การจัดการคลังสถาบันในห้องสมุดมหาวิทยาลัย

จาก ChulaPedia

(ความแตกต่างระหว่างรุ่นปรับปรุง)
ข้ามไปที่: นำทาง, สืบค้น
(หน้าที่ถูกสร้างด้วย '== '''บทคัดย่อ''' == การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพ…')
แถว 1: แถว 1:
== '''บทคัดย่อ''' ==
== '''บทคัดย่อ''' ==
-
    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการจัดการคลังสถาบันในห้องสมุดมหาวิทยาลัยในด้าน วัตถุประสงค์ นโยบาย งบประมาณ บุคลากรที่รับผิดชอบ ทรัพยากรสารสนเทศในคลังสถาบัน เทคโนโลยีที่ใช้ การให้บริการ วิธีการประชาสัมพันธ์ และการประเมินผล ตลอดจนปัญหาที่ห้องสมุดมหาวิทยาลัยประสบในการจัดการคลัง
+
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการจัดการคลังสถาบันในห้องสมุดมหาวิทยาลัยในด้าน วัตถุประสงค์ นโยบาย งบประมาณ บุคลากรที่รับผิดชอบ ทรัพยากรสารสนเทศในคลังสถาบัน เทคโนโลยีที่ใช้ การให้บริการ วิธีการประชาสัมพันธ์ และการประเมินผล
-
สถาบัน โดยใช้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล
+
ตลอดจนปัญหาที่ห้องสมุดมหาวิทยาลัยประสบในการจัดการคลังสถาบัน โดยใช้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล
-
        ผลการวิจัยพบว่า คลังสถาบันส่วนใหญ่มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดเก็บและให้บริการผลงานทางวิชาการของประชาคมมหาวิทยาลัย และ เพื่อส่งเสริมการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการของประชาคมมหาวิทยาลัย มีการกำหนดนโยบายแบบไม่เป็นลายลักษณ์อักษร และมีการจัดสรรงบประมาณสำหรับการจัดการคลังสถาบันในด้าน
+
ผลการวิจัยพบว่า คลังสถาบันส่วนใหญ่มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดเก็บและให้บริการผลงานทางวิชาการของประชาคมมหาวิทยาลัย และ เพื่อส่งเสริมการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการของประชาคมมหาวิทยาลัย มีการกำหนดนโยบายแบบไม่เป็นลายลักษณ์อักษร และมีการจัดสรร
-
เทคโนโลยี และ ด้านการพัฒนาบุคลากร ได้รับงบประมาณจากมหาวิทยาลัยต้นสังกัด นอกจากนั้น คลังสถาบันทุกแห่งมีฝ่าย /งานภายในเป็นผู้รับผิดชอบในการจัดการคลังสถาบัน จัดเก็บทรัพยากรสารสนเทศประเภทวิทยานิพนธ์ บทความวิชาการ บทความวิจัย และรายงานการวิจัย ใช้โปรแกรมดีสเปซ (DSpace) ในการจัดการ
+
งบประมาณสำหรับการจัดการคลังสถาบันในด้านเทคโนโลยี และ ด้านการพัฒนาบุคลากร ได้รับงบประมาณจากมหาวิทยาลัยต้นสังกัด นอกจากนั้น คลังสถาบันทุกแห่งมีฝ่าย /งานภายในเป็นผู้รับผิดชอบในการจัดการคลังสถาบัน จัดเก็บทรัพยากรสารสนเทศประเภทวิทยานิพนธ์
-
คลังสถาบัน ให้บริการผู้ใช้ทั้งสองกลุ่ม คือ ประชาคมมหาวิทยาลัย และ บุคคลทั่วไป คลังสถาบันทุกแห่งมีการประชาสัมพันธ์โดยส่วนใหญ่ใช้วิธีการแจ้งให้ทราบในกิจกรรมปฐมนิเทศนิสิต / นักศึกษาใหม่ และ การจัดทำประกาศบนเว็บไซต์ห้องสมุด คลังสถาบันส่วนใหญ่ประเมินผลการจัดการและการดำเนินงานคลังสถาบัน
+
บทความวิชาการ บทความวิจัย และรายงานการวิจัย ใช้โปรแกรมดีสเปซ (DSpace) ในการจัดการคลังสถาบัน ให้บริการผู้ใช้ทั้งสองกลุ่ม คือ ประชาคมมหาวิทยาลัย และ บุคคลทั่วไป คลังสถาบันทุกแห่งมีการประชาสัมพันธ์โดยส่วนใหญ่ใช้วิธีการแจ้งให้ทราบในกิจกรรม
-
โดยประเมินผลจากทั้งผู้ใช้บริการ และผู้ปฏิบัติงาน สำหรับปัญหาที่ห้องสมุดมหาวิทยาลัยประสบในการจัดการคลังสถาบัน พบว่า ห้องสมุดมหาวิทยาลัยประสบปัญหาในระดับปานกลาง และระดับน้อย โดยปัญหาที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดได้แก่ ปัญหาด้านบุคลากร
+
ปฐมนิเทศนิสิต / นักศึกษาใหม่ และ การจัดทำประกาศบนเว็บไซต์ห้องสมุด คลังสถาบันส่วนใหญ่ประเมินผลการจัดการและการดำเนินงานคลังสถาบันโดยประเมินผลจากทั้งผู้ใช้บริการ และผู้ปฏิบัติงาน สำหรับปัญหาที่ห้องสมุดมหาวิทยาลัยประสบในการจัดการคลังสถาบัน
-
 
