ความสามารถในการเพิ่มมูลค่าสินค้าท้องถิ่นของผู้ประกอบการชุมชน
จาก ChulaPedia
(ความแตกต่างระหว่างรุ่นปรับปรุง)
53834386 (พูดคุย | เรื่องที่เขียน)
(หน้าที่ถูกสร้างด้วย ''''ผลของการจัดกระบวนการฝึกอบรมแบบมีส่วนร่วมที่มี…')
(หน้าที่ถูกสร้างด้วย ''''ผลของการจัดกระบวนการฝึกอบรมแบบมีส่วนร่วมที่มี…')
รุ่นปัจจุบันของ 11:32, 24 มิถุนายน 2556
ผลของการจัดกระบวนการฝึกอบรมแบบมีส่วนร่วมที่มีต่อความสามารถในการเพิ่มมูลค่าสินค้าท้องถิ่นของผู้ประกอบการชุมชน (EFFECTS OF ORGANIZING PARTICIPATORY TRAINING PROCESSES ON THE ABILITY IN VALUE ADDING OF LOCAL PRODUCTS OF COMMUNITY ENTREPRENEUR)
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาการจัดกระบวนการฝึกอบรมแบบมีส่วนร่วมที่มีต่อความสามารถในการเพิ่มมูลค่าสินค้าท้องถิ่นของผู้ประกอบการชุมชน 2) ศึกษาผลของการจัดการฝึกอบรมแบบมีส่วนร่วมที่มีต่อความสามารถในการเพิ่มมูลค่าสินค้าท้องถิ่นของผู้ประกอบการชุมชนและ 3) ศึกษาความพึงพอใจในการเข้าร่วมกระบวนการฝึกอบรมแบบมีส่วนร่วมที่มีต่อความสามารถในการเพิ่มมูลค่าสินค้าท้องถิ่นของผู้ประกอบการชุมชน การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชนในตำบลนามะเฟือง อำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวลำภู จำนวน 30 คน การจัดกิจกรรมใช้ระยะเวลา 6 วัน รวมทั้งสิ้น 50 ชั่วโมง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดกิจกรรมการฝึกอบรมแบบมีส่วนร่วมที่มีต่อความสามารถในการเพิ่มมูลค่าสินค้าท้องถิ่นของผู้ประกอบการชุมชน แบบวัดความรู้ แบบวัดทักษะ แบบวัดทัศนคติในการเพิ่มมูลค่าสินค้า และแบบประเมินผลการจัดกิจกรรม ผลการวิจัยพบว่า 1. การพัฒนากิจกรรมการฝึกอบรมมีกระบวนการตามแนวคิดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม ได้แก่ 1) ขั้นประสบการณ์ 2) ขั้นสะท้อนความคิดเห็นและอภิปราย 3) ขั้นความคิดรวบยอด 4) ขั้นทดลองหรือประยุกต์แนวคิด และใช้การเรียนรู้ด้วยกระบวนการกลุ่ม ได้แก่ การมีส่วนร่วมสูงสุด และการบรรลุงานสูงสุด เข้ามาร่วมด้วย ส่งผลให้ผู้ประกอบการชุมชนมีความสามารถในการเพิ่มมูลค่าสินค้า 2. กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยความรู้ ทักษะ และทัศนคติในการเพิ่มมูลค่าสินค้าหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจในการจัดกิจกรรมการฝึกอบรมแบบมีส่วนร่วมที่มีต่อความสามารถในการเพิ่มมูลค่าสินค้าท้องถิ่นของผู้ประกอบการชุมชนอยู่ในระดับมาก
The purposes of this research were to 1) develop organizing participatory training processes regarding the ability in value adding of local products of community entrepreneurs; 2) study the effects of organizing participatory training processes on the ability in value adding of local products of community entrepreneurs; 3) study participant’s satisfaction towards the organizing participatory training processes on the ability in value adding of local products of community entrepreneurs. The research methodology was quasi-experimental research. The research samples were 30 community entrepreneurs in Na, Gooseberry, District, Nongbua Lamphu Province. Activities were organized for 6 days and, totalled 50 hours. The research instruments were an activity plan, a knowledge test, a skills test, an attitude test and an evaluation form. The results showed that: 1. The processes of developing organizing participatory training processes regarding the ability in value adding of local products of community entrepreneurs were; 1) experience, 2) reflection and discussion, 3) conceptualization, 4) application and group process. 2. After the experiment, the experimental group’s mean scores of knowledge, skills and attitudes toward the development of community entrepreneurs were higher than before the experiment at a .05 level of significance. 3. After participation, the experimental group had a high level of satisfaction toward the training activities.
โดย นางสาวอาจารียา คำทูล นิสิตมหาบัณฑิตสาขาวิชาการศึกษานอกระบบโรงเรียน ภาควิชาการศึกษาตลอดชีวิต คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์หลัก : ผศ.ดร.วีระเทพ ปทุมเจริญวัฒนา งานวิจัยนี้ได้รับทุนอุดหนุนวิทยานิพนธ์สำหรับนิสิตจากบัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย