Chuchaat vision

จาก ChulaPedia

(ความแตกต่างระหว่างรุ่นปรับปรุง)
ข้ามไปที่: นำทาง, สืบค้น
(ชูชาติทรรศน์ : ว่าด้วยเรื่องการศึกษา)
(ชูชาติทรรศน์ : ว่าด้วยเรื่องการศึกษา)
แถว 36: แถว 36:
"Education is STARS"
"Education is STARS"
S - student
S - student
 +
T - teaching
T - teaching
 +
A - administration
A - administration
 +
R - resources
R - resources
 +
S - social
S - social
แถว 46: แถว 50:
1.Problem solving  
1.Problem solving  
 +
2.Reasoning and Proof  
2.Reasoning and Proof  
 +
3.Communication (Conclusion)  
3.Communication (Conclusion)  
 +
4.Connection  
4.Connection  
 +
5.Re-presentation  
5.Re-presentation  
แถว 63: แถว 71:
        
        
Kalos kagathos  
Kalos kagathos  
 +
Von  Enos Cornelius  
Von  Enos Cornelius  
 +
Dozent La Sapienza  
Dozent La Sapienza  
 +
χουχαατ  θαμμαχαροεν
χουχαατ  θαμμαχαροεν

การปรับปรุง เมื่อ 06:38, 19 เมษายน 2554

ชูชาติทรรศน์ : ว่าด้วยเรื่องการศึกษา

      รองศาสตราจารย์ชูชาติ ธรรมเจริญ    Chuchaat.t@chula.ac.th

________________________________________________________________

แม้ผู้เขียนจะมีประสบการณ์ด้านการสอนเคมีขั้นสูงที่ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มานานกว่า 37 ปีต้องยอมรับความจริงว่าผู้เขียนมิใช่ นักการศึกษาเนื่องจากมิได้เข้าศึกษาในหลักสูตรเกี่ยวกับการศึกษาและไม่เคยเรียนรู้วิชาครูจากการเข้าชั้นเรียนแม้แต่ชั่วโมงเดียวการหาความรู้ทางการศึกษาทำโดย ศึกษาด้วยตนเอง สังเกตวิธีการสอนของปรมาจารย์ผู้มากประสบการณ์แบบที่ชาวบ้านเรียกว่า "ครูพักรักจำ"แล้วนำสิ่งดังกล่าวมา" "ปรับ-ปรุง-เปลี่ยน-แปลง แก้ไข" ให้ได้วิธีการที่น่าจะดีพอในระดับหนึ่งในการถ่ายทอดความรู้ไปสู่นิสิต นักศึกษา ตลอดจนภาคประชาชน

โดยความเห็นส่วนตัวนั้นหน้าที่ของ "ครู" หรือ ผู้สอน ผู้บรรยาย องค์ปาฐก แล้วแต่จะเรียกขานคือ "Simplify a complicated thing" มิใช่ "Complicated a simple thing" และได้นำแนวคิดดังกล่าวแล้วมาปฎิบัติอย่างเคร่งครัดเพื่อให้บรรลุเป้าหมายของการเรียนการสอนซึ่งเน้นประสิทธิภาพและประสิทธิผลเป็นหลัก (Outcome) โดยเริ่มจากการ วางกรอบขององค์ความรู้ในภาพรวมเพื่อให้ผู้เรียนได้ทราบสถานภาพโดยรวมของวิชาที่ตนเองกำลังศึกษาอยู่แล้วจึงระบุความรู้เฉพาะที่ต้องการศึกษา อันจะนำมาซึ่งความ เชื่อมโยงของตัวศาสตร์เองกับศาสตร์อื่นๆโดยมุ่งเน้นถึง: รู้-เข้าใจ-ใช้เป็น-เห็นปัญหา-ค้นคว้าได้-ทำนายถูก-ปลูกผลเอง-เคร่งคุณธรรมตัวหนังสือที่เป็นตัวเอน

ในการเรียนรู้นั้นสิ่งที่นิสิตต้องได้คือมโนทัศน์ และ Mechanical procedures ซึ่งมุ่งเน้นทั้งทางด้าน mathematical meaning และ physical meaning ควบคู่กันไปจะแยกออกจากกันมิได้เฉกเช่นร่างกายและจิตใจไม่สามารถแยกออกจากกันฉันใดก็ฉันนั้น แม้การศึกษาจะไม่มีสูตรสำเร็จ(panacea)แต่พอประมวลได้ว่าคนเราแม้จะศึกษาสาขาวิชาใดๆในฐานะที่เป็นมนุษย์ควรมีสิ่งต่อไปนี้ร่วมกัน คือ 1.สามัญสำนึกผนวกกับ legal mind "จะทำให้ รู้-ผิด-ชอบ-ชั่ว-ดี" 2.ตรรกะ-ภาษา-ธรรมมะ ทำให้คิดอย่างเป็นระบบ มีเหตุมีผล สามารถมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นได้อย่างเป็นธรรมชาติ 3.ศรัทธา-ปัญญา-วิริยะ-สมาธิ-สติ ซึ่งได้แก่ "พละ 5" อันจะนำมาซึ่งความสำเร็จที่พึงประสงค์ มนุษย์ผู้เป็น "ศึกษิต" จะต้องกล้าทำ-กล้ารับ-กกล้าเผชิญ ต่อสิ่งที่ ตัวเองกระทำซึ่งเป็นเกียรติยศของคน

