ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายการฝึกและพัฒนาอาชีพเพื่อส่งเสริมศักยภาพแรงงานคนพิการไทย
จาก ChulaPedia
(หน้าที่ถูกสร้างด้วย ' == การพัฒนาข้อเสนอแนะเชิงนโยบายการฝึกและพัฒนาอา…')
แตกต่างถัดไป →
การปรับปรุง เมื่อ 14:08, 24 มิถุนายน 2556
การพัฒนาข้อเสนอแนะเชิงนโยบายการฝึกและพัฒนาอาชีพเพื่อส่งเสริมศักยภาพแรงงานคนพิการไทยในเขตภาคกลาง
DEVELOPMENT THE POLICY RECOMMENDATIONS FOR THE TRAINING AND PROFESSIONAL DEVELOPMENT TO PROMOTE THE POTENTIAL OF WORKERS WITH DISABILITIES IN THE CENTRAL REGION
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1)เพื่อศึกษาสภาพ ปัญหาและความต้องการเกี่ยวกับการฝึกและพัฒนาอาชีพเพื่อส่งเสริมศักยภาพแรงงานคนพิการไทยในเขตภาคกลาง 2)เพื่อพัฒนาแนวทางการฝึกและพัฒนาอาชีพเพื่อส่งเสริมศักยภาพแรงงานคนพิการ 3)เพื่อจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายการฝึกและพัฒนาอาชีพเพื่อส่งเสริมศักยภาพแรงงานคนพิการไทยในเขตภาคกลาง โดยมีกลุ่มตัวอย่าง คือ 1) หน่วยงานให้บริการฝึกอาชีพคนพิการ 4 แห่ง 2) องค์กรภาคธุรกิจที่มีการจ้างงานคนพิการ 3 แห่ง โดยใช้การสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสัมภาษณ์ การจัดสนทนากลุ่ม และการจัดทำร่างข้อเสนอแนะเชิงนโยบายฯเพื่อให้ผู้ทรงคุณวุฒิแสดงความคิดเห็นและพิจารณาความเหมาะสม
ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพที่พบคือ การฝึกและพัฒนาทักษะด้านอาชีพควบคู่กับกับการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการในทุกๆด้าน ปัญหาที่พบคือ หลักสูตรไม่สอดคล้องกับตลาดแรงงาน ผู้ฝึกสอนขาดความชำนาญในทักษะวิชาชีพ สื่อการเรียนการสอน สิ่งอำนวยความสะดวกและสภาพแวดล้อมไม่เพียงพอ และการประเมินผลที่เหมาะสมกับคนพิการ และความต้องการคือ จัดฝึกและพัฒนาอาชีพคนพิการให้ตรงตามความต้องการของตลาดแรงงาน พัฒนาผู้ฝึกสอน สื่อการเรียนการสอน สิ่งอำนวยความและสภาพแวดล้อม รวมทั้งการประเมินผลให้เหมาะสมกับคนพิการ 2. แนวทางการฝึกและพัฒนาอาชีพคนพิการ พบว่า 1) หน่วยงานให้บริการฝึกอาชีพคนพิการควรดำเนินนโยบายในเชิงรุก 2) หลักสูตรควรสอดคล้องเหมาะสมกับตลาดแรงงาน 3) รูปแบบกิจกรรมควรคำนึงถึงความต้องการจำเป็นของคนพิการ 4) ผู้ฝึกสอนควรได้รับการพัฒนาตนเอง 5) สื่อการสอนควรเหมาะสมกับคนพิการทุกประเภท 6) ปรับสิ่งอำนวยความสะดวกและสภาพแวดล้อมที่เอื้อประโยชน์ต่อคนพิการ และ 7) ปรับปรุงรูปแบบการประเมินผลให้สอดคล้องกับสภาพการปฏิบัติงานจริงของคนพิการ 3. ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายที่ผู้วิจัยจัดทำขึ้นในการวิจัยครั้งนี้แบ่งออกเป็นนโยบายสำหรับภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม