วัสดุดูดซับจากลิ้นทะเล เทคโนโลยีที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมสำหรับการกำจัดโลหะหนักในน้ำ

จาก ChulaPedia

(ความแตกต่างระหว่างรุ่นปรับปรุง)
ข้ามไปที่: นำทาง, สืบค้น
57720388 (พูดคุย | เรื่องที่เขียน)
(หน้าที่ถูกสร้างด้วย ' ปัจจุบัน มีการพัฒนาเทคโนโลยีการกำจัดโลหะหนักจ…')

รุ่นปัจจุบันของ 13:22, 6 เมษายน 2560

    ปัจจุบัน มีการพัฒนาเทคโนโลยีการกำจัดโลหะหนักจากน้ำเสียขึ้นอย่างมากมาย ทั้งนี้ การกำจัดโลหะหนักแต่ละวิธีจะมีประเด็นที่ต้องพิจารณาก่อนนำมาใช้แตกต่างกัน การดูดซับโลหะหนักจากน้ำเสียโดยอาศัยแรงทางกายภาพหรือการเกิดพันธะเคมีระหว่างไอออนหรือโมเลกุลของโลหะหนักกับผิววัสดุดูดซับที่เป็นของแข็ง ทำให้การกำจัดโลหะหนักด้วยวิธีนี้มีประสิทธิภาพและมีค่าใช้จ่ายในการดำเนินการน้อย เพราะมีความยืดหยุ่นในการออกแบบและการควบคุมจากการใช้วัสดุดูดซับที่มีความหลากหลายและราคาถูก รวมถึงการนำวัสดุดูดซับและโลหะหนักบางส่วนหมุนเวียนกลับมาใช้ประโยชน์ได้โดยจะขึ้นอยู่กับคุณสมบัติของวัสดุที่ใช้ ทั้งนี้วัสดุดูดซับอาจเป็นผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติที่เป็นขยะซึ่งก่อให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อม หรือผลิตภัณฑ์ที่สามารถหาได้ง่ายและมีราคาถูก เช่น มวลชีวภาพของสิ่งมีชีวิตที่ตายแล้ว ขยะจากการเกษตรกรรม หรือขยะจากกิจกรรมอื่น ๆ เป็นต้น
    ลิ้นทะเล หรือกระดองปลาหมึกเป็นขยะที่เหลือจากการบริโภคหมึกกระดอง ซึ่งมีองค์ประกอบเป็นแคลเซียมคาร์บอเนต 89-94% โปรตีน 3-7% และไคติน 3-4% การทดลองดูดซับตะกั่วในสารละลายด้วยลิ้นทะเล พบว่า ลิ้นทะเลสามารถดูดซับตะกั่วได้ดีที่สุดเมื่อสารละลายมีความเป็นกรด-ด่างเริ่มต้นเป็น 4.0 โดยใช้ปริมาณลิ้นทะเล 0.2 กรัมต่อสารละลาย 1 ลิตร และใช้เวลาดูดซับ 4 ชั่วโมง จากการคำนวณด้วยแบบจำลองการดูดซับของแลงเมียร์ (Langmuir isotherm) ลิ้นทะเลสามารถดูดซับตะกั่วในสารละลายได้ 869.57 มิลลิกรัมต่อกรัม นอกจากนี้ ยังสามารถนำลิ้นทะเลมาประยุกต์ใช้กำจัดโลหะหนักในการบำบัดน้ำเสียที่เกิดจากการผลิตแบตเตอรีตะกั่ว-กรด
เครื่องมือส่วนตัว