+
พบว่า ห้องสมุดมหาวิทยาลัยประสบปัญหาในระดับปานกลาง และระดับน้อย โดยปัญหาที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดได้แก่ ปัญหาด้านบุคลากร
-
 
+
-
== '''บทนำ''' ==
+
-
    มหาวิทยาลัย เป็นสถาบันการศึกษาทางวิชาการขั้นสูงของประเทศ มีพันธกิจและภารกิจในการจัดเรียนการสอน การค้นคว้าวิจัย การให้บริการทางวิชาการ และการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม โดยมีห้องสมุดมหาวิทยาลัยเป็นหน่วยงานสำคัญหน่วยงานหนึ่งที่จะทำหน้าที่ในการส่งเสริมการดำเนินงานตามพันธกิจและภารกิจของสถาบันต้นสังกัด และเป็นโครงสร้างพื้นฐานที่จะช่วยเสริมสร้างความแข็งแกร่งทางวิชาการและการวิจัยให้กับมหาวิทยาลัย (ทบวงมหาวิทยาลัย 2544: 2) ห้องสมุดมหาวิทยาลัยเป็นแหล่งสารสนเทศที่ช่วยสนับสนุนข้อมูลเพื่อการสร้างองค์ความรู้ใหม่ที่มีความสอดคล้องกับบริบทของสังคมและภูมิปัญญาไทย เพื่อการยกระดับวัฒนธรรมการเรียนรู้ของบุคคลให้กลายเป็นทรัพยากรบุคคลที่มีคุณภาพสำหรับการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมที่ยั่งยืน (สุวิมล ธนะผลเลิศ 2551: 1) นอกจากนี้ห้องสมุดมหาวิทยาลัยยังมีความสำคัญและมีบทบาทในการเป็นแหล่งทรัพยากรเพื่อการเรียนรู้ในสถาบันที่จะต้องมีการพัฒนาให้มีความทันสมัยอย่างต่อเนื่อง เพื่อใช้เป็นแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิตแหล่งหนึ่งของบุคลากรภายในสถาบัน และบุคคลทั่วไป (สุริทอง ศรีสะอาด 2544: 9-11
+
-
    ในปัจจุบันได้เกิดความเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นความเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และเทคโนโลยี ที่ส่งผลกระทบต่อทุกองค์กรทุกภาคส่วน ส่งผลให้องค์กรที่ได้รับผลกระทบจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบการดำเนินงานให้เข้ากับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป ห้องสมุดมหาวิทยาลัยเป็นองค์กรหนึ่งที่ได้รับผลกระทบจากความเจริญก้าวหน้าและการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและระบบเครือข่าย ทั้งยังต้องเผชิญกับภาวการณ์ทะลักของสารสนเทศ (Information explosion) อันเนื่องมาจากความเจริญก้าวหน้าของวิทยาการต่าง ๆ ที่เป็นไปอย่างรวดเร็ว จากการที่ผลการค้นคว้าวิจัย