุนที่ได้รับและความรู้สึกไม่มั่นใจบางขณะ 3)การปรับตัวในสังคมใหม่ ประกอบด้วย การใช้ชีวิตอยู่ในมหาวิทยาลัย การอยู่ในสิ่งแวดล้อมสังคมวัตถุนิยม และการใช้ชีวิตต่างถิ่นเพียงลำพัง 4)การมีพื้นนิสัยที่ดีและกุญแจสำคัญในการปรับตัว ได้แก่ การมีจิตใจที่แข็งแกร่ง การเป็นหลักพึ่งพาให้คนอื่นและการมีแหล่งเกื้อหนุนและประคับประคอง และ 5)การมีจุดมุ่งหมายในชีวิต ได้แก่ เพื่อความเป็นอยู่ที่ดีของครอบครัว เพื่อสร้างอนาคตของตัวเองให้มั่นคง และเพื่อได้ตอบแทน ทดแทนผู้มีพระคุณ | |
+ | |||
+ | เนื่องจากนักศึกษาเหล่านี้ได้ผันการต่อสู้กับความยากจนและความเป็นอยู่ที่ขาดแคลนมาเป็นการดิ้นรนและแรงผลักดันให้ตนเองหลุดพ้นจากความยากจนด้วยการแสวงหาโอกาสทางการศึกษา ดังคำพูดผู้ให้ข้อมูล ''“ในความทุกข์ยากก็มีความโชคดีอย่างเช่นทุนค่ะที่ให้โอกาสทางการศึกษาแล้วชีวิตยากลำบากก็สอนให้หนูรู้ว่ามันสู้แล้วมันมองเห็นภาพรวมว่าจะใช้ชีวิตต่อไปอย่างไงจะต้องทำอย่างไง มีเป้าหมายที่ชัดเจนขึ้น”'' ผู้ให้ข้อมูลเรียนรู้ประสบการณ์ความยากจนผันเป็นแรงผลักดันสร้างความเข้มแข็งและความแกร่งให้จิตใจ การเผชิญกับความยากจนในพื้นที่ชนบทและมีโอกาสได้รับทุนนับเป็นแรงผลักดันให้นักศึกษาฝ่าฟันอุปสรรคเพื่อสร้างโอกาสให้แก่ชีวิตของตนและเพื่อความเป็นอยู่ที่ดีของครอบครัว จนในที่สุดพวกเขาได้รับทุนการศึกษาและได้รับโอกาสในการประกอบอาชีพที่ดี การได้รับโอกาสดังกล่าวทำให้นักศึกษาเหล่านี้เกิดแรงบันดาลใจในการที่เติมเต็มความฝันของผู้คนที่ด้อยโอกาสเหมือนที่พวกเขาเคยมีประสบการณ์และนักศึกษาเหล่านี้ยังอยากจะตอบแทนสังคมหรือกลับไปพัฒนาบ้านเกิดของตน | ||
+ | |||
โดย นางสาวจริยา ศรีวิจารย์ คณะจิตวิทยา สาขาจิตวิทยา | โดย นางสาวจริยา ศรีวิจารย์ คณะจิตวิทยา สาขาจิตวิทยา | ||
- | อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์หลัก รศ.ดร.อรัญญา ตุ้ยคำภีร์ | + | |
+ | อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์หลัก รศ.ดร.อรัญญา ตุ้ยคำภีร์ | ||
+ | |||
อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ร่วม อาจารย์ ดร.ณัฐสุดา เต้พันธ์ | อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ร่วม อาจารย์ ดร.ณัฐสุดา เต้พันธ์ |
การปรับปรุง เมื่อ 04:14, 21 มิถุนายน 2556
== ความแข็งแกร่งทางจิตใจของนักศึกษาที่ยากจนจากชนบทและได้รับทุนการศึกษา
