นางเอกของฮายาโอะ มิยาซากิ
จาก ChulaPedia
(ทำหน้าว่าง) |
|||
แถว 1: | แถว 1: | ||
+ | เด็กผู้หญิงมีบทบาทโดดเด่นเสมอในสื่อสาธารณะของญี่ปุ่นรวมถึงภาพยนตร์และวรรณกรรม วัฒนธรรมญี่ปุ่นหมกมุ่นกับภาวะคาบลูกคาบดอกระหว่างวัยเยาว์กับวัยเจริญพันธุ์ ความไร้เดียงสากับวุฒิภาวะ ความอ่อนแอกับอำนาจ และอิสตรีกับชายชาตรีที่ห่อหุ้ม shojo ไว้ ผลงานในค.ศ.2004 เรื่อง Howl’s Moving Castle ของฮายาโอะ มิยาซากิ(Hayao Miyazaki) กล่าวถึงเด็กหญิงต้องคำสาบให้กลายเป็นยายแก่แร้งทึ้ง และเนื้อหาหลักของหนังก็จะเป็นการถ่ายทอดวิบากกรรมความทุกข์ทรมานจากความชราภาพของตัวละครชื่อโซฟี | ||
+ | |||
+ | เธอตกบันไดพลอยโจนได้ออกผจญภัยทางจิตวิญญาณไปในโลกจินตนาการ โดยมีคณะพรรคประกอบด้วยหุ่นไล่กาตีนพัด(fleet-footed scarecrow) ปีศาจ(เคย)พ่นไฟได้ จิ้งเหลนนักฝัน และลูกศิษย์วัยกระเตาะ แหล่งซ่องสุมของพวกเขาคือยานรูปทรงหัวมังกุฏท้ายมังกรประกอบขึ้นตามมีตามเกิดจากวัสดุตามธรรมชาติและอะไหล่กล ขับเคลื่อนด้วยพลังไอน้ำจากพลังไฟพ่นอันกระเสาะกระแสะของปีศาจคัลซิเฟอร์(Calcifer) | ||
+ | |||
+ | ภารกิจอันหนักหน่วงเหนือใดปานของคุณยายโซฟีในฐานะผู้บังคับการยานคือการเก็บกวาดเช็ดถูความอีลุ่ยฉุยแฉกจากน้ำมือลูกเรือเพศชาย ต่อมาไม่นานเธอเป็นหัวหอกรณรงค์ยุติสงครามในสมรภูมิโลกภายนอก แววการเป็นคนเจ้าปัญญา กล้าหาญ และกล้าได้กล้าเสียของเธอฉายข่มบรรดาขุนพลรุ่นหนุ่มทั้งคณะ หนำซ้ำยังเป็นพลังฉุดรั้งให้ทุกคนตระหนักถึงปัญหาและเสียสละตนเพื่อหน้าที่ ตลอดจนมีความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวเพื่อบรรลุจุดหมายร่วมกัน คนดูรู้ดีแก่ใจว่าแท้ที่จริงยายแก่คือร่างจำแลงของเด็กหญิงตัวเอก ตัวตนของเธอหล่อหลอมขึ้นจากส่วนผสมอันลงตัวระหว่างบุคลิกของเพศหญิงและเพศชายตามขนบเช่นเดียวกับตัวเอกหญิงของมิยาซากิทุกเรื่อง | ||
+ | |||
+ | เงื่อนภาวะว่าด้วย shojoได้รับความสนใจกว้างขวางในแวดวงญี่ปุ่นศึกษา โดยที่หัวข้อการอภิปรายจะตั้งอยู่บนสาระสำคัญ 3 ประการคือ ในประการแรกจะเป็นเรื่องของอัตลักษณ์ กล่าวคือ ฐานภาพของ shojo จะอยู่ก้ำกึ่งระหว่างความเป็นเด็กกับผู้ใหญ่ น่ารักน่าเอ็นดูแต่ยังไม่ประสาในการดึงดูดเพศตรงข้าม แต่มีแต้มต่อในฐานะหน่ออ่อนของอิสรภาพ เธอเป็นข้อยกเว้นจากประเพณีและจารีต ความคาดหวังที่สังคมมีต่อผู้หญิงและผู้ชายวัยเจริญพันธุ์ เธอจึงมีเอกสิทธิ์คุ้มครองในการประพฤติตัวไม่เป็นโล้เป็นพาย ไม่เอาถ่าน และเอาแต่ใจ เธอฝันเฟื่องกับการเหาะเหินเดินอากาศ แผลงฤทธิ์และผจญภัยหัวหกก้นขวิดได้ตามประสา รวมตลอดจนไม่ต้องคอยแบกความรับผิดชอบใด ๆ ประการที่สองให้ความสนใจไปที่การเป็นจุดขาย การมัดใจผู้บริโภค โดยมองกันว่า shojo คือ บุคลิกในอุดมคติ เป็นดัชนีบ่งชี้และรูปตัวแทนของความน่ารักในห้วงคำนึงนักบริโภควัฒนธรรมและสินค้า สิงสถิตย์อยู่ในเครื่องประดับกระจุ๋มกระจิ๋ม ตุ๊กตา สัตว์เลี้ยงขี้อ้อน ๆ พฤติกรรมแบบเด็ก ๆ (งอน ขำ ทะโมน ชักสีหน้าสีตาเวลาตกตะลึงหรือตื่นกลัว) การแต่งองค์ทรงเครื่องและลายมือ ประการที่สามเป็นการอภิปรายในแง่ความสัมพันธ์ระหว่าง shojo กับผู้เสพ ความน่ารักไร้พิษภัยผิดกับหญิงวัยเจริญพันธุ์ที่มีพลังทางเพศและความเป็นแม่เป็นเขี้ยวเล็บ ส่งผลให้บรรดาสาวรุ่นยึดเธอเป็นแบบอย่าง แม้แต่ผู้หญิงโตเต็มวัยก็ยังขอยึดเป็นเกราะกำบังจากแรงกดดันและจารีตของสังคมต่อนางและนางสาว รวมถึงสวมรอยย้อนกลับไปดื่มด่ำกับวัยเยาว์ | ||
+ | |||
+ | ภาพหญิงปลอดเขี้ยวเล็บยังถูกใจบรรดาหนุ่มน้อยหนุ่มใหญ่ผู้ขยาดกับพิษภัยจากแม่เสือสาวทั้งหลาย การย้อนสำรวจและแตกประเด็นศึกษาชี้ว่ารูปการรับรู้ต่อ shojo คอยตอกย้ำและมีผลต่อการโน้มน้าวและเป็นเวทีรองรับความโหยหาและถอยกลับไปสู่ภาวะหลงไหลตนเองและสภาพทารก หรือไม่ก็ส่งผลกลับตาลปัตรในแง่เป็นฐานที่มั่นของขบวนการก่อขบถต่อต้านค่านิยมดั้งเดิมของสังคม ในฐานะขั้วตรงข้ามและคอยส่งกำลังบำรุงอุดมการณ์สัมพันธภาพต่าง ๆ งัดข้อกับลัทธิเอดิปุสนิยม(anti-Œdipus) รักสวยรักงาม อ่อนไหว มีใจอารีเพื่อนมนุษย์ทุกรูปนาม | ||
+ | |||
+ | นางเอกของมิยาซากิส่วนใหญ่มีคุณสมบัติครบถ้วนตามตำรับการเป็น shojo ไม่ว่าจะในด้านวัยวุฒิ ความน่าเอ็นดู เมตตาสรรพสัตว์และสัตว์เลี้ยง และไม่ประสาในเรื่องเพศ ตลอดจนมีท่าทีของพระเอกขนานแท้เป็นส่วนผสมอยู่มากเกินงามไปบ้าง อย่างที่ซูซาน เนเปียร์(Susan Napier)ตั้งข้อสังเกต เพราะพวกเธออยู่ไม่สุข ชอบผจญภัยและเด็ดเดี่ยวกล้าหาญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งมูริกะผู้ได้ชื่อว่าเป็นวีรสตรีนักรบต่อกรกับปีศาจทำลายล้างสิ่งแวดล้อม ลัทธิทุนนิยม ลัทธิทหาร และอภิบาลผู้ถูกกดขี่ และกล้าเผชิญหน้าอำนาจ | ||
+ | |||
+ | |||
