วิจัยปฏิบัติการ
จาก ChulaPedia
แถว 8: | แถว 8: | ||
วงจรการวิจัยปฏิบัติการ ของ O’Leary (2004) แสดงภาพกระบวนการของวงจรการวิจัยปฏิบัติการ ซึ่งมุ่งเน้นที่การรวมกันของการทำความเข้าใจในสถานการณ์ต่าง ๆ และเป็นเครื่องมือในการปรับปรุงการปฏิบัติ โดยขึ้นกับการปฏิบัติการประเมินที่หลากหลายระหว่างการปฏิบัติและเกณฑ์ในการสะท้อนคิด แนวคิดสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามเป้าหมาย โดยวิธีการที่เป็นไปอย่างต่อเนื่อง การเก็บรวบรวมข้อมูล และการแปลความหมาย เป็นสิ่งที่ต้องทำความเข้าใจเป็นอันดับแรกอีกโมเดลหนึ่งเป็นโมเดลของ Macintyre (2000) เป็นการนำเสนอขั้นตอนของการวิจัยปฏิบัติการ โดยกระบวนการรวบรวมหลักฐาน ร่องรอยต่าง ๆ | วงจรการวิจัยปฏิบัติการ ของ O’Leary (2004) แสดงภาพกระบวนการของวงจรการวิจัยปฏิบัติการ ซึ่งมุ่งเน้นที่การรวมกันของการทำความเข้าใจในสถานการณ์ต่าง ๆ และเป็นเครื่องมือในการปรับปรุงการปฏิบัติ โดยขึ้นกับการปฏิบัติการประเมินที่หลากหลายระหว่างการปฏิบัติและเกณฑ์ในการสะท้อนคิด แนวคิดสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามเป้าหมาย โดยวิธีการที่เป็นไปอย่างต่อเนื่อง การเก็บรวบรวมข้อมูล และการแปลความหมาย เป็นสิ่งที่ต้องทำความเข้าใจเป็นอันดับแรกอีกโมเดลหนึ่งเป็นโมเดลของ Macintyre (2000) เป็นการนำเสนอขั้นตอนของการวิจัยปฏิบัติการ โดยกระบวนการรวบรวมหลักฐาน ร่องรอยต่าง ๆ | ||
กล่าวโดยสรุปได้ว่าขั้นตอนของกระบวนการในการวิจัยปฏิบัติการ ประกอบด้วย 4 ขั้นตอนหลัก หมุนเวียนต่อเนื่องกันที่เรียกว่าเกลียวของวงจรการวิจัย P-A-O-R ได้แก่วางแผน (plan) ดำเนินการ (act) ตรวจสอบและติดตาม (observe) และทบทวนแก้ไขปรับปรุง (reflect) การดำเนินงานทั้ง 4 ขั้นตอนลักษณะที่หมุนเวียนเป็นวงจร และนำมาสู่การวางแผนใหม่อีกรอบเพื่อเป็นพื้นฐานในการแก้ปัญหาโดยการดำเนินการตามวิธีการใหม่ เริ่มดำเนินการตามวงจรการวิจัยรอบใหม่ที่มีกิจกรรมเดิมแต่สาระและผลของการดำเนินงานในแต่ละรอบจะแตกต่างกัน | กล่าวโดยสรุปได้ว่าขั้นตอนของกระบวนการในการวิจัยปฏิบัติการ ประกอบด้วย 4 ขั้นตอนหลัก หมุนเวียนต่อเนื่องกันที่เรียกว่าเกลียวของวงจรการวิจัย P-A-O-R ได้แก่วางแผน (plan) ดำเนินการ (act) ตรวจสอบและติดตาม (observe) และทบทวนแก้ไขปรับปรุง (reflect) การดำเนินงานทั้ง 4 ขั้นตอนลักษณะที่หมุนเวียนเป็นวงจร และนำมาสู่การวางแผนใหม่อีกรอบเพื่อเป็นพื้นฐานในการแก้ปัญหาโดยการดำเนินการตามวิธีการใหม่ เริ่มดำเนินการตามวงจรการวิจัยรอบใหม่ที่มีกิจกรรมเดิมแต่สาระและผลของการดำเนินงานในแต่ละรอบจะแตกต่างกัน | ||
+ | |||
ศจี จิระโร คณะครุศาสตร์ | ศจี จิระโร คณะครุศาสตร์ |
การปรับปรุง เมื่อ 14:06, 6 กรกฎาคม 2557
การวิจัยปฏิบัติการ (Action research)