การค้นพบหลักการ ทฤษฎี และความรู้ใหม่ ๆ ทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมีมากขึ้น ทำให้นักวิชาการเกิดความตื่นตัวและผลิตสารสนเทศออกมาเป็นจำนวนมาก ซึ่งอาจทำให้เกิดปัญหาในการจัดเก็บสารสนเทศ การค้นคืนสารสนเทศได้ช้า หรือไม่พบสารสนเทศที่ต้องการ ในขณะที่ความต้องการสารสนเทศของผู้ใช้เปลี่ยนไป กล่าวคือมีความต้องการสารสนเทศที่มีเนื้อหาเฉพาะเจาะจง ทันสมัย ถูกต้อง รวดเร็ว และตรงตามความต้องการ ดังนั้นห้องสมุดมหาวิทยาลัยจึงได้นำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาช่วยในกระบวนการจัดเก็บ ค้นคืน และเผยแพร่สารสนเทศ เพราะวิธีการดำเนินงานของห้องสมุดแบบเดิมอาจไม่สามารถตอบสนองต่อความต้องการของผู้ใช้ดังที่กล่าวไว้ข้างต้นได้ดีเท่าที่ควร ในขณะที่การปรับเปลี่ยนและพัฒนาการดำเนินงานให้มีความทันสมัย  รวดเร็ว จะช่วยให้สามารถจัดการกับสารสนเทศทางวิชาการจำนวนมากได้ รวมทั้งยังสอดคล้องกับพันธกิจและภารกิจ วัตถุประสงค์ของการศึกษา รูปแบบและวิธีจัดการเรียนการสอนในมหาวิทยาลัยที่เปลี่ยนไป เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง (นฤมล กิจไพศาลรัตนา 2552: 1) การปรับเปลี่ยนและพัฒนาการดำเนินงานห้องสมุดนี้ ยังครอบคลุมทั้งเรื่องรูปแบบของทรัพยากรสารสนเทศที่จัดเก็บ วิธีการปฏิบัติงานของบุคลากร กระบวนการดำเนินงานในฝ่ายงานต่าง ๆ การพัฒนารูปแบบของการให้บริการ รวมทั้งการจัดการและให้บริการคลังสถาบันในห้องสมุดมหาวิทยาลัย
+
-
        คลังสถาบัน (Institutional repository) คือ คลังเก็บสารสนเทศระดับสถาบันซึ่งเป็นบริการที่มหาวิทยาลัยมอบหมายให้ห้องสมุดมหาวิทยาลัยเป็นผู้รับผิดชอบ คลังสถาบันทำหน้าที่ให้บริการกับสมาชิกในการจัดการและเผยแพร่ผลงานในรูปแบบดิจิทัลอันเป็นผลงานหรือผลผลิตของคณาจารย์ นักวิจัย นิสิต นักศึกษา หรือสมาชิกในประชาคมนั้น ๆ (Lynch 2003: 328) โดยเปิดให้สมาชิกสามารถนำส่งผลงานได้ด้วยตนเอง (Self-archive) บนพื้นที่ที่จัดไว้ (Crow 2002) จะเห็นได้ว่าคลังสถาบันเป็นแนวคิดใหม่ในการรวบรวม จัดการ เผยแพร่ และสงวนรักษาผลงานทางวิชาการที่สร้างขึ้นโดยสมาชิกในประชาคม คลังสถาบันแต่ละแห่งจะนำเสนอบริการที่ประกอบด้วย การเสนอเนื้อหาในรูปแบบดิจิทัล การจัดการ การเข้าถึง การเผยแพร่ และการสงวนรักษาในรูปแบบที่แตกต่างกันออกไปตามแต่การวางนโยบายการดำเนินงานของห้องสมุดแต่ละแห่ง สำหรับผลงานที่มีการจัดเก็บและเผยแพร่ในคลังสถาบันนั้น นอกจากจะเป็นผลงานที่มีการตีพิมพ์เผยแพร่ (Post-prints) แล้ว ยังหมายรวมถึงผลงานที่กำลังดำเนินการตีพิมพ์เผยแพร่ (Pre-prints) และผลงานที่ไม่มีการตีพิมพ์เผยแพร่ หรือตีพิมพ์เผยแพร่ในวงจำกัด (Grey literature) อีกด้วย ซึ่งผลงานเหล่านั้นยากที่จะรวบรวม จัดเก็บ และสงวนรักษาไว้อย่างเป็นระบบได้
+
-
        การดำเนินงานคลังสถาบันเริ่มต้นขึ้นเมื่อประมาณ ค.ศ. 1990 สำหรับคลังสถาบันแรกที่เป็นที่รู้จักจัดตั้งขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1999 ในลักษณะของคลังข้อมูลสาขาวิชา (Subject-based repository) โดยนักฟิสิกส์ชาวอเมริกันที่ชื่อ Paul Ginsparg จาก Los Alamos National Laboratory รัฐนิวเม็กซิโก ประเทศสหรัฐอเมริกา คลังสถาบันดังกล่าวเป็นที่รู้จักกันดีในชื่อ arXiv และปัจจุบันอยู่ในความดูแลของ Cornell University คลังข้อมูลสาขาวิชานี้เป็นความพยายามในการใช้ประโยชน์จากอินเทอร์เน็ตเพื่อการขยายช่องทางการเข้าถึงผลงานวิจัยเพิ่มขึ้น จากความสำเร็จของการสร้าง arXiv จึงได้มีการสร้างคลังสถาบันเพิ่มขึ้นอีกเป็นจำนวนมากโดยใช้ซอฟต์แวร์ที่เป็นที่รู้จักกันในชื่อ EPrint เป็นพื้นฐานในการสร้าง และในเวลาต่อมา ได้มีการพัฒนาซอฟต์แวร์ที่ใช้สำหรับสร้างคลังสถาบันเพิ่มขึ้นอีกเป็นจำนวนมาก เช่น โปรแกรม DSpace ที่พัฒนาขึ้นโดย Massachusetts Institute of Technology ร่วมกับกลุ่มวิจัยของบริษัท Hewlett Packard โปรแกรม Fedora ที่พัฒนาขึ้นโดยกลุ่มนักวิจัยจาก Cornell University และ Virginia University เป็นต้น (Jones, Andrew, and MacColl 2006: 6-8)
+
-
    ลักษณะของคลังสถาบันมีอยู่ด้วยกัน 4 ประการ ได้แก่ 1) จัดเก็บผลงานที่สร้างขึ้นโดยสมาชิกภายในสถาบัน 2) จัดเก็บผลงานไว้โดยไม่มีการลบทิ้งหรือถอดถอน และจะมีการดำเนินการเพื่อทำให้สามารถเข้าถึงทรัพยากรที่จัดเก็บไว้ได้ตลอดเวลา 3) รวบรวมผลงานทางวิชาการไว้หลากหลายประเภท และหลากหลายรูปแบบ 4) สนับสนุนให้เกิดการทำงานร่วมกัน และการเข้าถึงสารสนเทศแบบเสรี (Prosser 2003: 168)
+
-