+ | ในบทอภิปรายชิ้นเอกว่าด้วยความน่าเอ็นดูในโลกญี่ปุ่น(Cuties in Japan)ของ ชารอน คินเซลลา(Sharon Kinsellar)ได้ระบุถึงวัฒนธรรมบริโภคความน่ารัก และความน่ารักดังกล่าวปรากฏร่องรอยหลายแห่งในงานของมิยาซากิเรื่องนี้แม่มดฝึกหัดชื่อกิกิในเรื่องนี้เป็นคนน่ารักอยู่ในวัยเด็กไม่ใช่ผู้ใหญ่ไม่เชิง มีเค้าความเป็นหญิงครบเครื่องแต่ไม่เดียงสาเรื่องเพศ เธอผูกผ้าคาดผมสีแดงในมาดสาวนักกีฬา มีแมวดำเป็นเพื่อนคู่หู พ่อแม่ตามใจ ตีโพยตีพายหากใครเล่นไม่ซื่อ เธอเฝ้ารอวันจะได้แต่งตัวด้วยชุดและรองเท้าสวย ๆ และทำใจไม่ได้กับสารรูปเชย ๆ ปอน ๆ ไปวัดไปวาไม่ได้ แต่เธอใช้คาถาเหาะไปช่วยเหลือผู้ที่เดือดร้อนได้ | ||
+ | |||
+ | มิยาซากิสร้าง Kiki ในค.ศ.1989 นานพอดูหลังจากเขาและคู่หูคือทากาฮาระปลีกตัวจากโตอิ(Toei)ออกมาตั้งจิบลี(Ghibli studio)เพื่อผลิตผลงานตามถนัดกันเอง อันที่จริงมิยาซากิมีส่วนในการผลิตงานประเภทสาวน้อยพลังวิเศษเพื่ออกอากาศทางโทรทัศน์ภายใต้ชื่อผู้กำกับคนอื่นตั้งแต่ยังเป็นนักวาดการ์ตูนฝึกหัดของโตอิอยู่แล้ว ค.ศ.1966 เขามีผลงานให้ Maho tsuki Sally หรือ Sally, the Witch 2 ตอนด้วยกัน การ์ตูนเรื่องนี้เล่าเรื่องราวของแม่มดที่ถูกส่งตัวมายังโลกเพื่อเรียนรู้และผูกมิตรกับมนุษย์ รวมถึงใช้พลังวิเศษช่วยเหลือมนุษย์ คศ.1969 เขามีผลงานเรื่อง Himitsu no Akko-chan(Akko's Secret) ความยาว 2 ตอน ตัวละครเป็นนักเรียนหญิงธรรมดาแต่ได้รับพลังวิเศษจากกระจกวิเศษ เธอจึงแปลงร่างเป็นใครหรือสัตว์ชนิดใดก็ได้เพื่อออกช่วยเหลือเพื่อน ๆ และครอบครัว ค.ศ.1971 มิยาซากิมีผลงาน 1 ตอนกับ Sarutobu ecchan(หรือ Ecchan the ninja) ตัวนำเรื่องเป็นเด็กสาวน่ารักท่าทางไม่มีพิษมีภัย แต่มีพลังวิเศษสารพัดพิษ | ||
+ | |||
+ | นอกจากนี้มิยาซากิยังวาดการ์ตูนอันมีวรรณกรรมเยาวชนขั้นลายครามเป็นเค้าโครง ไม่ว่าจะเป็น Heidi ของยอนนา สไปรี(Johanna Spyri) Anne of Green Gable ของลูซี มอด มองต์โกเมอรี(Lucy Maud Montgomerry) ทั้งหมดกำกับโดยอิซาโอะ ทากาฮาตะ(Isao Takahata)เพื่อนคู่หูของมิยาซากิ และก็ล้วนเป็นเรื่องราวของสาวน้อยนักสู้ มิยาซากิยังพยายามจะสร้างการ์ตูนจาก The Adventures of Pippi Longstocking เพชรน้ำเอกแห่งวรรณกรรมเยาวชนของแอสตริด ลินด์เกร็น(Astrid Lindgren) แต่การขอลิขสิทธิ์เรื่องราวของเด็กหญิงผู้เด็ดเดี่ยวนี้ไม่ประสบผลดังหวัง ทั้งที่มีการไปสำรวจฉากหลังถึงสวีเดนไว้เสียดิบดี | ||
+ | |||
+ | Howl ก็เป็นอีกหนึ่งผลงานที่สร้างจากเค้าโครงของต่างประเทศ ต้นเรื่องเป็นวรรณกรรมภาษาอังกฤษสำหรับเด็กโต ตีพิมพ์ครั้งแรกในค.ศ.1986 ฝีมือนัักเ ขียนแนวจินตนาการเหนือจริงชาวอังกฤษ ไดอานา ไวน์ โจนส์(Diana Wynne Jones) เธอผู้นี้ถือเป็นเจ้าแม่ในวงการเดียวกับผู้ัแต่งแฮร์รี พ็อตเตอร์ แม้จะไม่เปรี้ยงปร้างเท่า ด้วยแนวการเขียนโครงสร้างการเล่าอันซับซ้อน เต็มไปด้วยตัวละครพิลึกพิลั่นและเวทมนต์ คาถา คำสาปสารพัดขนาน | ||
+ | |||
+ | ผลงานอันมีเรื่องแต่งจากยุโรปเป็นเค้าโครงของสตูดิโอจิบลีนั้นประกอบด้วย Rupan sensei: Kariosutoro no shiro(The Castle of Cagliostro) งานเมื่อ ค.ศ.1979 Majo no takkyubin(Kiki's Delivery Service) งานเมื่อค.ศ.1989 และ Kurenai no buta(Porco Rosse) งานค.ศ.1992 | ||
+ | |||
+ | กรณีไม่มีพลังวิเศษติดตัว นางเอกของมิยาซากิก็จะมีผู้วิเศษคอยอุ้มชู เช่น นางเอกจาก Sen to Chihiro no kamikakushi(Spirited Away)งานเมื่อค.ศ.2001 nausicaa-021ในเรื่องจะมีปีศาจพ่นไฟคัลซิเฟอร์และพ่อมดคอยอุปถัมภ์ ซุ่มสั่งสมบารมีตลอดจนอัตลักษณ์ จนมีคุณสมบัติกล้าแกร่งเพียบพร้อมสมเป็นนางเอกตามแบบฉบับมิยาซากิใ นที่สุด ทั้งนี้นางเอกประเภทนี้ก็จำต้องเรียนรู้การเอาชนะความกลัวและความอ่อนแอเช่นเดียวกับไคฮิโระ(Chihiro)และกิกิอยู่ดีนั่นเอง | ||
+ | |||
+ | สุนทรียะของความน่าเอ็นดูใน Kaze no tani Naushika(Nausicaa of the Valley of the Winds) งาน ค.ศ.1984 มีให้เห็นในฉากนางเอกนักบู๊มาดมั่นได้รับสัตว์เลี้ยงตัวน้อยซึ่งคับคล้ายคับคลาจะเป็นเด็กหญิงตัวจิ๋วเสียมากกว่า(ดูจากอากัปกิริยาการหัวเราะ ช่างประจบ ท่าทีและรูปลักษณ์) ส่วนใน Mononoke - hime(Princess Mononoke)งานค.ศ.1997 ก็มีอยู่ในฉากเทพารักษ์ขี้เล่นเผยตัวกลางป่า ส่วนใน Spirited Away มีอยู่ในฉากหมัดฝุ่น(เช่นเดียวกับกิริยางอนเชิดของไคฮิโระ) | ||
+ | |||
+ | |||
+ | |||
+ | ซาน(San)ไม่น่ารัก เธอพยศและดุร้าย แถมยังปรากฏตัวครั้งแรกในสภาพเลือดเปรอะใบหน้าจากระยะใกล้ อะชิกาตะตัวเอกของเรื่องยังดูอ่อนหวานกว่าเธอเสียอีก ที่เป็นเช่นนี้เพราะมิยาซากิสอดแทรกประเด็นทางการเมืองไว้ในหนังด้วยการทวงถามความสำคัญของชาวไอนุ(Ainu)อันเป็นชนพื้นเมืองของญี่ปุ่น อะชิกาตะจึงมีบทบาทเป็นตัวกลางระหว่างลัทธิจกรวรรดินิยมและทุนนิยมญี่ปุ่นกับโลกอมนุษย์เพราะเขามาจากเผ่าพันธุ์ที่หวนคืนสู่ธรรมชาติและเคารพผีสางนางไม้ ซานไม่ยอมรับสภาพความเป็นมนุษย์และสำคัญตนว่าเป็นสมาชิกในสังคมอมนุษย์ มิยาซากิเนรมิตสภาพน่ายำเกรงและสูงส่งของธรรมชาติไว้สารพัด รวมถึงพลังบำบัดมหัศจรรย์ของจ้าวป่าเจ้าที่ในงานชิ้นนี้ | ||
+ | |||
+ | ใน Spirited Away ความน่ารักน่าเอ็นดูถูกแทนที่ด้วยความอัปลักษณ์ ไม่ว่าจะเป็นหมูยักษ์สารรูปอุบาทว์ตาอันเป็นร่างจำแลงของพ่อและแม่ แม่มดแฝดต้องฤทธิ์คำสาปยูบาบา(Yubaba) และเซนิบา(Zeniba)ก็ใ หญ่ย้วยอุจาดตา ลูกชายวัยทารกของยูบาบาก็เป็นเหมือนกับก้อนเนื้องอกน่าขยะแขยงที่ผู้เป็นแม่ทั้งรักทั้งชังจากหน้าตาประหลาด จ้ำม้ำบวมฉุและอัปลักษณ์ชาติไร้ที่ติ เทพโอคุทาเรซามะก็มีเรืองร่างมโหฬารน่าเกรงขาม สารรูปของตัวละครเหล่านี้ล้วนน่าเกลียดน่ากลัวรูปพรรณสันฐานอัปลักษณ์สุดบรรยาย ไม่น่าพิสมัยแม้แต่น้อย | ||
+ | |||
+ | |||
+ | ร่องรอยการวิพากษ์สังคมใน Spirited Away แม้ไม่เอิกเกริกแต่การไหลย้อนทางของแม่น้ำแห่งพระเจ้าเข้าสู่ยักษ์ใจดำก็น่าจะอนุมานได้ว่าเป็นผลจากมลภาวะทางน้ำ ส่วนการที่พ่อแม่ของตัวเอกถูกสาปเป็นหมูก็น่าจะหมายถึงบทลงโทษสำหรับความละโมบ เห็นแก่ได้ เพียงแต่หนังเปรยเนื้อหาเหล่านี้ขึ้นมาลอย ๆ | ||
+ | |||
+ | องค์ประกอบว่าด้วยการผจญภัยในดินแดนเหนือจริง การผลัดรู้ด้วยประสบการณ์พิลึกพิลั่นอกสั่นขวัญแขวน มิตรภาพ และการเผชิญความทุกข์ยาก ความงดงาม และความน่าสะพรึงกลัว ในหนังจะฉุดคนดูจมดิ่งในอาณาจักรจินตภาพและฝันหวาน ฝันร้ายอันไร้ขีดจำกัด Spirited Away ต่างกับ Princess Mononoke ตรงที่งานอื่นจะมีการออกตัวว่าเหมาะกับเด็กผู้หญิงอายุ 10 ขวบขึ้นไปทั้งนี้เพื่อปลูกฝีอุทาหรณ์และขัดเกลาความคิดเด็ก ๆ โดยหนังชี้ให้เห็นว่าตัวละครเด็กหญิงในเรื่อง แม้จะเคยเป็นคนเอาแต่ใจ ขี้แย เหยาะแหยะ และหงอ แต่เมื่อผ่านกระบวนการเรียนรู้ก็ยังปรับตัวเข้ากับผู้อื่นได้ มั่นใจในตนเอง มีมานะ กล้าคิดกล้าทำ ด้วยความช่วยเหลือจากผองเพื่อน เธอจึงเอาตัวรอดได้และยังถอนคำสาปแก่บุพการี | ||
+ | |||
+ | อย่างไรก็ตามหนังก็ไม่ได้ทิ้งขว้างอนุสติ(vertige)ว่าด้วยสุนทรียะของภาวะหลุดพ้น หากมาในรูปขันติธรรมของปวงเทพและภูติ แม่น้ำแห่งพระเจ้า คาโอนาริ และวิญญาณไดกอน ภาวะหลุดพ้นจะมาในสภาพไร้ภาพและเสียง สุญญตา และความนิ่งเงียบตามคติอรูปภูมิ การปรากฏตัวของเจ้าป่า(the lord of the Forest)จึงมีแต่จอขาวโพลนพร้อมความสงัด พักหลัง ๆ ดูเหมือนเสน่ห์ของสภาพยูโทเปียนในแดนจินตนาการจะจืดจางลง มิยาซากิจึงหันไปสกัดแยกกากลัทธิจักรวรรดินิยมออกจากแนวคิดนิกายชินโต(Shintoism) แล้วสมาทานเฉพาะความเชื่อเรื่องวิญญาณธรรมชาติมาผสมโรงเข้ากับตัวหนัง ธรรมชาติจึงไม่เพียงงดงามหากยังน่าครั่นคร้าม ศักดิ์สิทธิ์ และเป็นลับแลแห่งการหลุดพ้น | ||
+ | |||
+ | |||
+ | Howl's Moving Castle ไม่มีภาพของธรรมชาติในมิติผู้ให้กำเนิดสรรพสิ่ง อาจเพราะหนังได้เค้าโครงมาจากวรรณกรรมยุโรป ดังนั้นจึงมีเฉพาะความสวยงามของธรรมชาติในรูปสีสัน รูปทรงของดอกไม้ ใบหญ้า ทิวทัศน์ตามหลักการจัดภาพ แต่หนังก็ต่อเติมมิติทางการเมืองเพิ่มเข้ามา ขณะที่ฉบับหนังสือไม่มีแง่มุมนี้ ในงานเขียนของไวน์ โจนส์ แม่มดแห่งการล้างผลาญ(the Witch of the Waste)เป็นฝ่ายก่อหวอดโดยใช้กำลังและไม่มีการโยงใยเข้ากับสงครามในโลกของความเป็นจริง แต่ในพากย์หนังของมิยาซากิกลับมีภาพความสยดสยองจากสงครามจริง ๆ และตัวละครโซฟีก็ปวารณาตัวออกรบเพื่อยุติสงคราม และปลุกสำนึกให้กษัตริย์หาทางดับไฟสงครามแทนที่จะมัวสนองตัณหาของฮาว(Howl) ถึงแม้จะไม่ถึงขั้นเป็นการประกาศจุดยืนทางการเมืองแต่ยากจะหักห้ามมิให้โยงฉากสะเทือนอารมณ์ดังกล่าวเข้ากับสงครามอิรัก จริงอยู่ตัวละครในงานเรื่องก่อน ๆ ของมิยาซากิ(เช่น นูซิกะ และอะริกาตะ)พยายามยับยั้งสงครามระหว่างคู่ปรปักษ์โดยวางตัวเป็นคนกลางและหาทางไกล่เกลี่ยถอดชนวนวิกฤติการณ์ จึงอาจกล่าวได้ว่ามิยาซากิถือหางฝ่ายสันติภาพนิยมและป้องปรามการสูญเสียชีวิตและทรัพย์สินรวมถึงทรัพยากรธรรมชาติอันย่อมพลอยโดนหางเลขจากสงคราม อย่างไรก็ตาม จากสถานการณ์ปัจจุบันของโลกอาจขจัดม่านหมอกในใจมิยาซากิไปได้มากและแน่วแน่พอจะปวารณาตนแก่ความคิดที่ตนฝักใฝ่ | ||
+ | |||