การศึกษาของ จริยา ศรีวิจารย์ ได้ศึกษาประสบการณ์ด้านจิตใจของนักศึกษาที่ยากจนจากชนบทและได้รับทุนการศึกษา ผู้ให้ข้อมูลเป็นนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาตรีที่มีฐานะทางครอบครัวยากจนที่มาจากชนบทและได้รับทุนการศึกษา จำนวน 10 ราย (ชาย 5 ราย, หญิง 5 ราย) เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์รายบุคคล วิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพแบบทีมผู้วิจัยเห็นชอบร่วมกัน ผลการศึกษาพบ 5 ประเด็นหลัก คือ 1)เผชิญความยากลำบากในชีวิต ได้แก่ ความเป็นอยู่ที่ขาดแคลน การไม่ยอมจำนนต่อความยากจน การมีความกดดันรู้สึกด้อยค่าจากความยากจน 2)การมีความรู้สึกสุขระคนทุกข์เมื่อได้ทุนการศึกษา ได้แก่ ความรู้สึกดีใจ ความรู้สึกภาคภูมิใจ ความรู้สึกซาบซึ้งใจและเห็นคุณค่าทุนที่ได้รับและความรู้สึกไม่มั่นใจบางขณะ 3)การปรับตัวในสังคมใหม่ ประกอบด้วย การใช้ชีวิตอยู่ในมหาวิทยาลัย การอยู่ในสิ่งแวดล้อมสังคมวัตถุนิยม และการใช้ชีวิตต่างถิ่นเพียงลำพัง 4)การมีพื้นนิสัยที่ดีและกุญแจสำคัญในการปรับตัว ได้แก่ การมีจิตใจที่แข็งแกร่ง การเป็นหลักพึ่งพาให้คนอื่นและการมีแหล่งเกื้อหนุนและประคับประคอง และ 5)การมีจุดมุ่งหมายในชีวิต ได้แก่ เพื่อความเป็นอยู่ที่ดีของครอบครัว เพื่อสร้างอนาคตของตัวเองให้มั่นคง และเพื่อได้ตอบแทน ทดแทนผู้มีพระคุณ
เนื่องจากนักศึกษาเหล่านี้ได้ผันการต่อสู้กับความยากจนและความเป็นอยู่ที่ขาดแคลนมาเป็นการดิ้นรนและแรงผลักดันให้ตนเองหลุดพ้นจากความยากจนด้วยการแสวงหาโอกาสทางการศึกษา ดังคำพูดผู้ให้ข้อมูล “ในความทุกข์ยากก็มีความโชคดีอย่างเช่นทุนค่ะที่ให้โอกาสทางการศึกษาแล้วชีวิตยากลำบากก็สอนให้หนูรู้ว่ามันสู้แล้วมันมองเห็นภาพรวมว่าจะใช้ชีวิตต่อไปอย่างไงจะต้องทำอย่างไง มีเป้าหมายที่ชัดเจนขึ้น” ผู้ให้ข้อมูลเรียนรู้ประสบการณ์ความยากจนผันเป็นแรงผลักดันสร้างความเข้มแข็งและความแกร่งให้จิตใจ การเผชิญกับความยากจนในพื้นที่ชนบทและมีโอกาสได้รับทุนนับเป็นแรงผลักดันให้นักศึกษาฝ่าฟันอุปสรรคเพื่อสร้างโอกาสให้แก่ชีวิตของตนและเพื่อความเป็นอยู่ที่ดีของครอบครัว จนในที่สุดพวกเขาได้รับทุนการศึกษาและได้รับโอกาสในการประกอบอาชีพที่ดี การได้รับโอกาสดังกล่าวทำให้นักศึกษาเหล่านี้เกิดแรงบันดาลใจในการที่เติมเต็มความฝันของผู้คนที่ด้อยโอกาสเหมือนที่พวกเขาเคยมีประสบการณ์และนักศึกษาเหล่านี้ยังอยากจะตอบแทนสังคมหรือกลับไปพัฒนาบ้านเกิดของตน
โดย นางสาวจริยา ศรีวิจารย์ คณะจิตวิทยา สาขาจิตวิทยา
อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์หลัก รศ.ดร.อรัญญา ตุ้ยคำภีร์
อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ร่วม อาจารย์ ดร.ณัฐสุดา เต้พันธ์