ทุนปัญญาและทุนมนุษย์
จาก ChulaPedia
(หน้าที่ถูกสร้างด้วย ' == '''Intellectual และ Human Capital''' == ปัจจุบันนักวิชาการและผู้บริห…')
รุ่นปัจจุบันของ 09:31, 22 มีนาคม 2554
เนื้อหา |
Intellectual และ Human Capital
ปัจจุบันนักวิชาการและผู้บริหารขององค์กรในต่างประเทศได้ให้ความสนใจกับ Intellectual Capital หรือทุนปัญญา Human Capital หรือทุนมนุษย์ มากขึ้นทุกขณะ ซึ่งถ้าดูความสัมพันธ์ระหว่างศัพท์บัญญัติทั้งสองคำจะพบว่าทุนปัญญา (Intellectual Capital) ภายในองค์กรเกิดขึ้นจากทุนมนุษย์ (Human Capital) ความหมายของทุนมนุษย์คงจะหนีไม่พ้นตัวบุคลากรภายในองค์กร แต่เฉพาะตัวบุคคลเฉยๆ คงไม่สามารถนับเป็น “ทุน” ได้ จะถือว่าบุคลากรขององค์กรเป็นทุนมนุษย์ได้ต่อเมื่อบุคลากรเหล่านั้นสามารถนำความรู้ ประสบการณ์ ความคิดสร้างสรรค์ รวมทั้งปัจจัยอื่นๆ เข้ามาช่วยก่อให้เกิดประโยชน์ต่อองค์กร
ประเภทของทุนปัญญา (Intellectual Capital)
1. Customer Capital ครอบคลุมถึงสินทรัพย์หรือปัจจัยต่างๆ ภายในองค์กรที่จะช่วยให้กลุ่มลูกค้าเป้าหมายได้กลายมาเป็นลูกค้าของเรา อาทิเช่น ความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้า ความพึงพอใจของลูกค้า ภาพลักษณ์ ชื่อเสียงขององค์กรและตรายี่ห้อ เครือข่ายและช่องทางการจัดจำหน่าย
2. Organizational Capital ซึ่งได้แก่ปัจจัยต่างๆ ภายในองค์กรที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานและการเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานภายในองค์กร เช่น กลยุทธ์ ระบบ วิธีการดำเนินงาน กระบวนการทำงาน วัฒนธรรมองค์กร รวมทั้งความรู้ (Knowledge) ต่างๆ ที่องค์กรมี เช่น ลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร ฐานข้อมูล
ประเภทของทุนมนุษย์ (Human Capital)
1. Social Capital หรือที่เรียกว่าเป็นทุนสังคม ได้แก่ ความไว้เนื้อเชื่อใจ และความยินดีที่จะทำงานร่วมกันพร้อมทั้งแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างกัน
2. Emotional Capital ได้แก่ความกระหาย ความมุ่งมั่น แรงจูงใจ หรือความต้องการทางด้านจิตใจต่างๆ ภายในองค์กรที่จะทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งให้ประสบผลสำเร็จ
3. Relationship Capital ได้แก่ความสัมพันธ์ระหว่างบุคลากรทั้งภายในและภายนอกองค์กร เช่นความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้าทำให้ลูกค้าติดใจ พร้อมทั้งก่อให้เกิดความภักดีต่อองค์กร
4. Knowledge Capital หรือ ตัวความรู้ภายในองค์กร
เครื่องมือในการบริหารและประเมินทุนปัญญา
เครื่องมือในการบริหารและประเมินทุนปัญญา หรือ Skandia Navigator คิดค้นโดยบริษัท Skandia ซึ่งเป็นสถาบันการเงินชั้นนำของประเทศสวีเดน ที่ถือว่าเป็นผู้บุกเบิกและผู้นำในเรื่องของทุนปัญญา
องค์ประกอบของ Skandia Navigator
1. ปัจจัยด้านการเงิน (Financial Focus) ซึ่งประกอบด้วยตัวชี้วัดทางด้านการเงินต่างๆ เช่น Return on Capital Employed, Operating Results, Value-Added per Employee
2. ปัจจัยด้านลูกค้า (Customer Focus) เช่น Number of Customers, Surrender ratio, Point of Sale, Market Share
3. ปัจจัยด้านบุคลากร (Human Focus) เช่น Average age, Number of employees, Time in training
4. ปัจจัยด้านกระบวนการ (Process Focus) เช่น Number of contracts/employee, IT expense/admin expense
5. ปัจจัยด้านการพัฒนาและปรับปรุง (Renewal and Development Focus) เช่น Total assets, Share of new customers, Share of staff under 40 years
อาจารย์ผู้ดูแลบทความ รศ.ดร.พสุ เดชะรินทร์
คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ผู้รับผิดชอบบทความ ศูนย์การสื่อสารนานาชาติแห่งจุฬาฯ