+ | นอกจากเป็นนักรณรงค์สันติภาพ นูซิกะและอะชิกาตะยังเป็นนักรบผู้พิทักษ์สิ่งแวดล้อม นักสู้เพื่อยุติการชำเรา การสร้างมลภาวะแก่ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มิยาซากิกล่าวยอมรับในการให้สัมภาษณ์ว่า ระหว่างเขียนเนื้อเรื่องและวาดภาพนูซิกะ เขาคิดถึงกรณีมินามาตะอันเป็นผลจากการที่โรงงานอุตสาหกรรมปล่อยสารปรอทลงสู่ทะเลญี่ปุ่น สร้างมลพิษแก่ระบบนิเวศน์ของสัตว์ทะเล(เดิมทีเขาตั้งใจผลิตเป็นการ์ตูนเล่ม แต่เปลี่ยนมาเป็นหนังการ์ตูนในภายหลัง) Princess Mononoke เปิดแนวรบหลายด้าน โดยมีเป้าหมายหลักคือ ราวีกับการทำลายล้างสิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติอันเป็นผลจากการเติบโตในภาคอุตสาหกรรมโดยnausicaa-020ปราศจากมาตรการรองรับ และการลิดรอนศักดิ์ศรีการดำรงอยู่(ของผู้หญิง ชนเผ่าพื้นเมือง สัตว์ ป่าไม้)อันเป็นผลพวงจากการขยายตัวของลัทธิทุนนิยมและอำนาจนิยม หนังตั้งโจทย์กับทิศทางการเจริญเติบโตของญี่ปุ่นสมัยใหม่และไว้อาลัยแก่เหยื่อ Princess Mononoke เป็นงานที่มีเนื้อหาข้องแวะเรื่องการเมืองมากที่สุดของมิยาซากิแต่ไม่ค่อยได้รับความนิยมนอกญี่ปุ่น หนังไม่ถูกใจผู้ชมในตลาดสหรัฐและตลาดออสเตรเลียก็ตอบรับการเข้าฉายอย่างเฉยเมย หนังมีฉากเหตุการณ์เยิ่นเย้อและเนื้อหาก็ซับซ้อนเกินไปสำหรับเด็ก ๆ ส่วนคนดูผู้ใหญ่ก็มองว่าตัวเอกอายุน้อยเกินไปและปราศจากแรงดึงดูดทางเพศ | ||
+ | |||
+ | แล้วมิยาซากิผูกโยงแบบฉบับการเป็น shojo เข้ากับกระบวนการวิพากษ์สังคม แนวคิดสิ่งแวดล้อมนิยม และการบูชาธรรมชาติในลักษณะใด ด้วยเหตุที่ shojo และความน่าเอ็นดูสัมพันธ์กับลัทธิบริโภคนิยมในแง่เป็นทางถอยจากภาวะความเป็นจริงของสังคม โดยอาจถือเป็นวิถีทางของการก่ออารยะขัดขืนต่อบรรทัดฐานสังคม มิยาซากิมอบแต้มต่อในฐานะลูกผู้หญิงเป็นทุนหน้าตักและลงขันถือหาง shojo เลือดนักสู้แบบลูกผู้ชายเข้าไปในตัวละคร shojo | ||
+ | |||
+ | ตัวละคร shojo ของมิยาซากิมีแต้มต่อจากความเป็นลูกผู้หญิงเป็นทุนประเดิม และยังมีเลือดนักสู้แบบลูกผู้ชายเป็นสภาพคล่องเสริม ตัวละครพวกนี้ใช้บารมีในตัวเป็นกลไกสำคัญในการอภิบาลผู้ถูกกดขี่จากฝ่ายเผด็จการ ตลอดจนรณรงค์เพื่อปฏิวัติสังคม แทนที่จะหลงตัว โอหังกับเสน่ห์เฉพาะตัว ลอยหน้าลอยตาหว่านเสน่ห์ไปวัน ๆ นับเป็นการผสมผสานขั้วพลังหญินและหยาง หญิงกับชาย เข้าด้วยกันเพื่อสรางดุลยภาพและความสมานฉันท์ในสังคม กรณีนี้ใช้ไม่ได้กับอะชิกาตะ ตัวละครตัวนี้เข้าข่ายเป็น shonen อันเป็นแบบฉบับของเด็กหนุ่มผู้อ่อนไหวและอ่อนโยนเหมือนอิสตรี นอกจากนี้ มิยาซากิยังแต่งแต้มอุปนิสัยรักสัตว์ไว้ใน shojo เพื่อเป็นอีกหนึ่งผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรมอันสะท้อนถึงความรัและความเคารพธรรมชาติ โดยมีสิ่งศักดิ์สิทธิ์ตามคติชินโตและเผ่าไอนุทั้งในฟากมิตร สูงส่ง และชวนพรั่นพรึง เป็นลูกคู่ | ||
+ | |||
+ | อาจกล่าวได้ว่าแม้นางเอกของมิยาซากิจะเป็นนักสู้แต่ก็ไม่อยู่ในสายตาอิตถีนิยม พวกเธอไม่มีแววว่าจะแบ่งเขาแบ่งเรากับผู้หญิงด้วยกัน อีกทั้งก็ไม่เอาเรื่องสิทธิสตรีมาเป็นอารมณ์ สถานภาพของพวกเธอเป็นขั้วตรงข้ามกับภาพแม่แบบของหญิงสาววัยเจริญพันธุ์ (คุณแม่จอมจู้จี้ นางตัวแสบ) ออกจะลักเพศ แต่อยู่ในกรอบของการ์ตูนวิทยาศาสตร์อันมีจุดใหญ่ใจความอยู่ที่วีรกรรมเหล่ามานพ(shonen) การพิชิตอธรรมของเพศชาย ปมขัดแย้งจึงไม่ได้เกิดจากประเด็นของเพศ(หญิงกับชาย) แต่เกิดจากวัย(หนุ่มสาว กับผู้ใหญ่) และก่อตัวเป็นรูปเป็นร่างจากจินตนาการถึงความห้าวหาญมุ่งมั่นของคนรุ่นใหม่ เสริมแต่งด้วยจินตภาพถึงการก่อหวอดของคนรุ่นใหม่ คุณนายอิโบชิ(Eboshi)แม่เลี้ยงของเหล่าอดีตโสเภณีใน Princess Mononoke อันที่จริงก็คอยขูดรีดแรงงานและลำเลิกบุญคุณจากพวกหญิงอาภัพใต้อาณัติ | ||
+ | |||
+ | หากไม่นับกรณี Torari no Totora(My Neighbour Totoro งานค.ศ.1988)แล้ว นางเอกห้าวเล็ก ๆ ในหนังมิยาซากิมักเป็นเด็กหัวเดียวกระเทียมลีบ ไม่มีเพื่อนพ้องน้องพี่เพศเดียวกัน และไม่เดียงสากับเพศตรงข้าม ในภาควรรณกรรมนั้นไดอานา ไ วน์ โจนส์แต่งเรื่องให้โซฟีมีน้องสาว 2 คน แต่ในฉบับหนังนั้นมิยาซากิตัดตัวละครร่วมอุทรเหล่านี้ออกทั้งหมด San และไคฮิโระต่างมีเพื่อนชายคนพิเศษแต่ความสัมพันธ์ก็ไม่ได้เบ่งบานไปถึงขั้นคู่รัก หากจะเหนียวแน่นในฐานะคู่คิด พี่ชาย-น้องสาวในอุดมคติ(Platonic)เสียมากกว่า แม้ไม่มีแม่เป็นตัวเป็นตนอยู่ในหนัง แต่พลังของเพศแม่ก็แผ่อิทธิพลเข้าแทนที่พลังขั้วพ่ออันเป็นขั้วอำนาจเก่าในการ์ตูนวิทยาศาสตร์ และพวกหนุ่ม ๆ ก็จะเอาแต่สนุก ไร้สาระไปวัน ๆ | ||
+ | |||
+ | มิยาซากิสะท้อนท่าทีเบื่อหน่ายตัวละครประเภทคุณชายอ้อนแอ้น ผ่านออกมาทางตัวละครองค์ชายเรือนร่างสูงชะลูด สำรวย ม่านตาสีฟ้า ผมหยักโศกสีบลอนด์ห้อยระย้า แช่มช้อย จีบปากจีบคอ ตามตำราพระเอกของละครน้ำเน่าไม่ก็เทพนิยายจักร ๆ วงศ์ ๆ ของยุโรปอันเป็นขวัญใจเด็กสาวญี่ปุ่น | ||
+ | |||
+ | ก่อนถูกสาป โซฟีเป็นสาวโสดผู้มีฝีมือในการทอผ้า เธอไม่ใช่สาวรุ่นมัธยม เธอกลายเป็นยายแก่แร้งทึ้งด้วยผลของคำสาป ช่วงชีวิตหลังจากนั้นมีแต่ต้องตกระกำลำบากตามประสาคนชราดุจเดียวกับตัวผู้กำกับ | ||
+ | |||
+ | มิยาซากิร่ำ ๆ จะเกษียณตัวเองมาตั้งแต่เสร็จงานกำกับ Princess Mononoke ทว่าก็ยังล้างมือในอ่างทองคำไม่สำเร็จ แถมยังหวนคืนยุทธจักรวาดลวดลายการปรุงสูตรเรื่องเล่าใหม่ พร้อมกับพลิกแพลงทัศนคติต่อเพศ ชะรอยผู้กำกับลายครามคงจะมีทีเด็ดไม้ตายไหนมาสร้างความฮือฮาแก่คนดูได้อีกเรื่อย ๆ | ||
