ภูมิทัศน์วัฒนธรรม
จาก ChulaPedia
(หน้าที่ถูกสร้างด้วย ''''ภูมิทัศน์วัฒนธรรม''' (Cultural Landscape) ตามความหมายจากบทที่ …') |
ล |
||
แถว 7: | แถว 7: | ||
# '''ประเภทที่ 1''' เป็นคำจำกัดความที่รับรู้กันโดยท่ัวไป ได้แก่ พื้นที่สวน [[สวนสาธารณะ]]หรือ[[อุทยาน]]ที่สร้างโดยมนุษย์ เพื่อความสวยงามรื่นรมย์ ซึ่งบางทีอาจเกี่ยวข้องกับความเชื่อ [[ศาสนา]] หรือ[[พื้นที่อนุรักษ์]]อาคารเก่าแก่แห่งหนึ่งแห่งใด หรือไม่ก็ได้ | # '''ประเภทที่ 1''' เป็นคำจำกัดความที่รับรู้กันโดยท่ัวไป ได้แก่ พื้นที่สวน [[สวนสาธารณะ]]หรือ[[อุทยาน]]ที่สร้างโดยมนุษย์ เพื่อความสวยงามรื่นรมย์ ซึ่งบางทีอาจเกี่ยวข้องกับความเชื่อ [[ศาสนา]] หรือ[[พื้นที่อนุรักษ์]]อาคารเก่าแก่แห่งหนึ่งแห่งใด หรือไม่ก็ได้ | ||
# '''ประเภทที่ 2''' เป็นภูมิทัศน์ที่มีต้นกำเนิดดั้งเดิมมาจากปัจจัยทาง[[สังคม]] [[เศรษฐกิจ]] [[การบริหาร]] หรือ[[ศาสนา]] พัฒนาต่อเนื่องโดยมีความสัมพันธ์กับ[[สภาพแวดล้อม]]ทางธรรมชาติ องค์ประกอบของ[[ภูมิทัศน์]]ประเภทนี้มักจะสะท้อนให้เห็นวิถีแห่งการเปลี่ยนแปลงนั้นๆ แบ่งออกเป็น 2 ประเภทย่อยๆคือ | # '''ประเภทที่ 2''' เป็นภูมิทัศน์ที่มีต้นกำเนิดดั้งเดิมมาจากปัจจัยทาง[[สังคม]] [[เศรษฐกิจ]] [[การบริหาร]] หรือ[[ศาสนา]] พัฒนาต่อเนื่องโดยมีความสัมพันธ์กับ[[สภาพแวดล้อม]]ทางธรรมชาติ องค์ประกอบของ[[ภูมิทัศน์]]ประเภทนี้มักจะสะท้อนให้เห็นวิถีแห่งการเปลี่ยนแปลงนั้นๆ แบ่งออกเป็น 2 ประเภทย่อยๆคือ | ||
- | + | *2.1 ประเภทที่หยุดการเปลี่ยนแปลงแล้ว อาจเรียกว่า “ซากภูมิทัศน์วัฒนธรรม” (fossil landscape) ถึงแม้จะหยุดการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาการแล้ว | |
แต่ยังสามารถเห็นร่องรอยได้ในซากที่เหลืออยู่นั้น สามารถก่อให้เห็นความเชื่อมโยงอันเคยมีอยู่ | แต่ยังสามารถเห็นร่องรอยได้ในซากที่เหลืออยู่นั้น สามารถก่อให้เห็นความเชื่อมโยงอันเคยมีอยู่ | ||
- | + | *2.2 อีกประเภทคือ ยังคงมีการเปลี่ยนแปลงดำเนินอย่างต่อเนื่องมาโดยบทบาททางสังคมร่วมสมัย ทำให้เห็นความเปลี่ยนแปลงและพัฒนาการจากห้วงเวลาหนึ่งไปยังห้วงเวลาหนึ่งในองค์ประกอบภูมิทัศน์นั้นๆ | |
# '''ประเภทที่ 3''' เป็นประเภทที่อาจมองไม่เห็นเป็นรูปธรรมชัดเจนในองค์ประกอบของภูมิทัศน์แต่มีอิทธิพลต่อ[[ศาสนา]] ความเชื่อ [[ศิลปะ]] หรือเกี่ยวเนื่องกับ[[วัฒนธรรม]]ในพื้นที่ที่เป็น[[มรดกโลก]] พื้นที่เก่าแก่ และ[[พื้นที่อนุรักษ์]] ่ ตางๆ | # '''ประเภทที่ 3''' เป็นประเภทที่อาจมองไม่เห็นเป็นรูปธรรมชัดเจนในองค์ประกอบของภูมิทัศน์แต่มีอิทธิพลต่อ[[ศาสนา]] ความเชื่อ [[ศิลปะ]] หรือเกี่ยวเนื่องกับ[[วัฒนธรรม]]ในพื้นที่ที่เป็น[[มรดกโลก]] พื้นที่เก่าแก่ และ[[พื้นที่อนุรักษ์]] ่ ตางๆ | ||
การปรับปรุง เมื่อ 08:15, 11 เมษายน 2554
