ความสอดคล้องระหว่างนักเรียนและครูที่มีต่อการเรียนภาษาอังกฤษ

จาก ChulaPedia

(ความแตกต่างระหว่างรุ่นปรับปรุง)
ข้ามไปที่: นำทาง, สืบค้น
(หน้าที่ถูกสร้างด้วย ''''ผลของความสอดคล้องระหว่างแบบการคิดของนักเรียน …')
แถว 1: แถว 1:
'''ผลของความสอดคล้องระหว่างแบบการคิดของนักเรียน แบบการเรียนของนักเรียนและแบบการสอนของครูที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษของนักเรียน'''
'''ผลของความสอดคล้องระหว่างแบบการคิดของนักเรียน แบบการเรียนของนักเรียนและแบบการสอนของครูที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษของนักเรียน'''
 +
EFFECTS OF MATCHING AMONG STUDENTS’ THINKING STYLES, STUDENTS’ LEARNING STYLES  AND TEACHERS’ TEACHING STYLES ON STUDENTS’ ENGLISH  ACHIEVEMENT
EFFECTS OF MATCHING AMONG STUDENTS’ THINKING STYLES, STUDENTS’ LEARNING STYLES  AND TEACHERS’ TEACHING STYLES ON STUDENTS’ ENGLISH  ACHIEVEMENT

การปรับปรุง เมื่อ 02:48, 25 ตุลาคม 2556

ผลของความสอดคล้องระหว่างแบบการคิดของนักเรียน แบบการเรียนของนักเรียนและแบบการสอนของครูที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษของนักเรียน

EFFECTS OF MATCHING AMONG STUDENTS’ THINKING STYLES, STUDENTS’ LEARNING STYLES AND TEACHERS’ TEACHING STYLES ON STUDENTS’ ENGLISH ACHIEVEMENT


บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์แบบการคิดของนักเรียน แบบการเรียนของนักเรียนและแบบการสอนของครูในวิชาภาษาอังกฤษ 2) วิเคราะห์ความสอดคล้องระหว่างแบบการคิดกับแบบการเรียนของนักเรียน 3) วิเคราะห์ความสอดคล้องระหว่างแบบการคิดของนักเรียน แบบการเรียนของนักเรียนและแบบการสอนของครูในวิชาภาษาอังกฤษ และ 4) วิเคราะห์ผลของความสอดคล้องระหว่างแบบการคิดของนักเรียน แบบการเรียนของนักเรียน และแบบการสอนของครูที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษของนักเรียน กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ของโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 564 คน และครูผู้สอนวิชาภาษาอังกฤษ จำนวน 18 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติภาคบรรยาย ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย การวิเคราะห์ตารางไขว้ สถิติทดสอบไค-สแควร์ และการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว


ผลการวิจัยที่สำคัญสรุปได้ดังนี้ 1) นักเรียนส่วนใหญ่มีแบบการคิดในมิติด้านหน้าที่เป็นแบบผู้ตัดสิน มิติด้านรูปแบบเป็นแบบจัดลำดับงาน มิติด้านระดับเป็นแบบภาพรวม มิติด้านขอบเขตเป็นแบบชอบครุ่นคิดภายในใจ และมิติด้านความโน้มเอียงเป็นแบบใฝ่กฎเกณฑ์ นักเรียนส่วนใหญ่มีแบบการเรียนแบบมีส่วนร่วม แบบร่วมมือ แบบพึ่งพา ตามลำดับ และครูส่วนใหญ่มีแบบการสอนแบบผู้มอบหมาย แบบผู้อำนวยความสะดวก แบบผู้เชี่ยวชาญ และแบบผู้เป็นแบบอย่าง ตามลำดับ 2) แบบการคิดทั้ง 5 มิติ สามารถจัดกลุ่มโปรไฟล์แบบการคิดได้ 4 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มแบบการคิดแบบใส่ใจรายละเอียด แบบมีกระบวนการ แบบมุ่งผลสัมฤทธิ์และแบบจำแนกไม่ได้ และพบว่านักเรียนที่มีกลุ่มโปรไฟล์ของแบบการคิดทุกกลุ่มจะมีแบบการเรียนแบบมีส่วนร่วมมากที่สุด 3) นักเรียนส่วนใหญ่จัดอยู่ในกลุ่มแบบการคิดแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ มีแบบการเรียนแบบมีส่วนร่วม และได้รับการสอนจากครูผู้เชี่ยวชาญมากที่สุด และ 4) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษกับกลุ่มความสอดคล้องระหว่างแบบการคิด แบบการเรียน และแบบการสอนมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05

น.ส.พิไลวรรณ พุ่มขจร

เครื่องมือส่วนตัว