วิธีปฏิบัติตนยามฉุกเฉิน

จาก ChulaPedia

(ความแตกต่างระหว่างรุ่นปรับปรุง)
ข้ามไปที่: นำทาง, สืบค้น
Pphruet (พูดคุย | เรื่องที่เขียน)
(หน้าที่ถูกสร้างด้วย '== '''สิ่งของที่จำเป็น''' == 1 เงินสด 2 บัตรประจําตัว บัต…')
แตกต่างถัดไป →

การปรับปรุง เมื่อ 03:34, 25 มีนาคม 2554

เนื้อหา

สิ่งของที่จำเป็น

1 เงินสด

2 บัตรประจําตัว บัตรคนต่างด้าว

3 ตราปั้มญี่ปุ่น・บัตรประกันสุขภาพ

4 น้ำดื่ม (คนละ 3 ลิตร ต่อวัน)

5 อาหารสำรอง(เครื่องกระป๋อง,ขนม)

6 มือถือ & ที่ชาร์จยามฉุกเฉิน

7 ทิชชู่

8 ผ้าขนหนู ประมาณ 5 ผืน

9 ไฟฉาย

10 วิทยุ

11 ร่ม หรือ เสื้อกันฝน

12 เสื้อหนาว เครื่องป้องกันความหนาวต่างๆ

13 ถุงมือทหารหรือถุงมือ

14 หน้ากาก เพื่อป้องกันหนาว หรือ เพื่อไม่ให้สูดควัน

15 ถุงขยะ(ขนาดใหญ่ๆ ดีกว่า) เพื่อป้องกันความหนาว หรือป้องกันน้ำหรืออาจใช้แทนถังได้ ใช้เวลาฉุกเฉิน

16 saran wrap หรือพลาสติกครอบอาหาร

17 ยางรัด (5-6 เส้น)

18 ผ้าห่ม

19 หนังสือพิมพ์ (ใช้เพื่อหลีกเลี่ยงความหนาว)

20 รูปถ่ายของครอบครัว (เพื่อยืนยันและหาครอบครัวเมื่อพรากกัน)

21 นกหวีด (เพื่อส่งสัญญาณว่ายังมีชีวิตรอด)

22 แว่นตา

23 ยาที่กินประจำ

24 ผ้าอนามัย(ขาดไม่ได้)

25 เครื่องเล่นเพลง(เพื่อฟังธรรรม-เพลงให้สงบ ในบางผลิตภัณฑ์อาจมีระบบวิทยุด้วย)

26 เทปผ้า(ถ้ามี จะสะดวกขึ้น)

27 เบาะ (ถ้ามี เบาะใช้แทนหมวกกันน้อคได้)

28 เครื่องเปิดกระป๋องและมีดเล็กๆ (เผื่อต้องอยู่ในห้องหลบภัยเป็นเวลานาน)


ไฟล์:how to protect your self.jpg


วิธีปฏิบัติตัวยามฉุกเฉิน

1 เปิดหน้าต่างกับประตูไว้

2 วางของสำคัญบริเวณทางเข้าออก

3 ใส่รองเท้าที่มีพื้นหนา

4 ปิดวาล์วใหญ่ของท่อแก๊สหุงข้าว (อาจเกิดอันตรายได้ ต้องดูสถานการณ์ประกอบด้วย)

5 อัดไฟมือถือเมื่อโอกาสอำนวย

6 ปิด circuit breaker เวลาไฟดับ (ดึงปลั๊กไฟในบ้านออกทั้งหมดก่อนปิด เพราะอาจถูกไฟดูดได้)

กรณีมีแผ่นดินไหวต่อ ภายใน 24 ชั่วโมง

7 ให้สงบใจดีก่อนอื่น

8 ใช้เบอร์โทรศัพท์ที่ฝากข้อความเวลาภัยพิบัติ 171 (บอกลี้ภัยที่ไหน)

9 ใช้โทรศัพท์เท่าที่จำเป็นเท่านั้น

10 ใช้ Skype ได้

11 ให้ระวังโทรศัพท์หลอกลวง ซึ่งจะโทรมาโดยทำทีว่าเป็นตำรวจ


ข้อควรปฏิบัติตอนหลบภัย

1 อยู่ให้ห่างจากตู้เสื้อผ้าหรือตู้เย็นที่ทำท่าจะล้ม

2 ระวังกระจก หรือรั้ว(อาจล้มลงมาทับตัวได้)

3 อยู่ให้ห่างจากกำแพงที่ร้าวหรือเสาที่เอียง

4 หลีกเลี่ยงการผ่านเข้าออกในซอยแคบๆ หรือบริเวณริมหน้าผา ริมแม่น้ำ หรือริมทะเล

5 ผู้ที่อยู่แนวเลียบฝั่งทะเล ให้หลบไปอยู่บริเวณที่สูงๆ

6 ใส่หมวกนิรภัย หรือหมวกอะไรก็ได้เพื่อป้องกันศีรษะ

7 หลีกเลี่ยงการใส่เสื้อที่ทำจากเส้นใยสังเคราะห์ผ้าฝ้ายหรือวัสดุติดไฟง่าย

8 เตรียมหน้ากากหรือผ้าชุบน้ำให้ชุ่มให้พร้อม (เพื่อป้องกันควัน)

9 หากเกิดไฟไหม้ ให้อยู่บริเวณเหนือลม

10 ถ้ามีรถให้เปิดกระจกรถพร้อมเปิดวิทยุเสียงดังเพื่อเป็นการกระจายข่าวให้แก่ผู้อื่น(ถ้าทำได้)


ก่อนเกิดแผ่นดินไหว

1 ตรวจว่ามีหมวกกันน็อคหรือไม่

2 ตรวจว่ามีอาหารสำรองหรือไม่

3 ตรวจว่ามีน้ำสำรองหรือไม่

4 ตรวจว่ามีอุปกรณ์ปฐมพยาบาลหรือไม่

5 ตรวจว่ามีถุงนอนหรือไม่

6 ตรวจทางหนีภัยว่ามีหรือไม่

7 ใส่ถุงเท้านอน

8 วางรองเท้าไว้ใกล้ตัว ถ้าเป็นไปได้หาที่ส้นหนาๆ หน่อย

9 ปิดม่านนอน เพื่อป้องกันเศษแก้วจากกระจกเวลาแตก

10 วางผ้าขนหนูกันไว้ระหว่างประตู เผื่อประตูปิดเบี้ยวกันให้เปิดประตูได้


อ้างอิง

ที่มาข้อมูล

eartquake how to protect yourself

ผู้รับผิดชอบบทความ ศูนย์การสื่อสารนานาชาติแห่งจุฬาฯ

เครื่องมือส่วนตัว