+ | |||
+ | - จบ - | ||
+ | |||
+ | |||
+ | แปลจาก | ||
+ | |||
+ | Freiberg, Freda. 2006. "Miyazaki’s Heroines".http://sensesofcinema.com/2006/feature-articles/miyazaki-heroines/ |
การปรับปรุง เมื่อ 09:56, 20 ธันวาคม 2556
เด็กผู้หญิงมีบทบาทโดดเด่นเสมอในสื่อสาธารณะของญี่ปุ่นรวมถึงภาพยนตร์และวรรณกรรม วัฒนธรรมญี่ปุ่นหมกมุ่นกับภาวะคาบลูกคาบดอกระหว่างวัยเยาว์กับวัยเจริญพันธุ์ ความไร้เดียงสากับวุฒิภาวะ ความอ่อนแอกับอำนาจ และอิสตรีกับชายชาตรีที่ห่อหุ้ม shojo ไว้ ผลงานในค.ศ.2004 เรื่อง Howl’s Moving Castle ของฮายาโอะ มิยาซากิ(Hayao Miyazaki) กล่าวถึงเด็กหญิงต้องคำสาบให้กลายเป็นยายแก่แร้งทึ้ง และเนื้อหาหลักของหนังก็จะเป็นการถ่ายทอดวิบากกรรมความทุกข์ทรมานจากความชราภาพของตัวละครชื่อโซฟี
เธอตกบันไดพลอยโจนได้ออกผจญภัยทางจิตวิญญาณไปในโลกจินตนาการ โดยมีคณะพรรคประกอบด้วยหุ่นไล่กาตีนพัด(fleet-footed scarecrow) ปีศาจ(เคย)พ่นไฟได้ จิ้งเหลนนักฝัน และลูกศิษย์วัยกระเตาะ แหล่งซ่องสุมของพวกเขาคือยานรูปทรงหัวมังกุฏท้ายมังกรประกอบขึ้นตามมีตามเกิดจากวัสดุตามธรรมชาติและอะไหล่กล ขับเคลื่อนด้วยพลังไอน้ำจากพลังไฟพ่นอันกระเสาะกระแสะของปีศาจคัลซิเฟอร์(Calcifer)
ภารกิจอันหนักหน่วงเหนือใดปานของคุณยายโซฟีในฐานะผู้บังคับการยานคือการเก็บกวาดเช็ดถูความอีลุ่ยฉุยแฉกจากน้ำมือลูกเรือเพศชาย ต่อมาไม่นานเธอเป็นหัวหอกรณรงค์ยุติสงครามในสมรภูมิโลกภายนอก แววการเป็นคนเจ้าปัญญา กล้าหาญ และกล้าได้กล้าเสียของเธอฉายข่มบรรดาขุนพลรุ่นหนุ่มทั้งคณะ หนำซ้ำยังเป็นพลังฉุดรั้งให้ทุกคนตระหนักถึงปัญหาและเสียสละตนเพื่อหน้าที่ ตลอดจนมีความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวเพื่อบรรลุจุดหมายร่วมกัน คนดูรู้ดีแก่ใจว่าแท้ที่จริงยายแก่คือร่างจำแลงของเด็กหญิงตัวเอก ตัวตนของเธอหล่อหลอมขึ้นจากส่วนผสมอันลงตัวระหว่างบุคลิกของเพศหญิงและเพศชายตามขนบเช่นเดียวกับตัวเอกหญิงของมิยาซากิทุกเรื่อง
เงื่อนภาวะว่าด้วย shojoได้รับความสนใจกว้างขวางในแวดวงญี่ปุ่นศึกษา โดยที่หัวข้อการอภิปรายจะตั้งอยู่บนสาระสำคัญ 3 ประการคือ ในประการแรกจะเป็นเรื่องของอัตลักษณ์ กล่าวคือ ฐานภาพของ shojo จะอยู่ก้ำกึ่งระหว่างความเป็นเด็กกับผู้ใหญ่ น่ารักน่าเอ็นดูแต่ยังไม่ประสาในการดึงดูดเพศตรงข้าม แต่มีแต้มต่อในฐานะหน่ออ่อนของอิสรภาพ เธอเป็นข้อยกเว้นจากประเพณีและจารีต ความคาดหวังที่สังคมมีต่อผู้หญิงและผู้ชายวัยเจริญพันธุ์ เธอจึงมีเอกสิทธิ์คุ้มครองในการประพฤติตัวไม่เป็นโล้เป็นพาย ไม่เอาถ่าน และเอาแต่ใจ เธอฝันเฟื่องกับการเหาะเหินเดินอากาศ แผลงฤทธิ์และผจญภัยหัวหกก้นขวิดได้ตามประสา รวมตลอดจนไม่ต้องคอยแบกความรับผิดชอบใด ๆ ประการที่สองให้ความสนใจไปที่การเป็นจุดขาย การมัดใจผู้บริโภค โดยมองกันว่า shojo คือ บุคลิกในอุดมคติ เป็นดัชนีบ่งชี้และรูปตัวแทนของความน่ารักในห้วงคำนึงนักบริโภควัฒนธรรมและสินค้า สิงสถิตย์อยู่ในเครื่องประดับกระจุ๋มกระจิ๋ม ตุ๊กตา สัตว์เลี้ยงขี้อ้อน ๆ พฤติกรรมแบบเด็ก ๆ (งอน ขำ ทะโมน ชักสีหน้าสีตาเวลาตกตะลึงหรือตื่นกลัว) การแต่งองค์ทรงเครื่องและลายมือ ประการที่สามเป็นการอภิปรายในแง่ความสัมพันธ์ระหว่าง shojo กับผู้เสพ ความน่ารักไร้พิษภัยผิดกับหญิงวัยเจริญพันธุ์ที่มีพลังทางเพศและความเป็นแม่เป็นเขี้ยวเล็บ ส่งผลให้บรรดาสาวรุ่นยึดเธอเป็นแบบอย่าง แม้แต่ผู้หญิงโตเต็มวัยก็ยังขอยึดเป็นเกราะกำบังจากแรงกดดันและจารีตของสังคมต่อนางและนางสาว รวมถึงสวมรอยย้อนกลับไปดื่มด่ำกับวัยเยาว์
ภาพหญิงปลอดเขี้ยวเล็บยังถูกใจบรรดาหนุ่มน้อยหนุ่มใหญ่ผู้ขยาดกับพิษภัยจากแม่เสือสาวทั้งหลาย การย้อนสำรวจและแตกประเด็นศึกษาชี้ว่ารูปการรับรู้ต่อ shojo คอยตอกย้ำและมีผลต่อการโน้มน้าวและเป็นเวทีรองรับความโหยหาและถอยกลับไปสู่ภาวะหลงไหลตนเองและสภาพทารก หรือไม่ก็ส่งผลกลับตาลปัตรในแง่เป็นฐานที่มั่นของขบวนการก่อขบถต่อต้านค่านิยมดั้งเดิมของสังคม ในฐานะขั้วตรงข้ามและคอยส่งกำลังบำรุงอุดมการณ์สัมพันธภาพต่าง ๆ งัดข้อกับลัทธิเอดิปุสนิยม(anti-Œdipus) รักสวยรักงาม อ่อนไหว มีใจอารีเพื่อนมนุษย์ทุกรูปนาม
นางเอกของมิยาซากิส่วนใหญ่มีคุณสมบัติครบถ้วนตามตำรับการเป็น shojo ไม่ว่าจะในด้านวัยวุฒิ ความน่าเอ็นดู เมตตาสรรพสัตว์และสัตว์เลี้ยง และไม่ประสาในเรื่องเพศ ตลอดจนมีท่าทีของพระเอกขนานแท้เป็นส่วนผสมอยู่มากเกินงามไปบ้าง อย่างที่ซูซาน เนเปียร์(Susan Napier)ตั้งข้อสังเกต เพราะพวกเธออยู่ไม่สุข ชอบผจญภัยและเด็ดเดี่ยวกล้าหาญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งมูริกะผู้ได้ชื่อว่าเป็นวีรสตรีนักรบต่อกรกับปีศาจทำลายล้างสิ่งแวดล้อม ลัทธิทุนนิยม ลัทธิทหาร และอภิบาลผู้ถูกกดขี่ และกล้าเผชิญหน้าอำนาจ
