ความรู้รอบด้าน “แผ่นดินไหวและสึนามิ”

จาก ChulaPedia

(ความแตกต่างระหว่างรุ่นปรับปรุง)
ข้ามไปที่: นำทาง, สืบค้น
Pphruet (พูดคุย | เรื่องที่เขียน)
(หน้าที่ถูกสร้างด้วย ' แผ่นดินไหวเป็นภัยพิบัติทางธรรมชาติที่เกิดขึ้…')
แตกต่างถัดไป →

การปรับปรุง เมื่อ 07:51, 30 มีนาคม 2554

แผ่นดินไหวเป็นภัยพิบัติทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นได้ทุดเมื่อโดยไม่มีใครหยุดยั้งได้ นับจากอดีตจนถึงปัจจุบัน ความรุนแรงของแผ่นดินไหวยังคงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง สร้างความสูญเสียมหาศาลแก่ชาวโลก สิ่งที่ตามมาคือ มหันตภัยสึนามิ (Tsunami) ที่มีการกระหน่ำซ้ำเติมสร้างความเสียหายยิ่งขึ้นไปอีก ประเทศไทยเคยเผชิญกับภัยพิบัติทั้งแผ่นดินไหวและสึนามิที่รุนแรงมาแล้วเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2547 ล่าสุดเมื่อวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2554 ได้เกิดแผ่นดินไหวและสึนามิครั้งรุนแรงติดอันดับโลก ซึ่งได้คร่าชีวิตผู้คนชาวญี่ปุ่นและทำลายล้างทุกสรรพสิ่ง แม้ว่าประเทศญี่ปุ่นจะมีมาตรการรับมือกับภัยพิบัติเหล่านี้เป็นอย่างดีแล้วก็ตาม ดังนั้นการเผยแพร่ความรู้และสร้างความเข้าใจแก่ประชาชนในการเตรียมพร้อมต่อภัยพิบัติทั้งแผ่นดินไหวและสึนามิจึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง

จากการสัมมนาเปิดโลกลานเกียร์เรื่อง “เราพร้อมรับภัยพิบัติแผ่นดินไหวและสึนามิอย่างไร” ของคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ได้มีนักวิจัยและผู้เชี่ยวชาญมาร่วมบรรยายให้ความรู้ ดังนี้


นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยโทโฮกุ เมืองเซนได ประเทศญี่ปุ่น

ดร.อนวัช สรรพศรี ผู้ซึ่งอยู่ในเหตุการณ์การเกิดแผ่นดินไหวที่จังหวัดมิยากิ เมืองเซนได ในอดีตเคยประสบกับแผ่นดินไหวขนาด 7 ริกเตอร์ แผ่นดินไหวและสึนามิที่เกิดขึ้นในครั้งนี้เป็นการย้อนกลับมาอีกครั้งของแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ซึ่งเคยเกิดขึ้นเมื่อ 1,000 ปีที่แล้ว แต่ไม่มีใครคาดคิดว่าจะมีความรุนแรงถึง 9 ริกเตอร์ จึงทำให้เกิดความเสียหายมากมายเช่นนี้


กรมทรัพยากรธรณี

นายสุวิทย์ โคสุวรรณ ได้ให้ความรู้ในเรื่องรอยเลื่อนมีพลังในประเทศไทย ว่ามีทั้งสิ้น 13 รอยเลื่อน การเคลื่อนที่ของรอยเลื่อนเหล่านี้ส่งผลให้เกิดแผ่นดินไหว ซึ่งมีศูนย์กลางอยู่ในจังหวัดต่างๆ ทางภาคเหนือ ภาคตะวันตก และภาคใต้ ขนาด 5-6 ริกเตอร์ ซึ่งมีความรุนแรงระดับปานกลาง


สำนักเฝ้าระวังแผ่นดินไหว กรมอุตุนิยมวิทยา

ทางกรมอุตุนิยมวิทยามีมาตรการในการรับมือแผ่นดินไหว ทั้งก่อนเกิด ขณะเกิด และขณะเกิดแผ่นดินไหว กรมอุตุนิยมวิทยาได้พัฒนาระบบตรวจแผ่นดินไหว และมีสถานีตรวจวัดแผ่นดินไหวกว่า 40 แห่งทั่วประเทศ ใช้เวลาเพียง 7-10 นาที ในการตรวจและแจ้งเตือนภัย


ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านวิศวกรรมแผ่นดินไหว คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ

อาคารสาธารณะ ควรมีโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นต่อการบรรเทาสาธารณภัยเป็นลำดับแรก และต้องมีการศึกษาโลจิสติกส์ที่ดี อาคารที่มีลักษณะอ่อนแอชัดเจน ควรได้รับการแก้ไขเบื้องต้นเพื่อปรับปรุงสมรรถนะให้ดีขึ้น การเสริมสร้างความแข็งแรงของอาคารเก่าเพื่อต้านแผ่นดินไหวให้ได้ผล จะต้องได้รับการคำนวณออกแบบโดยวิศวกรผู้เชี่ยวชาญ ส่วนอาคารใหม่โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาคารสาธารณะ จะต้องก่อสร้างตามมาตรฐานที่กำหนด


อ้างอิง

ที่มาข้อมูล

งานสัมมนา “เราพร้อมรับภัยพิบัติแผ่นดินไหวและสึนามิอย่างไร” ของคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ วันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2554

ผู้รับผิดชอบบทความ ศูนย์การสื่อสารนานาชาติแห่งจุฬาฯ

เครื่องมือส่วนตัว