การนำเสนอระบบการแลกเปลี่ยนเรียนรู้บนเว็บล็อกด้วยวิธีการสืบสอบแบบชื่นชม
จาก ChulaPedia
แถว 1: | แถว 1: | ||
- | |||
== การนำเสนอระบบการแลกเปลี่ยนเรียนรู้บนเว็บล็อกด้วยวิธีการสืบสอบแบบชื่นชม == | == การนำเสนอระบบการแลกเปลี่ยนเรียนรู้บนเว็บล็อกด้วยวิธีการสืบสอบแบบชื่นชม == | ||
'''การนำเสนอระบบการแลกเปลี่ยนเรียนรู้บนเว็บล็อกด้วยวิธีการสืบสอบแบบชื่นชมเพื่อสร้างความสามารถในการเรียนรู้เป็นทีมของบุคลากรสาธารณสุข''' | '''การนำเสนอระบบการแลกเปลี่ยนเรียนรู้บนเว็บล็อกด้วยวิธีการสืบสอบแบบชื่นชมเพื่อสร้างความสามารถในการเรียนรู้เป็นทีมของบุคลากรสาธารณสุข''' |
การปรับปรุง เมื่อ 08:41, 19 พฤศจิกายน 2556
การนำเสนอระบบการแลกเปลี่ยนเรียนรู้บนเว็บล็อกด้วยวิธีการสืบสอบแบบชื่นชม
การนำเสนอระบบการแลกเปลี่ยนเรียนรู้บนเว็บล็อกด้วยวิธีการสืบสอบแบบชื่นชมเพื่อสร้างความสามารถในการเรียนรู้เป็นทีมของบุคลากรสาธารณสุข
กระทรวงสาธารณสุข เป็นกระทรวงหลักด้านสังคมที่มีบทบาทในการสร้างสุขภาวะและยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน ในช่วงของการเปลี่ยนแปลงและการเปลี่ยนผ่าน ซึ่งมีหลายปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อกระทรวงสาธารณสุข อาทิ ระบบสุขภาพแนวใหม่ สภาพเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และนโยบายของรัฐบาล การที่จะทำให้องค์กรตอบสนองความต้องการของสังคม และเสริมสร้างศักยภาพในการพัฒนาประเทศภายใต้สภาวการณ์แห่งการเปลี่ยนแปลงต่างๆ จำเป็นต้องมีการบริหารงานที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยการบริหารการเปลี่ยนแปลง รวมถึงสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้ จากเหตุผลที่กล่าวมาข้างต้น การจัดการความรู้ของบุคลากรสาธารณสุขเป็นสิ่งสำคัญ ดังนั้น หน่วยภาครัฐและเอกชนหลายๆ แห่ง จึงให้ความสำคัญกับการจัดการความรู้ (Knowledge Management : KM) เนื่องจากการจัดการความรู้เป็นเครื่องมือที่ทำให้การดำเนินการต่างๆ ขององค์กรเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยความพยายามที่จะใช้ความรู้ที่มีอยู่และประสบการณ์ของบุคคล ในองค์กรอย่างเป็นระบบ การจัดการความรู้จึงเป็นการขยายแนวคิดและแนวปฏิบัติที่ควรจะนำไปใช้พัฒนาองค์กรและบุคลากร ซึ่งจะทำให้คุณภาพการดำเนินงานโดยรวมขององค์กรเพิ่มยิ่งขึ้น พระราชบัญญัติว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พุทธศักราช 2546 ในมาตรา 11 กำหนดไว้ว่า ส่วนราชการมีหน้าที่พัฒนาความรู้ในส่วนราชการเพื่อให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ อย่างสม่ำเสมอ โดยต้องรับรู้ข้อมูลข่าวสาร สามารถประมวลผลความรู้ในด้านต่างๆ เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในระบบราชการ รวมทั้งส่งเสริมพัฒนาความรู้ความสามารถ สร้างวิสัยทัศน์ และปรับเปลี่ยนทัศนคติของข้าราชการให้เป็นบุคลากรที่มีประสิทธิภาพและมีการเรียนรู้ร่วมกัน โดยองค์กรจะมีการเจริญเติบโต มีการเรียนรู้และพัฒนาได้นั้นจะต้องมีความรู้ที่ไหลเวียนอยู่ในองค์กร ทั้งในรูปของความรู้ที่ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) และความรู้ที่ฝังอยู่ในตัวคน (Tacit Knowledge ) ผู้วิจัยจึงได้นำเว็บล็อกมาใช้เป็นเครื่องมือเพื่อสนับสนุนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของบุคลากรสาธารณสุข เพราะปัจจุบันเว็บล็อกได้มีการนำมาใช้กันอย่างแพร่หลายในการเป็นเครื่องมือเพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ซึ่งเว็บล็อกเป็นเครืองมือในการจัดการความรู้ได้อย่างทรงพลังและมีประสิทธิภาพ เป็นฐานข้อมูลความรู้ฝังลึก(Tacit Knowledge) ที่ได้จากการทำงานหรือการปฏิบัติงาน โดยการวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอระบบการแลกเปลี่ยนเรียนรู้บนเว็บล็อกด้วยวิธีการสืบสอบแบบชื่นชมเพื่อสร้างความสามารถในการเรียนรู้เป็นทีมของบุคลากรสาธารณสุข กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ศึกษาความคิดเห็น และความต้องการเกี่ยวกับการแลกเปลี่ยนเรียนรู้บนเว็บล็อก เป็นบุคลากรสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข จำนวน 377 คน และที่เป็นชุมชนนักปฏิบัติทดลองใช้รูปแบบ เป็นบุคลากรสังกัดกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ จำนวน 27 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามความคิดเห็น แบบสังเกตพฤติกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้บนเว็บล็อก และแบบประเมินความสามารถในการเรียนรู้เป็นทีม สถิติที่ใช้ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า
1. ระบบการแลกเปลี่ยนเรียนรู้บนเว็บล็อกด้วยวิธีการสืบสอบแบบชื่นชมมี 4 องค์ประกอบ คือ 1) คน ประกอบด้วย คณะทำงานจัดการความรู้ และชุมชนนักปฏิบัติ ที่มีคุณอำนวยกระตุ้นและสร้าง บรรยากาศของความชื่นชมและการคิดเชิงบวก 2) ความรู้ ได้แก่ ทักษะวิธีการปฏิบัติงานที่เป็นประสบการณ์ตรงของกลุ่มที่ต้องการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 3) เทคโนโลยี คือ เว็บล็อก และ 4) แรงจูงใจ จากคณะทำงานจัดการความรู้และจากสมาชิกกลุ่มชุมชนนักปฏิบัติ 2. ขั้นตอนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ประกอบด้วย 7 ขั้นตอนคือ 1) ขั้นสร้างกลุ่มสัมพันธ์ร่วมคิดด้วยกัน 2) ขั้นกำหนดความรู้มุ่งสู่เป้าหมาย ด้วยการเล่าเรื่องการแก้ปัญหาการทำงาน 3) ขั้นออกแบบพัฒนาแสวงหาความรู้ด้วยกลยุทธ์เพื่อให้กลุ่มบรรลุเป้าหมายและวิสัยทัศน์ 4) ขั้นแลกเปลี่ยนเรียนรู้ บนพื้นที่จริงและเสมือนผ่านเว็บล็อก 5) ขั้นสร้างแรงจูงใจ ผ่านช่องทางสื่อสาร 6) ขั้นประมวลกลั่นกรองและทดลองนำไปใช้ และ7) ขั้นประเมินผลงานของกลุ่ม 3. กลุ่มตัวอย่างมีคะแนนการประเมินความสามารถในการเรียนรู้เป็นทีม หลังการทำกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้สูงกว่าก่อนการทำกิจกรรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .05
ผู้วิจัย: นางบัวงาม ไชยสิทธิ์ นิสิตมหาบัณฑิตสาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา ภาควิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ : รศ.ดร.อรจีย์ ณ ตะกั่วทุ่ง กิตติกรรมประกาศ: ได้รับการสนับสนุนทุนวิจัยจาก "ทุน 90 ปี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย" กองทุนรัชดาภิเษกสมโภช รุ่นที่ 17