ในบทอภิปรายชิ้นเอกว่าด้วยความน่าเอ็นดูในโลกญี่ปุ่น(Cuties in Japan)ของ ชารอน คินเซลลา(Sharon Kinsellar)ได้ระบุถึงวัฒนธรรมบริโภคความน่ารัก และความน่ารักดังกล่าวปรากฏร่องรอยหลายแห่งในงานของมิยาซากิเรื่องนี้แม่มดฝึกหัดชื่อกิกิในเรื่องนี้เป็นคนน่ารักอยู่ในวัยเด็กไม่ใช่ผู้ใหญ่ไม่เชิง มีเค้าความเป็นหญิงครบเครื่องแต่ไม่เดียงสาเรื่องเพศ เธอผูกผ้าคาดผมสีแดงในมาดสาวนักกีฬา มีแมวดำเป็นเพื่อนคู่หู พ่อแม่ตามใจ ตีโพยตีพายหากใครเล่นไม่ซื่อ เธอเฝ้ารอวันจะได้แต่งตัวด้วยชุดและรองเท้าสวย ๆ และทำใจไม่ได้กับสารรูปเชย ๆ ปอน ๆ ไปวัดไปวาไม่ได้ แต่เธอใช้คาถาเหาะไปช่วยเหลือผู้ที่เดือดร้อนได้
มิยาซากิสร้าง Kiki ในค.ศ.1989 นานพอดูหลังจากเขาและคู่หูคือทากาฮาระปลีกตัวจากโตอิ(Toei)ออกมาตั้งจิบลี(Ghibli studio)เพื่อผลิตผลงานตามถนัดกันเอง อันที่จริงมิยาซากิมีส่วนในการผลิตงานประเภทสาวน้อยพลังวิเศษเพื่ออกอากาศทางโทรทัศน์ภายใต้ชื่อผู้กำกับคนอื่นตั้งแต่ยังเป็นนักวาดการ์ตูนฝึกหัดของโตอิอยู่แล้ว ค.ศ.1966 เขามีผลงานให้ Maho tsuki Sally หรือ Sally, the Witch 2 ตอนด้วยกัน การ์ตูนเรื่องนี้เล่าเรื่องราวของแม่มดที่ถูกส่งตัวมายังโลกเพื่อเรียนรู้และผูกมิตรกับมนุษย์ รวมถึงใช้พลังวิเศษช่วยเหลือมนุษย์ คศ.1969 เขามีผลงานเรื่อง Himitsu no Akko-chan(Akko's Secret) ความยาว 2 ตอน ตัวละครเป็นนักเรียนหญิงธรรมดาแต่ได้รับพลังวิเศษจากกระจกวิเศษ เธอจึงแปลงร่างเป็นใครหรือสัตว์ชนิดใดก็ได้เพื่อออกช่วยเหลือเพื่อน ๆ และครอบครัว ค.ศ.1971 มิยาซากิมีผลงาน 1 ตอนกับ Sarutobu ecchan(หรือ Ecchan the ninja) ตัวนำเรื่องเป็นเด็กสาวน่ารักท่าทางไม่มีพิษมีภัย แต่มีพลังวิเศษสารพัดพิษ
นอกจากนี้มิยาซากิยังวาดการ์ตูนอันมีวรรณกรรมเยาวชนขั้นลายครามเป็นเค้าโครง ไม่ว่าจะเป็น Heidi ของยอนนา สไปรี(Johanna Spyri) Anne of Green Gable ของลูซี มอด มองต์โกเมอรี(Lucy Maud Montgomerry) ทั้งหมดกำกับโดยอิซาโอะ ทากาฮาตะ(Isao Takahata)เพื่อนคู่หูของมิยาซากิ และก็ล้วนเป็นเรื่องราวของสาวน้อยนักสู้ มิยาซากิยังพยายามจะสร้างการ์ตูนจาก The Adventures of Pippi Longstocking เพชรน้ำเอกแห่งวรรณกรรมเยาวชนของแอสตริด ลินด์เกร็น(Astrid Lindgren) แต่การขอลิขสิทธิ์เรื่องราวของเด็กหญิงผู้เด็ดเดี่ยวนี้ไม่ประสบผลดังหวัง ทั้งที่มีการไปสำรวจฉากหลังถึงสวีเดนไว้เสียดิบดี
Howl ก็เป็นอีกหนึ่งผลงานที่สร้างจากเค้าโครงของต่างประเทศ ต้นเรื่องเป็นวรรณกรรมภาษาอังกฤษสำหรับเด็กโต ตีพิมพ์ครั้งแรกในค.ศ.1986 ฝีมือนัักเ ขียนแนวจินตนาการเหนือจริงชาวอังกฤษ ไดอานา ไวน์ โจนส์(Diana Wynne Jones) เธอผู้นี้ถือเป็นเจ้าแม่ในวงการเดียวกับผู้ัแต่งแฮร์รี พ็อตเตอร์ แม้จะไม่เปรี้ยงปร้างเท่า ด้วยแนวการเขียนโครงสร้างการเล่าอันซับซ้อน เต็มไปด้วยตัวละครพิลึกพิลั่นและเวทมนต์ คาถา คำสาปสารพัดขนาน
ผลงานอันมีเรื่องแต่งจากยุโรปเป็นเค้าโครงของสตูดิโอจิบลีนั้นประกอบด้วย Rupan sensei: Kariosutoro no shiro(The Castle of Cagliostro) งานเมื่อ ค.ศ.1979 Majo no takkyubin(Kiki's Delivery Service) งานเมื่อค.ศ.1989 และ Kurenai no buta(Porco Rosse) งานค.ศ.1992
กรณีไม่มีพลังวิเศษติดตัว นางเอกของมิยาซากิก็จะมีผู้วิเศษคอยอุ้มชู เช่น นางเอกจาก Sen to Chihiro no kamikakushi(Spirited Away)งานเมื่อค.ศ.2001 nausicaa-021ในเรื่องจะมีปีศาจพ่นไฟคัลซิเฟอร์และพ่อมดคอยอุปถัมภ์ ซุ่มสั่งสมบารมีตลอดจนอัตลักษณ์ จนมีคุณสมบัติกล้าแกร่งเพียบพร้อมสมเป็นนางเอกตามแบบฉบับมิยาซากิใ นที่สุด ทั้งนี้นางเอกประเภทนี้ก็จำต้องเรียนรู้การเอาชนะความกลัวและความอ่อนแอเช่นเดียวกับไคฮิโระ(Chihiro)และกิกิอยู่ดีนั่นเอง
สุนทรียะของความน่าเอ็นดูใน Kaze no tani Naushika(Nausicaa of the Valley of the Winds) งาน ค.ศ.1984 มีให้เห็นในฉากนางเอกนักบู๊มาดมั่นได้รับสัตว์เลี้ยงตัวน้อยซึ่งคับคล้ายคับคลาจะเป็นเด็กหญิงตัวจิ๋วเสียมากกว่า(ดูจากอากัปกิริยาการหัวเราะ ช่างประจบ ท่าทีและรูปลักษณ์) ส่วนใน Mononoke - hime(Princess Mononoke)งานค.ศ.1997 ก็มีอยู่ในฉากเทพารักษ์ขี้เล่นเผยตัวกลางป่า ส่วนใน Spirited Away มีอยู่ในฉากหมัดฝุ่น(เช่นเดียวกับกิริยางอนเชิดของไคฮิโระ)
ซาน(San)ไม่น่ารัก เธอพยศและดุร้าย แถมยังปรากฏตัวครั้งแรกในสภาพเลือดเปรอะใบหน้าจากระยะใกล้ อะชิกาตะตัวเอกของเรื่องยังดูอ่อนหวานกว่าเธอเสียอีก ที่เป็นเช่นนี้เพราะมิยาซากิสอดแทรกประเด็นทางการเมืองไว้ในหนังด้วยการทวงถามความสำคัญของชาวไอนุ(Ainu)อันเป็นชนพื้นเมืองของญี่ปุ่น อะชิกาตะจึงมีบทบาทเป็นตัวกลางระหว่างลัทธิจกรวรรดินิยมและทุนนิยมญี่ปุ่นกับโลกอมนุษย์เพราะเขามาจากเผ่าพันธุ์ที่หวนคืนสู่ธรรมชาติและเคารพผีสางนางไม้ ซานไม่ยอมรับสภาพความเป็นมนุษย์และสำคัญตนว่าเป็นสมาชิกในสังคมอมนุษย์ มิยาซากิเนรมิตสภาพน่ายำเกรงและสูงส่งของธรรมชาติไว้สารพัด รวมถึงพลังบำบัดมหัศจรรย์ของจ้าวป่าเจ้าที่ในงานชิ้นนี้
