กิจกรรมการศึกษาทางไกล

จาก ChulaPedia

ข้ามไปที่: นำทาง, สืบค้น

งานวิจัย


การพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนทางไกลเพื่อส่งเสริมการสืบสอบหาความรู้ด้วยตนเองของนักศึกษาทางไกล สถาบันการศึกษาทางไกล

DEVELOPMENT OF DISTANCE LEARNING ACTIVITIES MANAGEMENT TO PROMOTE SELF-INQUIRY OF DISTANCE LEARNERS IN DISTANCE EDUCATION INSTITUTE


ผู้วิจัย


นายลิขสิทธิ์ พุฒเขียว

ระดับปริญญาโท สาขาการศึกษานอกระบบโรงเรียน ภาควิชาการศึกษาตลอดชีวิต คณะครุศาสตร์

อาจารย์ที่ปรึกษา รองศาสตราจารย์ ดร.อาชัญญา รัตนอุบล

วิทยานิพนธ์นี้ได้รับการสนับสนุนทุนวิจัยจาก "ทุนอุดหนุนวิทยานิพนธ์สำหรับนิสิต" จากบัณฑิตวิทยาลัย


บทคัดย่อ


การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับการสืบสอบหาความรู้ด้วยตนเองของนักศึกษาทางไกล สถาบันการศึกษาทางไกล และเพื่อพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนทางไกลผ่านการส่งเสริมการสืบสอบหาความรู้ด้วยตนเองของนักศึกษาทางไกล สถาบันการศึกษาทางไกล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักศึกษาทางไกล สถาบันการศึกษาทางไกล ปีการศึกษา 2554 จำนวน 366 คน โดยใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นอย่างเป็นสัดส่วน (Stratified Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบวัดระดับการสืบสอบหาความรู้ของนักศึกษาทางไกล ของสถาบันการศึกษาทางไกล สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ (f) ร้อยละ(%) ค่าเฉลี่ย(x ̅) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D) และการวิเคราะห์เนื้อหา สำหรับการจัดทำร่างการพัฒนาการจัดกิจกรรมการการเรียนการสอนทางไกลเพื่อส่งเสริมการสืบสอบหาความรู้ด้วยตนเองของนักศึกษาทางไกล ได้ให้ผู้ทรงคุณวุฒิตรวจสอบความเหมาะสม

ผลการวิจัยพบว่า

1. ระดับของการสืบสอบหาความรู้ด้วยตนเองของนักศึกษาทางไกล โดยภาพรวม พบว่าสรุปรวมทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ ด้านการสำรวจและลำดับความสำคัญของปัญหา ด้านวิธีการแสวงหาข้อมูล ด้านการดำเนินการแสวงหาความรู้ และด้านการประเมินผลการเรียนรู้ อยู่ในระดับปานกลาง (x ̅=3.43, S.D.=0.49)

2. การพัฒนาการจัดกิจกรรมการการเรียนการสอนทางไกลเพื่อส่งเสริมการสืบสอบหาความรู้ด้วยตนเองของนักศึกษาทางไกล ได้แก่ การจัดกิจกรรมควรเน้นให้นักศึกษาเชื่อมโยงกับชีวิตประจำวัน การจัดกิจกรรมควรเน้นให้นักศึกษาคิดวิเคราะห์วิธีการเรียนรู้ของตนเอง และได้เรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้ การจัดกิจกรรมควรเน้นให้นักศึกษาได้สรุปผลการค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเอง และการจัดกิจกรรมควรเน้นให้นักศึกษาได้สำรวจผลการเรียนรู้ของตนเอง

คำสำคัญ : การศึกษาทางไกล/ วิธีการสืบสอบหาความรู้/ การสืบสอบหาความรู้ด้วยตนเอง/ การศึกษานอกระบบโรงเรียน


Abstract


The purposes of this research were to study the level of distance learners self-inquiry in Distance Education Institute and to develop distance learning activities management to promote self-inquiry of distance learners in Distance Education Institute. The sample group included distance learners in Distance Education Institute in academic year 2011, consisted from 366 subjects selected by stratified sampling method. The instrument used in research was a self-inquiry level inventory. The statistic used to analyze data were frequency, percentage, mean score, standard deviations and content analysis. Then develop the draft of development of distance learning activities management to promote self-inquiry of distance learners and submit to experts for the validity.

The research results were as follows :

1. In all which of 1) exploration and priorities the problem 2) inquiry some data 3) explanation and 4) Evaluation, the self-inquiry of distance learners was at medium level. (x ̅=3.43, S.D. = 0.49)

2. Guidelines for development of distance learning activities management to promote self-inquiry of distance learners in distance education institute : provide the relations of learning activities and everyday life, promote the critical thinking activities for own learning methods and use the diverse learning resources, support the distance learners activities to conclude their own knowledge, and manage the self-inquiry of distance learners activities to investigate their own learning results and learning plans focus on the exploration of their own self - inquiry.

Keywords: DISTANCE LEARNING / INQUIRY METHOD / SELF-INQUIRY / NON-FORMAL EDUCATION


ข้อค้นพบ


ข้อค้นพบการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนทางไกล สามารถอธิบายได้ว่า กระบวนการเรียนรู้ของนักศึกษาทางไกลจากการอภิปรายครั้งนี้ ทำให้เห็นกระบวนการทั้ง 3 ขั้นตอน คือ 1) ความตระหนัก (awareness) ทัศนคติ (Attitude) 2) ทักษะในการเรียนรู้ (Skills) และ 3) สร้างองค์ความรู้ และ การสะท้อนคิดด้วยตนเอง (self reflection) เป็นกระบวนการที่มีความต่อเนื่องกัน โดยทั้ง 3 กระบวนการนี้ จะต้องพึ่งพาสิ่งแวดล้อมรอบตัว กล่าวคือ จะต้องมีความสัมพันธ์กับชีวิตจริง ชีวิตการทำงาน และชีวิตการเรียนรู้ นอกจากนั้นแล้ว จะต้องใช้แหล่งการเรียนรู้ที่หลากหลาย เช่น แหล่งเรียนรู้ประเภทบุคคล แหล่งเรียนประเภทสถานที่ เป็นต้น ซึ่งสิ่งแวดล้อมดังกล่าวจะอยู่รอบตัวนักศึกษาทางไกล ดังนั้นแล้วกระบวนการเรียนรู้ของนักศึกษาทางไกล ดังที่กล่าวมาข้างต้น 3 กระบวนการ นักศึกษาทางไกลอาจจะเริ่มต้นกระบวนการเรียนรู้ด้วยกระบวนการใดก็ได้ ดังภาพที่ 1

ไฟล์:Finding.jpg

เครื่องมือส่วนตัว