นอกจากนี้ยังต้องถึงพร้อมในแง่ รู้เหตุ-รู้ผล-รู้ตน-รู้ประมาณ-รู้กาลเวลา-รู้บุคคล และรู้ชุมชนตัวหนังสือที่เป็นตัวเอน โดยสามารถรักษา ภูมิฐาน-ภูมิรู้-ภูมิธรรมตัวหนังสือที่เป็นตัวเอน แห่งตนให้ดำรงอยู่ ตลอดไปอย่างประพฤติตนเป็น "Devil Advocate" คิดในแง่บวก อย่าคิดในแง่ลบยึดหลักในการคิดเรื่องใด ๆ ก็ตามง่าย ๆ ดังนี้

Think globally, Speak regionally, Do locally.

จากที่เกริ่นมาทั้งหมดนั้นจะพบว่าพื้นฐานหรือรากฐานเป็นสิ่งที่สำคัญมาก ๆ จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งยวดที่จะต้องวางรากฐานที่มั่นคง ถ้าต้องการสร้างคนให้มีความ พร้อมในทุกด้านเพื่อความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์นั้นต้องเริ่มต้นที่ระบบการศึกษาที่เหมาะสมมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลอย่างแท้จริง (สามารถนำไปใช้งานได้จริง ไม่ใช่แค่แสดงโวหารหรือเพียงการอภิปรายเท่านั้น)

การศึกษาให้ได้มาซึ่งการเป็น "ศึกษิต" นั้นกล่าวอย่างง่ายคือ "Education is STARS" S - student

T - teaching

A - administration

R - resources

S - social

ดังนั้นการจัดการศึกษาของชาติจึงต้องคำนึงถึงองค์ประกอบใน "STARS" ให้ครบถ้วนวางแผนการดำเนินงานเตรียมความพร้อม หลักสูตรที่ทันสมัย อุปกรณืการเรียน การสอน วิธีการสอน สื่อการสอน ภาพสังคม ตลอดจนการมีส่วนร่วมของชุมชนในการกำหนดเป้าหมายของการศึกษาให้ได้มาซึ่งความเป็น "ศึกษิต" คิดเป็น วิเคราะห์เป็น สังเคราะห์เป็น สร้างองค์ความรู้ได้ เข้าถึงกระบวนการสร้างคนผ่านการศึกษาโดยเน้น "กระบวนการทางวิทยาศาสตร์" ซึ่งประกอบด้วย 5 ขั้นตอนหลักคือ

1.Problem solving

2.Reasoning and Proof

3.Communication (Conclusion)

4.Connection

5.Re-presentation

ในการปฏิรูปการศึกษาจำต้องทำให้ "ศึกษิต" มี (I) Social responsibility (II) Employability in Workplace (III) Lifelong learning

ท้ายที่สุดนี้ผู้เขียนหวังว่าข้อเขียนนี้คงมิใช่เสียงนกเสียงกา แต่จะเป็นเสียงดังกึกก้องกำปนาทของมหาสมุทรเมื่อกระทบโสตประสาทของผู้มีอำนาจและความรับผิด ชอบต่อวงการศึกษาไทยจักได้ดำเนินการปฏิรูปการศึกษาที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลให้เกิด "ศึกษิต" ให้จงได้ แต่มิใช่อุ้งมือของคนหน้าเดิมไม่กี่คนที่คุมชะตา การศึกษาของชาติที่ล้มลุกคุกคานมาไม่ทราบกี่ระลอกแล้ว ยังหลงตัวเองโดยขอโอกาศปฏิรูปการศึกษาภายใต้วังวลที่ไม่เคยประสบผลสำเร็จเลย ยิ่งปฏิรูปดารศึกษา มากเท่าใดก็จะพบความล้มเหลวแห่งวงการศึกษามากเท่านั้น อนิจจาวงการศึกษาไทย ฤาจะถึงคราวต้องล้มสลายชั่ยกัลปาวสาน.

Kalos kagathos

Von Enos Cornelius

Dozent La Sapienza

χουχαατ θαμμαχαροεν

เครื่องมือส่วนตัว