    ห้องสมุดมหาวิทยาลัยในต่างประเทศหลายแห่งได้มีการจัดตั้งและพัฒนาคลังสถาบันขึ้น เนื่องจากได้มองเห็นความสำคัญและประโยชน์ของการจัดตั้งและดำเนินงานคลังสถาบันในด้านต่าง ๆ ดังนี้
+
-
1) ด้านการจัดเก็บรวบรวมทรัพยากรสารสนเทศ คลังสถาบันช่วยในการจัดเก็บรวบรวมทรัพยากรสารสนเทศในรูปดิจิทัลได้อย่างสะดวก สามารถจัดเก็บทรัพยากรสารสนเทศในหลายรูปแบบ รวมทั้งการทำเมทาเดทาให้แก่ทรัพยากรสารสนเทศที่เอื้อต่อการจัดการทรัพยากรสารสนเทศให้เป็นระบบ
+
-
2) ด้านการสงวนรักษาทรัพยากรสารสนเทศ คลังสถาบันช่วยในการจัดการการสงวนรักษาทรัพย์สินทางปัญญาหรือผลงานทางวิชาการที่เป็นของประชาคมมหาวิทยาลัยในรูปดิจิทัล เพื่อให้ทรัพยากรสารสนเทศคงอยู่ได้ในระยะยาว (Prosser 2003: 169)
+
-
3) ด้านการเข้าถึงทรัพยากรสารสนเทศ คลังสถาบันเป็นวิธีการที่ห้องสมุดสามารถนำมาปรับใช้เพื่อรองรับการสื่อสารและการเผยแพร่ผลงานวิจัย ผลงานทางวิชาการของบุคลากรภายในมหาวิทยาลัย ทำให้เกิดการเข้าถึงความรู้จำนวนมากที่ได้สะสมไว้ และเปิดให้สามารถเข้าถึงทรัพยากรสารสนเทศได้อย่างเสรี
+
-
        นอกจากนี้ คลังสถาบันในห้องสมุดมหาวิทยาลัย ยังมีส่วนช่วยส่งเสริมและสนับสนุนมหาวิทยาลัยในด้านการเป็นตัวชี้วัดคุณภาพ การเผยแพร่ชื่อเสียงให้แก่สถาบัน และการจัดการความรู้ (Yeates 2003: 97-98)
+
-
    จากความสำคัญและประโยชน์ของการมีคลังสถาบันภายในห้องสมุดมหาวิทยาลัยในต่างประเทศ ทำให้เกิดการตื่นตัวและตระหนักถึงความสำคัญของการมีคลังสถาบันภายในห้องสมุดมหาวิทยาลัยของประเทศไทย จากการสำรวจและศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับคลังสถาบันในห้องสมุดมหาวิทยาลัยในประเทศไทยของผู้วิจัยพบว่า ห้องสมุดมหาวิทยาลัยเริ่มมีการจัดตั้งและจัดการคลังสถาบันในห้องสมุดมหาวิทยาลัยมาตั้งแต่ พ.ศ. 2549 โดยแต่ละสถาบันมีชื่อเรียกคลังสถาบันที่แตกต่างกันออกไป แต่จำนวนของคลังสถาบันในห้องสมุดมหาวิทยาลัยนั้นยังมีไม่มาก ในการจัดการคลังสถาบัน ห้องสมุดมหาวิทยาลัยจำเป็นต้องใช้ทรัพยากรต่าง ๆ อีกทั้งอาจต้องเผชิญกับปัญหาหรืออุปสรรคในการจัดการ ดังนั้นผู้วิจัยจึงสนใจที่จะศึกษาการจัดการคลังสถาบันในห้องสมุดมหาวิทยาลัย เพื่อเป็นแนวทางสำหรับการปรับปรุงการจัดการคลังสถาบันในห้องสมุดมหาวิทยาลัย และสำหรับห้องสมุดมหาวิทยาลัยอื่นที่สนใจในการพัฒนาคลังสถาบัน
+
-
 
