การอนุรักษ์พลังงาน
จาก ChulaPedia
(หน้าที่ถูกสร้างด้วย '== '''การอนุรักษ์พลังงานและการประหยัดไฟฟ้า''' == พลังง…')
แตกต่างถัดไป →
การปรับปรุง เมื่อ 04:38, 22 มีนาคม 2554
เนื้อหา |
การอนุรักษ์พลังงานและการประหยัดไฟฟ้า
พลังงานเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างหนึ่งในการดำเนินชีวิตของมนุษย์ แหล่งกำเนิดพลังงานมีหลากหลายรูปแบบ น้ำมันเชื้อเพลิงเป็นหนึ่งในแหล่งกำเนิดพลังงานหลักที่ใช้ผลิตไฟฟ้าอยู่ในปัจจุบัน แต่น้ำมันเชื้อเพลิงก็จะหมดไปในไม่ช้าเนื่องจากความต้องการใช้พลังงานที่เพิ่มมากขึ้น อีกทั้งน้ำมันเชื้อเพลิงเองก็เป็นต้นเหตุของมลพิษและภาวะโลกร้อน ดังนั้นเราควรจะตระหนักถึงข้อจำกัดนี้และพัฒนาหาแหล่งพลังงานทดแทนที่จะมาใช้แทนหรือร่วมกับน้ำมันเชื้อเพลิง ดังนั้นการอนุรักษ์พลังงานจึงเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องพึงปฏิบัติเพื่อที่จะใช้ทรัพยากรทางด้านพลังงานไม่ให้สูญเปล่า การอนุรักษ์พลังงานก็สามารถช่วยลดภาวะโลกร้อนได้อีกทางหนึ่งด้วย รัฐบาลของไทยเราได้ออกพระราชบัญญัติการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. 2535 และ พระราชบัญญัติการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. 2550 (ฉบับที่ 2) สำหรับโรงงานควบคุมและอาคารควบคุมเพื่อช่วยให้มีการผลิตและใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพและประหยัด พร้อมทั้งส่งเสริมให้มีการอนุรักษ์พลังงานมากขึ้น โดยที่โรงงานควบคุมและอาคารควบคุมจะต้องมีผู้รับผิดชอบด้านพลังงานอย่างน้อย 1 คน ในการดำเนินกิจกรรมการอนุรักษ์พลังงานตามกฎหมาย
พลังงานทดแทน
พลังงานทดแทนสามารถแบ่งตามแหล่งที่มาได้เป็น 2 ประเภท คือ
1. พลังงานทดแทนจากแหล่งที่ใช้แล้วหมดไป อาจเรียกว่า พลังงานสิ้นเปลือง อันได้แก่ ถ่านหิน ก๊าซธรรมชาติ นิวเคลียร์ หินน้ำมัน และทรายน้ำมัน เป็นต้น
2. พลังงานทดแทนที่ใช้แล้วสามารถหมุนเวียนนำมาใช้ได้อีก เรียกว่า พลังงานหมุนเวียน ได้แก่ แสงอาทิตย์ ลม ชีวมวล น้ำ และไฮโดรเจน เป็นต้น
การอนุรักษ์พลังงาน
1. ลดหรือเลิกพฤติกรรมการใช้ไฟฟ้าอย่างสิ้นเปลือง เช่น ลดการเปิดไฟ เครื่องปรับอากาศ เมื่อไม่มีคนอยู่ หรือเปิดโทรทัศน์ทิ้งไว้ ปิดโทรทัศน์ทุกครั้งโดยไม่ใช้รีโมทปิด
2. หมั่นบำรุงรักษาอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆให้มีอายุการใช้งานให้ยาวนานขึ้น เช่น ทำความสะอาดแผ่นกรองอากาศของเครื่องปรับอากาศ ตั้งอุณหภูมิของเครื่องปรับอากาศที่ 25?C ไม่นำอาหารร้อนใส่ในตู้เย็นทันที ไม่เปิดตู้เย็นทิ้งไว้ ตั้งตู้เย็นห่างจากผนังอย่างน้อย 15 ซม.
