ความคุ้มค่าของการคัดกรองแอลบูมินปริมาณน้อยในปัสสาวะในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2
จาก ChulaPedia
(หน้าที่ถูกสร้างด้วย ''''ความคุ้มค่าของการคัดกรองแอลบูมินปริมาณน้อยในป…') |
|||
แถว 1: | แถว 1: | ||
- | '''ความคุ้มค่าของการคัดกรองแอลบูมินปริมาณน้อยในปัสสาวะ microalbuminuria)ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2''' | + | '''ความคุ้มค่าของการคัดกรองแอลบูมินปริมาณน้อยในปัสสาวะ (microalbuminuria)ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2''' |
+ | |||
''Cost-effectiveness analysis of microalbuminuria screening in type 2 diabetic patients'' | ''Cost-effectiveness analysis of microalbuminuria screening in type 2 diabetic patients'' | ||
รุ่นปัจจุบันของ 08:51, 23 ธันวาคม 2556
ความคุ้มค่าของการคัดกรองแอลบูมินปริมาณน้อยในปัสสาวะ (microalbuminuria)ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2
Cost-effectiveness analysis of microalbuminuria screening in type 2 diabetic patients
เบาหวานเป็นสาเหตุที่พบมากที่สุดของโรคไตระยะสุดท้ายที่จำเป็นต้องได้รับการบำบัดทดแทนไต ส่งผลกระทบต่อค่ารักษาและคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย การคัดกรองแอลบูมินปริมาณน้อยในปัสสาวะ และให้การรักษาช่วยชะลอการเกิดโรคไตระยะสุดท้ายได้ การศึกษานี้เป็นการประเมินทางเศรษฐศาสตร์ของการคัดกรองแอลบูมินปริมาณน้อยในปัสสาวะด้วยแถบจุ่มปัสสาวะเปรียบเทียบกับการไม่คัดกรอง ด้วยการวิเคราะห์ต้นทุน-ประสิทธิผลในมุมมองของสังคม โดยการจำลองการคัดกรองผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 อายุ 45 ปี จำนวน 10,000 คน ผู้ที่ผลคัดกรองเป็นลบจะได้รับการคัดกรองทุกปีเป็นเวลา 30 ปี ผู้ป่วยที่การคัดกรองให้ผลบวกในแต่ละปีจะเข้าสู่แบบจำลองความน่าจะเป็นของเหตุการณ์สุขภาพที่จะเกิดในอนาคต (Markov model)คำนวณอัตราลดที่ร้อยละ 3 ต่อปี ผลการศึกษาพบว่าการประเมินต้นทุน-ประสิทธิผลของการคัดกรองแอลบูมินปริมาณน้อยในปัสสาวะด้วยแถบจุ่มปัสสาวะมีต้นทุนส่วนที่เพิ่มต่อปีสุขภาวะน้อยกว่า 1 เท่าของของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศต่อหัวประชากรซึ่งมีความคุ้มค่ามาก เนื่องจากต้นทุนที่ต้องจ่ายต่อปีสุขภาวะน้อยกว่าศักยภาพทางเศรษฐกิจของประเทศตามเกณฑ์ขององค์การอนามัยโลก ทั้งนี้ ผู้กำหนดนโยบายควรบรรจุการคัดกรองแอลบูมินปริมาณน้อยในปัสสาวะไว้ในชุดสิทธิประโยชน์สำหรับผู้ป่วยเบาหวานเพื่อชะลอความเสื่อมของไตต่อไป
(== อ้างอิง ==) อรรถสิทธิ์ ศรีสุบัติ, "ความคุ้มค่าของการคัดกรองแอลบูมินปริมาณน้อยในปัสสาวะ (microalbuminuria) ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2", (วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต สาขาการวิจัยและการจัดการด้านสุขภาพ ภาควิชาเวชศาสตร์ป้องกันและสังคม คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555)