ใน Spirited Away ความน่ารักน่าเอ็นดูถูกแทนที่ด้วยความอัปลักษณ์ ไม่ว่าจะเป็นหมูยักษ์สารรูปอุบาทว์ตาอันเป็นร่างจำแลงของพ่อและแม่ แม่มดแฝดต้องฤทธิ์คำสาปยูบาบา(Yubaba) และเซนิบา(Zeniba)ก็ใ หญ่ย้วยอุจาดตา ลูกชายวัยทารกของยูบาบาก็เป็นเหมือนกับก้อนเนื้องอกน่าขยะแขยงที่ผู้เป็นแม่ทั้งรักทั้งชังจากหน้าตาประหลาด จ้ำม้ำบวมฉุและอัปลักษณ์ชาติไร้ที่ติ เทพโอคุทาเรซามะก็มีเรืองร่างมโหฬารน่าเกรงขาม สารรูปของตัวละครเหล่านี้ล้วนน่าเกลียดน่ากลัวรูปพรรณสันฐานอัปลักษณ์สุดบรรยาย ไม่น่าพิสมัยแม้แต่น้อย
ร่องรอยการวิพากษ์สังคมใน Spirited Away แม้ไม่เอิกเกริกแต่การไหลย้อนทางของแม่น้ำแห่งพระเจ้าเข้าสู่ยักษ์ใจดำก็น่าจะอนุมานได้ว่าเป็นผลจากมลภาวะทางน้ำ ส่วนการที่พ่อแม่ของตัวเอกถูกสาปเป็นหมูก็น่าจะหมายถึงบทลงโทษสำหรับความละโมบ เห็นแก่ได้ เพียงแต่หนังเปรยเนื้อหาเหล่านี้ขึ้นมาลอย ๆ
องค์ประกอบว่าด้วยการผจญภัยในดินแดนเหนือจริง การผลัดรู้ด้วยประสบการณ์พิลึกพิลั่นอกสั่นขวัญแขวน มิตรภาพ และการเผชิญความทุกข์ยาก ความงดงาม และความน่าสะพรึงกลัว ในหนังจะฉุดคนดูจมดิ่งในอาณาจักรจินตภาพและฝันหวาน ฝันร้ายอันไร้ขีดจำกัด Spirited Away ต่างกับ Princess Mononoke ตรงที่งานอื่นจะมีการออกตัวว่าเหมาะกับเด็กผู้หญิงอายุ 10 ขวบขึ้นไปทั้งนี้เพื่อปลูกฝีอุทาหรณ์และขัดเกลาความคิดเด็ก ๆ โดยหนังชี้ให้เห็นว่าตัวละครเด็กหญิงในเรื่อง แม้จะเคยเป็นคนเอาแต่ใจ ขี้แย เหยาะแหยะ และหงอ แต่เมื่อผ่านกระบวนการเรียนรู้ก็ยังปรับตัวเข้ากับผู้อื่นได้ มั่นใจในตนเอง มีมานะ กล้าคิดกล้าทำ ด้วยความช่วยเหลือจากผองเพื่อน เธอจึงเอาตัวรอดได้และยังถอนคำสาปแก่บุพการี
อย่างไรก็ตามหนังก็ไม่ได้ทิ้งขว้างอนุสติ(vertige)ว่าด้วยสุนทรียะของภาวะหลุดพ้น หากมาในรูปขันติธรรมของปวงเทพและภูติ แม่น้ำแห่งพระเจ้า คาโอนาริ และวิญญาณไดกอน ภาวะหลุดพ้นจะมาในสภาพไร้ภาพและเสียง สุญญตา และความนิ่งเงียบตามคติอรูปภูมิ การปรากฏตัวของเจ้าป่า(the lord of the Forest)จึงมีแต่จอขาวโพลนพร้อมความสงัด พักหลัง ๆ ดูเหมือนเสน่ห์ของสภาพยูโทเปียนในแดนจินตนาการจะจืดจางลง มิยาซากิจึงหันไปสกัดแยกกากลัทธิจักรวรรดินิยมออกจากแนวคิดนิกายชินโต(Shintoism) แล้วสมาทานเฉพาะความเชื่อเรื่องวิญญาณธรรมชาติมาผสมโรงเข้ากับตัวหนัง ธรรมชาติจึงไม่เพียงงดงามหากยังน่าครั่นคร้าม ศักดิ์สิทธิ์ และเป็นลับแลแห่งการหลุดพ้น
Howl's Moving Castle ไม่มีภาพของธรรมชาติในมิติผู้ให้กำเนิดสรรพสิ่ง อาจเพราะหนังได้เค้าโครงมาจากวรรณกรรมยุโรป ดังนั้นจึงมีเฉพาะความสวยงามของธรรมชาติในรูปสีสัน รูปทรงของดอกไม้ ใบหญ้า ทิวทัศน์ตามหลักการจัดภาพ แต่หนังก็ต่อเติมมิติทางการเมืองเพิ่มเข้ามา ขณะที่ฉบับหนังสือไม่มีแง่มุมนี้ ในงานเขียนของไวน์ โจนส์ แม่มดแห่งการล้างผลาญ(the Witch of the Waste)เป็นฝ่ายก่อหวอดโดยใช้กำลังและไม่มีการโยงใยเข้ากับสงครามในโลกของความเป็นจริง แต่ในพากย์หนังของมิยาซากิกลับมีภาพความสยดสยองจากสงครามจริง ๆ และตัวละครโซฟีก็ปวารณาตัวออกรบเพื่อยุติสงคราม และปลุกสำนึกให้กษัตริย์หาทางดับไฟสงครามแทนที่จะมัวสนองตัณหาของฮาว(Howl) ถึงแม้จะไม่ถึงขั้นเป็นการประกาศจุดยืนทางการเมืองแต่ยากจะหักห้ามมิให้โยงฉากสะเทือนอารมณ์ดังกล่าวเข้ากับสงครามอิรัก จริงอยู่ตัวละครในงานเรื่องก่อน ๆ ของมิยาซากิ(เช่น นูซิกะ และอะริกาตะ)พยายามยับยั้งสงครามระหว่างคู่ปรปักษ์โดยวางตัวเป็นคนกลางและหาทางไกล่เกลี่ยถอดชนวนวิกฤติการณ์ จึงอาจกล่าวได้ว่ามิยาซากิถือหางฝ่ายสันติภาพนิยมและป้องปรามการสูญเสียชีวิตและทรัพย์สินรวมถึงทรัพยากรธรรมชาติอันย่อมพลอยโดนหางเลขจากสงคราม อย่างไรก็ตาม จากสถานการณ์ปัจจุบันของโลกอาจขจัดม่านหมอกในใจมิยาซากิไปได้มากและแน่วแน่พอจะปวารณาตนแก่ความคิดที่ตนฝักใฝ่
นอกจากเป็นนักรณรงค์สันติภาพ นูซิกะและอะชิกาตะยังเป็นนักรบผู้พิทักษ์สิ่งแวดล้อม นักสู้เพื่อยุติการชำเรา การสร้างมลภาวะแก่ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มิยาซากิกล่าวยอมรับในการให้สัมภาษณ์ว่า ระหว่างเขียนเนื้อเรื่องและวาดภาพนูซิกะ เขาคิดถึงกรณีมินามาตะอันเป็นผลจากการที่โรงงานอุตสาหกรรมปล่อยสารปรอทลงสู่ทะเลญี่ปุ่น สร้างมลพิษแก่ระบบนิเวศน์ของสัตว์ทะเล(เดิมทีเขาตั้งใจผลิตเป็นการ์ตูนเล่ม แต่เปลี่ยนมาเป็นหนังการ์ตูนในภายหลัง) Princess Mononoke เปิดแนวรบหลายด้าน โดยมีเป้าหมายหลักคือ ราวีกับการทำลายล้างสิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติอันเป็นผลจากการเติบโตในภาคอุตสาหกรรมโดยnausicaa-020ปราศจากมาตรการรองรับ และการลิดรอนศักดิ์ศรีการดำรงอยู่(ของผู้หญิง ชนเผ่าพื้นเมือง สัตว์ ป่าไม้)อันเป็นผลพวงจากการขยายตัวของลัทธิทุนนิยมและอำนาจนิยม หนังตั้งโจทย์กับทิศทางการเจริญเติบโตของญี่ปุ่นสมัยใหม่และไว้อาลัยแก่เหยื่อ Princess Mononoke เป็นงานที่มีเนื้อหาข้องแวะเรื่องการเมืองมากที่สุดของมิยาซากิแต่ไม่ค่อยได้รับความนิยมนอกญี่ปุ่น หนังไม่ถูกใจผู้ชมในตลาดสหรัฐและตลาดออสเตรเลียก็ตอบรับการเข้าฉายอย่างเฉยเมย หนังมีฉากเหตุการณ์เยิ่นเย้อและเนื้อหาก็ซับซ้อนเกินไปสำหรับเด็ก ๆ ส่วนคนดูผู้ใหญ่ก็มองว่าตัวเอกอายุน้อยเกินไปและปราศจากแรงดึงดูดทางเพศ
