ข้าราชการระดับสูงกับการปฏิรูประบบราชการ

จาก ChulaPedia

(ความแตกต่างระหว่างรุ่นปรับปรุง)
ข้ามไปที่: นำทาง, สืบค้น
52842683 (พูดคุย | เรื่องที่เขียน)
(หน้าที่ถูกสร้างด้วย '== เหตุใดข้าราชการระดับสูงจึงสามารถเข้าไปมีอิทธิ…')

รุ่นปัจจุบันของ 06:26, 7 มีนาคม 2557

เหตุใดข้าราชการระดับสูงจึงสามารถเข้าไปมีอิทธิพลในการปฏิรูประบบราชการได้

ปัจจัยฐานอำนาจที่สนับสนุนให้ข้าราชการระดับสูงสามารถเข้าไปมีอิทธิพลต่อการปฏิรูประบบราชการ ปัจจัยฐานอำนาจที่สำคัญที่สุดของข้าราชการระดับสูง คือ ต้นทุนส่วนบุคคล ซึ่งหมายถึงความเชี่ยวชาญหรือประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องกับภารกิจการปฏิรูประบบราชการ เครือข่ายสายสัมพันธ์กับชนชั้นนำหรือนักการเมืองที่มีอำนาจในขณะนั้น หรือประวัติการศึกษาที่โดดเด่นกว่าตัวแสดงอื่น และปัจจัยฐานอำนาจที่มีความสำคัญรองลงมาคือสภาพแวดล้อมนโยบาย ซึ่งหมายถึง สภาพทางสังคมและเศรษฐกิจที่สนับสนุนให้ข้อเสนอในการขยายโครงสร้างหรือจัดตั้งส่วนราชการใหม่ให้มีความน่าเชื่อถือ และสมเหตุสมผล ในขณะที่ทรัพยากรทางการบริหาร และอำนาจตามกฎหมายนั้นเป็นปัจจัยฐานอำนาจที่มีความสำคัญค่อนข้างน้อย

จากผลการศึกษาดังกล่าว พบว่า ต้นทุนส่วนบุคคลเป็นปัจจัยฐานอำนาจที่สำคัญที่สุดของข้าราชการระดับสูงในบริบทของสังคมไทย


ข้าราชการระดับสูงเข้าไปมีอิทธิพลในการปฏิรูประบบราชการด้วยวิธีการอย่างไร

วิธีการที่ข้าราชการระดับสูงใช้ในการมีอำนาจและอิทธิพลต่อการปฏิรูประบบราชการ วิธีการที่ข้าราชการระดับสูงใช้เพื่อมีอิทธิพลเหนือการปฏิรูประบบรากชารมากที่สุด คือ การเข้าไปอยู่ในตำแหน่งที่เกี่ยวข้องกับการปฏิรูประบบราชการอย่างเป็นทางการ เช่น การเป็นคณะทำงานจัดระเบียบส่วนราชการ การได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมาธิการซึ่งเป็นตัวแทนของรัฐบาล เป็นต้น ซึ่งการเข้าไปอยู่ในตำแหน่งดังกล่าวทำให้ข้าราชการระดับสูงสามารถผลักดันข้อเสนอโครงสร้างที่ตนเองต้องการได้ ขณะที่การสร้างความมีเหตุมีผลและการยอมรับเพื่อให้ตัวแสดงอื่นๆ เห็นว่าข้อเสนอมีเหตุมีผล และการสร้างพันธมิตรและความร่วมมือกับตัวแสดงที่เกี่ยวข้อง เป็นวิธีการที่พบมากเป็นอันดับที่สอง และสาม ตามลำดับ ที่ข้าราชการระดับสูงใช้ในการมีอิทธิพลเหนือการปรับปรุงโครงสร้างของกรณีศึกษา

ข้าราชการระดับสูงในหน่วยปฏิบัติการมิใช่ผู้แพ้ ที่ถูกควบคุมจากข้าราชการหน่วยงานกลางซึ่งเป็นผู้ชนะจากการเป็นเจ้าของการปฏิรูประบบราชการตามที่ Bowornwathana (2010) ระบุเสมอไป เนื่องจากข้าราชการระดับสูงหน่วยปฏิบัติการสามารถใช้วิธีการอื่นๆ ตามอำนาจหน้าที่เฉพาะด้านของตน (Poocharoen, 2012) โน้มน้าวหรือสร้างเงื่อนไขให้ฝ่ายการเมืองสนับสนุนข้อเสนอของตนในการประชุมคณะรัฐมนตรี เพื่อมีอำนาจในนโยบายเหนือข้าราชการระดับสูงหน่วยงานกลางได้

ทั้งนี้ ในสภาพแวดล้อมที่สนับสนุนให้ข้าราชการระดับสูงสามารถมีอิทธิพลต่อการปฏิรูประบบราชการมากที่สุดคือ ช่วงการปกครองโดยรัฐบาลที่มาจากการรัฐประหาร ซึ่งข้าราชการระดับสูงและอดีตข้าราชการระดับสูงได้ถูกแต่งตั้งให้ทำหน้าที่ในสภานิติบัญญัติด้วยตัวเอง ดังนั้น ข้าราชการระดับสูงจึงสามารถเข้าไปผลักดันข้อเสนอการปฏิรูประบบราชการที่ตนเองมีส่วนได้ส่วนเสียในกระบวนการนิติบัญญัติได้ในนามของรัฐบาล หรือสมาชิกสภานิติบัญญัติได้โดยตรง

อย่างไรก็ตาม ในช่วงปกครองโดยรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง ข้าราชการระดับสูงสามารถเข้าไปมีอิทธิพลต่อการปฏิรูประบบราชการในชั้นของกระบวนการนิติบัญญัติได้ ในรูปแบบกรรมาธิการ หรือเลขานุการคณะกรรมาธิการ โดยต้องได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งด้วย

นอกจากนี้ ส่วนใหญ่การปรับปรุงโครงสร้างส่วนราชการที่ไม่จำเป็นต้องแก้ไขกฎหมายในชั้น พ.ร.บ. ข้าราชการระดับสูงสามารถมีอิทธิพลในการกำหนดนโยบายได้ผ่านการให้คำแนะนำต่อคณะรัฐมนตรี ตามที่ Riggs (2009) ระบุไว้ และยังสามารถมีอิทธิพลต่อนโยบายโดยการแลกเปลี่ยนผลประโยชน์ระหว่างฝ่ายการเมืองที่มีอำนาจตัดสินใจ และข้าราชการระดับสูงที่มีอำนาจในการนำนโยบายไปปฏิบัติด้วย


ที่มา: วิทยานิพนธ์เรื่องข้าราชการระดับสูงกับการปฏิรูประบบราชการในประเทศไทย

เครื่องมือส่วนตัว