Distemper
จาก ChulaPedia
(หน้าที่ถูกสร้างด้วย ''''การจำแนกจีโนไทป์ของเชื้อไวรัสไข้หัดสุนัขสายพั…')
รุ่นปัจจุบันของ 11:39, 12 สิงหาคม 2556
การจำแนกจีโนไทป์ของเชื้อไวรัสไข้หัดสุนัขสายพันธุ์ที่แยกได้ในประเทศไทย โดยเทคนิค Restriction Fragment Length Polymorphism
(Genotypic Lineages and Restriction Fragment Length Polymorphism of Canine Distemper Virus Isolates in Thailand)
เชื้อไวรัสไข้หัดสุนัขก่อให้เกิดโรคในหลายระบบของร่างกาย พบได้ในสัตว์ตระกูลกินเนื้อหลายชนิด ถึงแม้ว่าจะมีการป้องกันโรคโดยการทำวัคซีนเชื้อเป็นที่ทำให้อ่อนฤทธิ์ลงมานานหลายสิบปีแล้ว แต่ยังพบอุบัติการณ์ของโรคได้แม้ในสุนัขที่ได้รับวัคซีนมาก่อน วัตถุประสงค์ของการศึกษาครั้งนี้เพื่อสำรวจความหลากหลายทางพันธุกรรมของสายพันธุ์เชื้อไวรัสไข้หัดสุนัขที่พบในประเทศไทย โดยศึกษาจากยีน phosphoprotein (P), hemagglutinin (H) และ fusion (F) และพัฒนาเทคนิค Restriction fragment length polymorphism (RFLP) เพื่อใช้ในการจำแนกระหว่างสายพันธุ์ก่อโรคตามธรรมชาติและสายพันธุ์ที่ใช้ทำวัคซีน ทำการศึกษาในตัวอย่างวัคซีนจำนวน 4 ผลิตภัณฑ์ ตัวอย่างจากเยื่อบุตาขาวและชิ้นเนื้อของสุนัขที่คาดว่าได้รับเชื้อดังกล่าว จำนวน 13 และ 9 ตัวอย่าง ตามลำดับ ด้วยวิธีเพาะแยกเชื้อไวรัสในเซลล์เพาะเลี้ยงที่มีตัวรับไวรัส SLAM (Vero-DST cells) วิธีทางชีวโมเลกุล Reverse-transcription polymerase chain reaction (RT-PCR) จากยีนทั้ง 3 ยีน และเทคนิค RFLP จากยีน F หลังจากนั้นส่งตัวอย่างที่ได้หลังจากการทำ PCR แล้วไป sequencing และวิเคราะห์รหัสพันธุกรรมเปรียบเทียบกับเชื้อ CDV อื่นในฐานข้อมูล Genbank ผลการศึกษาสรุปได้ว่า เชื้อ CDV ที่มีการแพร่ระบาดในประเทศไทยมี 2 สายพันธุ์ ได้แก่ Asia-1 และ Asia-4 ซึ่งเป็นสายพันธุ์ใหม่ที่ไม่เคยมีรายงานมาก่อน นอกจากนี้ ยังสามารถจำแนกสายพันธุ์ที่ติดเชื้อตามธรรมชาติทั้ง 2 สายพันธุ์ ออกจากสายพันธุ์ที่ใช้ผลิตวัคซีนได้ด้วยเทคนิค RFLP อย่างมีประสิทธิภาพ
คำสำคัญ ไวรัสไข้หัดสุนัข เทคนิค RFLP วัคซีน สายพันธุ์ดั้งเดิม ประเทศไทย