รวบรวมเกร็ดความรู้ เรื่อง ศัพท์บัญญัติ และ คำทับศัพท์ ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

จาก ChulaPedia

(ความแตกต่างระหว่างรุ่นปรับปรุง)
ข้ามไปที่: นำทาง, สืบค้น
Wchanin (พูดคุย | เรื่องที่เขียน)
(หน้าที่ถูกสร้างด้วย '== 1. คำว่า "สันทนาการ" ไม่ควรใช้ (ไม่มีในพจนานุกรมฉบั…')
แตกต่างถัดไป →

การปรับปรุง เมื่อ 11:19, 23 พฤศจิกายน 2557

1. คำว่า "สันทนาการ" ไม่ควรใช้ (ไม่มีในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน)

คำว่า “นันทนาการ” นี้ มักมีกลุ่ม ชมรม หรือแม้แต่หน่วยงานของรัฐเองเป็นจำนวนมาก ยังใช้คำว่า “สันทนาการ” อยู่ แต่หลายท่านคงไม่ทราบว่า คำว่า “สันทนาการ” นั้นไม่มีอยู่ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน

ศ. ดร.ประเสริฐ ณ นคร ซึ่งเป็นประธานคณะกรรมการชำระพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 อธิบายถึงเหตุที่คำว่า “สันทนาการ” จึงไม่มีอยู่ในพจนานุกรมฯ ว่าคำว่า “สันทนาการ” เป็นศัพท์เก่าที่กรมวิชาการบัญญัติ ขึ้นใช้เป็นครั้งแรกและใช้กันจนเป็นที่แพร่หลายแทนคำในภาษาอังกฤษ ว่า “Recreation” แต่ต่อมาภายหลังราชบัณฑิตยสถาน ซึ่งมีอำนาจหน้าที่ในการบัญญัติศัพท์เพื่อใช้เป็นมาตรฐานทางภาษาของชาติ เห็นว่าคำว่า “สันทนาการ” นั้นมีความหมายไม่ตรงกับ คำว่า “Recreation” (ซึ่งหมายถึงกิจกรรมที่ทำตามสมัครใจในยามว่าง เพื่อให้เกิดความสนุกสนานเพลิดเพลิน และผ่อนคลายความตึงเครียด) คำว่า “สันทนาการ”* ตามรูปศัพท์แล้ว แปลว่า “การไหล” ซึ่งไม่ตรงกับความหมายของคำว่า “recreation” เลยแม้แต่น้อย ราชบัณฑิตยสถานจึงบัญญัติให้ใช้ศัพท์ใหม่ว่า “นันทนาการ” ซึ่งมีความหมายตามรูปศัพท์ตรงกับคำว่า “Recreation” อย่างแท้จริง

สรุปว่า คำว่า “สันทนาการ” เป็นคำเก่าที่เลิกใช้แล้ว และให้ใช้คำว่า “นันทนาการ” แทน

จะสังเกตเห็นว่า ช่วงหลายปีที่ผ่านมามีองค์กร หน่วยงาน หรือชมรมหลายแห่ง ได้ทยอยเปลี่ยนชื่อและป้ายองค์กร ที่เดิมใช้คำว่า “สันทนาการ” เป็นคำว่า “นันทนาการ” แทนแล้ว เช่น สำนักงานพัฒนากีฬาและนันทนาการ (Office of Sports and Recreation Development) ของกระทรวงท่องเที่ยวและการกีฬา เป็นต้น



*กรมวิชาการคงนำศัพท์มาจากคำว่า “สังสันทนา” หมายถึง การพูดคุยหรือพูดจาหารือกันอย่างเป็นกันเอง ซึ่งอาจถือได้ว่าเป็นความบันเทิงใจอย่างหนึ่ง แต่ก็มีความหมายแคบกว่า “นันทนาการ”



ผู้เขียน

ดร.ชนินทร์ วิศวินธานนท์

อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า

กรรมการบัญญัติศัพท์วิศวกรรมไฟฟ้า ราชบัณฑิตยสถาน

เครื่องมือส่วนตัว