“กรุณา” “หน่อย”: ที่มาของคำแสดงการขอร้องในภาษาไทย

จาก ChulaPedia

(ความแตกต่างระหว่างรุ่นปรับปรุง)
ข้ามไปที่: นำทาง, สืบค้น
แถว 5: แถว 5:
'''กระบวนการสูญคุณสมบัติของหมวดคำเดิม''' เช่น คำกริยา “กรุณา” มีคุณสมบัติสำคัญคือ มีคำวิเศษณ์มาขยายได้ เช่น ''“คุณตาของเธอ'''กรุณา'''ฉัน'''มาก'''”'' แต่เมื่อ “กรุณา” กลายเป็นคำแสดงการขอร้องจะมีคำวิเศษณ์มาขยายไม่ได้ เช่น ''"'''กรุณา'''งดสูบบุหรี่'''มาก'''"''
'''กระบวนการสูญคุณสมบัติของหมวดคำเดิม''' เช่น คำกริยา “กรุณา” มีคุณสมบัติสำคัญคือ มีคำวิเศษณ์มาขยายได้ เช่น ''“คุณตาของเธอ'''กรุณา'''ฉัน'''มาก'''”'' แต่เมื่อ “กรุณา” กลายเป็นคำแสดงการขอร้องจะมีคำวิเศษณ์มาขยายไม่ได้ เช่น ''"'''กรุณา'''งดสูบบุหรี่'''มาก'''"''
'''กระบวนการจางลงทางความหมาย และกระบวนการคงเค้าความหมายเดิม''' เช่น ความหมายของคำกริยา “กรุณา” ซึ่งมีความหมายแสดงความสงสาร ความเสียสละและบุญคุณได้หายไป เหลือเพียงเค้าความหมายของความสงสารคิดช่วยเหลือ และมีความหมายของการสั่งอย่างสุภาพเพิ่มเข้ามาแทน
'''กระบวนการจางลงทางความหมาย และกระบวนการคงเค้าความหมายเดิม''' เช่น ความหมายของคำกริยา “กรุณา” ซึ่งมีความหมายแสดงความสงสาร ความเสียสละและบุญคุณได้หายไป เหลือเพียงเค้าความหมายของความสงสารคิดช่วยเหลือ และมีความหมายของการสั่งอย่างสุภาพเพิ่มเข้ามาแทน
-
'''อ้างอิง''': นพวรรณ เมืองแก้ว. 2556. คำแสดงการขอร้องในภาษาไทย: การศึกษาตามแนวทฤษฎีการกลายเป็นคำไวยากรณ์. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ภาควิชาภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
+
 
 +
== '''อ้างอิง''' ==
 +
: นพวรรณ เมืองแก้ว. 2556. คำแสดงการขอร้องในภาษาไทย: การศึกษาตามแนวทฤษฎีการกลายเป็นคำไวยากรณ์. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ภาควิชาภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

