ปัญหาการจราจร

จาก ChulaPedia

(ความแตกต่างระหว่างรุ่นปรับปรุง)
ข้ามไปที่: นำทาง, สืบค้น
 
แถว 6: แถว 6:
-
[[ไฟล์:2551-8-4-01.jpg|right|]]
+
[[ไฟล์:2551-8-4-01.jpg]]

รุ่นปัจจุบันของ 06:41, 22 มีนาคม 2554

เนื้อหา

Mobility Management : ทางเลือกสำหรับการบรรเทาปัญหาการจราจร

Mobility Management หรือ MM เป็นหนึ่งในมาตรการแบบ Pull ซึ่งเป็นแนวคิดใหม่ในต่างประเทศที่คาดว่าจะมีประสิทธิภาพในการจัดการการเพิ่มขึ้นของปริมาณรถยนต์ส่วนบุคคล โดยมีแนวคิดหลักได้แก่การให้ความรู้หรือการประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวข้องกับการเดินทางผ่านทางความร่วมมือระหว่างหน่วยงานต่างๆ ควบคู่ไปกับการใช้เครื่องมือหรือมาตรการที่จะช่วยสนับสนุนหรือส่งเสริมให้ผู้ขับขี่เกิดการเปลี่ยนแปลงทัศนคติและพฤติกรรมในการเดินทางได้เอง (Voluntary Behavior Change)


ไฟล์:2551-8-4-01.jpg


ประโยชน์ของมาตรการ MM

1. นำไปสู่รูปแบบการเดินทางที่ยั่งยืนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากยิ่งขึ้น อาทิเช่น การใช้ระบบขนส่งสาธารณะในการเดินทาง เป็นต้น

2. ทางด้านจิตวิทยา ได้แก่ การปรับกระบวนแนวคิดและทัศนคติของผู้เดินทาง การใช้มาตรการ MM ดังกล่าวจะส่งผลให้ผู้เดินทางเกิดทัศนคติ (Attitude) และการรับรู้ (Perception) ที่ดีขึ้นต่อการเดินทางด้วยระบบขนส่งสาธารณะ ซึ่งตามทฤษฎีจิตวิทยา หากสามารถปรับปัจจัยด้านจิตวิทยาของผู้เดินทางได้ก็จะส่งผลช่วยให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในการเดินทางได้เช่นเดียวกัน


ไฟล์:2551-8-4-02.jpg


มาตรการ MM ในต่างประเทศ

ในประเทศออสเตรเลีย ประเทศสหรัฐอเมริกา และประเทศอังกฤษ ได้มีโครการที่ประสบผลสำเร็จจากมาตรการ MM คือ โครงการ Travel Smart และ Travel Blending ผลลัพธ์ที่ได้จากโครงกล่าวดังกล่าวได้แสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพในการจัดการการเดินทาง ซึ่งส่งผลให้ปัญหาด้านการจราจรคลี่คลายลงในระดับหนึ่ง เกิดการลดปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากยานยนต์ และนำไปสู่การพัฒนาด้านการขนส่งที่ยั่งยืน


มาตรการ MM ในกรุงเทพมหานคร

จากงานวิจัยในอดีตพบว่ามีผู้เดินทางจำนวนไม่น้อยที่มีพฤติกรรมการใช้รถยนต์ส่วนบุคคลเป็นประจำ จนติดเป็นนิสัย (Habit) ในการศึกษามาตรการ MM เบื้องต้น ได้ดำเนินการวิจัยโดยทดลองใช้มาตรการจูงใจด้านราคาค่าโดยสารรถไฟฟ้า ทั้งรถไฟฟ้าใต้ดินและรถไฟฟ้าบีทีเอส สำหรับกลุ่มตัวอย่างในประชาชนที่สามารถเดินทางด้วยรถสาธารณะได้ แต่ยังคงใช้รถยนต์ส่วนตัวตลอดเวลา ผลการศึกษาพบว่า การให้สิ่งจูงใจด้านราคา ได้แก่การลดราคาค่าโดยสารรถไฟฟ้าครึ่งราคา และให้ทดลองเดินทางด้วยรถไฟฟ้าฟรี เป็นระยะเวลา 1 เดือน ส่งผลให้ผู้ที่ไม่เคยใช้รถไฟฟ้าในการเดินทางมาก่อนหันมาใช้เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ เมื่อยุติมาตรการดังกล่าวแล้ว กลุ่มตัวอย่างมีการปรับเปลี่ยนทัศนคติที่เกี่ยวข้องกับระบบขนส่งสาธารณะในทางที่ดีขึ้น และที่สำคัญที่สุดคือ พบว่ากลุ่มตัวอย่างดังกล่าวได้เริ่มปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการเดินทาง โดยหันมาใช้รถไฟฟ้ามากยิ่งขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ถึงแม้ว่าจะไม่มีการลดราคาค่าโดยสารแล้วก็ตาม


โดยสรุปแล้ว ภายใต้สภาวะวิกฤตพลังงานเช่นปัจจุบัน สมควรอย่างยิ่งที่ภาครัฐควรเร่งศึกษานโยบายดังกล่าว โดยมุ่งเน้นการเปลี่ยนแปลงที่ตัวบุคคลผ่านทางข้อมูลข่าวสารและการให้ความรู้เกี่ยวกับการเดินทาง แม้ว่าการดำเนินการในระยะแรกจะไม่สามารถเปลี่ยนพฤติกรรมการเดินทางได้ทั้งหมด หากเกิดการลดการใช้รถยนต์ส่วนบุคคล หรือมีการเปลี่ยนการเดินทางไปสู่รูปแบบการเดินทางที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมบ้าง ก็คงทำให้ปัญหาการจราจรสามารถบรรเทาได้ในระดับหนึ่ง


ไฟล์:2551-8-4-03.jpg


อาจารย์ผู้ดูแลบทความ ผศ. ดร. เกษม ชูจารุกุล

ผู้รับผิดชอบบทความ ศูนย์การสื่อสารนานาชาติแห่งจุฬาฯ

เครื่องมือส่วนตัว