วิจัยปฏิบัติการเป็นการออกแบบกระบวนการในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติ อย่างเป็นขั้นตอน โดยการบูรณาการกระบวนการวิจัยและการปฏิบัติ มีการประเมิน ควบคุมและปรับปรุงการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง Koshy (2010) ได้กล่าวถึงความเป็นมาของวิจัยปฏิบัติการว่าการวิจัยปฏิบัติการ มีพื้นฐานจากแนวคิดของ Lewin (1946 อ้างถึงใน Koshy, 2010) ที่ได้พัฒนาการวิจัยปฏิบัติการขึ้นมาในบริบททางสังคมโดยมุ่งพัฒนาบุคคลด้วยการสนับสนุนให้เกิดการเรียนรู้ไปพร้อมกับ การดำเนินชีวิตโดยใช้วิธีการแบบมีส่วนร่วม (participatory) และร่วมมือ(collaborative) ต่อมาแนวคิดนี้ได้ถูกขยายผลโดย Corey (1953 อ้างถึงใน Koshy, 2010) นำแนวคิดการวิจัยปฏิบัติการมาประยุกต์ใช้ในบริบททางการศึกษาและได้มีการนำแนวคิดการวิจัยปฏิบัติการมาใช้กับโครงการ ของสภาโรงเรียนในการจัดทำหลักสูตรทางมนุษยศาสตร์ (Schools council’s humanities curriculum) โดยมุ่งเน้นที่การทดลองใช้และการพัฒนาหลักสูตร Elliot และ Adelman (1976 อ้างถึงใน Koshy, 2010) ได้นำแนวคิดวิจัยปฏิบัติการมาใช้ในการปรับปรุงคุณภาพการสอนเมื่อมีการทดสอบการฝึกปฏิบัติในชั้นเรียน วิจัยปฏิบัติการเป็นการสร้างองค์ความรู้ตามบริบทในการปฏิบัติ และการตรวจสอบ ควบคุมภายในที่เฉพาะเจาะจง โดยความร่วมมือจากหลายฝ่าย เพื่อการเรียนรู้สู่การปฏิบัติของบุคคลนำมาสู่การพัฒนาความเชี่ยวชาญ Kemmis และ Mctaggart (2000) ได้อธิบายถึงรูปแบบของวิจัยปฏิบัติการที่มีลักษณะวงจรเป็นเกลียวไว้ว่า ประกอบด้วย การวางแผนการเปลี่ยนแปลง (plan) การปฏิบัติและการสังเกตกระบวนการ และผลของการเปลี่ยนแปลง (act&observe) การสะท้อนความคิดตามกระบวนการ และผลลัพธ์ และปรับปรุงแผนการดำเนินงาน (reflect) จากนั้นปฏิบัติ สังเกต และสะท้อนความคิดอีกครั้ง และดำเนินการเช่นนี้อย่างต่อเนื่อง วงจรการวิจัยปฏิบัติการ ของ O’Leary (2004) แสดงภาพกระบวนการของวงจรการวิจัยปฏิบัติการ ซึ่งมุ่งเน้นที่การรวมกันของการทำความเข้าใจในสถานการณ์ต่าง ๆ และเป็นเครื่องมือในการปรับปรุงการปฏิบัติ โดยขึ้นกับการปฏิบัติการประเมินที่หลากหลายระหว่างการปฏิบัติและเกณฑ์ในการสะท้อนคิด แนวคิดสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามเป้าหมาย โดยวิธีการที่เป็นไปอย่างต่อเนื่อง การเก็บรวบรวมข้อมูล และการแปลความหมาย เป็นสิ่งที่ต้องทำความเข้าใจเป็นอันดับแรกอีกโมเดลหนึ่งเป็นโมเดลของ Macintyre (2000) เป็นการนำเสนอขั้นตอนของการวิจัยปฏิบัติการ โดยกระบวนการรวบรวมหลักฐาน ร่องรอยต่าง ๆ กล่าวโดยสรุปได้ว่าขั้นตอนของกระบวนการในการวิจัยปฏิบัติการ ประกอบด้วย 4 ขั้นตอนหลัก หมุนเวียนต่อเนื่องกันที่เรียกว่าเกลียวของวงจรการวิจัย P-A-O-R ได้แก่วางแผน (plan) ดำเนินการ (act) ตรวจสอบและติดตาม (observe) และทบทวนแก้ไขปรับปรุง (reflect) การดำเนินงานทั้ง 4 ขั้นตอนลักษณะที่หมุนเวียนเป็นวงจร และนำมาสู่การวางแผนใหม่อีกรอบเพื่อเป็นพื้นฐานในการแก้ปัญหาโดยการดำเนินการตามวิธีการใหม่ เริ่มดำเนินการตามวงจรการวิจัยรอบใหม่ที่มีกิจกรรมเดิมแต่สาระและผลของการดำเนินงานในแต่ละรอบจะแตกต่างกัน
ศจี จิระโร คณะครุศาสตร์
รายการอ้างอิง
(1) Kemmis, K. & McTaggart, R. (2000). Participatory action research. Handbook of qualitative research. London: SAGE.
(2) Koshy, V. (2010). Action research for improving educational practice. CA: Sage Publications.
(3) Macintyre, C. (2000).The art of action research in the classroom. London:David Fulton.
(4) O’Leary, Z. (2004).The essential guide to doing research. London:SAGE