การปรับปรุง เมื่อ 10:10, 26 กุมภาพันธ์ 2557

กรุณาส่งเอกสารด้านหน้าค่ะ” “ขอลางานหน่อยนะครับ” ประโยคขอร้องดังกล่าว มีโครงสร้างเป็นประโยคคำสั่งที่มีการเติมคำว่า “กรุณา” ไว้ข้างหน้าและเติมคำว่า “หน่อย”ไว้ข้างท้ายประโยค เพื่อทำให้เกิดความหมายขอร้องอย่างสุภาพ คำทั้งสองมีความหมายประจำคำที่แตกต่างกัน เมื่อผู้ใช้ภาษานำคำเหล่านี้มาช่วยเสริมการขอร้องทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงจากคำที่มีเพียงความหมายประจำคำ (lexical meaning) ได้แก่คำกริยา “กรุณา” หมายถึง สงสารคิดช่วยเหลือ และคำบอกปริมาณ “หน่อย” หมายถึง น้อย กลายมาเป็นคำที่มีความหมายทางไวยากรณ์ (grammatical meaning) คือ ใช้เป็นคำแสดงการขอร้อง (requestive marker) ด้วย ในภาษาไทยปัจจุบันคำทั้งสอง ปรากฏใช้ 2 หน้าที่ ได้แก่ คำว่า “กรุณา” เป็นได้ทั้งคำกริยาและคำแสดงการขอร้อง และคำว่า “หน่อย” เป็นได้ทั้งคำบอกปริมาณและคำแสดงการขอร้อง เกณฑ์ที่ใช้จำแนก ได้แก่ เกณฑ์ทางวากยสัมพันธ์ เช่น “กรุณา” ที่เป็นคำแสดงการขอร้องมักจะไม่ปรากฏร่วมกับประธานในประโยค เช่น กรุณาถอดรองเท้าก่อนเข้าห้อง” ในขณะที่ “กรุณา” ที่เป็นคำกริยามักจะปรากฏร่วมกับประธานในประโยค เช่น “คุณลุงกรุณาขับรถมาส่งฉัน” และเกณฑ์ทางอรรถศาสตร์ เช่น “หน่อย” ที่เป็นคำแสดงการขอร้องแทนที่ด้วยคำว่า “มาก” ไม่ได้ เช่น “พาเรากลับบ้านหน่อย เป็น “*พาเรากลับบ้านมาก ไม่ได้ ในขณะที่ “หน่อย” ที่เป็นคำบอกปริมาณแทนที่ด้วยคำว่า “มาก” ได้ เช่น “ตอนนี้สบายขึ้นหน่อย เป็น “ตอนนี้สบายขึ้นมาก ได้ ปัจจัยที่ช่วยกระตุ้นให้คำทั้งสองกลายเป็นคำแสดงการขอร้อง ได้แก่ ปัจจัยทางวากยสัมพันธ์ เนื่องจากประโยคในภาษาไทยอนุญาตให้คำกริยาเกิดเรียงต่อกันได้ คำว่า “กรุณา” ที่เป็นคำแสดงการขอร้องจึงน่าจะพัฒนามาจากประโยคที่มีคำว่า “กรุณา” เป็นคำกริยาหลักปรากฏหน้าคำกริยาตัวอื่นๆ เรียงต่อกันในประโยค และปัจจัยทางอรรถศาสตร์ เช่น ความหมายประจำคำของคำบอกปริมาณ “หน่อย” มีความหมายแสดงปริมาณน้อย จึงทำให้ผู้พูดเลือกใช้ความหมายนี้เพื่อสื่อไปยังผู้ฟังว่า การขอร้องเป็นเรื่องเล็กน้อยและไม่เป็นภาระหรือสร้างความลำบากให้แก่ผู้ฟัง การกลายเป็นคำไวยากรณ์ครั้งนี้ผ่านกระบวนการทางภาษาที่สำคัญ เช่น กระบวนการสูญคุณสมบัติของหมวดคำเดิม เช่น คำกริยา “กรุณา” มีคุณสมบัติสำคัญคือ มีคำวิเศษณ์มาขยายได้ เช่น “คุณตาของเธอกรุณาฉันมาก แต่เมื่อ “กรุณา” กลายเป็นคำแสดงการขอร้องจะมีคำวิเศษณ์มาขยายไม่ได้ เช่น "กรุณางดสูบบุหรี่มาก" กระบวนการจางลงทางความหมาย และกระบวนการคงเค้าความหมายเดิม เช่น ความหมายของคำกริยา “กรุณา” ซึ่งมีความหมายแสดงความสงสาร ความเสียสละและบุญคุณได้หายไป เหลือเพียงเค้าความหมายของความสงสารคิดช่วยเหลือ และมีความหมายของการสั่งอย่างสุภาพเพิ่มเข้ามาแทน

อ้างอิง

นพวรรณ เมืองแก้ว. 2556. คำแสดงการขอร้องในภาษาไทย: การศึกษาตามแนวทฤษฎีการกลายเป็นคำไวยากรณ์. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ภาควิชาภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เครื่องมือส่วนตัว