การสะท้อนคิดด้วยวีดิทัศน์

จาก ChulaPedia

(ความแตกต่างระหว่างรุ่นปรับปรุง)
ข้ามไปที่: นำทาง, สืบค้น
55833990 (พูดคุย | เรื่องที่เขียน)
(หน้าที่ถูกสร้างด้วย 'การสะท้อนคิดโดยใช้วีดิทัศน์ (Video reflection) เป็นเครื่องม…')
แตกต่างถัดไป →

การปรับปรุง เมื่อ 13:25, 20 เมษายน 2558

การสะท้อนคิดโดยใช้วีดิทัศน์ (Video reflection) เป็นเครื่องมือในการพัฒนาการสะท้อนคิดต่อผลงาน ที่นำมาใช้ในการพัฒนาผู้เรียน เพื่อให้ผู้เรียนสามารถนำเสนอเรื่องราวของตนเอง หรือการแสดงความคิดเห็นในด้านที่เกี่ยวข้องกับตัวของผู้เรียนเอง และยังเป็นการพัฒนาทักษะการสื่อสารของผู้เรียนผ่านวีดิทัศน์ที่ผู้เรียนจัดทำขึ้นเอง เนาวนิตย์ สงคราม (2554) ได้อธิบายว่า การจัดการเรียนการสอนโดยให้ผู้เรียนได้มีโอกาสนำเสนอตนเองผ่านวิดีทัศน์ ที่เรียกว่า “ดิจิทัลวีดิทัศน์ (Digital Video)” เพื่อเป็นสื่อที่ช่วยส่งเสริมการสะท้อนคิดในลักษณะของการถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ที่เกิดจากการเรียนรู้ของผู้เรียนผ่านชิ้นงาน มีส่วนช่วยในกระบวนการของการสะท้อนคิดด้วยตนเอง (Self-reflection) ให้แก่ผู้เรียน ตลอดจนการถ่ายทอดเรื่องราวของตนเองจะช่วยให้ผู้เรียนได้สะท้อนประสบการณ์ ความคิดเห็น ผ่านการแสดงออกเพื่อช่วยพัฒนาทักษะต่างๆ เช่น ด้าน การพูด การกล้าแสดงออก การคิดอย่างวิจารณญาณ ความคิดสร้างสรรค์ เป็นต้น (Cassidy, Stanley, & Bartlett, 2006) การเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้สะท้อนคิดผ่านการผลิตสื่อดิจิทัลต่างๆ กระบวนการพัฒนาทักษะการคิดสะท้อน (Reflective Skills) จะถูกพัฒนาและฝึกให้ผู้เรียนสามารถจัดทำและสร้างสรรค์ผลงาน โดยนำเสนอผ่านสื่อต่างๆ ด้วยวิธีการวัดผลตามสภาพที่เป็นจริง โดยมีการสังเกตผลงานของผู้เรียนแต่ละคน ว่าได้มีการใช้ทักษะบูรณาการความรู้ และสาธิตโดยการแสดงค่านิยมและทัศนคติ

เครื่องมือส่วนตัว