ซูเปอร์มูน
จาก ChulaPedia
(หน้าที่ถูกสร้างด้วย ' == '''ซูเปอร์มูน (Super Moon)''' == ไฟล์:Supermoon_01.jpg == '''เปริจี และ อะโ…')
แตกต่างถัดไป →
การปรับปรุง เมื่อ 04:09, 22 มีนาคม 2554
เนื้อหา |
ซูเปอร์มูน (Super Moon)
เปริจี และ อะโปจี
"เปริจี" คือ ช่วงวงโคจรที่ดวงจันทร์อยู่ใกล้โลกมากที่สุด มีระยะทางประมาณ 356,000 กิโลเมตร "อะโปจี" คือ ช่วงวงโคจรที่ดวงจันทร์ห่างจากโลกมากที่สุด มีระยะทางประมาณ 407,000 กิโลเมตร การที่ดวงจันทร์โคจรรอบโลกและโลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ ทำให้ทิศทางของแรงกระทำต่อโลกมีการเปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะปรากฏการณ์น้ำขึ้นน้ำลง ในวันที่ 19 มีนาคม น้ำทะเลจะขึ้นสูงมากกว่าปกติ และไม่ส่งผลต่อการเกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติแต่อย่างใด
Super Moon ในอดีต
เหตุการณ์ Super Moon ได้เคยเกิดขึ้นมาแล้วหลายครั้งในอดีต โดยในแต่ละครั้งที่เกิดเหตุการณ์ Super Moon ขึ้น มักจะบังเอิญเกิดปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ เช่น
ในปี ค.ศ.1938 พายุเฮอริเคนได้เกิดขึ้นพร้อมๆกับซูเปอร์มูน
ในปี ค.ศ.1955 ได้เกิดน้ำท่วมในฮันเตอร์วัลเลย์ ในออสเตรเลียในช่วงซูเปอร์มูนเช่นกัน
ในปี ค.ศ.1974 ซูเปอร์มูนก็เกิดขึ้นในเวลาไล่เลี่ยกับพายุไซโคลนเทรซี่ ที่สร้างความเสียหายมหาศาลในเมืองดาร์วิน ออสเตรเลีย
ในปี ค.ศ.2005 ก่อนที่จะเกิดปรากฎการณ์ซูเปอร์มูนเพียงไม่กี่วันก็มีเหตุการณ์สึนามิเกิดขึ้นในอินโดนีเซียคร่าชีวิตผู้คนหลายหมื่นคนไปในช่วงเวลานั้น
Super Moon 2011
วันที่ 19 มีนาคม 2554 ดวงจันทร์จะโคจรใกล้โลกที่สุดในรอบปี ซึ่งจะทำให้มองเห็นพระจันทร์ดวงโตและมีแสงสว่างไสวมากกว่าปกติ ทั้งนี้ได้มีผู้เชี่ยวชาญออกมาแสดงความคิดเห็นกับเหตุการณ์ดังกล่าวหลายคน เช่น
นายสิทธิชัย จันทรศิลปิน นักวิชาการดาราศาสตร์ หัวหน้าท้องฟ้าจำลองกรุงเทพ
ปรากฏการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นในวันเสาร์ที่ 19 มีนาคมนี้ ในต่างประเทศเรียกปรากฏการณ์ดวงจันทร์โคจรใกล้โลกว่าซูเปอร์มูน (Supermoon) ในวันนั้นดวงจันทร์จะโคจรเข้าใกล้โลกในระยะ 356,577 กิโลเมตร จากปกติที่ดวงจันทร์โคจรห่างจากโลกมีระยะเฉลี่ย 384,400 กิโลเมตร และเนื่องจากในวันดังกล่าวตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ พระจันทร์เต็มดวงพอดี คนบนโลกจึงสามารถมองเห็นดวงจันทร์ที่มีขนาดใหญ่กว่าปกติประมาณ 3% และหากวันนั้นท้องฟ้าโปร่งไม่มีเมฆบดบัง คนไทยจะได้อาบแสงจันทร์พร้อมกับศึกษาเรียนรู้ปรากฏการณ์บนท้องฟ้า โดยดวงจันทร์โคจรรอบโลกเป็นรูปวงรีเกือบกลม ทำให้ระยะใกล้ไกลระหว่างดวงจันทร์กับโลกมีระยะทางไม่เท่ากัน โดยช่วงเวลาดีที่สุดที่จะชมดวงจันทร์คือ ดวงจันทร์อยู่ใกล้ขอบฟ้า ถ้าจะให้สนุกมากขึ้นควรสังเกตสีเทาเข้มที่อยู่ในดวงจันทร์เป็นรูปคล้ายกระต่าย สีเทาเข้มคือพื้นผิวบนดวงจันทร์เป็นที่ราบต่ำ บริเวณนี้เป็นจุดที่ยานอพอลโล 11 ลงเหยียบดวงจันทร์ ส่วนสีขาวสว่างไสวของดวงจันทร์ เป็นพื้นที่ราบสูง สะท้อนแสงจากพระอาทิตย์กลับมายังโลกได้มากกว่า นอกจากนี้ ในคืนวันที่ 19 มีนาคม ยังมีดาวเสาร์ขึ้นทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ จะสังเกตเห็นเป็นแสงสว่างสีเหลืองเคียงคู่กับดวงจันทร์กลมโต
ดร.สธน วิจารณ์วรรณลักษณ์ อาจารย์ประจำภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ
ปรากฏการณ์ดวงจันทร์จะโคจรเข้าใกล้โลกเกิดขึ้นทุกๆ 411 วัน ทุกครั้งที่เกิดขึ้นจะมีระยะทางไม่เท่ากัน ส่วนข้อมูลจากโหราศาสตร์ต่างประเทศที่บอกว่า ซูเปอร์มูนจะทำให้โลกเกิดภัยพิบัติอย่างรุนแรง ก็ไม่น่าเชื่อถือในทางวิทยาศาสตร์ เพราะดวงจันทร์ไม่มีแรงมากพอที่จะขยับเขยื้อนเปลือกโลกหรือวัตถุใต้โลกได้ แม้แต่เชือกเหนียวๆ ดวงจันทร์ก็ไม่มีแรงดึงขาดได้
อ้างอิง
ที่มาข้อมูล