วัสดุเชิงประกอบพอลิบิวทิลีนซักซิเนตและผงไม้ยาง
จาก ChulaPedia
(หน้าที่ถูกสร้างด้วย ' งานวิจัยนี้เป็นการเตรียมวัสดุเชิงประกอบพอลิ…') |
|||
แถว 1: | แถว 1: | ||
- | + | งานวิจัยนี้ ศึกษาการเตรียมวัสดุเชิงประกอบของพอลิบิวทิลีนซักซิเนตและผงไม้ยาง ในอัตราส่วนร้อยละ 5, 10, 20, 30 และ 40 โดยน้ำหนัก ผ่านกระบวนการผสมด้วยเครื่องอัดรีดแบบสกรูคู่ และตรวจสอบหมู่ฟังก์ชัน อุณหภูมิการสลายตัว ปริมาณผลึก และค่าดรรชนีการไหลของคอมพาวนด์ด้วยเทคนิค FTIR, TGA, DSC และ MFI ตามลำดับ จากนั้นขึ้นรูปชิ้นทดสอบด้วยเครื่องฉีดแบบ เพื่อนำไปศึกษาถึงผลของปริมาณผงไม้ยางต่อสมบัติเชิงกล สมบัติทางความร้อน และสมบัติการย่ยสลายทางชีวภาพเทียบกับพีวีซีแข็งเพื่อเตรียมเป็นวัสดุเชิงประกอบทดแทนในผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง โดยจากการทดสอบพบว่า ค่ามอดุลัสของชิ้นทดสอบมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นตามปริมาณของผงไม้ยางที่เพิ่มมากขึ้น ในขณะที่ค่าการยืดตัวที่แรงสูงสุดลดลงและความทนแรงกระแทกลดลงเล็กน้อยที่ปริมาณผงไม้ยางร้อยละ 20 โดยน้ำหนัก จากการทดสอบสมบัติทางความร้อน ได้แก่ สัมประสิทธิ์การขยายตัวทางความร้อนและอุณหภูมิโก่งตังด้วยความร้อน พบว่าเมื่อปริมาณผงไม้ยางเพิ่มมากขึ้น ชิ้นทดสอบมีค่าสัมประสิทธิ์การขยายตัวทางความร้อนลดลงปละมีอุณหภูมิโก่งตัวด้วยความร้อนสูงขึ้น ซึ่งแสดงถึงชิ้นทดสอบสามารถใช้งานได้ที่อุณหภูมิสูงขึ้น อีกทั้งอัตราการย่อยสลายทางชีวภาพของชิ้นทดสอบสูงขึ้นตามปริมาณผงไม้ยาง เมื่อเปรียบเทียบกับค่าการทดสอบของพีวีซีแข็ง พบว่าอัตราส่วนของไม้ยางที่ร้อยละ 20 โดยน้ำหนัก ช่วยปรับปรุงค่ามอดุลัสของวัสดุเพิ่มสูงขึ้น ในขณะที่ค่าการยืดตัวที่แรงสูงสุดและค่าความทนแรงกระแทกไม่แตกต่างจากพีวีซีแข็งมากนัก และมีช่วงอุณหภูมิที่เหมาะสมในการใช้งานสูงกว่า | |
- | + |
การปรับปรุง เมื่อ 14:36, 5 สิงหาคม 2557
งานวิจัยนี้ ศึกษาการเตรียมวัสดุเชิงประกอบของพอลิบิวทิลีนซักซิเนตและผงไม้ยาง ในอัตราส่วนร้อยละ 5, 10, 20, 30 และ 40 โดยน้ำหนัก ผ่านกระบวนการผสมด้วยเครื่องอัดรีดแบบสกรูคู่ และตรวจสอบหมู่ฟังก์ชัน อุณหภูมิการสลายตัว ปริมาณผลึก และค่าดรรชนีการไหลของคอมพาวนด์ด้วยเทคนิค FTIR, TGA, DSC และ MFI ตามลำดับ จากนั้นขึ้นรูปชิ้นทดสอบด้วยเครื่องฉีดแบบ เพื่อนำไปศึกษาถึงผลของปริมาณผงไม้ยางต่อสมบัติเชิงกล สมบัติทางความร้อน และสมบัติการย่ยสลายทางชีวภาพเทียบกับพีวีซีแข็งเพื่อเตรียมเป็นวัสดุเชิงประกอบทดแทนในผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง โดยจากการทดสอบพบว่า ค่ามอดุลัสของชิ้นทดสอบมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นตามปริมาณของผงไม้ยางที่เพิ่มมากขึ้น ในขณะที่ค่าการยืดตัวที่แรงสูงสุดลดลงและความทนแรงกระแทกลดลงเล็กน้อยที่ปริมาณผงไม้ยางร้อยละ 20 โดยน้ำหนัก จากการทดสอบสมบัติทางความร้อน ได้แก่ สัมประสิทธิ์การขยายตัวทางความร้อนและอุณหภูมิโก่งตังด้วยความร้อน พบว่าเมื่อปริมาณผงไม้ยางเพิ่มมากขึ้น ชิ้นทดสอบมีค่าสัมประสิทธิ์การขยายตัวทางความร้อนลดลงปละมีอุณหภูมิโก่งตัวด้วยความร้อนสูงขึ้น ซึ่งแสดงถึงชิ้นทดสอบสามารถใช้งานได้ที่อุณหภูมิสูงขึ้น อีกทั้งอัตราการย่อยสลายทางชีวภาพของชิ้นทดสอบสูงขึ้นตามปริมาณผงไม้ยาง เมื่อเปรียบเทียบกับค่าการทดสอบของพีวีซีแข็ง พบว่าอัตราส่วนของไม้ยางที่ร้อยละ 20 โดยน้ำหนัก ช่วยปรับปรุงค่ามอดุลัสของวัสดุเพิ่มสูงขึ้น ในขณะที่ค่าการยืดตัวที่แรงสูงสุดและค่าความทนแรงกระแทกไม่แตกต่างจากพีวีซีแข็งมากนัก และมีช่วงอุณหภูมิที่เหมาะสมในการใช้งานสูงกว่า