+
-
 
+
-
== '''วัตถุประสงค์การวิจัย''' ==
+
-
เพื่อศึกษา
+
-
1. การจัดการคลังสถาบันในห้องสมุดมหาวิทยาลัยในด้าน วัตถุประสงค์ นโยบาย งบประมาณ บุคลากรที่รับผิดชอบ ทรัพยากรสารสนเทศในคลังสถาบัน เทคโนโลยีที่ใช้ การให้บริการ วิธีการประชาสัมพันธ์ และการประเมินผล
+
-
2. ปัญหาที่ห้องสมุดมหาวิทยาลัยประสบในการจัดการคลังสถาบัน
+
-
 
+
-
 
+
-
== '''สมมติฐานการวิจัย''' ==
+
-
1. ห้องสมุดมหาวิทยาลัยส่วนใหญ่มีคลังสถาบันเพื่อจัดเก็บและให้บริการผลงานทางวิชาการของประชาคมมหาวิทยาลัย จัดเก็บทรัพยากรสารสนเทศประเภทวิทยานิพนธ์ และใช้โปรแกรมดีสเปซ
+
-
2. ปัญหาที่ห้องสมุดมหาวิทยาลัยประสบในการจัดการคลังสถาบันในระดับมาก คือ ขาดบุคลากรที่รับผิดชอบโดยตรงในการจัดการคลังสถาบัน และ เจ้าของผลงานไม่ให้ความร่วมมือในการส่งผลงาน
+

การปรับปรุง เมื่อ 04:13, 15 พฤษภาคม 2557

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการจัดการคลังสถาบันในห้องสมุดมหาวิทยาลัยในด้าน วัตถุประสงค์ นโยบาย งบประมาณ บุคลากรที่รับผิดชอบ ทรัพยากรสารสนเทศในคลังสถาบัน เทคโนโลยีที่ใช้ การให้บริการ วิธีการประชาสัมพันธ์ และการประเมินผล ตลอดจนปัญหาที่ห้องสมุดมหาวิทยาลัยประสบในการจัดการคลังสถาบัน โดยใช้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ผลการวิจัยพบว่า คลังสถาบันส่วนใหญ่มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดเก็บและให้บริการผลงานทางวิชาการของประชาคมมหาวิทยาลัย และ เพื่อส่งเสริมการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการของประชาคมมหาวิทยาลัย มีการกำหนดนโยบายแบบไม่เป็นลายลักษณ์อักษร และมีการจัดสรร งบประมาณสำหรับการจัดการคลังสถาบันในด้านเทคโนโลยี และ ด้านการพัฒนาบุคลากร ได้รับงบประมาณจากมหาวิทยาลัยต้นสังกัด นอกจากนั้น คลังสถาบันทุกแห่งมีฝ่าย /งานภายในเป็นผู้รับผิดชอบในการจัดการคลังสถาบัน จัดเก็บทรัพยากรสารสนเทศประเภทวิทยานิพนธ์ บทความวิชาการ บทความวิจัย และรายงานการวิจัย ใช้โปรแกรมดีสเปซ (DSpace) ในการจัดการคลังสถาบัน ให้บริการผู้ใช้ทั้งสองกลุ่ม คือ ประชาคมมหาวิทยาลัย และ บุคคลทั่วไป คลังสถาบันทุกแห่งมีการประชาสัมพันธ์โดยส่วนใหญ่ใช้วิธีการแจ้งให้ทราบในกิจกรรม ปฐมนิเทศนิสิต / นักศึกษาใหม่ และ การจัดทำประกาศบนเว็บไซต์ห้องสมุด คลังสถาบันส่วนใหญ่ประเมินผลการจัดการและการดำเนินงานคลังสถาบันโดยประเมินผลจากทั้งผู้ใช้บริการ และผู้ปฏิบัติงาน สำหรับปัญหาที่ห้องสมุดมหาวิทยาลัยประสบในการจัดการคลังสถาบัน พบว่า ห้องสมุดมหาวิทยาลัยประสบปัญหาในระดับปานกลาง และระดับน้อย โดยปัญหาที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดได้แก่ ปัญหาด้านบุคลากร

เครื่องมือส่วนตัว