แล้วมิยาซากิผูกโยงแบบฉบับการเป็น shojo เข้ากับกระบวนการวิพากษ์สังคม แนวคิดสิ่งแวดล้อมนิยม และการบูชาธรรมชาติในลักษณะใด ด้วยเหตุที่ shojo และความน่าเอ็นดูสัมพันธ์กับลัทธิบริโภคนิยมในแง่เป็นทางถอยจากภาวะความเป็นจริงของสังคม โดยอาจถือเป็นวิถีทางของการก่ออารยะขัดขืนต่อบรรทัดฐานสังคม มิยาซากิมอบแต้มต่อในฐานะลูกผู้หญิงเป็นทุนหน้าตักและลงขันถือหาง shojo เลือดนักสู้แบบลูกผู้ชายเข้าไปในตัวละคร shojo
ตัวละคร shojo ของมิยาซากิมีแต้มต่อจากความเป็นลูกผู้หญิงเป็นทุนประเดิม และยังมีเลือดนักสู้แบบลูกผู้ชายเป็นสภาพคล่องเสริม ตัวละครพวกนี้ใช้บารมีในตัวเป็นกลไกสำคัญในการอภิบาลผู้ถูกกดขี่จากฝ่ายเผด็จการ ตลอดจนรณรงค์เพื่อปฏิวัติสังคม แทนที่จะหลงตัว โอหังกับเสน่ห์เฉพาะตัว ลอยหน้าลอยตาหว่านเสน่ห์ไปวัน ๆ นับเป็นการผสมผสานขั้วพลังหญินและหยาง หญิงกับชาย เข้าด้วยกันเพื่อสรางดุลยภาพและความสมานฉันท์ในสังคม กรณีนี้ใช้ไม่ได้กับอะชิกาตะ ตัวละครตัวนี้เข้าข่ายเป็น shonen อันเป็นแบบฉบับของเด็กหนุ่มผู้อ่อนไหวและอ่อนโยนเหมือนอิสตรี นอกจากนี้ มิยาซากิยังแต่งแต้มอุปนิสัยรักสัตว์ไว้ใน shojo เพื่อเป็นอีกหนึ่งผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรมอันสะท้อนถึงความรัและความเคารพธรรมชาติ โดยมีสิ่งศักดิ์สิทธิ์ตามคติชินโตและเผ่าไอนุทั้งในฟากมิตร สูงส่ง และชวนพรั่นพรึง เป็นลูกคู่
อาจกล่าวได้ว่าแม้นางเอกของมิยาซากิจะเป็นนักสู้แต่ก็ไม่อยู่ในสายตาอิตถีนิยม พวกเธอไม่มีแววว่าจะแบ่งเขาแบ่งเรากับผู้หญิงด้วยกัน อีกทั้งก็ไม่เอาเรื่องสิทธิสตรีมาเป็นอารมณ์ สถานภาพของพวกเธอเป็นขั้วตรงข้ามกับภาพแม่แบบของหญิงสาววัยเจริญพันธุ์ (คุณแม่จอมจู้จี้ นางตัวแสบ) ออกจะลักเพศ แต่อยู่ในกรอบของการ์ตูนวิทยาศาสตร์อันมีจุดใหญ่ใจความอยู่ที่วีรกรรมเหล่ามานพ(shonen) การพิชิตอธรรมของเพศชาย ปมขัดแย้งจึงไม่ได้เกิดจากประเด็นของเพศ(หญิงกับชาย) แต่เกิดจากวัย(หนุ่มสาว กับผู้ใหญ่) และก่อตัวเป็นรูปเป็นร่างจากจินตนาการถึงความห้าวหาญมุ่งมั่นของคนรุ่นใหม่ เสริมแต่งด้วยจินตภาพถึงการก่อหวอดของคนรุ่นใหม่ คุณนายอิโบชิ(Eboshi)แม่เลี้ยงของเหล่าอดีตโสเภณีใน Princess Mononoke อันที่จริงก็คอยขูดรีดแรงงานและลำเลิกบุญคุณจากพวกหญิงอาภัพใต้อาณัติ
หากไม่นับกรณี Torari no Totora(My Neighbour Totoro งานค.ศ.1988)แล้ว นางเอกห้าวเล็ก ๆ ในหนังมิยาซากิมักเป็นเด็กหัวเดียวกระเทียมลีบ ไม่มีเพื่อนพ้องน้องพี่เพศเดียวกัน และไม่เดียงสากับเพศตรงข้าม ในภาควรรณกรรมนั้นไดอานา ไ วน์ โจนส์แต่งเรื่องให้โซฟีมีน้องสาว 2 คน แต่ในฉบับหนังนั้นมิยาซากิตัดตัวละครร่วมอุทรเหล่านี้ออกทั้งหมด San และไคฮิโระต่างมีเพื่อนชายคนพิเศษแต่ความสัมพันธ์ก็ไม่ได้เบ่งบานไปถึงขั้นคู่รัก หากจะเหนียวแน่นในฐานะคู่คิด พี่ชาย-น้องสาวในอุดมคติ(Platonic)เสียมากกว่า แม้ไม่มีแม่เป็นตัวเป็นตนอยู่ในหนัง แต่พลังของเพศแม่ก็แผ่อิทธิพลเข้าแทนที่พลังขั้วพ่ออันเป็นขั้วอำนาจเก่าในการ์ตูนวิทยาศาสตร์ และพวกหนุ่ม ๆ ก็จะเอาแต่สนุก ไร้สาระไปวัน ๆ
มิยาซากิสะท้อนท่าทีเบื่อหน่ายตัวละครประเภทคุณชายอ้อนแอ้น ผ่านออกมาทางตัวละครองค์ชายเรือนร่างสูงชะลูด สำรวย ม่านตาสีฟ้า ผมหยักโศกสีบลอนด์ห้อยระย้า แช่มช้อย จีบปากจีบคอ ตามตำราพระเอกของละครน้ำเน่าไม่ก็เทพนิยายจักร ๆ วงศ์ ๆ ของยุโรปอันเป็นขวัญใจเด็กสาวญี่ปุ่น
ก่อนถูกสาป โซฟีเป็นสาวโสดผู้มีฝีมือในการทอผ้า เธอไม่ใช่สาวรุ่นมัธยม เธอกลายเป็นยายแก่แร้งทึ้งด้วยผลของคำสาป ช่วงชีวิตหลังจากนั้นมีแต่ต้องตกระกำลำบากตามประสาคนชราดุจเดียวกับตัวผู้กำกับ
มิยาซากิร่ำ ๆ จะเกษียณตัวเองมาตั้งแต่เสร็จงานกำกับ Princess Mononoke ทว่าก็ยังล้างมือในอ่างทองคำไม่สำเร็จ แถมยังหวนคืนยุทธจักรวาดลวดลายการปรุงสูตรเรื่องเล่าใหม่ พร้อมกับพลิกแพลงทัศนคติต่อเพศ ชะรอยผู้กำกับลายครามคงจะมีทีเด็ดไม้ตายไหนมาสร้างความฮือฮาแก่คนดูได้อีกเรื่อย ๆ
- จบ -
แปลจาก
Freiberg, Freda. 2006. "Miyazaki’s Heroines".http://sensesofcinema.com/2006/feature-articles/miyazaki-heroines/