3. เปลี่ยนอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ไม่มีประสิทธิภาพหรือที่กินไฟฟ้ามากให้ประหยัดมากขึ้น เช่น ใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าที่ประหยัดไฟมากขึ้น ทางการไฟฟ้าฝ่ายผลิต (กฟผ.) และกระทรวงพลังงานได้ร่วมมือกันทำโครงการ “ฉลากประหยัดไฟเบอร์ 5” ขึ้น ซึ่งฉลากประหยัดไฟเบอร์ 5
อุปกรณ์ที่ได้ฉลากประหยัดไฟเบอร์ 5
คือ อุปกรณ์ที่มีอัตราการอัตราการประหยัดพลังงาน หรือ Energy Efficiency Ratio มากกว่า 11 หน่วย) เป็นสัญลักษณ์ที่ กฟผ. รับรองประสิทธิภาพอุปกรณ์ไฟฟ้า โดยมีสถาบันไฟฟ้าและ อิเล็กทรอนิกส์เป็นผู้ดำเนินการทดสอบ ปัจจุบัน มีอยู่ 8 ผลิตภัณฑ์ ได้แก่
1. ตู้เย็น
2. เครื่องปรับอากาศ
3. หลอดตะเกียบ
4. บัลลาสต์
5. พัดลม
6. หม้อหุงข้าว
7. โคมไฟประสิทธิภาพสูง
8. ข้าวกล้อง
Efficient Lighting Management Curricula for ASEAN (ELMCA)
เป็นโครงการที่มุ่งพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนด้านวิศวกรรมไฟฟ้าแสงสว่างและการจัดการประสิทธิภาพพลังงาน โดยร่วมมือกับสถาบันการศึกษาต่างประเทศอีก 4 สถาบัน (ประเทศสาธารณรัฐฟินแลนด์ ประเทศสหพันธรัฐเยอรมันนี ประเทศสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม และ ประเทศสาธารณรัฐฟิลิปปินส์) โดยในหลักสูตรได้มีการผสมผสานวิชาการทั้งด้านวิศวกรรมไฟฟ้าแสงสว่างและสถาปัตยกรรมศาสตร์เข้าด้วยกัน หนึ่งในเรื่องที่สามารถนำมาใช้ในเรื่องการประหยัดพลังงานในประเทศเรา คือ การใช้แสงธรรมชาติ (Daylight) ให้มีประสิทธิภาพสูงสุด เนื่องจากประเทศเรามีแสงอาทิตย์มากเกือบตลอดทั้งปี ดังนั้นนอกเหนือจากการนำพลังงานแสงอาทิตย์มาผลิตไฟฟ้าโดยใช้เซลล์พลังงานแสงอาทิตย์ (Solar cell) แล้ว เราก็ยังสามารถนำแสงธรรมชาติมาใช้ให้เหมาะสมเพื่อลดการใช้ไฟฟ้าแสงสว่างโดยไม่จำเป็นได้อีกทางหนึ่งด้วย ซึ่งเราสามารถทำได้โดยใช้ความรู้จากออกแบบหน้าต่างหรืออาคารที่เหมาะสมเพื่อให้แสงธรรมชาติส่องเข้ามาในห้อง (สถาปัตยกรรมศาสตร์) ร่วมกับการใช้หลอดประหยัดไฟชนิดต่างๆ (วิศวกรรมไฟฟ้าแสงสว่าง)
อ้างอิง
ที่มาข้อมูล
กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงานที่
สำนักงานนโยบายและแผนพลังงานที่
อาจารย์ผู้ดูแลบทความ อ. ดร.ธวัชชัย เตชัสอนันต์
ผู้รับผิดชอบบทความ ศูนย์การสื่อสารนานาชาติแห่งจุฬาฯ