ต้นทุนน้ำนมดิบ
จาก ChulaPedia
(หน้าที่ถูกสร้างด้วย ' == '''การคำนวณต้นทุนน้ำนมดิบ''' == สืบเนื่องจากวิกฤตเ…')
รุ่นปัจจุบันของ 09:25, 22 มีนาคม 2554
เนื้อหา |
การคำนวณต้นทุนน้ำนมดิบ
สืบเนื่องจากวิกฤตเศรษฐกิจ และปัญหาต่างๆในการประกอบการ อาทิ ราคาขายหน้าโรงงานไม่มีการปรับเพิ่มขึ้นเป็นเวลาหลายปี แม้ปัจจุบันต้นทุนปัจจัยการประกอบการมีแนวโน้มสูงขึ้น ปัญหาน้ำนมผลิตเกินความต้องการมีการเททิ้งนับเป็นความสูญเสียทรัพยากรเป็นจำนวนมาก และยิ่งการที่รัฐบาลได้มีการตกลงระหว่างประเทศทางด้านการค้าเสรี WTO และ FTA โดยเฉพาะประเทศที่มีความแข็งแกร่งในการผลิตน้ำนมโคเช่น ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ เป็นต้น ทำให้เกษตรกรประสบปัญหาต้องแข่งขันกับการนำเข้าจากต่างประเทศที่มีราคาถูกและคุณภาพดี ดังนั้นจึงนับว่ามีความจำเป็นอย่างยิ่งในการให้ได้ข้อมูลต้นทุนน้ำนมดิบ ถึงเวลาแล้วที่เกษตรกรจะต้อง “รู้เรา” อย่างแท้จริงเพื่อแข่งขันกับ “เขา” อย่างมีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผล
การบัญชีครัวเรือนเป็นต้นแบบของการบัญชีของคนไทยทั่วไปและโดยเฉพาะสำหรับผู้ประกอบอาชีพการเกษตรไม่ว่าจะเป็นการเกษตรด้านใดย่อมถือว่าเป็นการประกอบธุรกิจ เกษตรกรเป็นผู้ประกอบธุรกิจ เป็นผู้ดำเนินกิจการ มีการใช้ทรัพยากร คือ การเกิดรายจ่ายเพื่อก่อให้เกิดรายได้ มีการจ่ายผลตอบแทนแก่เกษตรกร ผู้ลงทุนและสามารถมองเห็นผลกำไรซึ่งเป็นผลมาจากการดำเนินงาน ผู้เขียนขอขอบคุณหน่วยราชการและสถาบันต่างๆหลายแห่งโดยเฉพาะสำนักเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ ช่วยเหลือด้านเอกสารเผยแพร่ในโครงการเสริมสร้างภูมิปัญญาทางบัญชีแก่เกษตรกรไทย สถาบันวิจัยและพัฒนาโคนมขององค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย(อ.ส.ค.)ที่ช่วยเหลือทางด้านแนวคิดการคำนวณโครงสร้างต้นทุนน้ำนมดิบและข้อมูลตัวอย่างเพื่อใช้ประกอบการพัฒนาโปรแกรม
การบัญชีครัวเรือนกับการคำนวณต้นทุนน้ำนมดิบ
ผู้ที่ใกล้ชิดกับต้นทุนน้ำนมดิบมากที่สุด คือ เกษตรกรฟาร์มโคนม เกษตรกรควรมีการบันทึกรายรับและรายจ่ายประจำวัน สรุปเป็นรายเดือน และรวบรวมสรุปผลการดำเนินงานเป็นรายปีต่อเนื่องกัน ระบบการจัดทำข้อมูลควรเริ่มต้นจากบัญชีของเกษตรกรรายวันที่บันทึกรายรับและรายจ่ายประจำวัน ขั้นต่อมาเป็นการบันทึกและคำนวณค่าเสื่อมราคาซึ่งประกอบด้วย ค่าเสื่อมราคาโคทุกตัวที่อยู่ในฟาร์ม จำแนกเป็น โครีดนม โคแห้งนม โคพ่อพันธุ์ และโคคัดทิ้งแต่ยังคงเลี้ยงอยู่
โครงสร้างต้นทุนน้ำนมดิบ
หลักการคำนวณต้นทุนน้ำนมดิบใช้หลักต้นทุนรวม ต้นทุนที่ก่อให้เกิดน้ำนม คือ
1. แม่โค
2. ต้นทุนในการการเลี้ยงดูแลรักษาแม่โค
3. ต้นทุนกระบวนการรีดนม
4. การขนส่งผลผลิต
จากกระบวนการผลิตน้ำนมดิบ โครงสร้างต้นทุนการผลิตของเกษตรกรรายย่อย ดังนี้
ต้นทุนการผลิตน้ำนมดิบ
วัตถุดิบทางตรง ค่าแรงทางตรงและค่าใช้จ่ายในการผลิต ในทางปฏิบัติ เป็นต้นทุนในการดูแลโคทั้งหมดในฟาร์มซึ่งได้แก่ แม่โคที่ให้น้ำนม แม่โคแห้งนม โคในฝูงโคทดแทน โคพ่อพันธุ์ โคคัดทิ้งหรือโคที่ไม่สามารถให้นมแต่เกษตรกรยังคงเลี้ยงอยู่ ดังนั้นจึงสรุปได้ว่าโคทั้งหมดมีทั้งโคที่ให้ผลผลิตและโคที่ไม่ให้ผลผลิต
โครงสร้างต้นทุนน้ำนมดิบ สามารถอธิบายได้ว่าต้นทุนทั้งทางตรงและทางอ้อมทั้งหมดไม่ใช้ต้นทุนน้ำนมดิบที่ผลิตได้ ขึ้นอยู่กับลักษณะของการจัดการฟาร์มโคนม จากในภาพสำหรับฟาร์มที่มีหารเลี้ยงโคทดแทนเพื่อให้ได้แม่โคที่ผลิตนมในอนาคต ต้นทุนที่เกิดขึ้นจะมีลักษณะเป็นการลงทุนในสินทรัพย์
อาจารย์ผู้ดูแลบทความ รองศาสตราจารย์ ดร..พรรณนิภา รอดวรรณะ
คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ผู้รับผิดชอบบทความ ศูนย์การสื่อสารนานาชาติแห่งจุฬาฯ