การปรึกษาเชิงจิตวิทยาแบบออนไลน์
จาก ChulaPedia
(ความแตกต่างระหว่างรุ่นปรับปรุง)
55779040 (พูดคุย | เรื่องที่เขียน)
(หน้าที่ถูกสร้างด้วย ''''การปรึกษาเชิงจิตวิทยาแบบออนไลน์ (Online counseling)''' การป…')
แตกต่างถัดไป →
(หน้าที่ถูกสร้างด้วย ''''การปรึกษาเชิงจิตวิทยาแบบออนไลน์ (Online counseling)''' การป…')
แตกต่างถัดไป →
การปรับปรุง เมื่อ 18:28, 26 มิถุนายน 2560
การปรึกษาเชิงจิตวิทยาแบบออนไลน์ (Online counseling)
การปรึกษาเชิงจิตวิทยาแบบออนไลน์ เป็นบริการเชิงจิตวิทยารูปแบบหนึ่งที่ใช้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตเป็นช่องทางในการสื่อสารระหว่างนักจิตวิทยาการปรึกษากับผู้มาปรึกษา โดยที่ทั้งสองฝ่ายอยู่กันคนละสถานที่ การปรึกษาเชิงจิตวิทยาแบบออนไลน์อาจอยู่ในรูปแบบของ 1) แชท ซึ่งเป็นการพิมพ์ข้อความส่งถึงกันในช่วงเวลาเดียวกัน โดยไม่ได้เห็นหน้า และไม่ได้ยินเสียงกัน 2) วิดีโอคอล ซึ่งเป็นการใช้กล้องวิดีโอส่งสัญญาณภาพและเสียง เพื่อพูดคุยกันโดยตรง ดังนั้นการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแบบออนไลน์ จึงทำให้นักจิตวิทยายังคงสามารถให้บริการทางจิตวิทยา เช่น การพูดคุยปรึกษา ให้คำแนะนำ ให้ข้อมูลความรู้ และช่วยเหลือประคับประคองจิตใจแก่ผู้มาปรึกษาได้แม้จะ
อยู่กันคนละสถานที่
การปรึกษาเชิงจิตวิทยาแบบออนไลน์ต้องมีช่องทางการส่งต่อข้อมูลที่รวดเร็วโดยที่สามารถทั้งรับและส่งข้อมูลได้ในเวลาเดียวกัน ดังนั้นจึงต้องอาศัยอุปกรณ์และเทคโนโลยีการสื่อสาร 2 ประการ ประการแรก คือ เครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีอุปกรณ์รับสัญญาณอินเทอร์เน็ตในตัว และประการที่สอง คือ สัญญาณอินเทอร์เน็ตที่มีเสถียรภาพ และมีความเร็วสูงเพียงพอที่จะทำให้การสนทนาเป็นไปได้อย่างราบรื่น ไม่ติดขัด อย่างไรก็ตาม การสื่อสารออนไลน์บางครั้งก็มีความหน่วง (Delay) ของเวลาในการส่งข้อมูลผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ในระยะทางไกลๆ