หน้าหลัก/ครอบฟันทางทันตกรรม
จาก ChulaPedia
(หน้าที่ถูกสร้างด้วย ''''ครอบฟันทางทันตกรรมคือ''' การบูรณะฟันโดยการครอบแ…') |
|||
แถว 1: | แถว 1: | ||
- | ''' | + | '''ครอบฟันทางทันตกรรม''' คือ การบูรณะฟันโดยการครอบแกนฟันด้วยวัสดุทางทันตกรรมหลากหลายชนิด เช่น โลหะ โลหะผสมเซรามิก และ เซรามิกทั้งซี่ ปัจจุบันครอบฟันเซรามิกทั้งซี่ได้รับความนิยมมากขึ้นเนื่องจากมีความสวยงามใกล้เคียงฟันธรรมชาติมาก ทั้งนี้ทั้งนั้น การมีช่องว่างแทรกระหว่างครอบฟันกับเนื้อฟัน (marginal gap)ในระดับน้อย เป็นหนึ่งในปัจจัยที่จะทำให้ครอบฟันมีอัตราการประสบความสำเร็จ (success rate)สูง |
โดยปกติทันตแพทย์มักจะกรอเตรียมฟันให้มีเส้นสิ้นสุดครอบฟัน (finish line) ให้อยู่ใต้เหงือกเล็กน้อยโดยรอบ ดังนั้นในกรณีที่ต้องทำครอบฟันบนฟันที่มีเหงือกร่นมากๆ เส้นสิ้นสุดครอบฟันที่กรอฟันตามขอบเหงือกจะมีระดับความโค้งต่างกันมาก และ ระยะทางของเส้นสิ้นสุดครอบฟันจะยาวขึ้นด้วยเมื่อเทียบกับฟันที่มีระดับเหงือกปกติ ซึ่งอาจมีผลต่อความแนบสนิทของครอบฟันได้ | โดยปกติทันตแพทย์มักจะกรอเตรียมฟันให้มีเส้นสิ้นสุดครอบฟัน (finish line) ให้อยู่ใต้เหงือกเล็กน้อยโดยรอบ ดังนั้นในกรณีที่ต้องทำครอบฟันบนฟันที่มีเหงือกร่นมากๆ เส้นสิ้นสุดครอบฟันที่กรอฟันตามขอบเหงือกจะมีระดับความโค้งต่างกันมาก และ ระยะทางของเส้นสิ้นสุดครอบฟันจะยาวขึ้นด้วยเมื่อเทียบกับฟันที่มีระดับเหงือกปกติ ซึ่งอาจมีผลต่อความแนบสนิทของครอบฟันได้ |
รุ่นปัจจุบันของ 04:17, 24 กรกฎาคม 2556
ครอบฟันทางทันตกรรม คือ การบูรณะฟันโดยการครอบแกนฟันด้วยวัสดุทางทันตกรรมหลากหลายชนิด เช่น โลหะ โลหะผสมเซรามิก และ เซรามิกทั้งซี่ ปัจจุบันครอบฟันเซรามิกทั้งซี่ได้รับความนิยมมากขึ้นเนื่องจากมีความสวยงามใกล้เคียงฟันธรรมชาติมาก ทั้งนี้ทั้งนั้น การมีช่องว่างแทรกระหว่างครอบฟันกับเนื้อฟัน (marginal gap)ในระดับน้อย เป็นหนึ่งในปัจจัยที่จะทำให้ครอบฟันมีอัตราการประสบความสำเร็จ (success rate)สูง
โดยปกติทันตแพทย์มักจะกรอเตรียมฟันให้มีเส้นสิ้นสุดครอบฟัน (finish line) ให้อยู่ใต้เหงือกเล็กน้อยโดยรอบ ดังนั้นในกรณีที่ต้องทำครอบฟันบนฟันที่มีเหงือกร่นมากๆ เส้นสิ้นสุดครอบฟันที่กรอฟันตามขอบเหงือกจะมีระดับความโค้งต่างกันมาก และ ระยะทางของเส้นสิ้นสุดครอบฟันจะยาวขึ้นด้วยเมื่อเทียบกับฟันที่มีระดับเหงือกปกติ ซึ่งอาจมีผลต่อความแนบสนิทของครอบฟันได้
จากการศึกษาพบว่า โครงครอบฟันเซรามิกทั้งซี่จะมีช่องว่างระหว่างชิ้นงานกับเส้นสิ้นสุดครอบฟันเพิ่มขึ้นในกรณีที่โครงครอบฟันมีระดับความโค้งต่างกันมากขึ้น ดังนั้นการออกแบบเส้นสิ้นสุดครอบฟัน ควรหลีกเลี่ยงการกรอเตรียมฟันให้มีเส้นสิ้นสุดครอบฟันที่มีระดับความโค้งต่างกันมาก หรือ อาจออกแบบให้เส้นสิ้นสุดครอบฟันอยู่เหนือเหงือกในบริเวณที่ไม่ต้องการความสวยงามมากนัก
โดย น.ส. ชุติมา อัศวภาณุมาศ นิสิตมหาบัณฑิต คณะทันตแพทย์ศาสตร์ จุฬาฯ