ภูมิทัศน์วัฒนธรรม (Cultural Landscape) ตามความหมายจากบทที่ 1 อนุสัญญามรดกโลก หมายถึงการเชื่อมสัมพันธ์ของสิ่งที่เกิดจากธรรมชาติกับที่มนุษย์สร้างขึ้นเพื่อสื่อให้เห็นวิวัฒนาการของสังคมมนุษย์และการตั้งถิ่นฐานในช่วงเวลาต่างๆกัน โดยมีอิทธิพลจากข้อจำกัดทางกายภาพของสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติหรือโอกาสที่เกิดขึ้นได้โดยสิ่งแวดล้อมธรรมชาติอันต่อเนื่องจากผลแห่งพลังขับเคลื่อนทางวัฒนธรรม เศรษฐกิจ และสังคม ทั้งภายในและภายนอก อาจเป็นมีคุณค่าเป็นส่วนรวม หรือตัวแทนที่แสดงความเป็นตัวตนของพื้นที่นั้นๆ
องค์กรมูลนิิธิภูมิทัศน์วัฒนธรรม ได้ให้คำจำกัดความไว้ว่า "ภูมิทัศน์วัฒนธรรม" คือ พื้นที่ทางภูมิศาสตร์ที่รวบรวมทรัพยากรทางวัฒนธรรมและทรัพยากรธรรมชาติไว้ร่วมกับเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ กิจกรรม หรือบุคคล บางครั้งภูมิวัฒนธรรมอาจเกิดจากบุคคลหรือกลุ่มบุคคล พื้นที่ดังกล่าวอาจใหญ่โตกว้างขวางเป็นพื้นที่นอกเมือง หรืออาจเป็นเพียงแค่สนามหน้าบ้านกว้างไม่กี่ตารางเมตร อาจเป็นพื้นที่ไร่นา สวนสาธารณะ มหาวิทยาลัย สุสาน สองข้างถนนหลวงหรือแม้กระท่ังพื้นที่อุตสาหกรรม
ประเภทของภูมิทัศน์วัฒนธรรม
หน่วยงานอุทยานแห่งชาติของสหรัฐอเมริกา (National Parks Services – NPS) ได้แบ่งประเภทของภูมิทัศน์วัฒนธรรมไว้เป็น 3 ประเภทใหญ่ๆดังต่อไปนี้
- ประเภทที่ 1 เป็นคำจำกัดความที่รับรู้กันโดยท่ัวไป ได้แก่ พื้นที่สวน สวนสาธารณะหรืออุทยานที่สร้างโดยมนุษย์ เพื่อความสวยงามรื่นรมย์ ซึ่งบางทีอาจเกี่ยวข้องกับความเชื่อ ศาสนา หรือพื้นที่อนุรักษ์อาคารเก่าแก่แห่งหนึ่งแห่งใด หรือไม่ก็ได้
- ประเภทที่ 2 เป็นภูมิทัศน์ที่มีต้นกำเนิดดั้งเดิมมาจากปัจจัยทางสังคม เศรษฐกิจ การบริหาร หรือศาสนา พัฒนาต่อเนื่องโดยมีความสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ องค์ประกอบของภูมิทัศน์ประเภทนี้มักจะสะท้อนให้เห็นวิถีแห่งการเปลี่ยนแปลงนั้นๆ แบ่งออกเป็น 2 ประเภทย่อยๆคือ
- 2.1 ประเภทที่หยุดการเปลี่ยนแปลงแล้ว อาจเรียกว่า “ซากภูมิทัศน์วัฒนธรรม” (fossil landscape) ถึงแม้จะหยุดการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาการแล้ว
แต่ยังสามารถเห็นร่องรอยได้ในซากที่เหลืออยู่นั้น สามารถก่อให้เห็นความเชื่อมโยงอันเคยมีอยู่
- 2.2 อีกประเภทคือ ยังคงมีการเปลี่ยนแปลงดำเนินอย่างต่อเนื่องมาโดยบทบาททางสังคมร่วมสมัย ทำให้เห็นความเปลี่ยนแปลงและพัฒนาการจากห้วงเวลาหนึ่งไปยังห้วงเวลาหนึ่งในองค์ประกอบภูมิทัศน์นั้นๆ
- ประเภทที่ 3 เป็นประเภทที่อาจมองไม่เห็นเป็นรูปธรรมชัดเจนในองค์ประกอบของภูมิทัศน์แต่มีอิทธิพลต่อศาสนา ความเชื่อ ศิลปะ หรือเกี่ยวเนื่องกับวัฒนธรรมในพื้นที่ที่เป็นมรดกโลก พื้นที่เก่าแก่ และพื้นที่อนุรักษ์ ่ ตางๆ
อ้างอิง
- [1] อริยา อรุณินท์. อนุสรณ์สถาน : ภูมิทัศน์แห่งความทรงจำ (Memorial Park : the Commemorative Landscape) วารสารวิชาการ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ 2549.
- The Cultural Landscape Foundation
- Conservation Study Institute Managers Handbook